พบผลลัพธ์ทั้งหมด 857 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2084/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์: สิทธิครอบครองและค่าเสียหายจากการปรับปรุงเพื่อสร้างโรงเรียน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสิบห้าบุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาท ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งหน้าดิน กับไถดินปิดกั้นทางเกวียน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสิบห้าและให้จำเลยทั้งสิบห้าร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย แต่ทางพิจารณาข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง และการที่จำเลยเข้าไปปรับปรุงที่ดินพิพาทก็เพื่อใช้เป็นที่สร้างโรงเรียน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ไม่สามารถเข้าทำนาในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ราชพัสดุ-โบราณสถาน: สิทธิของแผ่นดินเหนือที่ดินส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองโบราณและอำนาจฟ้องคดีของกรมธนารักษ์
เอกสารท้ายฟ้องระบุว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการฯรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้สั่งมอบอำนาจให้อธิบดีกรมธนารักษ์ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในเรื่องต่างๆรวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีจึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่อธิบดีกรมธนารักษ์นำมาฟ้องคดีแทนกระทรวงการคลังโจทก์ได้ไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจโดยเฉพาะอีกและเป็นการกระทำการในนามของรัฐบาลจึงต้องด้วยมาตรา121แห่งประมวลรัษฎากรไม่ต้องปิดแสตมป์ ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงชั้นนอกของเมืองโบราณจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(3)และมีการขึ้นทะเบียนกำแพงเมืองเป็นที่ราชพัสดุและเป็นโบราณสถานไว้แล้วจึงไม่ใช่ที่รกร้างว่างเปล่าแต่เป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติ ที่ราชพัสดุพ.ศ.2518มาตรา4ซึ่งกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามมาตรา5ราษฎร์ย่อมไม่อาจยึดถือเอาเป็นกรรมสิทธิ์หรือโอนกันได้โดยรัฐไม่จำต้องประกาศหวงห้ามอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ราชพัสดุประเภททรัพย์สินเพื่อประโยชน์แผ่นดิน: สิทธิรัฐเหนือที่ดินโบราณและอำนาจฟ้องคดี
เอกสารท้ายฟ้องระบุว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้สั่งมอบอำนาจให้อธิบดีกรมธนารักษ์ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีจึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่อธิบดีกรมธนารักษ์นำมาฟ้องคดีแทนกระทรวงการคลังโจทก์ได้ ไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจโดยเฉพาะอีกและเป็นการกระทำการในนามของ รัฐบาล จึงต้องด้วยมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากรไม่ต้องปิดแสตมป์ ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงชั้นนอกของเมืองโบราณ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3)และมีการขึ้นทะเบียนกำแพงเมืองเป็นที่ราชพัสดุและเป็นโบราณสถานไว้แล้ว จึงไม่ใช่ที่รกร้างว่างเปล่า แต่เป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติ ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ซึ่งกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 5 ราษฎร์ย่อมไม่อาจยึดถือเอาเป็นกรรมสิทธิ์หรือโอนกันได้ โดยรัฐไม่จำต้องประกาศหวงห้ามอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่จากสัญญาเช่าบนที่ดินที่สุขาภิบาลจัดให้เช่า แม้เดิมเป็นคลองสาธารณะ
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นคลองซึ่งประชาชนใช้ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต่อมาสุขาภิบาลได้ถมคลองแล้วจัดให้ประชาชนวางแผงลอย โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาวางแผนลอยบนที่ดินพิพาทกับสุขาภิบาล แล้วจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงจำเลยไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่: ผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินที่สุขาภิบาลจัดให้เช่า สามารถฟ้องขับไล่ผู้เช่าได้ แม้ที่ดินเดิมเป็นสาธารณสมบัติ
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นคลองซึ่งประชาชนใช้ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต่อมาสุขาภิบาลได้ถมคลองแล้วจัดให้ประชาชนวางแผงลอย โจทก์เป็นผู้เข้าทำสัญญาวางแผงลอยบนที่ดินพิพาทกับสุขาภิบาล ต่อมาโจทก์นำที่ดินพิพาทให้จำเลยเช่าเพื่อสร้างอาคารแบบร้านค้า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทและจำเลยได้เช่าที่ดินดังกล่าวจากโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์ การรุกล้ำลำรางสาธารณะ และอำนาจหน้าที่ของเทศบาลในการดูแลรักษา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินสาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาล จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารเลขที่ 54/8 รุกล้ำเข้าไปในลำรางสาธารณะที่ตื้นเขินกลายสภาพเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาล เนื้อที่ 4.4 ตารางวา ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วโจทก์ไม่ต้องแสดงโฉนดหรือหลักฐานแห่งที่ดินว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์อย่างไร เพราะการเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่เป็นไปตามสภาพของที่ดิน และโจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้องว่า ที่ดินสาธารณประโยชน์ทั้งหมดมีเนื้อที่เท่าใดจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำตั้งแต่เมื่อใด มีเขตกว้างยาวเท่าใดเพราะเป็นรายละเอียดที่คู่ความอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ลำรางสาธารณประโยชน์สำหรับระบายน้ำจากภูเขาซึ่งมีมานานแล้วเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาจะไม่มีสภาพเป็นทางระบายน้ำต่อไปและไม่มีราษฎรใช้ประโยชน์เมื่อยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามมาตรา 8 ประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินนั้นยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม ที่งอกริมตลิ่ง หมายถึงที่ดินที่งอกไปจากตลิ่งตามธรรมชาติซึ่งเกิดจากการที่สายน้ำพัดพาดินจากที่อื่นมาทับถมกันริมตลิ่งจนเกิดที่งอกขึ้น มิใช่งอกจากที่อื่นเข้ามาหาตลิ่ง โจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตเทศบาลตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่สาธารณประโยชน์: โจทก์มีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนได้แม้ไม่มีโฉนด หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในลำรางสาธารณะที่ตื้นเขินกลายสภาพเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาล เนื้อที่ 4.4 ตารางวา ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำดังกล่าว เป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว โจทก์ไม่ต้องแสดงโฉนดหรือหลักฐานแห่งที่ดินว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์อย่างไรเพราะการเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่ เป็นไปตามสภาพของที่ดินและโจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้องว่า ที่ดินสาธารณประโยชน์ทั้งหมดมีเนื้อที่เท่าใด จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินแต่เมื่อใด มีเขตกว้างยาวเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดที่คู่ความอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ลำรางซึ่งมีมานาน เดิมมีสภาพเป็นคลองระบายน้ำจากภูเขาลงสู่คลองซึ่งอยู่ในเขตเทศบาล ไม่มีเอกชนผู้ใดขุดขึ้นใช้ประโยชน์ส่วนตัว เป็นลำรางสาธารณประโยชน์ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาจะตื้นเขินขึ้นตามธรรมชาติหรือมีผู้ถมดินรุกล้ำเข้ามาไม่มีสภาพเป็นทางระบายน้ำต่อไป และไม่มีราษฎรใช้ประโยชน์ก็ตาม เมื่อทางราชการยังมิได้พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 8ประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินนั้นก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม ที่งอกริมตลิ่ง หมายถึงที่ดินที่งอกไปจากตลิ่งตามธรรมชาติซึ่งเกิดจากที่สายน้ำพัดพาที่ดินจากที่อื่นมาทับถมกันริมตลิ่งจนเกิดที่งอกขึ้น มิใช่งอกจากที่อื่นเข้ามาหาตลิ่ง เทศบาลโจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตเทศบาลตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำลำรางสาธารณะที่ตื้นเขินกลายสภาพเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาลได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ไม้ขบดงในป่าสงวน: ความแตกต่างระหว่างฟ้องกับข้อเท็จจริงนำไปสู่การยกฟ้อง
ไม้ขบดง ซึ่งขึ้นเองตามธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ผู้เสียหายครอบครองทำประโยชน์อยู่ ย่อมเป็นของรัฐไม่ใช่ของผู้เสียหาย แต่โจทก์ฟ้องว่าเป็นของผู้เสียหายถูกจำเลยตัดและนำไปแปรรูปเป็นไม้ของกลาง ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญ ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือที่ดินสาธารณะและการรบกวนสิทธิ โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์ มิใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้อง จำเลยข้อหาบุกรุกได้ ทำเลเลี้ยงสัตว์เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โจทก์ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนที่จำเลยจะนำเอาเสาปูนซีเมนต์เข้าไปปักและอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลย ในระหว่างโจทก์และจำเลยสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่เหนือที่พิพาทย่อมดีกว่าจำเลยการกระทำของจำเลยจึงเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิของโจทก์และเรียกค่าเสียหายได้ โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุกนำเอาเสาปูนซีเมนต์เข้าไปปัก ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362และให้จำเลยและบริวารออกจากที่พิพาทของโจทก์ซึ่งเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้ฟ้องโจทก์จะยืนยันว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ก็ตาม แต่การนำสืบข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องย่อมกระทำได้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือที่ดินสาธารณะ การรบกวนสิทธิ และอำนาจฟ้องคดีอาญา/แพ่ง
ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์มิใช่ของโจทก์โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องจำเลยข้อหาบุกรุกได้ ทำเลเลี้ยงสัตว์เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันโจทก์ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนที่จำเลยจะนำเอาเสาปูนซีเมนต์เข้าไปปักและอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยในระหว่างโจทก์และจำเลยสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่เหนือที่พิพาทย่อมดีกว่าจำเลยการกระทำของจำเลยจึงเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิของโจทก์และเรียกค่าเสียหายได้ โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์จำเลยบุกรุกนำเอาเสาปูนซีเมนต์เข้าไปปักขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362และให้จำเลยและบริวารออกจากที่พิพาทของโจทก์ซึ่งเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแม้ฟ้องโจทก์จะยืนยันว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ก็ตามแต่การนำสืบข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องย่อมกระทำได้ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น