คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1367

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,118 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิจากการครอบครอง: ไม่จำต้องรู้ว่าเป็นของผู้อื่น
โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่าสิบปี และการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นนั้นหามีกฎหมายบัญญัติว่าผู้ครอบครองจำต้องรู้ว่าทรัพย์สินที่ครอบครองนั้นเป็นของผู้อื่น หรือมิใช่ทรัพย์ของตนแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิในที่พิพาทด้วยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง: ครอบครองปรนนิบัติโดยสงบและเปิดเผยเกิน 10 ปี
โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีและการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นนั้นหามีกฎหมายบัญญัติว่าผู้ครอบครองจำต้องรู้ว่าทรัพย์สินที่ครอบครองนั้นเป็นของผู้อื่นหรือมิใช่ทรัพย์ของตนแต่อย่างใดไม่โจทก์จึงได้กรรมสิทธิในที่พิพาทด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสินสมรสและการบังคับคดี: การร้องกล่าวอ้างสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกขายโดยคู่สมรสโดยไม่ยินยอม
ในคดีเดิมศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ทำสัญญาขายที่พิพาททั้งแปลงให้แก่จำเลย และจำเลยครอบครองยึดถือเพื่อตนแล้วจำเลยจึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาท ดังนั้นการที่จำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดิน น.ส.3 จึงเป็นผลจากสัญญาซื้อขายที่โจทก์ตกลงขายและส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยนั่นเองการได้สิทธิครอบครองที่พิพาทของจำเลยย่อมเป็นการได้สิทธิมาตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้นผู้ร้องชอบที่จะกล่าวอ้างได้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ร้อง โจทก์ขายให้แก่จำเลยโดยผู้ร้องมิได้ให้ความยินยอมได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทให้โจทก์จดทะเบียนโอนแก่จำเลย หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน คดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกร้องเข้ามาในชั้นนี้ว่า โจทก์นำที่พิพาทซึ่ง เป็นสินสมรสไปขายให้แก่จำเลยโดยผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาโจทก์มิได้ให้ความยินยอม เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นว่าการซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ผูกพันที่พิพาทอันเป็นสินสมรสในส่วนของผู้ร้อง และนับได้ว่าเป็นสิทธิอื่น ๆ ที่ผู้ร้องอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย ซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นย่อมไม่กระทบกระทั่งถึง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องกล่าวอ้างเข้ามาในคดีนี้ได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับคำร้องของผู้ร้องไว้ไต่สวนต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีใช้หนี้ด้วยที่ดินและผลของการไม่ตกลงราคาตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า ส.ได้ยืมเงินโจทก์ไป 30,000 บาท และมอบที่ดินของ ส.ให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ จำเลยทั้งสองให้การเพียงแต่ว่า ส.จะเคยยืมเงินโจทก์เมื่อใด จำนวนเท่าไรและมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์หรือไม่ จำเลยทั้งสองไม่รับรอง เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ อีกทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงต้องฟังตามที่โจทก์ฟ้องว่า ส.ได้ยืมเงินโจทก์ไป 30,000 บาท และมอบที่ดินของ ส.ให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เพื่อประกันการชำระหนี้
โจทก์นำสืบว่า ปี 2527 โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เงินยืมกับค่าทำบุญศพให้ ส.เป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 กว่าบาท จำเลยทั้งสองจึงพูดยกที่ดินของ ส.ให้เป็นการตีใช้หนี้ โดยจำเลยที่ 2 จะไปขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้ดังนี้ แม้จะได้ความตามที่โจทก์นำสืบก็ตาม ก็เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ให้ยืมยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืม แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าที่ดินที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม โจทก์จึงไม่อาจจะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการโอนที่ดินพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวได้
การที่จำเลยทั้งสองพูดยกที่ดินของ ส.ให้เป็นการตีใช้หนี้นั้นยังมีเงื่อนไขต่อไปว่า จำเลยที่ 2 จะต้องไปร้องขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้โจทก์เนื่องจากขณะนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของ ส.ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ มิได้เป็นการยกให้โดยเด็ดขาดทันที จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้มีเจตนาสละการครอบครองที่ดินโจทก์ครอบครองที่ดินโดย ส.มอบให้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อเป็นประกันการใช้หนี้เงินยืมเป็นการครอบครองแทน ส. เมื่อ ส.ถึงแก่ความตายก็ถือได้ว่าโจทก์ยังครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. แม้โจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็หาได้สิทธิครอบครองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีใช้หนี้ด้วยที่ดินมรดกต้องมีข้อตกลงราคาชัดเจน และการครอบครองเพื่อประกันหนี้ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า ส.ได้ยืมเงินโจทก์ไป 30,000 บาท และมอบที่ดินของส.ให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ จำเลยทั้งสองในการเพียงแต่ว่า ส.จะเคยยืมเงินโจทก์เมื่อใด จำนวนเท่าไรและมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์หรือไม่จำเลยทั้งสองไม่รับรอง เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ อีกทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงต้องฟังตามที่โจทก์ฟ้องว่าส.ได้ยืมเงินโจทก์ไป 30,000 บาท และมอบที่ดินของส.ให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เพื่อประกันการชำระหนี้ โจทก์นำสืบว่า ปี 2527 โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เงินยืมกับค่าทำบุญศพให้ส.เป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 กว่าบาทจำเลยทั้งสองจึงพูดยกที่ดินของ ส.ให้เป็นการตีใช้หนี้โดยจำเลยที่ 2 จะไปขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้ดังนี้แม้จะได้ความตามที่โจทก์นำสืบก็ตาม ก็เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ให้ยืมยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืม แต่ไม่ปรากฎว่าได้มีการตกลงว่าที่ดินที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม โจทก์จึงไม่อาจจะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการโอนที่ดินพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวได้ การที่จำเลยทั้งสองพูดยกที่ดินของส.ให้เป็นการตีใช้หนี้นั้นยังมีเงื่อนไขต่อไปว่า จำเลยที่ 2 จะต้องไปร้องขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้โจทก์เนื่องจากขณะนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของ ส.ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ มิได้เป็นการยกให้โดยเด็ดขาดทันทีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้มีเจตนาสละการครอบครองที่ดินโจทก์ครอบครองที่ดินโดยส.มอบให้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อเป็นประกันการใช้หนี้เงินยืมเป็นการครอบครองแทนส.เมื่อส.ถึงแก่ความตายก็ถือได้ว่าโจทก์ยังครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของส.แม้โจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็หาได้สิทธิครอบครองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6592/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมีข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน การซื้อขายที่ดินในช่วงเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ สิทธิของผู้ซื้อที่สุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากนาง จ. ภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอน การซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา แม้นาง จ.จะสละสิทธิครอบครองก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้สิทธิครอบครอง จำเลยที่ 3 ซึ่งได้รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองเช่นเดียวกัน โดยถือหลักว่า ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากนางจ. หลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6529/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการละเมิดจากการครอบครองที่ดินหลังสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกัน การแปลงหนี้ใหม่
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ส. กับพวกที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายจากโจทก์แล้วผิดสัญญาจะซื้อจะขายไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายเป็นเรื่องระหว่างโจทก์และ ส. กับพวก จำเลยมิได้เป็นคู่สัญญาไม่จำต้องปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวทั้งโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยอยู่ในที่พิพาทโดยละเมิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทโดยอ้างว่า ส. กับพวกไม่ชำระเงินที่ค้างตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้ ส.กับพวกชำระแล้วแต่ส. กับพวกไม่ชำระถือว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นอันเลิกกัน จำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิ ส. กับพวกจึงเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิเป็นละเมิด ดังนี้เหตุที่อ้างในฟ้องคดีนี้เป็นเหตุที่อ้างขึ้นใหม่คนละเหตุกับคดีก่อน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้จำเลยรับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตจาก ส. เสียค่าตอบแทนและครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ก็เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างเจ้าหนี้คือโจทก์กับลูกหนี้คนใหม่คือจำเลย เมื่อปรากฏว่าไม่ได้ทำ หนี้ใหม่ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กัน ส. กับพวกอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายอันเป็นการครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันแล้ว ส. กับพวกและจำเลยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่พิพาทต่อไป การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่พิพาทต่อมา จึงเป็นการละเมิดโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6313/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลไม่วินิจฉัยเกินเลยเมื่อจำเลยอ้างสิทธิของตนเอง
จำเลยให้การและนำสืบว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1แต่ผู้เดียว โจทก์และจำเลยที่ 2 อยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1ดังนี้ตามคำให้การและทางนำสืบของจำเลยทั้งสองแสดงว่าไม่อาจมีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์แต่อย่างใดจึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างในคำให้การว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับที่จำเลยทั้งสองให้การไว้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยประเด็นที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 เกินกว่าหนึ่งปีชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดิน พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ: โจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครอง แม้ทำสัญญาจำนองเป็นการซื้อขายอำพราง
ที่ดินพิพาทโจทก์ได้รับมาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดห้ามโอนภายในห้าปี เป็นที่ดินที่รัฐยังไม่มอบสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์โจทก์ซึ่งยึดถือที่ดินพิพาทที่มีเงื่อนไขดังกล่าวจึงยังไม่มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามประมวลกฎหมายที่ดินโจทก์ไม่อาจโอนหรือสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 หรือ 1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ด้วยเหตุนี้แม้จะฟังว่าสัญญาจำนองที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขาย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้นับแต่วันที่โจทก์ทำหนังสือสัญญาจำนองแก่จำเลยก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจยกเรื่องสิทธิครอบครองโดยอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ: สิทธิยังไม่สมบูรณ์แม้มีการส่งมอบการครอบครอง
ที่ดินพิพาทโจทก์ได้รับมาตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511 ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดห้ามโอนภายในห้าปี เป็นที่ดินที่รัฐยังไม่มอบสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ โจทก์ซึ่งยึดถือที่ดินพิพาทที่มีเงื่อนไขดังกล่าวจึงยังไม่มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามประมวลกฎหมายที่ดิน โจทก์ไม่อาจโอนหรือสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 หรือ1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ ด้วยเหตุนี้แม้จะฟังว่าสัญญาจำนองที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขาย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้นับแต่วันที่โจทก์ทำหนังสือสัญญาจำนองแก่จำเลยก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจยกเรื่องสิทธิครอบครองโดยอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
of 112