คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1367

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,118 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดิน พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ: โจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครอง แม้ทำสัญญาจำนองเป็นการซื้อขายอำพราง
ที่ดินพิพาทโจทก์ได้รับมาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดห้ามโอนภายในห้าปี เป็นที่ดินที่รัฐยังไม่มอบสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์โจทก์ซึ่งยึดถือที่ดินพิพาทที่มีเงื่อนไขดังกล่าวจึงยังไม่มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามประมวลกฎหมายที่ดินโจทก์ไม่อาจโอนหรือสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 หรือ 1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ด้วยเหตุนี้แม้จะฟังว่าสัญญาจำนองที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขาย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้นับแต่วันที่โจทก์ทำหนังสือสัญญาจำนองแก่จำเลยก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจยกเรื่องสิทธิครอบครองโดยอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6059/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมีข้อห้ามโอน และสิทธิครอบครองหลังสัญญาเป็นโมฆะ
ที่พิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31โจทก์ซื้อที่พิพาทจากนาย ส. และเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา นิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับนายส.เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา คู่กรณีต้องกลับสู่ฐานะเดิม โดยถือเสมือนหนึ่งว่าไม่มีการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินกัน แต่การที่โจทก์ยังยึดถือครอบครองที่ดินตลอดมาทั้งภายใน 10 ปี และหลัง 10 ปีนับจากวันห้ามโอนแล้ว โจทก์จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินหรือไม่เพียงใดต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ยึดถือที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือไม่ ไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องหรือร้องขอต่อศาลว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5999/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินมรดกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิของทายาทในการเรียกคืน
มารดาโจทก์มอบที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมรดกของบิดาโจทก์ให้จำเลยครอบครองทำกินต่างดอกเบี้ย การที่จำเลยนำที่ดินดังกล่าวไปขอออก น.ส.3 ก. ใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของนั้น ฟังได้เพียงว่าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของบิดาโจทก์เท่านั้นจำเลยจึงไม่ได้สิทธิครอบครอง การออก น.ส.3 ก. ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะที่ดินพิพาทยังเป็นมรดกของบิดาโจทก์ตกได้แก่ทายาท โจทก์ในฐานะบุตรที่บิดาโจทก์รับรองแล้วจึงเป็นทายาทมีสิทธิฟ้องเรียกที่ดินพิพาทจากจำเลย แม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งเพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5462/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: ศาลฎีกายืนประเด็นวินิจฉัยสิทธิครอบครองโดยไม่เข้าข่ายการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยบุกรุกเข้ามาแย่งการครอบครอง จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่เคยครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาที่ดินพิพาทมิใช่ของโจทก์เป็นของจำเลย ปัญหาที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันก็คือ โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาท ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดประเด็นวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองหรือไม่ จึงชอบแล้ว มิได้วินิจฉัยผิดประเด็นและมิใช่เป็นข้อที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ดังที่โจทก์ฎีกา ฎีกาของโจทก์ที่เกี่ยวกับการเริ่มนับระยะเวลาการฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374,1375 นั้นเป็นเรื่องที่ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2ไม่ได้พิพากษาคดีโดยอาศัยข้อกฎหมายตามที่โจทก์ฎีกา ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่การคัดค้านโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5462/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นวินิจฉัยถูกต้อง ฎีกาโจทก์ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยบุกรุกเข้ามาแย่งการครอบครอง จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่เคยครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ที่ดินพิพาทมิใช่ของโจทก์เป็นของจำเลยปัญหาที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันก็คือ โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาทดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดประเด็นวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองหรือไม่ จึงชอบแล้ว มิได้วินิจฉัยผิดประเด็นและมิใช่เป็นข้อที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ดังที่โจทก์ฎีกา
ฎีกาของโจทก์ที่เกี่ยวกับการเริ่มนับระยะเวลาการฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374, 1375 นั้น เป็นเรื่องที่ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้พิพากษาคดีโดยอาศัยข้อกฎหมายตามที่โจทก์ฎีกาฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่การคัดค้านโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: สิทธิระหว่างราษฎร vs. สิทธิรัฐ
พระราชบัญญัติ ญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ คำพิพากษาของศาลที่พิพากษาว่าที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นของโจทก์ จึงไม่ถูกต้อง แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อน ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์ในที่พิพาทอยู่ก่อน แล้วจำเลยเข้าไปแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: สิทธิระหว่างราษฎร vs. รัฐ
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ ดังนั้นศาลจะพิพากษาว่าที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นของโจทก์ไม่ได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อน ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่น โจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์ในที่พิพาทอยู่ก่อนแล้ว จำเลยเข้าไปแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอท้ายฟ้องต้องสอดคล้องกับเหตุผลที่ฟ้อง หากโจทก์อ้างสิทธิครอบครองแล้ว ศาลไม่ต้องวินิจฉัยเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทกับมีคำขอท้ายฟ้องว่า ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงที่ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิไว้แล้วก็ตาม แต่ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลขจัดข้อที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทด้วยไม่จำต้องมาฟ้องหรือร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินก่อนประกาศเป็นป่าสงวน: จำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อไปได้
จำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองอยู่ก่อนวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ท้องที่ซึ่งที่ดินพิพาทตั้งอยู่ภายในเขตเป็นป่าสงวนแห่งชาติจำเลยทั้งสองจึงยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินก่อนถูกกำหนดเป็นป่าสงวนฯ ยังคงมีผล แม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
จำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองอยู่ก่อนวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ท้องที่ซึ่งที่ดินพิพาทตั้งอยู่ภายในเขตเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยทั้งสองจึงยังมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ต่อไป
of 112