คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1367

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,118 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า: ผู้ยึดถือครอบครองมีสิทธิเหนือกว่า การแย่งการครอบครองไม่เกิดขึ้นหากครอบครองของตนเอง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าผู้ที่จะได้สิทธิในที่ดินประเภทนี้ต้องเป็นผู้ยึดถือที่ดินนั้นหรือมีผู้ยึดถือแทนเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทโจทก์จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย การแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้นดังนั้นเมื่อจำเลยอ้างในคำให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินของตนเองและโจทก์อ้างในคำให้การแก้ฟ้องแย้งว่าโจทก์ครอบครองที่ดินของโจทก์เองคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่อาจมีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่และฟ้องแย้งจำเลยขาดอายุความหรือไม่จึงไม่ชอบและศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808-2809/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินพิพาท, สิทธิของเจ้าหนี้, การครอบครองปรปักษ์, และการฟ้องขับไล่ที่ไม่สุจริต
แม้ว่าตามสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ที่3และจำเลยข้อ3มีว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าที่ดินให้โจทก์ที่3เป็นเวลา2เดือนถือว่าสละสิทธิและเงินที่ส่งมาถือเป็นค่าเช่าก็ตามแต่ตามทางปฏิบัติเมื่อชำระเงินมัดจำให้โจทก์ที่3จำนวน30,000บาทแล้วจำเลยได้ผ่อนชำระให้โจทก์ที่3เรื่อยมาแต่ไม่ติดต่อกันทุกเดือนและขาดส่งเกินกว่า2เดือนแล้วก็มีหลังจากนั้นเมื่อจำเลยชำระให้โจทก์ที่3ก็รับชำระอีกการซื้อที่ดินแปลงที่3ก็เช่นเดียวกันจำเลยได้ชำระค่าเช่าที่ดินจำนวน140,000บาทเท่านั้นแสดงให้เห็นว่าโจทก์ที่3และจำเลยต่างไม่ถือเอากำหนดระยะเวลาในสัญญาข้อ3เป็นสาระสำคัญอีกต่อไปดังนั้นการเลิกสัญญาจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387คือโจทก์ที่3จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรหากจำเลยไม่ชำระหนี้โจทก์ที่3จึงจะบอกเลิกสัญญาได้แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่3ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยดังนั้นสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยและโจทก์ที่3จึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ โจทก์ที่3ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินและโอนการจัดสรรที่ดินให้โจทก์ที่1แม้ในสัญญาดังกล่าวจะไม่ระบุถึงจำเลยหรือผู้ซื้อที่ดินรายอื่นๆว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3ก็ดีแต่ขณะที่โจทก์ที่7ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ที่1นั้นจำเลยได้ปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยรวมทั้งสร้างอู่ซ่อมรถยนต์ในที่ดินพิพาทก่อนแล้วและโจทก์ที่1ได้เคยเสนอขอแลกห้องแถวสองห้องของตนกับที่ดินพิพาทของจำเลยอีกด้วยแสดงว่าโจทก์ที่1รู้อยู่แล้วในขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินและรับโอนการจัดสรรที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3ว่าจำเลยได้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3อยู่ก่อนและการที่โจทก์ที่2รับโอนที่ดินที่จัดสรรแทนโจทก์ที่1ก็ถือได้ว่าโจทก์ที่2ทราบแล้วว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับโจทก์ที่3อยู่ก่อนแล้วเพราะโจทก์ที่1เป็นกรรมการของโจทก์ที่2อยู่ด้วยเมื่อโจทก์ที่1และที่2ทราบมาก่อนแล้วว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3การที่โจทก์ที่1และที่2ยังซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3เช่นนี้การรับโอนในส่วนที่ดินพิพาทจึงมิได้เป็นไปโดยสุจริตการที่โจทก์ที่2นำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์ที่2ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ จำเลยกับโจทก์ที่3เท่านั้นที่เป็นคู่สัญญาในการซื้อขายที่ดินพิพาทกันโจทก์ที่1และที่2มิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยด้วยแม้โจทก์ที่1จะเป็นผู้ซื้อที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทไปจากโจทก์ที่3โดยโจทก์ที่2เป็นผู้รับโอนแทนโจทก์ที่1โดยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ก็หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์ที่3ตกติดไปอันจะมีผลทำให้โจทก์ที่1และที่2ต้องรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์ที่3กับจำเลยด้วยไม่ดังนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่2แบ่งแยกที่ดินพิพาทเพื่อโอนให้แก่จำเลยได้ จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3โดยยังชำระราคาไม่ครบถ้วนและการที่โจทก์ที่3โอนขายที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่1โดยโจทก์ที่1ให้โจทก์ที่2รับโอนแทนนั้นเป็นการโอนโดยไม่สุจริตและเป็นทางให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบคดีของจำเลยจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237แต่จำเลยมิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างโจทก์ที่3กับโจทก์ที่2จึงไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวได้แต่ไม่ตัดสิทธิของจำเลยที่จะนำคดีมาฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148(3) ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ที่3และจำเลยระบุให้จำเลยผู้ซื้อเข้าปลูกบ้านในที่ดินพิพาทได้ทันแม้ยังอยู่ระหว่างผ่อนชำระราคาก็ตามการที่จำเลยเข้าปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่3ไม่ใช่โดยอาศัยอำนาจของตนเองการครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นปรปักษ์จนกว่าจำเลยจะบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือให้โจทก์ที่3ทราบว่าจะยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตนเองเมื่อจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่3แม้จะนานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2340/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีมรดก และการไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
แม้ตามฟ้องโจทก์จะระบุชื่อโจทก์ที่1ว่ากองมรดกห.ซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายก็ตามแต่เมื่ออ่านคำฟ้องของโจทก์ที่1โดยตลอดแล้วเป็นที่เห็นได้ว่าบ.ในฐานะผู้จัดการมรดกของห.เป็นผู้ฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของห.ที่บ.เป็นผู้จัดการมรดกดังนั้นการระบุชื่อโจทก์ที่1ดังกล่าวจึงเป็นเพียงการใช้ถ้อยคำผิดแท้จริงแล้วเท่ากับบ.ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกของห.ถือได้ว่าโจทก์ที่1มีอำนาจฟ้อง จำเลยขออาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสองมิได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของแม้จำเลยจะครอบครองมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2340/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกองมรดกและการครอบครองโดยไม่เจตนาเป็นเจ้าของ
แม้ตามฟ้องโจทก์จะระบุชื่อโจทก์ที่ 1 ว่า กองมรดก ห.ซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่ออ่านคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 โดยตลอดแล้วเป็นที่เห็นได้ว่า บ.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห.เป็นผู้ฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ ห.ที่ บ.เป็นผู้จัดการมรดก ดังนั้น การระบุชื่อโจทก์ที่ 1 ดังกล่าว จึงเป็นเพียงการใช้ถ้อยคำผิด แท้จริงแล้วเท่ากับ บ.ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห.ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีอำนาจฟ้อง
จำเลยขออาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสอง มิได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จำเลยจะครอบครองมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: สิทธิครอบครองเดิมและภาระการพิสูจน์
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า ไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 โจทก์อ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทน ส.ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้สมอ้าง ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า: ภาระการพิสูจน์ของผู้ฟ้องอ้างการครอบครองแทน
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1367โจทก์อ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนส. ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้สมอ้างศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ ผู้ครอบครองไม่สละสิทธิ เจ้าของเดิมยังคงสิทธิ
ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมีข้อกำหนดห้ามโอนสิบปีนับแต่วันที่25สิงหาคม2520สัญญาขายฝากทำกันเมื่อวันที่14มีนาคม2523จึงอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิมซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นการที่จำเลยทำสัญญาและมอบให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโจทก์ก็หาได้สิทธิครอบครองตามกฎหมายไม่เพราะอยู่ในกำหนดห้ามโอนหลังจากนั้นต่อมาเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วแม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแต่ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้สละสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใดกลับได้ความว่าโจทก์ได้ให้เงินจำเลยทั้งสองไปชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ทุกปีและมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือไม่ได้ว่าภายหลังพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วจำเลยทั้งสองสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์จึงไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าการที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นเจตนายึดถือเพื่อตนยังไม่ครบ1ปีขึ้นวินิจฉัยเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นนั้นกรณีของโจทก์นี้จะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อเมื่อได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาจากจำเลยทั้งสองโดยการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือแต่เมื่อโจทก์ฎีกาว่าไม่มีประเด็นนี้เสียแล้วโจทก์ก็ไม่อาจได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดังนั้นแม้การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นก็ตามแต่ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงทำให้โจทก์ชนะคดีแต่ประการใดฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อห้ามโอนที่ดินและสิทธิครอบครอง: สัญญาฝ่าฝืนเป็นโมฆะ แม้พ้นกำหนดห้ามโอนก็ยังต้องพิสูจน์การสละสิทธิ
ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมีข้อกำหนดห้ามโอนสิบปีนับแต่วันที่ 25สิงหาคม 2520 สัญญาขายฝากทำกันเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2523 จึงอยู่ในระยะเวลาห้ามโอน เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา113 เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยทำสัญญาและมอบให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โจทก์ก็หาได้สิทธิครอบครองตามกฎหมายไม่ เพราะอยู่ในกำหนดห้ามโอน หลังจากนั้นต่อมาเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้ว แม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแต่ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้สละสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใด กลับได้ความว่าโจทก์ได้ให้เงินจำเลยทั้งสองไปชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ทุกปี และมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือไม่ได้ว่าภายหลังพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วจำเลยทั้งสองสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นเจตนายึดถือเพื่อตนยังไม่ครบ 1 ปี ขึ้นวินิจฉัยเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นนั้น กรณีของโจทก์นี้จะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อเมื่อได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาจากจำเลยทั้งสองโดยการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ แต่เมื่อโจทก์ฎีกาว่าไม่มีประเด็นนี้เสียแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น แม้การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงทำให้โจทก์ชนะคดีแต่ประการใด ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินจากการครอบครองเกิน 1 ปี แม้มีใบไต่สวน แต่ไม่ใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์
ใบไต่สวนเป็นหนังสือซึ่งเจ้าพนักงานออกให้เพื่อแสดงว่าเจ้าของที่ดินได้นำรังวัดเพื่อออกโฉนดไม่ใช่ เอกสารสำคัญที่แสดงว่าผู้มีชื่อในใบไต่สวนเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเมื่อโจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งมีใบไต่สวนโดยเจตนายึดถือเพื่อตนเป็นเวลาเกินกว่า1ปีโจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองจากเจ้าของเดิมโดยเด็ดขาดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: ผู้ครอบครองต้องพิสูจน์สิทธิโดยชอบก่อนอ้างสิทธิเหนือรัฐ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทและขอให้ศาลสั่งแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์เพราะเป็นที่ดินสาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ แม้โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ก็ไม่ได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐาน เพราะโจทก์จะยกเอาการครอบครองขึ้นยันต่อรัฐได้ต่อเมื่อโจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทมาโดยชอบตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด และกฎหมายบัญญัติรับรองคุ้มครองสิทธิครอบครองนั้นไว้ด้วย
of 112