คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 386

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3763/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีลหุโทษ: แม้ผู้แจ้งความไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง พนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องได้
คดีความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368,386มิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120ผู้ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษให้ดำเนินคดีนี้จะเป็นผู้ใดหามีความสำคัญไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3763/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีลหุโทษ: พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องได้ แม้ผู้แจ้งความมิใช่ผู้เสียหายโดยตรง
คดีความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368, 386 มิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 ผู้ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษให้ดำเนินคดีนี้จะเป็นผู้ใดหามีความสำคัญไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1377/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกข้าวในทางสาธารณะเข้าข่ายปลูกปักหรือวางสิ่งของเกะกะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 386
การปลูกข้าวลงในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมายเป็นการปลูกปักในทางสาธารณะ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 386
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 386 แตกต่างกับบทบัญญัติในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 336 เพราะใช้คำว่าปลูกปักในทางสาธารณะ จึงย่อมมีความหมายถึงการปลูกข้าวลงในทางสาธารณะด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1377/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกข้าวในทางสาธารณะเข้าข่ายปลูกปักหรือวางสิ่งของเกะกะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 386
การปลูกข้าวลงในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมายเป็นการปลูกปักในทางสาธารณะ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 386
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 386 แตกต่างกับบทบัญญัติในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 336 แตกต่างกับบทบัญญัติในสาธารณะ จึงย่อมมีความหมายถึงการปลูกข้าวลงในทางสาธารณะด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสถานะทางสาธารณะของที่ดิน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า ทางพิพาทเป็นทางเดินซึ่งเจ้าของที่ดินอุทิศให้ทำถนนสาธารณะ เป็นทางสาธารณะ ฎีกามีใจความว่า ทางพิพาทเป็นภารจำยอมซึ่งคนในละแวกนั้นใช้เดินโดยเจ้าของที่ดินไม่ห้ามปรามเป็นทำนองว่าเจ้าของที่ดินไม่ได้อุทิศให้ไม่ใช่ทางสาธารณะนั้น เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีความผิดต่อประชาชนตามประกาศคณะปฏิวัติฯ อยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้ศาลพลเรือนรับฟ้องแล้ว
ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตั้งแต่ มาตรา 217 ถึง มาตรา 239 นั้นมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 16 ซึ่งใช้บังคับระหว่างเกิดเหตุให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา ดังนั้น ที่ศาลจังหวัดปราจีนบุรีรับฟ้องคดีซึ่งมีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 229 ซึ่งเป็นบทหนักไว้ดำเนินการตลอดมาถึงชั้นศาลอุทธรณ์ จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้เกี่ยวกับอำนาจศาล
ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มีความหมายเพียงว่า เมื่อศาลพลเรือนสั่งรับฟ้องไว้ความยังไม่ปรากฏโดยแจ้งชัดว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ เช่น ยังไม่แน่ว่าจำเลยเป็นทหารประจำการหรือไม่ ต่อเมื่อได้รับฟ้องแล้วความจึงปรากฏว่าจำเลยเป็นทหารประจำการดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ (อ้างนัยฎีกาที่ 463/2504) แต่เมื่อคดีปรากฏตั้งแต่แรกตามฟ้องว่า ความผิดที่กล่าวหาเป็นความผิดที่ต้องขึ้นอยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศคณะปฏิวัติ ฯ แล้ว เช่นนี้หาใช่ความเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังว่า เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ (อ้างฎีกาที่ 1352/2506) ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษา พิพากษากลับ ศาลอุทธรณ์ ยกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีความผิดต่อความมั่นคงฯ อยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้ศาลพลเรือนรับฟ้องแล้ว
ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตั้งแต่มาตรา 217 ถึงมาตรา 239 นั้นมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 16 ซึ่งใช้บังคับระหว่างเกิดเหตุให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาดังนั้น ที่ศาลจังหวัดปราจีนบุรีรับฟ้องคดีซึ่งมีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 229 ซึ่งเป็นบทหนักไว้ดำเนินการตลอดมาถึงชั้นศาลอุทธรณ์ จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้เกี่ยวกับอำนาจศาล
ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498มีความหมายเพียงว่า เมื่อศาลพลเรือนสั่งรับฟ้องไว้ความยังไม่ปรากฏโดยแจ้งชัดว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่เช่น ยังไม่แน่ว่าจำเลยเป็นทหารประจำการหรือไม่ต่อเมื่อได้รับฟ้องแล้วความจึงปรากฏว่าจำเลยเป็นทหารประจำการดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้(อ้างนัยฎีกาที่ 463/2504) แต่เมื่อคดีปรากฏตั้งแต่แรกตามฟ้องว่า ความผิดที่กล่าวหาเป็นความผิดที่ต้องขึ้นอยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศคณะปฏิวัติฯ แล้วเช่นนี้ หาใช่ว่าความเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ (อ้างฎีกาที่ 1352/2506) ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาพิพากษากลับศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์