พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,118 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8604/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินไม่สมบูรณ์ สิทธิยังไม่โอน การครอบครองเพื่อชำระหนี้
ข้อความในสัญญาซื้อขายที่ดิน น.ส.3 ฉบับพิพาทแสดงให้เห็นว่าเป็นการแบ่งขาย มิใช่ขายทั้งแปลง และมิได้ระบุว่าแบ่งขายเนื้อที่เท่าใด ไม่ปรากฏว่าที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันราคาไร่ละเท่าใด ไม่สามารถคำนวณเป็นเนื้อที่ได้ว่า ตกลงขายเนื้อที่เท่าใด คู่สัญญามิได้ตกลงส่งมอบที่ดินพิพาทกันในวันทำสัญญา แต่จะส่งมอบกันหลังจากทำสัญญาแล้ว 5 เดือนเศษ สัญญาดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อขาย มิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงยังมิได้โอนไปยังผู้จะซื้อตามสัญญาดังกล่าว
จำเลยมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ยเงินกู้ยืม โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะครอบครองแทนจำเลยสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของจำเลยอยู่
จำเลยมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ยเงินกู้ยืม โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะครอบครองแทนจำเลยสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของจำเลยอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7677/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องการนับระยะเวลาครอบครองโดยมิอาจรวมเวลาครอบครองของผู้อื่นหากมิได้อ้างเหตุรับมรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอโดยไม่ได้อ้างเรื่องการรับมรดกมาเป็นเหตุแห่งการนับเวลาครอบครอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่า ม.ซื้อที่ดินพิพาทและเข้าครอบครองโดยความสงบ โดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ปี 2508 จนกระทั่ง ม.ถึงแก่ความตายไปเมื่อปี 2530 โดยมิได้ยกให้ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงไม่อาจนับเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทของ ม.รวมเข้ากับเวลาการครอบครองของผู้ร้องได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้จะฟังไม่ได้ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ม.ยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องแล้วเมื่อปี 2517 แต่หลังจากที่ ม.ถึงแก่ความตายไปเมื่อปี 2530 ผู้ร้องก็ครอบครองที่ดินพิพาทเรื่อยมา ผู้ร้องจึงมีสิทธินับเวลาที่ ม.ครอบครองอยู่ก่อนรวมเข้ากับเวลาครอบครองของผู้ร้องได้ อันเป็นการนำเวลาการครอบครองของ ม.และของผู้ร้องมานับรวมกันเพราะเหตุการรับมรดก ซึ่งเป็นเหตุที่ผู้ร้องไม่ได้อ้างไว้ในคำร้องขอ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกคำร้องขอนอกประเด็นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ มาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7672/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบ และการเพิกถอนโฉนดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ก. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยจึงได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนที่จำเลยมิได้คัดค้านในกรณีที่โจทก์แจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ก็ดี หรือขอรังวัดออกโฉนดที่ดินทั้งแปลงรวมเอาที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้ไปด้วยก็ดี อาจเป็นไปได้ว่าจำเลยไม่ทราบเรื่องหรือไม่เข้าใจ เพราะโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนใหญ่และเป็นผู้ไปดำเนินการเองโดยไม่บอกกล่าวให้จำเลยทราบ ถึงกระนั้นจำเลยก็ยังคงครอบครองที่ดินส่วนที่พิพาทมาตลอดจนถึงปัจจุบัน การที่โจทก์ไปขอออกโฉนดที่ดินโดยรวมเอาที่ดินพิพาทเข้าไปด้วยนั้น หาเป็นเหตุให้สิทธิของจำเลยเหนือที่ดินส่วนที่พิพาทที่มีอยู่แล้วโดยสมบูรณ์เสียไปไม่
ที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ดำเนินการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยเข้าชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์นั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมในอันที่จะต้องปฏิบัติต่อจำเลย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเฉพาะส่วนที่พิพาทคือส่วนที่ขีดเส้นสีเขียวตามแผนที่พิพาทเป็นของจำเลย การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดออกโฉนดรวมเอาที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เข้าไปด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เสียได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 และเมื่อเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบแล้ว จำเลยจะขอให้ใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ดำเนินการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยเข้าชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์นั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมในอันที่จะต้องปฏิบัติต่อจำเลย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเฉพาะส่วนที่พิพาทคือส่วนที่ขีดเส้นสีเขียวตามแผนที่พิพาทเป็นของจำเลย การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดออกโฉนดรวมเอาที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เข้าไปด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินส่วนที่พิพาทกันนี้เสียได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 และเมื่อเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบแล้ว จำเลยจะขอให้ใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7529/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครองทำประโยชน์ก่อนออกโฉนดเป็นหลักฐานสำคัญกว่าชื่อในโฉนด
ที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินออกในชื่อโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นเจ้าของและผู้มีสิทธิครอบครองด้วย
แม้โจทก์จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็ตาม แต่โจทก์ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ที่จำเลยอ้าง ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสิทธิของโจทก์หรือของจำเลย จึงต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองก่อนที่จะมีการออกโฉนดที่ดิน เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักมากกว่า เชื่อได้ว่าจำเลยครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสิทธิของจำเลย
เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทในชื่อโจทก์เพราะเข้าใจผิดหลงว่าโจทก์มีสิทธิ เป็นการออกให้โดยไม่ชอบจึงต้องพิพากษาให้เพิกถอน ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนชื่อในโฉนดที่ดิน หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
แม้โจทก์จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็ตาม แต่โจทก์ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ที่จำเลยอ้าง ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสิทธิของโจทก์หรือของจำเลย จึงต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองก่อนที่จะมีการออกโฉนดที่ดิน เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักมากกว่า เชื่อได้ว่าจำเลยครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสิทธิของจำเลย
เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทในชื่อโจทก์เพราะเข้าใจผิดหลงว่าโจทก์มีสิทธิ เป็นการออกให้โดยไม่ชอบจึงต้องพิพากษาให้เพิกถอน ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนชื่อในโฉนดที่ดิน หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6756/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: แม้เข้าใจผิดเรื่องโฉนด แต่หากครอบครองเป็นเจ้าของนานกว่า 10 ปี ก็ได้กรรมสิทธิ์
แม้จำเลยจะเข้าใจผิดว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 2749ที่จำเลยซื้อมาตั้งแต่ปี 2472 ก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ที่ดินแปลงดังกล่าว จึงไม่ใช่การครอบครองที่ดินของตนเองอันจะอ้างครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินซึ่งเป็นของโจทก์อันเป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่น ลักษณะครอบครองของจำเลยแสดงออกโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นเวลานานกว่า10 ปีแล้ว จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และการนับระยะเวลาครอบครองนั้นนับตั้งแต่เวลาที่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินตลอดมา หาใช่นับแต่วันที่ทำการรังวัดแล้วทราบว่าครอบครองที่ดินสลับแปลงกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6142/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การครอบครองทำประโยชน์และการมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่มีเอกสาร ภ.บ.ท. 5แต่ยังไม่ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท การที่โจทก์นำเจ้าหน้าที่ที่ดินเข้าไปในที่ดินพิพาทเพื่อรังวัดและนำเสาซีเมนต์ไปปักไว้ 2 ต้น ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ส่วนการเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทไม่ใช่หลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทหรือมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท นอกจากนี้ภริยาโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นผู้ซื้อที่ดินก็ไม่เคยเข้าไปดูแลหรือเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมอบหมายให้โจทก์ไปดูแลแทนหรือกระทำแทนเท่านั้น เช่นนี้โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินป่าสงวนระหว่างเอกชน ย่อมไม่เป็นโมฆะ แม้ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เดิมจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ส. เป็นการซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหลักฐาน ภ.บ.ท. 5 และจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกไม้ยืนต้น จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามตนเองและ ส. ผู้ขายตลอดมา ต่อมาจำเลยได้ยื่นขอสิทธิทำกินในที่ดินพิพาท จำเลยได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าครอบครองที่ดินพิพาทจำนวน 19 ไร่ พนักงานเจ้าหน้าที่บอกว่ายื่นขอสิทธิทำกินได้ไม่เกินคนละ 15 ไร่ จำเลยจึงให้ ช. บุตรชายยื่นคำขอสิทธิทำกินอีก 1 แปลง จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา
ต่อมาโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลย ขณะที่โจทก์ทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อโจทก์ชำระราคาแล้วได้มีการเปลี่ยนชื่อใน ภ.บ.ท. 5 จากจำเลยเป็น อ. การซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากความสมัครใจของคู่สัญญาตามความเป็นจริง และโจทก์ได้เข้าครอบครองโดยทำรั้วล้อมรอบที่ดินพิพาทแล้ว แม้ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิขายการครอบครองและพืชผลที่ปลูกอยู่แล้วในที่ดินและมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองพืชผลที่ปลูกนั้นให้แก่กัน ทั้งประกาศสำนักงานป่าไม้ที่ระบุว่า พื้นที่ สทก. ที่ได้รับอนุญาตห้ามจำหน่ายจ่ายโอน แต่ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทได้ ก็เพิ่งประกาศใช้หลังจากสัญญาเป็นผลระหว่างคู่สัญญาไปแล้ว นอกจากนี้ข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวกระทำโดยประกาศของทางราชการมิใช่โดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายการครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยทั้งสี่ จึงไม่ถูกต้องเพราะจำเลยที่ 2 และที่ 4 มิได้อุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ต่อมาโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลย ขณะที่โจทก์ทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อโจทก์ชำระราคาแล้วได้มีการเปลี่ยนชื่อใน ภ.บ.ท. 5 จากจำเลยเป็น อ. การซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากความสมัครใจของคู่สัญญาตามความเป็นจริง และโจทก์ได้เข้าครอบครองโดยทำรั้วล้อมรอบที่ดินพิพาทแล้ว แม้ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิขายการครอบครองและพืชผลที่ปลูกอยู่แล้วในที่ดินและมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองพืชผลที่ปลูกนั้นให้แก่กัน ทั้งประกาศสำนักงานป่าไม้ที่ระบุว่า พื้นที่ สทก. ที่ได้รับอนุญาตห้ามจำหน่ายจ่ายโอน แต่ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทได้ ก็เพิ่งประกาศใช้หลังจากสัญญาเป็นผลระหว่างคู่สัญญาไปแล้ว นอกจากนี้ข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวกระทำโดยประกาศของทางราชการมิใช่โดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายการครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยทั้งสี่ จึงไม่ถูกต้องเพราะจำเลยที่ 2 และที่ 4 มิได้อุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลังแลกเปลี่ยน-เวนคืน แม้สัญญาโมฆะ แต่สิทธิครอบครองยังคงอยู่
การที่โจทก์จำเลยต่างมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกันครอบครองโดยเด็ดขาด เมื่อจำเลยโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และแม้การแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจะตกเป็นโมฆะ เพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 ประกอบมาตรา 519 ก็ตาม แต่เมื่อต่างฝ่ายต่างได้สละการครอบครองและส่งมอบที่ดินให้อีกฝ่ายยึดถือครอบครองแล้วเช่นนี้ โจทก์และจำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินส่วนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 มาตรา 1377 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1378
แม้ที่ดินพิพาทจะถูกเวนคืนไปแล้ว และโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินและโอนเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนให้แก่โจทก์ เนื่องจากสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็เห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินส่วนดังกล่าวในขณะที่ที่ดินถูกเวนคืน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการรับเงินค่าทดแทนจากทางราชการซึ่งไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เพราะเป็นสิทธิอย่างเดียวกัน
แม้ที่ดินพิพาทจะถูกเวนคืนไปแล้ว และโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินและโอนเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนให้แก่โจทก์ เนื่องจากสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็เห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินส่วนดังกล่าวในขณะที่ที่ดินถูกเวนคืน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการรับเงินค่าทดแทนจากทางราชการซึ่งไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เพราะเป็นสิทธิอย่างเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลังหมดระยะห้ามโอน แม้ช่วงแรกไม่ได้สิทธิ แต่หากเจตนายึดถือเพื่อตนต่อเนื่อง ย่อมได้สิทธิครอบครอง
แม้ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอน 10 ปี โจทก์ซึ่งเข้าครอบครองที่ดินพิพาทที่ซื้อมา จะไม่ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากต้องห้ามโดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ครอบครองที่ดินตลอดมาหลังจากเกินระยะเวลา 10 ปีดังกล่าว โดยโจทก์ปลูกบ้านพร้อมขอเลขที่บ้านจากทางราชการ ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์อยู่ในที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนตลอดมา จำเลยไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวแย่งการครอบครองแต่อย่างใด ทั้งการที่จำเลยเสนอราคาเพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทคืน ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับถึงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของโจทก์ โจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเพราะโจทก์เจตนาจะยึดถือเพื่อตนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 136
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8895/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: น.ส.3ก. กับ สิทธิครอบครอง เป็นคนละส่วนกัน การคืน น.ส.3ก. ไม่ใช่การได้คืนการครอบครอง
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) สำหรับที่ดินกับที่ดินพิพาทหรือสิทธิครอบครองในที่ดินถือเป็นคนละส่วนกัน เห็นได้จากการที่โจทก์สามารถขอให้ทางราชการออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ให้ใหม่ได้ แต่สิทธิครอบครองเป็นลักษณะอาการทางกฎหมายอย่างหนึ่งซึ่งจะได้มาก็ต้องด้วยเจตนายึดถือทรัพย์สินหรือที่ดินพิพาทไว้เพื่อตนเองเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 การที่โจทก์เคยฟ้องเรียกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) คืนจากจำเลยและศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แก่โจทก์ จึงไม่เกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินอันจำเลยได้ยึดถือตัวทรัพย์ไว้หรืออาจยึดถือตัวทรัพย์ไว้เพื่อตน ซึ่งโจทก์จะต้องไปดำเนินการในเรื่องถูกแย่งการครอบครองและฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 กรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกที่ดินพิพาทคืนจากการครอบครองของจำเลยแล้ว