คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1304

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 857 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางโดยถือวิสาสะไม่ถือเป็นการอุทิศเป็นทางสาธารณะ แม้มีการใช้ทางต่อเนื่อง
ที่ดินของโจทก์อยู่ติดกับที่ดินของจำเลยทั้งสองโดยแบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงหนึ่งของจำเลยทั้งสอง ส่วนทางพิพาท อยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งสองแปลง ทางพิพาทแม้จะมีโจทก์และ ประชาชนใช้เป็นทางผ่านเข้าออกเป็นเวลาช้านานแต่ก็เป็น การใช้โดยถือวิสาสะทั้งโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าเจ้าของที่ดินเดิม และจำเลยทั้งสองได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยตรง และโดยปริยาย จึงไม่มีผลทำให้ทางพิพาทกลับกลายเป็นทางสาธารณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6302/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิพากษาต้องเป็นไปตามคำขอ ศาลมิอาจวินิจฉัยประเด็นที่มิได้มีการอ้างในคำฟ้อง แม้จะเป็นทางจำเป็น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางเดินพิพาทในที่ดินของจำเลยโดยอ้างว่าเป็นทางสาธารณะ ให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง เสารั้ว หรือวัสดุอื่นใดซึ่งสร้างปิดกั้นทางเดินพิพาทออกไป กับขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในอัตราเดือนละ2,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยให้การว่า ทางเดินพิพาทดังกล่าวไม่ใช่ทางสาธารณะจำเลยล้อมรั้วทำประโยชน์ในที่ดินของตน ไม่ได้ปิดกั้นทางสาธารณะ จึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยพิพาทกันเฉพาะทางเดินพิพาทว่าเป็นทางสาธารณะหรือไม่เท่านั้น และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า ที่ดินของโจทก์มีทางออกเป็นทางสาธารณะผ่านที่ดินจำเลยหรือไม่ และไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องทางจำเป็นไว้ทั้งกรณีที่จะเป็นเรื่องทางจำเป็นนั้น ในคำฟ้องต้องปรากฏว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 ทั้งมิได้บรรยายหรือประสงค์ที่จะขอให้ทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็น การที่ศาลล่างวินิจฉัยฟังว่าทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็นและบังคับให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5832/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย และสิทธิในที่ดินสาธารณะ
เดิมที่ดินโฉนดพิพาทมีจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อมาจำเลยได้จัดสรรแบ่งขายโดยรังวัดแบ่งแยกออกเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยขายให้แก่บุคคลทั่วไปโดยจำเลยใช้แผนผัง โฆษณาขายที่ดินเพื่อแสดงว่าที่ดินที่จัดสรรแบ่งขายมีถนนใหญ่ตัดผ่านกลางที่ดินและมีถนนซอยผ่านที่ดินที่แบ่งขายทุกแปลงออกสู่ถนนใหญ่ และผู้ซื้อที่ดินแต่ละแปลงจะต้องสละที่ดินของตนเองทำเป็นถนนซอยของส่วนรวมส่วนถนนใหญ่จำเลยจะกันที่ดินของจำเลยไว้ให้ทำเป็นถนนใหญ่ จึงเป็นการที่จำเลยได้อุทิศโฉนดเลขที่พิพาทเป็นทางสาธารณะ คือถนนสายพิพาทเพื่อใช้เป็นทางเข้าออก แม้ภายหลัง ทางราชการทำถนนเคลื่อนจากแนวถนนเดิม ก็หามีผลทำให้ถนน สายพิพาทกลับกลายเป็นไม่ใช่ทางสาธารณะไม่ ถนนสายพิพาท ย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทันทีที่จำเลยได้แสดงเจตนาอุทิศถนนสายพิพาทเป็น ทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย โดยไม่จำต้องจดทะเบียน โอนสิทธิการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ถนนสายพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งโจทก์มีส่วนใช้และดูแลรักษาคุ้มครองป้องกัน การที่จำเลยทั้งหกไปยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวที่อุทิศให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ไปแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับสัญญาข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อที่ดินกับจำเลย รวมถึงความรับผิดและข้อผูกพันของจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดสรรที่ดินที่แบ่งขายให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดี และตามคำให้การของจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์จะระบุที่ดินเลขโฉนด ซึ่งพิมพ์ผิดพลาดไปก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบต่อไป ทั้งปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง เกี่ยวกับเลขที่โฉนดที่ดินที่พิมพ์ผิดพลาดให้เป็นการถูกต้อง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ ไม่เคลือบคลุม คดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ 10,000 บาท แทนโจทก์จึงไม่ชอบเพราะตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดี ไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 3,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษา ยืนโดยมิได้แก้ไขในส่วนนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข เสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5832/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย และสิทธิของประชาชนในการใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณสมบัติ
เดิมที่ดินโฉนดพิพาทมีจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ต่อมาจำเลยได้จัดสรรแบ่งขายโดยรังวัดแบ่งแยกออกเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยขายให้แก่บุคคลทั่วไปโดยจำเลยใช้แผนผังโฆษณาขายที่ดินเพื่อแสดงว่าที่ดินที่จัดสรรแบ่งขาย มีถนนใหญ่ตัดผ่านกลางที่ดินและมีถนนซอยผ่านที่ดินที่แบ่งขายทุกแปลงออกสู่ถนนใหญ่ และผู้ซื้อที่ดินแต่ละแปลงจะต้องสละที่ดินของตนเองทำเป็นถนนซอยของส่วนรวม ส่วนถนนใหญ่จำเลยจะกันที่ดินของจำเลยไว้ให้ทำเป็นถนนใหญ่ จึงเป็นการที่จำเลยได้อุทิศโฉนดเลขที่พิพาทเป็นทางสาธารณะคือถนนสายพิพาทเพื่อใช้เป็นทางเข้าออก แม้ภายหลังทางราชการทำถนนเคลื่อนจากแนวถนนเดิม ก็หามีผลทำให้ถนนสายพิพาทกลับกลายเป็นไม่ใช่ทางสาธารณะไม่ ถนนสายพิพาทย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายทันทีที่จำเลยได้แสดงเจตนาอุทิศถนนสายพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย โดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนสิทธิการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามป.พ.พ.มาตรา 525
ถนนสายพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งโจทก์มีส่วนใช้และดูแลรักษาคุ้มครองป้องกัน การที่จำเลยทั้งหกไปยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวที่อุทิศให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ไปแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ฟ้องโจทก์บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับสัญญาข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อที่ดินกับจำเลย รวมถึงความรับผิดและข้อผูกพันของจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดสรรที่ดินที่แบ่งขาย ให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดี และตามคำให้การของจำเลยก็ปรากฎว่าจำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์จะระบุที่ดินเลขโฉนดซึ่งพิมพ์ผิดพลาดไปก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบต่อไป ทั้งปรากฎว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับเลขที่โฉนดที่ดินที่พิมพ์ผิดพลาดให้เป็นการถูกต้องแล้ว ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ ไม่เคลือบคลุม
คดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ10,000 บาท แทนโจทก์จึงไม่ชอบ เพราะตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 3,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยมิได้แก้ไขในส่วนนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละที่ดินให้รัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ และการตั้งตัวแทนในการสละ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยโจทก์ไม่ได้แจ้งการครอบครองไว้ แต่ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมา ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้ทำหนังสือสละการครอบครอง ที่พิพาทตกเป็นของรัฐและแผ่นดินแล้ว เป็นการต่อสู้โดยอ้างกรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เอกสารมีข้อความตอนท้ายว่า ตามที่ทางราชการประสงค์จะใช้ที่ดินที่ข้าพเจ้ายึดถือครอบครองอยู่นี้ เป็นวนอุทยานและแหล่งท่องเที่ยว โจทก์มีความยินดีและเต็มใจไม่ขัดข้องที่ทางราชการจะจัดเป็นวนอุทยานและแหล่งท่องเที่ยว แต่จะขอ ถือกรรมสิทธิ์ในผลอาสินต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ที่ได้ถือครอบครองมาแต่เพียงอย่างเดียวหนังสือดังกล่าวแสดงไว้ ชัดเจนว่าได้มีการสละการครอบครองที่พิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว คงสงวนไว้แต่เพียงสิทธิเหนือพื้นดินเท่านั้นต่อมาทางราชการได้เข้าพัฒนาที่ดินของโจทก์อย่างเปิดเผยและวางแผนดำเนินงานเป็นขั้นตอนติดต่อกันทุกปี นับแต่โจทก์ได้สละการครอบครองโดยใช้งบประมาณแผ่นดินก่อสร้างถนนอาคารเอนกประสงค์ จัดหาม้าหินอ่อนมาวางบริการนักท่องเที่ยวสร้างถังขยะสาธารณะก่อสร้างบ้านพักรับรอง ติดตั้งป้ายชื่อหาดโดยโจทก์ไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน และโจทก์ปล่อยให้ทางราชการดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาที่พิพาทเสียงบประมาณไปเป็นจำนวนมาก เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยไม่ปรากฏว่าทางราชการได้หลอกลวงโจทก์ให้สละการครอบครองที่พิพาท กรณีฟังได้ว่าโจทก์ได้สละการครอบครองที่พิพาทให้เป็นของรัฐหรือแผ่นดินแล้ว การสละการครอบครองที่ดินมือเปล่าให้แก่ทางราชการโดยจะขอถือกรรมสิทธิ์เฉพาะผลอาสินแต่เพียงอย่างเดียวนั้นมีผลให้ที่ดินที่โจทก์สละการครอบครองกลายเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินทันที โดยไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก เมื่อการแสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินมือเปล่าเป็นกิจการที่กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การตั้งตัวแทนในการสละการครอบครองจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ การที่ อ.สามีโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสละการครอบครองที่ดินพิพาทถือได้ว่าโจทก์ได้ตั้งตัวแทนในการสละการครอบครองที่พิพาทแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท และสิทธิในที่ดินป่าสงวน
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการยึดและขายทรัพย์สินโดยมิชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่ง ป.พ.พ. ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อปรากกภายหลังงว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085 (พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยซึ่งกรมชลประทานก่อสร้างขึ้นซึ่งแต่เดิมที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน น.ส.3 ก.ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ ส. จำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ในมาตรา 12วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเดลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร ให้เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติทั้งแปลง กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา12 วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้องหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงตรงกันข้าม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริงไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัย คดีจึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการรับผิดในกรณีที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดมีสิทธิเรียกร้องเงินคืนได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้รับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการ นำยึด และขายทรัพย์สินโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อโจทก์ฟ้องคดี ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อปรากฏภายหลังว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085(พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำที่กรมชลประทานก่อสร้างขึ้น แต่เดิมที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ส. ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวตั้งแต่ก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ตามมาตรา 12 วรรคสุดท้ายแห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้ สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้ จำเลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 12 วรรคสุดท้าย แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มี อำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้อง หรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดี เปลี่ยนแปลง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริง ไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยคดี จึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์ และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ทั้งสองตลอดจนคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาเฉพาะประเด็นดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติ เทศบาลมีอำนาจควบคุม การเช่าไม่สร้างสิทธิเหนือผู้อื่น
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งมี พ.ร.ฎ.กำหนดเป็นเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ดังนั้น เทศบาลตำบลหัวหินจึงเป็นผู้มีอำนาจควบคุมดูแลและหาผลประโยชน์ในที่พิพาทเมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทก่อนที่โจทก์ได้ทำสัญญาเช่ากับเทศบาลตำบลหัวหิน การที่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับเทศบาลตำบลหัวหิน มีผลเพียงแต่ทำให้โจทก์มีบุคคลสิทธิต่อเทศบาลตำบลหัวหินในอันที่จะใช้สอยหรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้เท่านั้น แต่หามีผลทำให้โจทก์เกิดสิทธิที่จะหวงกันไม่ให้ผู้อื่นเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำประโยชน์ในที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สัญญาเช่าไม่ทำให้เกิดสิทธิไล่บุคคลอื่นที่ครอบครองก่อน
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เทศบาลตำบลหัวหินจึงเป็นผู้มีอำนาจควบคุมดูแลและหาผลประโยชน์ในที่พิพาทโจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับเทศบาลตำบลหัวหิน แต่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาเช่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเทศบาลหัวหิน มีผลเพียงแต่ทำให้โจทก์มีบุคคลสิทธิต่อเทศบาลตำบลหัวหินในอันที่จะใช้สอยหรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้เท่านั้น แต่หามีผลทำให้โจทก์เกิดสิทธิที่จะหวงกันไม่ให้ผู้อื่นเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2775/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย ทำให้ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดไม่มีกรรมสิทธิ์
การที่ ว. ได้จัดสรรที่ดินในซอยรัฐขจรออกขายให้แก่บุคคลทั่วไปโดยกันพื้นที่ส่วนที่เป็นซอยรัฐขจรไว้ให้เป็นทางสาธารณะ แม้จะเป็นซอยตัน แต่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในซอยรัฐขจรได้ใช้ทางดังกล่าวสัญจรผ่านซอยหัสดินเสวีออกสู่ถนนสุทธิสารวินิจฉัยถือได้ว่าว.ได้อุทิศทั้งซอยรัฐขจรซึ่งรวมถึงที่พิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยายมาตั้งแต่ปี 2507เมื่อที่พิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาลโจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 86