คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและเงินเพิ่ม กรณีนำรายจ่ายส่วนแบ่งกำไรมาหักลดหย่อนผิดกฎหมาย
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มกับเสียเงินเพิ่มและโจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเรื่องภาษีเพิ่มและเงินเพิ่มเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และโจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลทั้งเรื่องภาษีและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2) ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับเงินเพิ่ม
โจทก์ทราบดีว่าเงินที่โจทก์แบ่งให้แก่ ก. เป็นผลกำไรของโจทก์ ทั้งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (19) ก็บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่ารายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์นำรายจ่ายส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเป็นการอำพรางข้อเท็จจริง จึงไม่มีเหตุลดเงินเพิ่มให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและเงินเพิ่ม กรณีนำรายจ่ายส่วนแบ่งกำไรที่ไม่ถูกต้องมาหักลดหย่อน
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มกับเสียเงินเพิ่มและโจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเรื่องภาษีเพิ่มและเงินเพิ่มเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และโจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลทั้งเรื่องภาษีและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2). ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับเงินเพิ่ม
โจทก์ทราบดีว่าเงินที่โจทก์แบ่งให้แก่ ก. เป็นผลกำไรของโจทก์ทั้งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (19)ก็บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่ารายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์นำรายจ่ายส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเป็นการอำพรางข้อเท็จจริง จึงไม่มีเหตุลดเงินเพิ่มให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: ค่าใช้จ่ายส่วนตัว, ค่าบำเหน็จพนักงาน, และส่วนแบ่งกำไรที่ไม่สามารถหักได้
รายจ่ายของโจทก์สำหรับค่าซื้อบัตรการกุศลต่างๆ เช่น บัตรแสดงดนตรีละครค่าซื้อของขวัญในโอกาสต่างๆ เช่น ในงานวันเกิด วันแต่งงาน วันขึ้นปีใหม่ค่าช่วยงานต่างๆ เช่นงานบวช งานเลี้ยง งานทอดกฐิน มีลักษณะเป็นการส่วนตัวหากจะมีผลตอบแทนในด้านการโฆษณาชื่อเสียงและสินค้าของโจทก์อยู่บ้าง ก็เป็นแต่เพียงผลพลอยได้เท่านั้นบางรายการที่เป็นการกุศลก็มิใช่การกุศลสาธารณะจะนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
เงินค่าบำเหน็จทดแทนของพนักงานและคนงานที่โจทก์กันเงินไว้เป็นรายจ่ายที่จะต้องจ่ายในอนาคต จึงเป็นเงินสำรองโจทก์ไม่มีสิทธิหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี
เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิเป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี จะนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
การที่โจทก์นำรายจ่ายซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมาหักออกเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจประเมินแจ้งจำนวนเงินภาษีที่จะต้องชำระอีกและให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าส่วนแบ่งกำไรเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษี: รายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร
โจทก์ผู้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันมีกำไรสำหรับการดำเนินการในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2515 และปี พ.ศ. 2516 โจทก์ แบ่งผลกำไรร้อยละ 25 ให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า เงินกำไร ที่แบ่งให้นั้นจึงเป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไร ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(19) แม้จะได้กำหนดกันไว้ล่วงหน้าตามสัญญาเช่า ก็ตาม ก็ไม่ยกเว้นให้กระทำได้
โจทก์ยื่นแบบรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ไม่ถูกต้องโดยนำรายจ่ายอันเป็นรายการที่ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่าย เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินแจ้งจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระอีก และให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 และมาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การตีความตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและค่าเสื่อมราคาที่นำมาหักลดหย่อนเพื่อคำนวณภาษี
รายการจ่ายในการซื้อบัตรงานกุศลต่างๆ เช่น งานกาชาดงานบอลล์ ซื้อของขวัญปีใหม่และงานสมรส มีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาและเป็นการส่วนตัวของผู้มีอำนาจจ่ายเงินนั้นๆเพื่อประโยชน์ในการทำงานหรือในทางสังคมของตนเองเป็นส่วนตัว ยิ่งกว่าเพื่อประโยชน์ของบริษัทโจทก์ มิใช่รายจ่ายเพื่อหารายได้ในการดำเนินธุรกิจการค้าของโจทก์โดยตรง ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)
รายการจ่ายเงินกองทุนหรือเงินบำเหน็จพนักงาน เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพียงแต่ตั้งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไว้ในบัญชีของโจทก์เพื่อจ่ายให้พนักงานไปโดยเด็ดขาดคือ เมื่อพนักงานออกจากงานหรือถึงแก่กรรม ยังไม่ได้มีการจ่ายให้แก่พนักงานไปโดยเด็ดขาดในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511 โจทก์เพิ่งจ่ายเงินนั้นให้แก่พนักงานไปในปี 2514โจทก์จึงไม่มีสิทธินำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511
รายการจ่ายค่าแสตมป์สุราซึ่งโจทก์จะต้องซื้อจากกรมสรรพสามิตมาเพื่อใช้ปิดขวดสุราให้ครบถ้วนตามจำนวนสุราที่จะต้องผลิตตามสัญญาหรืออีกนัยหนึ่งก็คือโจทก์ต้องเสียภาษีสุราให้แก่กรมสรรพสามิตให้ครบถ้วนตามโควต้าสุราที่กำหนดให้โจทก์ผลิตตามสัญญานั้น แม้ว่าโจทก์จะผลิตสุราได้ไม่ครบตามโควต้าสุราที่โจทก์จะต้องผลิตตามสัญญารายจ่ายค่าแสตมป์สุราก็เป็นภาษีสุราตามโควต้าสุราในแต่ละปีที่โจทก์ต้องเสียให้กรมสรรพสามิตอย่างแน่นอนและได้เสียไปจริงในแต่ละปี การที่โจทก์ใช้แสตมป์สุราที่ซื้อมาในแต่ละปีไม่หมด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะโจทก์ผลิตสุราในปีนั้นได้ต่ำกว่าโควต้า แล้วได้รับการผ่อนผันให้นำแสตมป์สุราที่เหลือนั้น ไปใช้ปิดขวดสุราในปีต่อไปได้ก็เป็นคนละเรื่องกันกับค่าแสตมป์สุราหรือภาษีสุราที่โจทก์ได้เสียไปแล้วในปีที่ซื้อแสตมป์สุรานั้นมา ฉะนั้นเมื่อแสตมป์สุรารายพิพาทนี้โจทก์จ่ายเงินซื้อมาในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511 จึงเป็นรายจ่ายที่โจทก์มีสิทธินำมาหักในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีพ.ศ.2511 ได้ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 65 ตรี (9)
เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มเติม โดยว่ารายจ่ายซึ่งเป็นค่าก่อสร้างและซื้อทรัพย์สิน จำนวน3,743,169.72 บาท เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนทั้งหมดต้องห้ามมิให้นำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ(ตามมาตรา 65 ตรี (5)) โจทก์อุทธรณ์คัดค้าน (ว่าหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้) คณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยว่ารายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการลงทุนเพียง12,774.30 บาท นอกนั้นมิใช่เป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนยอมให้โจทก์หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ย้อนไปวินิจฉัยปรับปรุงคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์ที่จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของปี พ.ศ.2511 ให้โจทก์ใหม่จากที่เจ้าพนักงานประเมินคิดไว้เดิมเป็นเงินรวม 4,213,852.11 บาทมาเป็นหักให้เพียง 66,846.22 บาท คือตัดออกเสีย4,147,005.89 บาท และคิดคำนวณภาษีใหม่เป็นว่าโจทก์จะต้องชำระภาษีและเงินเพิ่มเพิ่มจากที่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มนั้นอีกเป็นเงิน 3,111.08 บาทเงินเพิ่ม 622.21 บาท รวมเป็นเงิน 3,733.29 บาท ดังนี้ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนที่ปรับปรุงคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์เสียใหม่เป็นการพิจารณาและวินิจฉัยไปโดยไม่เปิดโอกาสให้โจทก์ได้ชี้แจงแสดงหลักฐาน และมิได้เป็นประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใดคำวินิจฉัยที่ให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังโจทก์จึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กองภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ออกหมายเรียกโจทก์มาทำการไต่สวนตรวจสอบภาษีอากร เพราะมีกรณีสงสัยว่าโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง ซึ่งผลการตรวจสอบก็ปรากฏว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนจริง โจทก์จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 22. ที่โจทก์อ้างว่า ได้ทำบัญชีรับจ่ายโดยสุจริต มิได้ปิดบังรายรับรายจ่าย ที่เกิดกรณีพิพาทขึ้นเนื่องจากการตีความตัวบทประมวลรัษฎากรผิดพลาด ยังไม่เป็นเหตุผลอันสมควรเพียงพอที่จะผ่อนผันให้ยกเลิกหรือยกเว้นเงินเพิ่มให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักลดหย่อนรายจ่ายที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
จำนวนเงินที่โจทก์ตัดเป็นรายจ่ายในการจัดตั้งบริษัทโจทก์ฟังไม่ได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัทดังโจทก์อ้าง ถือว่าเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18)
โจทก์นำค่าเช่าปี 2508 และ 2509 มาลงจ่ายในปี 2510เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถลงจ่ายในปีนั้นๆ ได้ มิใช่เพิ่งพบในปี 2510 ว่ายังมิได้จ่าย รายจ่ายค่าเช่าดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายซึ่งควรจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น และมิใช่กรณีที่ผู้จ่ายไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นได้ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิปี 2510 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(9)
โจทก์ขายทรัพย์สินไปแล้วจ่ายเงินให้บริษัท ซ. ไปจำนวนหนึ่ง การจ่ายนี้เพื่อให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง มิใช่เป็นค่าทรัพย์สินของบริษัท ซ. ดังโจทก์นำสืบ รายจ่ายดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(15)
โจทก์ตัดหนี้สูญโดยมิได้ฟ้องร้องหรือตั้งอนุญาตโตตุลาการตามข้อเสนอของลูกหนี้ ทั้งส่อแสดงว่าเป็นการสมยอมกันลดกำไรสุทธิของโจทก์เพื่อให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง ถือว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติการโดยสมควร เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ก่อนการตัดหนี้สูญดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ(9) โจทก์จึงนำหนี้สูญนั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้
โจทก์ได้ตัดบัญชีทรัพย์สินถังสองใบออกไปและถือราคาถังสองใบนั้นเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิด้วยแล้ว เมื่อความจริงโจทก์ยังมิได้ขายถังสองใบไป การตัดบัญชีถังสองใบย่อมมีผลทำให้การคำนวณกำไรสุทธิลดลงตามราคาถังสองใบนั้น จึงต้องห้ามมิให้ถือราคาถังนั้นเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(17)
โจทก์นำรายการที่ต้องห้ามมิให้หักเป็นรายจ่ายมาหักเป็นรายจ่ายหลายรายการเป็นเงินจำนวนมาก บางรายการโจทก์อ้างข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนความจริงขึ้นโต้แย้ง มิใช่เพียงตีความกฎหมายไม่ตรงกับเจ้าพนักงานประเมิน พฤติการณ์ส่อแสดงว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จึงไม่มีเหตุงดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีแบ่งทรัพย์สินบริษัทโดยมิชำระหนี้ภาษี ผู้ถือหุ้นต้องรับผิดร่วมกับบริษัท
ผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์สินของบริษัทคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นไปโดยยังไม่ได้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องบริษัทผู้ชำระบัญชีและผู้ถือหุ้นให้รับผิดต่อโจทก์ได้
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยชี้ขาดการประเมินภาษีของบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2) จึงหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งต่อศาลต่อไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นให้ร่วมรับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ของบริษัท จำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระ มิได้ฟ้องให้รับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ส่วนตัวของจำเลยอื่น จึงไม่จำเป็นต้องเรียกจำเลยอื่นให้ปฏิบัติหรือตอบคำถามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 21
การที่เจ้าหนี้ติดตามหนี้สินคืนจากผู้ถือหุ้นที่ได้รับแบ่งทรัพย์สินของบริษัทไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นกลับคืนนั้น มิใช่เป็นเรื่องเรียกให้ชำระมูลค่าของหุ้นที่ยังส่งให้ไม่ครบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินบริษัทโดยไม่ชำระหนี้ภาษี ผู้ถือหุ้นมี liability ต่อเจ้าหนี้
ผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์สินของบริษัทคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นไป โดยยังไม่ได้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องบริษัทผู้ชำระบัญชีและผู้ถือหุ้นให้รับผิดต่อโจทก์ได้
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยชี้ขาดการประเมินภาษีของบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) จึงหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งต่อศาลต่อไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นให้ร่วมรับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ของบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระ มิได้ฟ้องให้รับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ส่วนตัวของจำเลยอื่น จึงไม่จำเป็นต้องเรียกจำเลยอื่นให้ปฏิบัติหรือตอบคำถามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 21
การที่เจ้าหนี้ติดตามหนี้สินคืนจากผู้ถือหุ้นที่ได้รับแบ่งทรัพย์สินของบริษัทไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นกลับคืนนั้น มิใช่เป็นเรื่องเรียกให้ชำระมูลค่าของหุ้นที่ยังส่งให้ไม่ครบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเพิ่มจากการประเมินใหม่: สิทธิการรับชำระหนี้แม้ยังมิได้แจ้งการประเมิน
ลูกหนี้ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 5 เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกคำสั่งให้ลูกหนี้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 แต่ยังไม่ทันได้แจ้งให้ลูกหนี้ทราบคำสั่ง ลูกหนี้ก็ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีนี้เสียก่อน กรมสรรพากรผู้ร้องจึงมาขอรับชำระหนี้ ดังนี้ เงินที่ลูกหนี้จะต้องเสียอีกร้อยละ 20 แห่ง เงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ถือว่าเป็นเงินภาษีอากรและถือว่าได้เกิดขึ้นแล้วพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อกรมสรรพากรผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลก็มีสิทธิได้รับชำระเงินเพิ่มด้วย แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ก็ตาม แต่มูลหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มได้เกิดขึ้นแล้วก่อนลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเมื่อกรมสรรพากรผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ถือได้ว่าเป็นการแจ้งคำสั่งประเมินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว กรมสรรพากรผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ค้างรวมทั้งเงินเพิ่มดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้ภาษีและเงินเพิ่มหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ยังมิได้แจ้งการประเมิน
ลูกหนี้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกคำสั่งให้ลูกหนี้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา22แต่ยังไม่ทันได้แจ้งให้ลูกหนี้ทราบคำสั่ง ลูกหนี้ก็ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีนี้เสียก่อน กรมสรรพากรผู้ร้องจึงมาขอรับชำระหนี้ดังนี้ เงินที่ลูกหนี้จะต้องเสียอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ถือว่าเป็นเงินภาษีอากรและถือว่าได้เกิดขึ้นแล้วพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อกรมสรรพากรผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลก็มีสิทธิได้รับชำระเงินเพิ่มด้วย แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ก็ตามแต่มูลหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มได้เกิดขึ้นแล้วก่อนลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเมื่อกรมสรรพากรผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ถือได้ว่าเป็นการแจ้งคำสั่งประเมินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว กรมสรรพากรผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ค้างรวมทั้งเงินเพิ่มดังกล่าว
of 7