คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540-1541/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากที่ดินสวนหมาก การตีราคาทุน การหลีกเลี่ยงภาษี และอำนาจเจ้าพนักงานประเมิน
ห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ตั้งขึ้นเพื่อการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมากและได้ขายที่ดินสวนหมากของห้างฯไปเพื่อการค้าหากำไร รายได้จากการขายที่ดินดังกล่าวต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(8) และภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร
หลังจากทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ บ. ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการก็ได้แก้บัญชีให้ทายาทของผู้ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแทนโดยหุ้นส่วนคนอื่นมิได้ทักท้วง และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งที่ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทเข้าถือหุ้นแทนก็มีการคืนเงินค่าหุ้นให้ทายาทไปตามส่วนที่ทายาทได้รับมรดกและต่อมาห้างหุ้นส่วนก็ยังได้ไปจดทะเบียนการค้า ดังนี้ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. เลิกกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
ข. กับ ป. เอาที่ดินสวนหมากมาเป็นทุนของห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อ ข. กับ ป. ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ป. จึงมีสิทธิเพียงรับมรดกในหุ้นที่ ข.และ ป. มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินของห้างหุ้นส่วน การที่ ข. และ ป. มีชื่อกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินของห้างหุ้นส่วน ก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนฯเท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขายทรัพย์สินมรดกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรหาได้ไม่
ข. กับ ป. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองและพวกเข้าหุ้นส่วนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ขึ้นเพื่อทำการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก จึงต้องถือว่าที่ดินสวนหมากที่ห้างหุ้นส่วนได้มาเป็นสินค้าของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนเอาที่ดินสวนหมากมาดำเนินการค้าหากำไรคือวันที่ 30 กันยายน 2497 อันเป็นวันทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังนั้นการคิดราคาทุนของที่ดินสวนหมากจึงต้องถือตามราคาที่แท้จริงของที่ดินสวนหมากขึ้นในวันดังกล่าว จะคิดเอาราคาตลาดของสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือตามราคาปานกลางตามประกาศของเทศบาลเมืองซึ่งประกาศในภายหลังหาได้ไม่ และเมื่อฟังได้ว่าที่ห้างหุ้นส่วนตีราคาที่ดินสวนหมากของห้างขณะทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นเงิน 2,200,000 บาทเป็นราคาที่สมควร และมีการซื้อขายกันในระยะนั้น การประเมินราคาทุนที่ดินสวนหมากที่ขายไป เพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้จึงต้องคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่ดินทั้งหมดในราคาทุน 2,200,000 บาท
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีการค้าหรือภาษีเงินได้หรือไม่ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเงินได้ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 ข้อ 2(3) ที่บัญญัติให้สรรพากรจังหวัดและผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดสำหรับท้องที่จังหวัดเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 16 นั้นไม่ได้คำนึงถึงชั้นของข้าราชการ แต่มุ่งถึงตำแหน่ง ข้าราชการคืออาจเป็นสรรพากรจังหวัดโทหรือผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดตรีคนใดคนหนึ่งก็เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดเอกจังหวัดสงขลาแต่ผู้เดียวจึงมีอำนาจลงนามประเมินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540-1541/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้: การหักค่าใช้จ่ายต้นทุนที่ดิน, อำนาจเจ้าพนักงานประเมิน, และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ตั้งขึ้นเพื่อการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก และได้ขายที่ดินสวนหมากของห้างฯ ไปเพื่อการค้าหากำไร รายได้จากการขายที่ดินดังกล่าวต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(8) และภาษีการค้าตาม มาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 ข้อ 2(3) ที่บัญญัติให้สรรพากรจังหวัดและผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดสำหรับท้องที่จังหวัดเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร
หลังจากทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ บ.ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการก็ได้แก้บัญชีให้ทายาทของผู้ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแทนโดยหุ้นส่วนคนอื่นมิได้ทักท้วง และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งที่ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทเข้าถือหุ้นแทนก็มีการคืนเงินค่าหุ้นให้ทายาทไปตามส่วนที่ทายาทได้รับมรดก และต่อมาห้างหุ้นส่วนก็ยังได้ไปจดทะเบียนการค้า ดังนี้ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ บ.เลิกกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
ข. กับ ป. เอาที่ดินสวนหมากมาเป็นทุนของห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อ ข. กับ ป.ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ป. จึงมีสิทธิเพียงรับมรดกในหุ้นที่ ข. และ ป. มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินของห้างหุ้นส่วน การที่ ข. และ ป. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินของห้างหุ้นส่วน ก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนฯ เท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขายทรัพย์สินมรดกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีการค้าตามประมวลรัชฎากรหาได้ไม่
ข. กับ ป. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองและพวกเข้าหุ้นส่วนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ขึ้นเพื่อทำการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก จึงต้องถือว่าที่ดินสวนหมากที่ห้างหุ้นสวนได้มาเป็นสินค้าของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนเอาที่ดินสวนหมากมาดำเนินการค้าหากำไร วันที่ 30 กันยายน 2497 อันเป็นวันทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังนั้นการคิดราคาทุนของที่ดินสวนหมากจึงต้องถือตามราคาที่แท้จริงของที่ดินสวนหมากขึ้นในวันดังกล่าว จะคิดเอาราคาตลาดของสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือตามราคาปานกลางตามประกาศของเทศบาลเมือง ซึ่งประกาศในภายหลังหาได้ไม่ และเมื่อฟังได้ว่าที่ห้างหุ้นส่วนตีราคาที่ดินสวนหมากของห้างขณะทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นเงิน 2,200,000 บาท เป็นราคาที่สมควร และมีการซื้อขายกันในระยะนั้น การประเมินราคาทุนที่ดินสวนหมากที่ขายไป เพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงต้องคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่ดินทั้งหมดในราคาทุน 2,200,000 บาท
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีการค้า หรือภาษีเงินได้หรือไม่ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเงินได้ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัชฎากร มาตรา 16 นั้น ไม่ได้คำนึงถึงชั้นของข้าราชการ แต่มุ่งถึงตำแหน่งข้าราชการ คือ อาจเป็นสรรพากรจังหวัดโท หรือผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดตรี คนใดคนหนึ่งก็เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดเอกจังหวัดสงขลาแต่ผู้เดียว จึงมีอำนาจลงนามประเมินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าใช้จ่ายสำนักงานต่างประเทศ และเงินทดรองการเฝ้าเรือ
เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างจะได้รับยกเว้นให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(2) จะต้องเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายแก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาดเท่านั้นเงินที่โจทก์จ่ายเข้าสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างโจทก์ทุกเดือนลูกจ้างโจทก์จะได้รับก็ต่อเมื่อออกจากงานโดยไม่ผิดระเบียบเท่านั้นจึงถือไม่ได้ว่าขณะโจทก์จ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาดแล้วเพราะเมื่อลูกจ้างไม่ออกจากงานก็ยังไม่มีโอกาสได้รับ ทั้งในกรณีที่ออกผิดระเบียบเงินส่วนที่โจทก์จ่ายสมทบลูกจ้างจะไม่ได้รับแต่จะกลับคืนมาเป็นของโจทก์อีก กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(2) จึงต้องถือว่าเป็นเงินกองทุนที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
เงินที่โจทก์ส่งไปชำระให้สำนักงานใหญ่และสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่ทำการ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเครื่องเขียนเครื่องใช้ ค่าสึกหรอเครื่องมือเครื่องใช้และอื่น ๆ ตามที่โจทก์นำสืบ ล้วนแต่มีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของสำนักงานเหล่านั้นทั้งสิ้นแม้สำนักงานเหล่านั้นจะจ่ายโจทก์ในการติดต่อผู้จำหน่ายสินค้าช่วยส่งเงินเมื่อมีผู้ชำระมาให้โจทก์ ช่วยหากิจการ และโจทก์สาขากรุงเทพฯ ต้องดำเนินงานตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ก็ตาม ไม่ถือว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโจทก์จึงจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14)
โจทก์เป็นตัวแทนบริษัทเรือที่กรุงเทพฯ เมื่อเรือมาถึงโจทก์จะจ้างบริษัทรับจ้างเฝ้าเรือ โดยจ่ายค่าจ้างไปก่อน บริษัทเรือจะส่งเงินที่โจทก์จ่ายไปนั้นคืนให้โจทก์เป็นการจ่ายมีลักษณะเป็นเงินทดรอง หาใช่รายจ่ายของโจทก์เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ไม่ โจทก์จึงจะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(13)
เงินจำนวนที่โจทก์ส่งไปยังสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าวซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเงินจำนวนนี้จึงเป็นรายได้ซึ่งจะต้องนำกลับเข้ามารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงต้องถือว่าโจทก์ได้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิอีกส่วนหนึ่ง
เงินเพิ่มกรณีที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ บัญญัติให้ผู้จำหน่ายต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันจำหน่ายเมื่อโจทก์ไม่เสียภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีที่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากรมาตรา 27 เงินเพิ่มนี้กำหนดไว้แน่นอนมิได้บัญญัติว่าเป็นข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 27(1)(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ค่าใช้จ่ายสำนักงานต่างประเทศ, และเงินทดรองจ่าย
เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างจะได้รับยกเว้นให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) จะต้องเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายแก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาดเท่านั้น เงินที่โจทก์จ่ายเข้าสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างโจทก์ทุกเดือน ลูกจ้างโจทก์จะได้รับก็ต่อเมื่อออกจากงานโดยไม่ผิดระเบียบเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าขณะโจทก์จ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาดแล้ว เพราะเมื่อลูกจ้างไม่ออกจากงานก็ยังไม่มีโอกาสได้รับ ทั้งในกรณีที่ออกผิดระเบียบเงินส่วนที่โจทก์จ่ายสมทบลูกจ้างจะไม่ได้รับแต่จะกลับคืนมาเป็นของโจทก์อีก กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (2) จึงต้องถือว่าเป็นเงินกองทุนที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
เงินที่โจทก์ส่งไปชำระให้สำนักงานใหญ่และสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่ทำการ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเครื่องเขียนเครื่องใช้ ค่าสึกหรอ เครื่องมือเครื่องใช้และอื่นๆ ตามที่โจทก์นำสืบ ล้วนแต่มีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของสำนักงานเหล่านั้นทั้งสิ้น แม้สำนักงานเหล่านั้นจะจ่ายโจทก์ในการติดต่อผู้จำหน่ายสินค้า ช่วยส่งเงินเมื่อมีผู้ชำระมาให้โจทก์ ช่วยหากิจการ และโจทก์สาขากรุงเทพฯ ต้องดำเนินงานตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ก็ตาม ไม่ถือว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทย โจทก์จึงจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (14)
โจทก์เป็นตัวแทนบริษัทเรือที่กรุงเทพฯ เมื่อเรือมาถึงโจทก์จะจ้างบริษัทรับจ้างเฝ้าเรือ โดยจ่ายค่าจ้างไปก่อน บริษัทเรือจะส่งเงินที่โจทก์จ่ายไปนั้นคืนให้โจทก์เป็นการจ่ายมีลักษณะเป็นเงินทดรอง หาใช่รายจ่ายของโจทก์เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ไม่ โจทก์จึงจะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ไม่ โจทก์จึงจะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13)
เงินจำนวนที่โจทก์ส่งไปยังสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาในต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าวซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เงินจำนวนนี้จึงเป็นรายได้ซึ่งจะต้องนำกลับเข้ามารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงต้องถือว่าโจทก์ได้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิอีกส่วนหนึ่ง
เงินเพิ่มกรณีที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทย ประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ บัญญัติให้ผู้จำหน่ายต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันจำหน่าย เมื่อโจทก์ไม่เสียภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีที่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 เงินเพิ่มนี้กำหนดไว้แน่นอนมิได้บัญญัติว่าเป็นข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 27 (1), (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบไต่สวนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 แล้วก่อนประเมิน ครั้นคดีขึ้นสู่ศาลโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าการประเมินภาษีเงินได้ของเจ้าพนักงานไม่ถูกต้อง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบหักล้างการประเมิน ถ้ารายใดโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ก็ต้องถือว่าการประเมินนั้นถูกต้อง
เมื่อได้มีการเรียกพยานหลักฐานต่าง ๆ มาพิจารณาในชั้นไต่สวนแล้วก็ถือว่าได้มีการไต่สวนโดยชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 แล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกผู้ใดมาสอบถามหรือไม่และสอบถามอย่างไร เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะ ไม่มีผลทำให้การไต่สวนเสียไป
แม้ตามเอกสารของบริษัทแสดงว่าบริษัทจ่ายเงินค่าพาหนะแก่โจทก์ในการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อดูงาน แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้จ่ายประสงค์จะจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อดูงานจริง ๆ หากแต่เป็นการจ่ายเป็นค่าตอบแทนในฐานะโจทก์เป็นประธานกรรมการบริษํทแล้ว โจทก์ย่อมไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) แต่ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)(2)
สิทธิการเช่าตึกคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ที่โจทก์ได้มาโดยไม่ได้จ่ายค่าทดแทนถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่โจทก์ได้รับซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงินได้จากการอื่นซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8)
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ละเลยไม่เสียภาษีเงินได้ จึงสมควรที่จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ที่โจทก์อ้างว่าไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเงินได้ดังกล่าว แต่เป็นเพราะโจทก์มีภารกิจหน้าที่การงานมากเรื่องภาษีอากรโจทก์ไม่ได้ทำเอง โจทก์ไม่มีความรู้ว่าต้องเสียภาษีอะไรเท่าใด คนของโจทก์จัดทำมาให้เสร็จ ทั้งขณะนั้นโจทก์กำลังประสบกับความทุกข์อย่างหนักตามที่ยกขึ้นกล่าวก็ไม่ใช่เหตุผลในกฎหมายอันทำให้โจทก์ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตลวดเหล็กและลวดหนาม: การตีความคำว่า 'ผลิต' ตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 77 บัญญัติความหมายของคำว่า 'ผลิต' ไว้ว่า หมายถึง 'ทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบแปรรูป แปรสภาพสินค้าหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใดและ 'ผู้ผลิต' หมายถึง 'ผู้ประกอบการค้าที่ทำการผลิต' โจทก์ทำสินค้าโดยซื้อลวดเหล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่มีคนเอาไปใช้อย่างอื่นนอกจากแปรรูปให้เป็นขนาดเล็กนำมาผ่านกรรมวิธีต่างๆ 4 ขั้นตอน คือล้างและรีดเป็นเส้นลวดให้มีขนาดเล็กลงแล้วนำไปอบความร้อนให้มีสภาพอ่อนตัวลงและชุบสังกะสีทำเป็นลวดสังกะสีและตะปู หรือเข้าเครื่องฟั่นเครื่องตัดทำเป็นลวดหนามออกจำหน่าย ดังนี้ การทำสินค้าลวดเหล็กของโจทก์ตั้งแต่กรรมวิธีที่ 1 ถึงกรรมวิธีที่ 4 ถือได้ว่าเป็นการแปรสภาพสินค้าจากลวดเหล็กขนาดใหญ่เป็นลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูจึงเป็นการผลิตตามความหมายของมาตรา 77 และเมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าที่โจทก์ทำการผลิต โจทก์จึงเป็นผู้ผลิตตามมาตรา 77 ด้วย
เมื่อโจทก์นำลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูที่ตนผลิตดังกล่าวมาขาย โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากรประเภท 1 การขายของชนิด1(ก) ในฐานะผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 สำหรับรายรับก่อนเดือนกรกฎาคม 2513 และร้อยละ 7 สำหรับรายรับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2513 เป็นต้นมา เพราะการค้าของโจทก์มิได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2509 มาตรา 4(1)(3) เพราะโจทก์มิได้ส่งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกนอกราชอาณาจักร และสินค้าดังกล่าวก็มีระบุไว้ในบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกา
โจทก์ซื้อลวดเหล็กที่นำมาผลิตเป็นลวดสังกะสี ลวดหนามและตะปูมาจากบริษัทผู้ผลิตลวดเหล็กในประเทศบ้าง และซื้อมาจากต่างประเทศบ้างแม้บริษัทผู้ผลิตในประเทศจะได้เสียภาษีการค้าไปชั้นหนึ่งแล้วก็ตามหรือโจทก์ได้เสียภาษีการค้าในกรณีนำลวดเหล็กเข้ามาในประเทศไปแล้วก็ตามก็เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของแต่ละคนและแต่ละกรณีไปเมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าด้วยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าตามนั้น จะอ้างว่าขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือเป็นการเสียภาษีซ้อนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีที่เกิดขึ้นหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ สามารถขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตามมาตรา 130(6) พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าพนักงานผู้ตรวจภาษี ตรวจพบภายหลังจำเลยผู้ล้มละลายได้ยื่นรายการเสียภาษีต่ำกว่าจำนวนได้ควรต้องเสีย จึงมีหนังสือแจ้งจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังจำเลยผู้ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม โดยอาศัยประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 และ 22 ดังนี้ มูลหนี้ย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยยื่นรายงานแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วนนั้น เพราะเจ้าพนักงานย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นนั้นได้ตามกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้น เจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 130 (6) ที่ว่า "ค่าภาษีอากรฯลฯ ที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์" นั้น ไม่หมายความว่าหนี้นั้นจะต้องถึงกำหนดชำระก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น แต่หมายความว่า ถ้าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ก็ต้องถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว จึงจะเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา 130 (6) แต่ถ้าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เช่นในคดีนี้ ที่กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือและวันได้รับแจ้งการประเมินตามลำดับ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยนั้น ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้ จึงเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา 130 (6) ด้วย เพราะในคดีล้มละลายนั้น การขอรับชำระหนี้ย่อมขอรับได้รวมทั้งหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเมื่อลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลาย เจ้าหนี้อื่นใดจะฟ้องก็ไม่ได้ ได้แต่ชอรับชำระหนี้ ถ้าไม่ยอมให้เจ้าหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดได้รับชำระหนี้ร้องขอชำระเจ้าหนี้นั้นก็อาจไม่ได้รับชำระหนี้เลย เพราะพ้นเวลาขอรับชำระหนี้เสียแล้ว ฉะนั้น เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้รายการอันดับ 8-9 ตามมาตรา 130 (6) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากรค้างชำระในคดีล้มละลาย: สิทธิในการขอรับชำระหนี้ แม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
เจ้าพนักงานผู้ตรวจภาษี ตรวจพบภายหลังจำเลยผู้ล้มละลายได้ยื่นรายการเสียภาษีต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องเสีย จึงมีหนังสือแจ้งจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังจำเลยผู้ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม โดยอาศัยประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 และ 22 ดังนี้มูลหนี้ย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยยื่นรายงานแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วนนั้น เพราะเจ้าพนักงานย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นนั้นได้ตามกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้น เจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130(6) ที่ว่า"ค่าภาษีอากรฯลฯที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์" นั้น ไม่หมายความว่าหนี้นั้นจะต้องถึงกำหนดชำระก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นแต่หมายความว่า ถ้าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ก็ต้องถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว จึงจะเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา 130(6) แต่ถ้าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เช่นในคดีนี้ ที่กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือและวันได้รับแจ้งการประเมินตามลำดับ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยนั้น ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้ จึงเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา130(6) ด้วย เพราะในคดีล้มละลายนั้น การขอรับชำระหนี้ย่อมขอรับได้รวมทั้งหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเมื่อลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลาย เจ้าหนี้อื่นใดจะฟ้องก็ไม่ได้ได้แต่ขอรับชำระหนี้ ถ้าไม่ยอมให้เจ้าหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดได้รับชำระหนี้ร้องขอชำระหนี้ เจ้าหนี้นั้นก็อาจไม่ได้รับชำระหนี้เลย เพราะพ้นเวลาขอรับชำระหนี้เสียแล้ว ฉะนั้นเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้รายการอันดับ 8-9 ตามมาตรา 130(6)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีที่เกิดขึ้นหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ยังคงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าพนักงานผู้ตรวจภาษี ตรวจพบภายหลังจำเลยผู้ล้มละลายได้ยื่นรายการเสียภาษีต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องเสีย. จึงมีหนังสือแจ้งจำนวนเงินที่จะต้องชำระอีกไปยังจำเลยผู้ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม. โดยอาศัยประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 และ 22. ดังนี้มูลหนี้ย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยยื่นรายงานแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วนนั้น. เพราะเจ้าพนักงานย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นนั้นได้ตามกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้น. เจ้าพนักงานซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483.
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130(6) ที่ว่า'ค่าภาษีอากรฯลฯที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์' นั้น. ไม่หมายความว่าหนี้นั้นจะต้องถึงกำหนดชำระก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น.แต่หมายความว่า ถ้าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว. ก็ต้องถึงกำหนดชำระภายใน 6เดือน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว. จึงจะเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา 130(6). แต่ถ้าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เช่นในคดีนี้ ที่กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือและวันได้รับแจ้งการประเมินตามลำดับ. ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยนั้น. ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้. จึงเป็นหนี้ที่อยู่ในลำดับแห่งมาตรา130(6) ด้วย. เพราะในคดีล้มละลายนั้น. การขอรับชำระหนี้ย่อมขอรับได้รวมทั้งหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเมื่อลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลาย. เจ้าหนี้อื่นใดจะฟ้องก็ไม่ได้ได้แต่ขอรับชำระหนี้. ถ้าไม่ยอมให้เจ้าหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดได้รับชำระหนี้ร้องขอชำระหนี้. เจ้าหนี้นั้นก็อาจไม่ได้รับชำระหนี้เลย. เพราะพ้นเวลาขอรับชำระหนี้เสียแล้ว.ฉะนั้นเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้รายการอันดับ 8-9 ตามมาตรา 130(6)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับเหมาเสียภาษีจากเงินค่าจ้างทั้งหมด แม้จะจ่ายต่อให้ผู้รับจ้างช่วง เงินได้จากการค้าระหว่างผู้รับเหมากับผู้ว่าจ้างเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
ผู้รับเหมาก่อสร้างทำสัญญาโดยตรงในการรับประมูลก่อสร้างสะพานกับผู้ว่าจ้างและได้รับเงินค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างทั้งหมดแม้ผู้รับเหมาจะไปว่าจ้างบุคคลอื่นทำงานนั้นต่อโดยจ่ายเงินนั้นให้ด้วยก็ตามก็ต้องถือว่าเงินที่รับมาเป็นเงินที่ผู้รับเหมาได้จากการค้าซึ่งเจ้าหน้าที่สรรพากรมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดได้
of 7