พบผลลัพธ์ทั้งหมด 857 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำทางน้ำสาธารณะด้วยการก่อสร้างกำแพง เจ้าของที่ดินไม่มีสิทธิในที่ดินสาธารณะ
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 16573 และ 17726 ทิศใต้ของที่ดินทั้งสองแปลงมีลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ตั้งอยู่ ลำกระโดงดังกล่าวชาวบ้านได้ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำมาเป็นเวลานับสิบ ๆ ปี โดยไม่มีผู้ใดขัดขวางหวงห้าม นอกจากนี้ทางราชการยังเคยเข้าไปขุดลอกเมื่อลำกระโดงนั้นตื้นเขิน ถือได้โดยปริยายว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นลำกระโดงให้เป็นทางน้ำสาธารณประโยชน์แล้วลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) ซึ่งไม่อาจโอนให้กันได้ การที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารกำแพงอิฐบล็อคคอนกรีตเสริมเหล็กรุกล้ำเข้าไปในลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ซึ่งเป็นทางน้ำสาธารณประโยชน์โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 69 และข้อ 72 วรรคแรก เมื่อปรากฏว่ากำแพงอิฐบล็อคคอนกรีตเสริมเหล็กของจำเลยทั้งสองในส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในลำกระโดงดังกล่าวไม่สามารถที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 72 วรรคแรกได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตกรุงเทพมหานคร จึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารกำแพงอิฐบล็อคคอนกรีตเสริมเหล็กให้พ้นพื้นที่ลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ทุนทรัพย์เกิน & ประเด็นใหม่, ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อปรากฏว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12)พ.ศ. 2534 มาตรา 18 ปัญหาว่า บิดาโจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ได้แจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)และครอบครองต่อเนื่องตลอดมา เป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 ทางราชการหรือประชาชนจะกล่าวอ้างว่าเป็นหนองน้ำสาธารณะใช้ประโยชน์ร่วมกันหาได้ไม่ เป็นฎีกาข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทรัพย์สิน: ทุนทรัพย์เกินกำหนดและประเด็นใหม่
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อปรากฎว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคแรก ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534 มาตรา 18
ปัญหาว่า บิดาโจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนใช้ประมวล-กฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ได้แจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) และครอบครองต่อเนื่องตลอดมา เป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ทางราชการหรือประชาชนจะกล่าวอ้างว่าเป็นหนองน้ำสาธารณะใช้ประโยชน์ร่วมกันหาได้ไม่เป็นฎีกาข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
ปัญหาว่า บิดาโจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนใช้ประมวล-กฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ได้แจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) และครอบครองต่อเนื่องตลอดมา เป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ทางราชการหรือประชาชนจะกล่าวอ้างว่าเป็นหนองน้ำสาธารณะใช้ประโยชน์ร่วมกันหาได้ไม่เป็นฎีกาข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องภาระจำยอมซ้ำ: ประเด็นต่างกัน, ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้ใช้เหตุจากลำรางสาธารณะเดียวกัน
คดีเดิมโจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางภาระจำยอมอ้างว่าได้ภาระจำยอมโดยอายุความเป็นทางรถยนต์กว้างประมาณ 4 เมตร แต่อ้างว่าทางพิพาทเดิมเป็นลำรางสาธารณะและตื้นเขินกลายเป็นทาง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อทางพิพาทเป็นลำรางสาธารณะซึ่งตื้นเขินจึงไม่อาจอ้างว่าได้ภาระจำยอมคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยอ้างว่าทางสาธารณะซึ่งเดิมเป็นลำรางนั้นกว้างเพียง 1.8 เมตร แต่โจทก์ทั้งสี่และชาวบ้านได้ใช้รถยนต์ผ่านทางนั้นและรุกล้ำเข้าไปในที่ดินจำเลยอีกประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ 18 เมตร โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาใช้เป็นทางผ่านเข้าออกเป็นเวลากว่า10 ปี ทางกว้าง 2 เมตรจึงเป็นทางภาระจำยอม ดังนี้ประเด็นในคดีก่อนกับประเด็นในคดีนี้จึงต่างกัน คดีนี้มีประเด็นตามคำฟ้องว่า ทางกว้างประมาณ 2 เมตรยาวประมาณ 18 เมตร ในที่ดินจำเลยเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ ส่วนปัญหาว่าคดีก่อนโจทก์ทั้งสี่อ้างว่าลำรางสาธารณะที่ตื้นเขินกลายเป็นทางกว้างประมาณ4 เมตร จะคลุมถึงทางรถยนต์ที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ว่าอยู่ในที่ดินของจำเลยกว้างประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ 18 เมตร หรือไม่นั้น จำเลยให้การในคดีก่อนว่าทางสาธารณะกว้างเพียง 1 เมตร เท่านั้น และโจทก์ทั้งสี่ใช้รถยนต์ผ่านทางเข้ามาในที่ของจำเลยกว้างประมาณ 1.8 เมตร จำเลยจึงสร้างกำแพงกั้น ดังนั้นประเด็นที่ว่าทางสาธารณะคลุมถึงทางที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้หรือไม่ ศาลยังมิได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อนฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางภารจำยอม: ประเด็นต่างกัน แม้ใช้ที่ดินแปลงเดียวกัน ศาลล่างพิพากษาคลาด
คดีเดิมโจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางภารจำยอมอ้างว่าได้ภารจำยอมโดยอายุความเป็นทางรถยนต์กว้างประมาณ 4 เมตร แต่อ้างว่าทางพิพาทเดิมเป็นลำรางสาธารณะและตื้นเขินกลายเป็นทาง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อทางพิพาทเป็นลำรางสาธารณะซึ่งตื้นเขินจึงไม่อาจอ้างว่าได้ภารจำยอมคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยอ้างว่าทางสาธารณะซึ่งเดิมเป็นลำรางนั้นกว้างเพียง 1.80 เมตรแต่โจทก์ทั้งสี่และชาวบ้านได้ใช้รถยนต์ผ่านทางนั้นและรุกล้ำเข้าไปในที่ดินจำเลยอีกประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ18 เมตร โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาใช้เป็นทางเข้าออกเป็นเวลากว่า 10 ปี ทางกว้าง 2 เมตรจึงเป็นทางภารจำยอม ดังนี้ประเด็นในคดีก่อนกับประเด็นในคดีนี้จึงต่างกัน คดีนี้มีประเด็นตามคำฟ้องว่า ทางกว้างประมาณ2 เมตร ยาวประมาณ 18 เมตร ในที่ดินจำเลยเป็นทางภารจำยอมหรือไม่ ส่วนปัญหาว่าคดีก่อนโจทก์ทั้งสี่อ้างว่าลำรางสาธารณะที่ตื้นเขินกลายเป็นทางกว้างประมาณ4 เมตร จะคลุมถึงทางรถยนต์ที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ว่าอยู่ในที่ดินของจำเลยกว้างประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ18 เมตร หรือไม่นั้น จำเลยให้การในคดีก่อนว่าทางสาธารณะกว้างเพียง 1 เมตร เท่านั้น และโจทก์ทั้งสี่ใช้รถยนต์ผ่านทางเข้ามาในที่ของจำเลยกว้างประมาณ 1.80 เมตรจำเลยจึงสร้างกำแพงกั้น ดังนั้นประเด็นที่ว่าทางสาธารณะคลุมถึงทางที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้หรือไม่ ศาลยังมิได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อนฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5361/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การกำหนดทางออกที่ดินเมื่อไม่มีทางเข้าออกสู่สาธารณะ และการครอบครองปรปักษ์
คลองโพธิ์หักใช้เป็นทางไปมาไม่ได้เป็นเวลานานแล้ว จึงมิใช่ทางสาธารณะ ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองโพธิ์หัก จึงไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5361/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเนื่องจากคลองถูกปิดใช้งาน
คลองโพธิ์หักใช้เป็นทางไปมาไม่ได้เป็นเวลานานแล้ว จึงมิใช่ทางสาธารณะ ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองโพธิ์หัก จึงไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4763/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อมจนไม่มีทางออกสู่สาธารณะ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมที่ดินของโจทก์และของจำเลยที่ 1เป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ต่อมามีการแบ่งแยกเป็นแปลงย่อย ทำให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะทั้ง ๆ ที่โจทก์และบริวารได้ใช้ทางพิพาทตลอดแนวที่ดินของจำเลยที่ 1 ด้านทิศตะวันออกเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะดังกล่าวโดยความสงบและโดยเปิดเผยมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ถือว่าทางพิพาทเป็นทางภาระ-จำยอมหรือทางจำเป็นแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนและรื้อรั้วเฉพาะส่วนที่ปิดกั้นทางพิพาท ข้อความที่ว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือทาง-จำเป็น เป็นเพียงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่าความจริงทางดังกล่าวเป็นทางประเภทใดกันแน่ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นซึ่งแบ่งแยกออกมาจากที่ดินแปลงเดิมกับที่ดินของโจทก์ล้อมอยู่จนไม่มีทางออกทางสาธารณะได้ แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 ได้แบ่งยกที่ดินทางทิศตะวันตกให้เป็นทางสาธารณะอีกทางหนึ่งแต่หากโจทก์ใช้ทางดังกล่าวจะต้องผ่านที่ดินแปลงอื่นอีกสามแปลงและสามเจ้าของซึ่งผิดกับทางพิพาทที่โจทก์ผ่านเข้าออกที่ดินของจำเลยที่ 1 ด้านทิศตะวันตกและมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่ก่อนแล้ว มีระยะทางสั้นกว่าประมาณ 15 เมตร เท่านั้นการใช้ทางพิพาทจึงสะดวกกว่าการไปใช้ทางอื่น ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์
เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นซึ่งแบ่งแยกออกมาจากที่ดินแปลงเดิมกับที่ดินของโจทก์ล้อมอยู่จนไม่มีทางออกทางสาธารณะได้ แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 ได้แบ่งยกที่ดินทางทิศตะวันตกให้เป็นทางสาธารณะอีกทางหนึ่งแต่หากโจทก์ใช้ทางดังกล่าวจะต้องผ่านที่ดินแปลงอื่นอีกสามแปลงและสามเจ้าของซึ่งผิดกับทางพิพาทที่โจทก์ผ่านเข้าออกที่ดินของจำเลยที่ 1 ด้านทิศตะวันตกและมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่ก่อนแล้ว มีระยะทางสั้นกว่าประมาณ 15 เมตร เท่านั้นการใช้ทางพิพาทจึงสะดวกกว่าการไปใช้ทางอื่น ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4763/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การเข้าถึงทางสาธารณะเมื่อที่ดินถูกล้อมรอบ และการพิจารณาความสะดวกในการใช้ทาง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมที่ดินของโจทก์และของจำเลยที่ 1เป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ต่อมามีการแบ่งแยกเป็นแปลงย่อย ทำให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะทั้ง ๆ ที่โจทก์และบริวารได้ใช้ทางพิพาทตลอดแนวที่ดินของจำเลยที่ 1 ด้านทิศตะวันออกเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะดังกล่าวโดยความสงบและโดยเปิดเผยมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ถือว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนและรื้อรั้วเฉพาะส่วนที่ปิดกั้นทางพิพาท ข้อความที่ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็น เป็นเพียงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่าความจริงทางดังกล่าวเป็นทางประเภทใดกันแน่ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นซึ่งแบ่งแยกออกมาจากที่ดินแปลงเดิมกับที่ดินของโจทก์ล้อมอยู่จนไม่มีทางออกทางสาธารณะได้ แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 ได้แบ่งยกที่ดินทางทิศตะวันตกให้เป็นทางสาธารณะอีกทางหนึ่ง แต่หากโจทก์ใช้ทางดังกล่าวจะต้องผ่านที่ดินแปลงอื่นอีกสามแปลงและสามเจ้าของซึ่งผิดกับทางพิพาทที่โจทก์ผ่านเข้าออกที่ดินของจำเลยที่ 1 ด้านทิศตะวันตกและมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่ก่อนแล้ว มีระยะทางสั้นกว่าประมาณ15 เมตร เท่านั้น การใช้ทางพิพาทจึงสะดวกกว่าการไปใช้ทางอื่นทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหลังตัวการเสียชีวิต และข้อจำกัดในการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
แม้โจทก์ที่ 13 ถึงแก่กรรมก่อนฟ้องเพียง 9 วัน ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 13 ก็ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนเพราะสัญญาตั้งตัวแทนย่อมระงับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 826 วรรคสองและไม่ปรากฏว่าการฟ้องคดีนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ตัวแทนต้องจัดการเพื่อจะปกปักรักษาประโยชน์ตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 13จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาว่าที่พิพาทไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพราะไม่มีการออกพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 จึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งปัญหาว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้อง และไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน