คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 ม. 14 ทวิ (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีพนันป๊อก: ความสมบูรณ์ของฟ้องและขอบเขตการแก้ไขโทษของศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาอ้างว่า คำเบิกความของประจักษ์พยานโจทก์ไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าจำเลยนี้เล่นการพนันป๊อกกันในลักษณะใดอย่างไรนั้นเป็นข้ออ้างเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า ผู้ใดเป็นเจ้ามือในการเล่นพนันป๊อกแต่ได้บรรยายมาว่าจำเลยทั้ง 3 บังอาจร่วมกันเล่นการพนันป๊อก (21 แต้ม อันเป็นการพนันประเภทห้ามขาดตามบัญชี ก. อันดับ 11 ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน 2478 พนันเอาทรัพย์สินกันโดยมิได้มีพระราชกฤษฎีกาอนุญาตให้เล่นได้ ดังนี้ ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
จำเลยกระทำผิดครั้งหลังมีโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ต้องวางโทษทั้งจำทั้งปรับตามพระราชบัญญัติการพนัน 2478 มาตรา 14 ทวิ (2) แต่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับทวีคูณ ปรับ 600 บาทจำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์เช่นนี้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 2 เดือน ปรับ 600 บาทแต่ยกโทษจำคุกเสียก็เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีพนันป๊อก: ความสมบูรณ์ของฟ้อง และการแก้ไขโทษที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยฎีกาอ้างว่า คำเบิกความของประจักษ์พยานโจทก์ไม่ปรากฎชัดแจ้งว่า จำเลยนี้เล่นการพนันป๊อกกันในลักษระใด อย่างไรนั้นเป็นข้ออ้างเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า ผู้ใดเป็นเจ้ามือในการเล่นพนันป๊อก แต่ได้บรรยายมาว่าจำเลยทั้ง 3 บังอาจร่วมกันเล่นการพนันป๊อก(21 แต้ม) อันเป็นการพนันประเภทห้ามขาดตามบัญชี ก.อันดับ 11 ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน 2478 พนันเอาทรัพย์สินกันโดยมิได้มีพระราชกฤษฎีกาอนุญาตให้เล่นได้ ดังนี้ ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)
จำเลยกระทำผิดครั้งหลังมีโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ต้องวางโทษทั้งปรับตามพระราชบัญญัติการพนัน 2478 มาตรา 14 ทวิ(2) แต่ศาลชั้นต้นวางโทษปรับทวีคูณ ปรับ 600 บาท จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์เช่นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 2 เดือน ปรับ 600 บาท แต่ยกโทษจำคุกเสีย ก็เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212