พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิเข้าข่ายการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีการค้า
การครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ที่มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะนั้น ผู้ครอบครองย่อมมีสิทธิครอบครองและยกขึ้นใช้ยันบุคคลอื่นที่มิใช่รัฐได้ ดังนั้นผู้ครอบครองจึงโอนไปซึ่งการครอบครองโดยการส่งมอบที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่ครอบครองให้แก่กันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 และสิทธิครอบครองเป็นสิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 100 เดิม บัญญัติให้หมายรวมเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย ดังนั้นการที่โจทก์โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ให้แก่ผู้รับโอนไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินจำนวน 25,500,000 บาทย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 77
โจทก์ยอมรับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆจำนวน 1,500 ไร่ จากบริษัท ม.เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2532 แทนการรับชำระด้วยเงินสดจำนวน 25,500,000 บาท แล้วโอนขายให้แก่ผู้รับโอนไปจำนวน 56 รายเมื่อระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2532 ถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ในระยะเวลาอันสั้นย่อมเห็นได้ว่า โจทก์มีเจตนารับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆดังกล่าวไว้เพื่อจะโอนต่อให้ผู้อื่นโดยมุ่งในค่าตอบแทนมาแต่ต้น อีกทั้งโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบการค้าดำเนินการให้เช่าช่วงที่ดินตามสัญญาเช่าช่วงที่บริษัท ม.ทำกับโจทก์ ค่าเช่าช่วงที่โจทก์ได้รับจากกิจการย่อมเป็นกำไรที่โจทก์มุ่งจะนำไปแบ่งปันแก่ผู้ถือหุ้น ฉะนั้น การที่โจทก์รับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดจากบริษัท ม.แทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดแล้วโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ดังกล่าวนั้นไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงิน ย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการเพื่อให้ได้เงินค่าเช่าช่วงแต่กิจการที่ทำมาแบ่งปันกำไรให้ผู้ถือหุ้นนั่นเอง นอกจากนี้โจทก์ยังได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ บางส่วน ไปในระหว่างที่โจทก์จดทะเบียน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้า ซื้อขายที่ดิน จัดสรรที่ดินแล้วด้วย ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ไปในทางการค้าหรือหากำไร เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3.5โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับจำนวน 25,500,000 บาท ดังกล่าวตามที่ ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ กับมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเป็นรายเดือนต่อเจ้าพนักงาน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งสถานการค้าตั้งอยู่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 84, 85 และ 85 ทวิแต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ มิได้นำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีโดยแก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการการค้าเพื่อให้ถูกต้องตามความจริง แล้วแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87, 87 ทวิ (2) และ 88 กับมีอำนาจเรียกเบี้ยปรับอีก1 เท่า ของเงินภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (3) และเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ ตลอดจนภาษีบำรุงเทศบาลตาม พ.ร.บ.รายได้เทศบาลพ.ศ.2497 มาตรา 12 (1) ได้ด้วย
โจทก์ยอมรับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆจำนวน 1,500 ไร่ จากบริษัท ม.เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2532 แทนการรับชำระด้วยเงินสดจำนวน 25,500,000 บาท แล้วโอนขายให้แก่ผู้รับโอนไปจำนวน 56 รายเมื่อระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2532 ถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ในระยะเวลาอันสั้นย่อมเห็นได้ว่า โจทก์มีเจตนารับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆดังกล่าวไว้เพื่อจะโอนต่อให้ผู้อื่นโดยมุ่งในค่าตอบแทนมาแต่ต้น อีกทั้งโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบการค้าดำเนินการให้เช่าช่วงที่ดินตามสัญญาเช่าช่วงที่บริษัท ม.ทำกับโจทก์ ค่าเช่าช่วงที่โจทก์ได้รับจากกิจการย่อมเป็นกำไรที่โจทก์มุ่งจะนำไปแบ่งปันแก่ผู้ถือหุ้น ฉะนั้น การที่โจทก์รับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดจากบริษัท ม.แทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดแล้วโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ดังกล่าวนั้นไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงิน ย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการเพื่อให้ได้เงินค่าเช่าช่วงแต่กิจการที่ทำมาแบ่งปันกำไรให้ผู้ถือหุ้นนั่นเอง นอกจากนี้โจทก์ยังได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ บางส่วน ไปในระหว่างที่โจทก์จดทะเบียน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้า ซื้อขายที่ดิน จัดสรรที่ดินแล้วด้วย ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ไปในทางการค้าหรือหากำไร เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3.5โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับจำนวน 25,500,000 บาท ดังกล่าวตามที่ ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ กับมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเป็นรายเดือนต่อเจ้าพนักงาน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งสถานการค้าตั้งอยู่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 84, 85 และ 85 ทวิแต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ มิได้นำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีโดยแก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการการค้าเพื่อให้ถูกต้องตามความจริง แล้วแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87, 87 ทวิ (2) และ 88 กับมีอำนาจเรียกเบี้ยปรับอีก1 เท่า ของเงินภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (3) และเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ ตลอดจนภาษีบำรุงเทศบาลตาม พ.ร.บ.รายได้เทศบาลพ.ศ.2497 มาตรา 12 (1) ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิเข้าข่ายเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
การครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆที่มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะนั้นผู้ครอบครองย่อมมีสิทธิครอบครองและยกขึ้นใช้ยันบุคคลอื่นที่มิใช่รัฐได้ดังนั้นผู้ครอบครองจึงโอนไปซึ่งการครอบครองโดยการส่งมอบที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่ครอบครองให้แก่กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1378และสิทธิครอบครองเป็นสิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา100เดิมบัญญัติให้หมายรวมเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วยดังนั้นการที่โจทก์โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆให้แก่ผู้รับโอนไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินจำนวน25,500,000บาทย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา77 โจทก์ยอมรับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆจำนวน1,500ไร่จากบริษัทม. เมื่อวันที่12พฤษภาคม2532แทนการรับชำระด้วยเงินสดจำนวน25,500,000บาทแล้วโอนขายให้แก่ผู้รับโอนไปจำนวน56รายเมื่อระหว่างวันที่28มิถุนายน2532ถึงวันที่19ตุลาคม2532ในระยะเวลาอันสั้นย่อมเห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนารับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆดังกล่าวไว้เพื่อจะโอนต่อให้ผู้อื่นโดยมุ่งในค่าตอบแทนมาแต่ต้นอีกทั้งโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบการค้าดำเนินการให้เช่าช่วงที่ดินตามสัญญาเช่าช่วงที่บริษัทม.ทำกับโจทก์ค่าเช่าช่วงที่โจทก์ได้รับจากกิจการย่อมเป็นกำไรที่โจทก์มุ่งจะนำไปแบ่งปันแก่ผู้ถือหุ้นฉะนั้นการที่โจทก์รับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดจากบริษัทม. แทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดแล้วโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆดังกล่าวนั้นไม่โดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการเพื่อให้ได้เงินค่าเช่าช่วงแต่กิจการที่ทำมาแบ่งปันกำไรให้ผู้ถือหุ้นนั่นเองนอกจากนี้โจทก์ยังได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆบางส่วนไปในระหว่างที่โจทก์จดทะเบียนมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าซื้อขายที่ดินจัดสรรที่ดินแล้วด้วยดังนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ไปในทางการค้าหรือหากำไรเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า11ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ3.5โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับจำนวน25,500,000บาทดังกล่าวตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา78วรรคหนึ่งบัญญัติไว้กับมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเป็นรายเดือนต่อเจ้าพนักงานณที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งสถานการค้าตั้งอยู่ภายในวันที่15ของเดือนถัดไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา84,85และ85ทวิแต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องกล่าวคือมิได้นำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วยเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีโดยแก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการการค้าเพื่อให้ถูกต้องตามความจริงแล้วแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา87,87ทวิ(2)และ88กับมีอำนาจเรียกเบี้ยปรับอีก1เท่าของเงินภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา89(3)และเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา89ทวิตลอดจนภาษีบำรุงเทศบาลตามพระราชบัญญัติรายได้เทศบาลพ.ศ.2497มาตรา12(1)ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกการล้มละลายและการหลุดพ้นหนี้ภาษีอากร: ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตาม ม.135(3) ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้ทั้งหมด
ตาม ป.รัษฎากรอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุก ๆ ปี และต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวด้วย ส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษี และต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนี้ แสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์สำหรับปี2521 และปี 2522 จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2522 และเดือนมีนาคม 2523ตามลำดับ ส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์สำหรับเดือนกันยายนและตุลาคม 2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 15 ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2521 ตามลำดับ การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง และเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1ได้เรียกตรวจสอบไต่สวน แล้วทำการประเมินตามแบบแจ้งการประเมินเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3 และแจ้งไปยังโจทก์ในภายหลัง ซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ เป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคล-ธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้น เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัย หรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 136 จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลาย ตามมาตรา 135 (3) และ (4) เอาไว้ แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา 135 (3) และ (4) ก็เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้ว ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดกรณีจึงไม่อาจนำมาตรา 77 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้ ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ฉ้อฉลภาษีหรือไม่อีกต่อไป
เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 136 จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลาย ตามมาตรา 135 (3) และ (4) เอาไว้ แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา 135 (3) และ (4) ก็เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้ว ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดกรณีจึงไม่อาจนำมาตรา 77 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้ ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ฉ้อฉลภาษีหรือไม่อีกต่อไป
เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกการล้มละลายทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินทั้งหมด แม้มีหนี้ภาษีเกิดขึ้นก่อนศาลสั่งยกเลิก
ตามประมวลรัษฎากรอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุกๆปีและต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวด้วยส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษีและต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่15ของเดือนถัดไปดังนี้แสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์สำหรับปี2521และปี2522จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม2522และเดือนมีนาคม2523ตามลำดับส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์สำหรับเดือนกันยายนและตุลาคม2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่15ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน2521ตามลำดับการที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่1ได้เรียกตรวจสอบไต่สวนแล้วทำการประเมินตามแบบแจ้งการประเมินเอกสารหมายล.1ถึงล.3และแจ้งไปยังโจทก์ในภายหลังซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วนหาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยหรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน แม้พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา136จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)และ(4)เอาไว้แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา135(3)และ(4)ก็เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้วลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดกรณีจึงไม่อาจนำมาตรา77ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ฉ้อฉลภาษีหรือไม่อีกต่อไป เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายมาตรา135(3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมดซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้องจำเลยที่2ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ย่อมต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วน เมื่อกรมสรรพากรเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย อันอาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยได้
มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพิ่งมีคำวินิจฉัยภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชำระค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน เป็นเรื่องให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ออำเภอภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 68 ต้องนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52 และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 86 รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม ดังนั้น หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ปี 2518 ถึง 2520 จึงถึงกำหนดชำระภายใน 150 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้น ๆ หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าแรงงานแต่ละคราวในปี 2517 ถึงปี 2519 ถึงกำหนดชำระภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินแต่ละคราวและหนี้ค่าภาษีการค้าในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคมและสิงหาคม 2520 ถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนเมษายน มิถุนายน สิงหาคมและกันยายน 2520 ตามลำดับศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2522 กำหนด 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์คือวันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 หนี้ค่าภาษีดังกล่าวจึงถึงกำหนดก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน
เงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ เป็นเงินเพิ่มเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่จะต้องชำระแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ต้องเสียเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีการค้าที่ต้องชำระ เงินเพิ่มภาษีการค้าจึงถึงกำหนดชำระเป็นเดือน ๆ ไปนับแต่วันที่ 15 ของเดือนที่ต้องชำระภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นมาย่อมเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6)
ภาษีเทศบาลหรือภาษีท้องถิ่นเป็นภาษีที่คำนวณมาจากภาษีการค้าอัตราร้อยละ 10 ของภาษีการค้า เมื่อเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนหนึ่งเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6) ภาษีเทศบาลจำนวนเท่ากับร้อยละ 10 ของเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนนั้นก็เป็นหนี้ตามมาตรา 130(6) เช่นเดียวกัน
มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพิ่งมีคำวินิจฉัยภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชำระค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน เป็นเรื่องให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ออำเภอภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 68 ต้องนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52 และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 86 รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม ดังนั้น หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ปี 2518 ถึง 2520 จึงถึงกำหนดชำระภายใน 150 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้น ๆ หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าแรงงานแต่ละคราวในปี 2517 ถึงปี 2519 ถึงกำหนดชำระภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินแต่ละคราวและหนี้ค่าภาษีการค้าในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคมและสิงหาคม 2520 ถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนเมษายน มิถุนายน สิงหาคมและกันยายน 2520 ตามลำดับศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2522 กำหนด 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์คือวันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 หนี้ค่าภาษีดังกล่าวจึงถึงกำหนดก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน
เงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ เป็นเงินเพิ่มเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่จะต้องชำระแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ต้องเสียเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีการค้าที่ต้องชำระ เงินเพิ่มภาษีการค้าจึงถึงกำหนดชำระเป็นเดือน ๆ ไปนับแต่วันที่ 15 ของเดือนที่ต้องชำระภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นมาย่อมเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6)
ภาษีเทศบาลหรือภาษีท้องถิ่นเป็นภาษีที่คำนวณมาจากภาษีการค้าอัตราร้อยละ 10 ของภาษีการค้า เมื่อเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนหนึ่งเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6) ภาษีเทศบาลจำนวนเท่ากับร้อยละ 10 ของเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนนั้นก็เป็นหนี้ตามมาตรา 130(6) เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรและการเฉลี่ยทรัพย์: การประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายและการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีค้างชำระ
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้า โดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84,85 ทวิ กำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วัน นับแต่วันจ่ายเงินตามมาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้ว การประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้ว จึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)
ตามมาตรา 84,85 ทวิ กำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วัน นับแต่วันจ่ายเงินตามมาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้ว การประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้ว จึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร, การประเมินภาษี, สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้, การเฉลี่ยทรัพย์
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84, 85 ทวิกำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินตาม มาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้วการประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปีนับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปีสิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้วจึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)
ตามมาตรา 84, 85 ทวิกำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินตาม มาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้วการประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปีนับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปีสิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้วจึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ภาษีอากรในคดีล้มละลาย: เกิน 6 เดือน vs. ภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้หนีภาษีอากรจะเป็นหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษและบัญญัติขึ้นภายหลังได้กำหนดลำดับสิทธิในการที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไว้ตามมาตรา 130 จึงเป็นข้อยกเว้นจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป ในการขอรับชำระหนี้ภาษีอากร จึงต้องถือตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสำคัญ
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีและการล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องชำระหนี้เมื่อผู้ประกอบการล้มละลาย พิจารณาจากกำหนดชำระหนี้และคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
"เงินเพิ่ม" ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี ให้ถือว่าเป็นเงินภาษีและ ถือว่าได้เกิดขึ้นแล้วพร้อมกับหนี้ภาษีการค้า เมื่อกรมสรรพากรมีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีการค้าก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระเงินเพิ่มด้วยแม้ว่ามูลหนี้ภาษีการค้าจะเกิดขึ้นก่อนผู้ประกอบการค้าถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานประเมินจะมิได้แจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าก็ตาม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1826/2511)
ห้างจำเลยและผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลาย กรมสรรพากรยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้าซึ่งห้างจำเลยค้างชำระในฐานะหนี้บุริมสิทธิ(ลำดับ 6) ศาลชั้นต้นสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น เพราะกรมสรรพากรมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของห้างจำเลยภายในกำหนด กรมสรรพากรมิได้อุทธรณ์โต้แย้ง การที่กรมสรรพากรจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในลำดับใด ต้องถือวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยซึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้กรมสรรพากรได้รับชำระหนี้เป็นยุติไปแล้วมาเป็นเกณฑ์หาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าหนี้ค่าภาษีการค้าที่ขอรับชำระหนี้ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนกรมสรรพากรย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนในลำดับ 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา 130 คงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะหนี้อื่นๆ ตามลำดับ 8 เท่านั้น
ห้างจำเลยและผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลาย กรมสรรพากรยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้าซึ่งห้างจำเลยค้างชำระในฐานะหนี้บุริมสิทธิ(ลำดับ 6) ศาลชั้นต้นสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น เพราะกรมสรรพากรมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของห้างจำเลยภายในกำหนด กรมสรรพากรมิได้อุทธรณ์โต้แย้ง การที่กรมสรรพากรจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในลำดับใด ต้องถือวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยซึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้กรมสรรพากรได้รับชำระหนี้เป็นยุติไปแล้วมาเป็นเกณฑ์หาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าหนี้ค่าภาษีการค้าที่ขอรับชำระหนี้ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนกรมสรรพากรย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนในลำดับ 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา 130 คงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะหนี้อื่นๆ ตามลำดับ 8 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีและเงินเพิ่มในคดีล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องและการลำดับการชำระหนี้
"เงินเพิ่ม" ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี ให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และ ถือว่าได้เกิดขึ้นแล้วพร้อมกับหนี้ภาษีการค้า เมื่อกรมสรรพากรมีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีการค้าก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระเงินเพิ่มด้วย แม้ว่ามูลหนี้ภาษีการค้าจะเกิดขึ้นก่อนผู้ประกอบการค้าถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานประเมินจะมิได้แจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าก็ตาม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1826/2511)
ห้างจำเลยและผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลาย กรมสรรพากรยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้าซึ่งห้างจำเลยค้างชำระในฐานะหนี้บุริมสิทธิ (ลำดับ 6) ศาลชั้นต้นสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น เพราะกรมสรรพากรมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของห้างจำเลยภายในกำหนด กรมสรรพากรมิได้อุทธรณ์โต้แย้งการที่กรมสรรพากรจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในลำดับใด ต้องถือวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลย ซึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้กรมสรรพากรได้รับชำระหนี้เป็นยุติไปแล้วมาเป็นเกณฑ์หาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าหนี้ค่าภาษีการค้าที่ขอรับชำระหนี้ ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนกรมสรรพากรย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนในลำดับ 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 130 คงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะหนี้อื่นๆ ตามลำดับ 8 เท่านั้น
ห้างจำเลยและผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลาย กรมสรรพากรยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้าซึ่งห้างจำเลยค้างชำระในฐานะหนี้บุริมสิทธิ (ลำดับ 6) ศาลชั้นต้นสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น เพราะกรมสรรพากรมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของห้างจำเลยภายในกำหนด กรมสรรพากรมิได้อุทธรณ์โต้แย้งการที่กรมสรรพากรจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในลำดับใด ต้องถือวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลย ซึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้กรมสรรพากรได้รับชำระหนี้เป็นยุติไปแล้วมาเป็นเกณฑ์หาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าหนี้ค่าภาษีการค้าที่ขอรับชำระหนี้ ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนกรมสรรพากรย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนในลำดับ 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 130 คงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะหนี้อื่นๆ ตามลำดับ 8 เท่านั้น