พบผลลัพธ์ทั้งหมด 857 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินเช่าที่กลายเป็นที่ชายตลิ่ง สิทธิของผู้เช่าสิ้นสุดเมื่อสัญญาหมดอายุ
จำเลยปลูกบ้านในที่ดินพิพาทที่เช่าจากโจทก์ ต่อมาที่ดินพิพาทใต้บ้านถูกน้ำกัดเซาะเป็นเหตุให้ตลิ่งพังทลายลงสู่แม่น้ำกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งโดยที่จำเลยยังคงทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ตลอดมาและโจทก์ยังคงสงวนสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เป็นค่าเช่าที่ดินพิพาทอยู่ มิได้ปล่อยทิ้งให้เป็นที่ชายตลิ่งที่ประชาชนทั่วไปจะเข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทสิ้นสุดลงจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์อีกต่อไป โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6634/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นหากทรายชายทะเลชาวบ้านใช้ตากกุ้งและตากปลาอันเป็นการใช้ทรัพย์สินของแผ่นดินเพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาจะเปลี่ยนแปลงสภาพโดยธรรมชาติทะเลตื้นเขินขึ้น แต่ก็เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) ตราบใดที่ทางราชการยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ ผู้ใดหามีสิทธิครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ไม่ เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ยึดถือที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5684/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิในที่ดินสิ้นสุดเมื่อมีการชำระค่าทดแทน แม้จะมีการอุทธรณ์
จำเลยที่ 2 เจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฯ มอบหมายให้ บ. ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักการโยธา ตกลงซื้อขายที่ดินของโจทก์ที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพร้อมกับทำสัญญาซื้อขายและจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ...(ในกรณีไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน) และโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้จากจำเลยแล้ว จึงเป็นการดำเนินการจัดซื้อตามขั้นตอนของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 10 ให้อำนาจไว้ และที่โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเพิ่มขึ้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามที่ตนสงวนสิทธิไว้ก็โดยอาศัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ให้สิทธิไว้เช่นกัน
การโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 11 วรรคสอง ให้ถือว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตกลงซื้อขายกันได้ตามมาตรา 10 นับแต่วันชำระเงินตามมาตรา 11 วรรคหนึ่งดังนั้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนตกเป็นของจำเลยนับแต่วันที่โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนจากจำเลยแล้วเมื่อที่ดินของโจทก์ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยภายในเวลาที่พระราชกฤษฎีกาฯ ยังมีผลใช้บังคับอยู่จากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้ว ก็ไม่ต้องมีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาเวนคืนที่ดินของโจทก์อีก ทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวได้กลายสภาพเป็นบึงรับน้ำตามโครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครไปแล้ว สภาพของที่ดินจึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 โจทก์จะอ้างกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินและฟ้องเรียกร้องเอาที่ดินคืนมิได้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 10 วรรคสอง บัญญัติถึงในกรณีที่สามารถตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามวรรคหนึ่งได้ แต่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนไว้ด้วย ดังนั้น ที่มาตรา 11 ใช้คำว่า "ในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10" จึงหมายถึงการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้เท่านั้น ส่วนที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนก็ให้ผู้ถูกเวนคืนสงวนสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีไว้เพื่อผู้ถูกเวนคืนที่ยังไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดไว้จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และฟ้องขอเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นตามขั้นตอนต่อไปของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ
การโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 11 วรรคสอง ให้ถือว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตกลงซื้อขายกันได้ตามมาตรา 10 นับแต่วันชำระเงินตามมาตรา 11 วรรคหนึ่งดังนั้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนตกเป็นของจำเลยนับแต่วันที่โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนจากจำเลยแล้วเมื่อที่ดินของโจทก์ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยภายในเวลาที่พระราชกฤษฎีกาฯ ยังมีผลใช้บังคับอยู่จากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้ว ก็ไม่ต้องมีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาเวนคืนที่ดินของโจทก์อีก ทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวได้กลายสภาพเป็นบึงรับน้ำตามโครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครไปแล้ว สภาพของที่ดินจึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 โจทก์จะอ้างกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินและฟ้องเรียกร้องเอาที่ดินคืนมิได้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 10 วรรคสอง บัญญัติถึงในกรณีที่สามารถตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามวรรคหนึ่งได้ แต่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนไว้ด้วย ดังนั้น ที่มาตรา 11 ใช้คำว่า "ในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10" จึงหมายถึงการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้เท่านั้น ส่วนที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนก็ให้ผู้ถูกเวนคืนสงวนสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีไว้เพื่อผู้ถูกเวนคืนที่ยังไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดไว้จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และฟ้องขอเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นตามขั้นตอนต่อไปของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3772-3775/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ โจทก์ออกโฉนดโดยไม่ชอบ จำเลยมีสิทธิในที่ดินดีกว่า
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินที่ประกาศให้เป็นที่หวงห้ามสำหรับประชาชนใช้เลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันการที่โจทก์ออกโฉนดที่ดินโดยอาศัยสิทธิจากการแจ้งการครอบครองภายหลังประกาศดังกล่าว แม้โจทก์จะซื้อมาโดยสุจริตและโฉนดที่ดินยังไม่ถูกเพิกถอนก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์มิได้ครอบครองอยู่ก่อนแล้วจำเลยเข้าแย่งจากโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นกรณีที่ราษฎรฟ้องกันเองว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาสำนวนละ200 บาท
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นกรณีที่ราษฎรฟ้องกันเองว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาสำนวนละ200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3769/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะทางสาธารณะของที่ดิน: พยานหลักฐานต้องชัดเจนว่ามีการอุทิศให้เป็นสาธารณะโดยเจ้าของที่ดินหรือหน่วยงานรัฐ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทปัจจุบันเป็นซอยทองหล่อ 18 โจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะถนนสุขุมวิท 55 โดยโจทก์แนบแผนที่สังเขปมาท้ายคำฟ้องซึ่งแสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่าที่ดินของโจทก์อยู่สุดซอยทองหล่อ 18 ติดกับคลองเป้งและติดกับที่ดินของ ท. ซึ่งเป็นทางเชื่อมกับที่ดินพิพาทเพื่อออกสู่ถนนสุขุมวิท 55แผนที่สังเขปท้ายคำฟ้องย่อมถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย เป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าที่ดินของโจทก์ ที่ดินของ ท. และที่ดินพิพาทอยู่ในบริเวณใดและมีสภาพเป็นอย่างไรคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ที่ดินของโจทก์อยู่สุดซอยทองหล่อ 18 แม้โจทก์ไม่เคยอยู่อาศัยในซอยดังกล่าวก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะเข้าออกเพื่อไปดูแลหรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ หากที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะทั้งแปลงตามที่โจทก์อ้างในฟ้องแล้ว การที่จำเลยทั้งเก้าทำที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นตลาดสดย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางสาธารณะได้รับความสะดวกน้อยลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งเก้าได้
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9ให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเพราะโจทก์ทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งเก้า เหตุที่โจทก์ไม่ขออนุญาตหรือขอให้จำเลยทั้งเก้าจดทะเบียนภารจำยอมให้ ก็เพราะโจทก์จะทำให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะเพื่อให้ที่ดินของโจทก์มีราคาสูงขึ้น แต่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9 ฎีกาว่า โจทก์จะปลูกบ้านพักและอาคารพาณิชย์ในที่ดินของโจทก์ซึ่งทางราชการจะอนุญาตต่อเมื่อติดทางสาธารณะที่มีขนาดกว้างไม่ต่ำกว่า 10 เมตร เป็นการฟ้องคดีเพื่อผลประโยชน์ของตนเองอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต อันเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9 ให้การไว้ฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า พ. และ น. เจ้าของเดิมในที่ดินพิพาทได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2485 จึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยทั้งเก้าซึ่งเป็นทายาทของ พ. และ น. ได้ผู้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งเก้าได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายย่อมเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้องอันเป็นการไม่ชอบ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งเก้าที่อ้างว่าจำเลยทั้งเก้าไม่ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะ
ที่ดินของโจทก์อยู่สุดซอยทองหล่อ 18 แม้โจทก์ไม่เคยอยู่อาศัยในซอยดังกล่าวก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะเข้าออกเพื่อไปดูแลหรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ หากที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะทั้งแปลงตามที่โจทก์อ้างในฟ้องแล้ว การที่จำเลยทั้งเก้าทำที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นตลาดสดย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางสาธารณะได้รับความสะดวกน้อยลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งเก้าได้
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9ให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเพราะโจทก์ทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งเก้า เหตุที่โจทก์ไม่ขออนุญาตหรือขอให้จำเลยทั้งเก้าจดทะเบียนภารจำยอมให้ ก็เพราะโจทก์จะทำให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะเพื่อให้ที่ดินของโจทก์มีราคาสูงขึ้น แต่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9 ฎีกาว่า โจทก์จะปลูกบ้านพักและอาคารพาณิชย์ในที่ดินของโจทก์ซึ่งทางราชการจะอนุญาตต่อเมื่อติดทางสาธารณะที่มีขนาดกว้างไม่ต่ำกว่า 10 เมตร เป็นการฟ้องคดีเพื่อผลประโยชน์ของตนเองอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต อันเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9 ให้การไว้ฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า พ. และ น. เจ้าของเดิมในที่ดินพิพาทได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2485 จึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยทั้งเก้าซึ่งเป็นทายาทของ พ. และ น. ได้ผู้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งเก้าได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายย่อมเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้องอันเป็นการไม่ชอบ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งเก้าที่อ้างว่าจำเลยทั้งเก้าไม่ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนสิ่งรุกล้ำทางพิพาท แม้ฟ้องผิดฐาน ศาลปรับข้อเท็จจริงได้ หากพยานหลักฐานสนับสนุน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์และจำเลยอยู่ติดกัน โจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าออกที่ดินของโจทก์มานานกว่า 10 ปี ไม่มีบุคคลใดคัดค้านทางดังกล่าวจึงเป็นทางภาระจำยอม ต่อมาจำเลยได้รื้อเสารั้วแนวเขตเดิมแล้วนำมาปักไว้ในทางพิพาท ทำให้ทางพิพาท แคบลงเป็นเหตุให้โจทก์ใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกที่ดินของโจทก์ไม่ได้ตามปกติ ขอให้จำเลยรื้อถอนเสารั้วออกไป แม้โจทก์ระบุในคำฟ้องผิดพลาดว่า เป็นทางภาระจำยอมก็ไม่ใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่จะทำให้คำฟ้องเสียไป ส่วนทางพิพาทที่ถูกต้องจะเป็นทางอะไรนั้น เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องปรับข้อเท็จจริงเข้ากับตัวบทกฎหมายเองเมื่อทางพิจารณาได้ความว่าเป็นทางสาธารณะ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์: การแจ้งการครอบครองไม่ทำให้เกิดสิทธิ, อายุความใช้ไม่ได้กับที่ดินสาธารณะ
ทรัพย์สินของแผ่นดินจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาพของตัวทรัพย์นั้นว่าราษฎรได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เมื่อที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้ทางราชการจะไม่ได้ทำหลักฐานหรือขึ้นทะเบียนไว้ ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามกฎหมายที่ไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินและไม่อาจโอนให้แก่กันได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์: การใช้ประโยชน์ร่วมกัน และสิทธิในที่ดิน
ทรัพย์ของแผ่นดินจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพของตัวทรัพย์นั้นว่าราษฎรได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินสาธารณประโยชน์หนองคูที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้ทางราชการจะไม่ได้ทำหลักฐานหรือขึ้นทะเบียนไว้ ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามกฎหมายที่ไม่อาจโอนให้แก่กันได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา และไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน แม้โจทก์จะแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) ไว้ก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาท
ท. เป็นผู้เชี่ยวชาญของศาลด้านโบราณคดีถือว่าเป็นนักวิชาการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ เบิกความประกอบรายงานการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จัดทำขึ้นในทางการศึกษาวิจัยลักษณะของชุมชนโบราณที่มีอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ ในประเทศไทยโดยดูจากภาพถ่ายทางอากาศ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินสาธารณประโยชน์หนองคูที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้ทางราชการจะไม่ได้ทำหลักฐานหรือขึ้นทะเบียนไว้ ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามกฎหมายที่ไม่อาจโอนให้แก่กันได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา และไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน แม้โจทก์จะแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) ไว้ก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาท
ท. เป็นผู้เชี่ยวชาญของศาลด้านโบราณคดีถือว่าเป็นนักวิชาการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ เบิกความประกอบรายงานการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จัดทำขึ้นในทางการศึกษาวิจัยลักษณะของชุมชนโบราณที่มีอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ ในประเทศไทยโดยดูจากภาพถ่ายทางอากาศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9870/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่สาธารณะและการไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รุกล้ำหากไม่เกิดความเสียหายเป็นพิเศษ
บ้านจำเลยเฉพาะส่วนที่พิพาทปลูกอยู่ในที่ดินริมคลองอันเป็นที่สาธารณะและบังหน้าที่ดินโจทก์ที่จะออกสู่คลองสาธารณะมีความยาวถึง 16 เมตรแต่โจทก์ยังคงเหลือที่ดินติดคลองมีความยาว 9.5 เมตร ซึ่งไม่ถูกบัง ขณะยื่นฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้ปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์ โจทก์คงปล่อยที่ดินไว้โดยไม่ได้ทำประโยชน์ ส่วนจำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดังกล่าวมาประมาณ 20 ปีแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนบ้านพร้อมสิ่งปลูกสร้างส่วนที่พิพาทออกไปจากที่ดินซึ่งเป็นที่สาธารณะหน้าที่ดินโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9132/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้ครอบครองนานก็ไม่เกิดสิทธิ และไม่ถือเป็นการรบกวนการครอบครองของผู้อื่น
ที่นาพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและทางราชการยังมิได้จัดให้เป็นที่ทำกินของราษฎร จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304 การที่ พ. เข้ามาครอบครองทำนาในที่ดินพิพาทก็เพียงแต่ถือว่า พ. มีสิทธิในที่นาพิพาทดีกว่าบุคคลอื่น แต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติพ. จึงยกเอาการครอบครองของตนใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ ดังนั้น แม้ พ. จะครอบครองหรือทำนาพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิในนาพิพาทตามกฎหมาย ทั้งยังอาจถูกฟ้องร้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ อีกด้วย จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่นาพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น แม้จำเลยจะเข้าไปไถนาและปลูกข้าวในที่นาพิพาทก็ไม่เป็นการรบกวนการครอบครองที่อสังหาริมทรัพย์ของ พ. อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,365