พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนค่าอากร และการประเมินราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 40 กำหนดให้โจทก์สามารถนำสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากรได้โดยชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก็ได้ แต่โจทก์เลือกชำระค่าภาษีอากรตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนด ถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรส่วนที่เกินโดยสมัครใจ การฟ้องเรียกร้องขอคืนเงินอากรส่วนที่เสียไว้เกินจึงต้องนำอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ โจทก์มาฟ้องเรียกร้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า คดีจึงขาดอายุความ ลวดเหล็กชุบ ทองแดง สินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าจากต่างประเทศใช้ผลิตยางรถยนต์ ส่วนสินค้าของบริษัท อ. ใช้ผลิตยางรถจักรยานยนต์และต่างมีขนาดหน้าตัดไม่เท่ากัน ทั้งมีปริมาณการนำเข้าแต่ละครั้งแตกต่างกันมาก ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกันพอที่จะเปรียบเทียบราคากันได้ จึงไม่อาจนำราคาสินค้าของบริษัท อ. มาประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาท ขณะที่โจทก์นำเข้าได้ เมื่อไม่มีหลักเกณฑ์ที่จะชี้ให้เห็นได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทควรจะเป็นอย่างอื่น จึงพออนุมานได้ว่าราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ซื้อมานั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักลอบนำเข้าสลากและสินค้า การริบรถยนต์ของผู้เช่า และบทบัญญัติที่ขัดรัฐธรรมนูญ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้ลักลอบนำสลากกินแบ่งของสหพันธรัฐมลายาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยวิธีซ่อนเร้น ด้วยการละเว้นไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้อง นั้น ชัดเจนพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงรายละเอียดว่าการผ่านศุลกากรโดยถูกต้องจะต้องทำอย่างไร ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2467 มาตรา 27 เป็นบทบังคับให้ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร แม้จะเป็นของที่ไม่ต้องเสียอากรก็ต้องผ่านศุลกากรโดยถูกต้องก่อน
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2480 มาตรา 11 นั้น เป็นบทลงโทษผู้ทำการขนส่งฝ่าฝืนมาตรา 7 และ 8 จะนำมาปรับแก่กรณีผู้ลักลอบนำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ได้
เมื่อจำเลยใช้รถยนต์ของกลางลักลอบนำของซ่อนเร้นเข้ามาในราชอาณาจักร อันเป็นความผิดแล้ว แม้ของจะมากน้อยเท่าใด ก็ได้ชื่อว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางกระทำผิดด้วยแล้ว
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ที่บัญญัติให้ริมทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นของบุคคลใดและเจ้าของจะได้รู้เห็นในการกระทำผิดด้วยหรือไม่นั้น ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นโมฆะ
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2467 มาตรา 27 เป็นบทบังคับให้ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร แม้จะเป็นของที่ไม่ต้องเสียอากรก็ต้องผ่านศุลกากรโดยถูกต้องก่อน
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2480 มาตรา 11 นั้น เป็นบทลงโทษผู้ทำการขนส่งฝ่าฝืนมาตรา 7 และ 8 จะนำมาปรับแก่กรณีผู้ลักลอบนำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ได้
เมื่อจำเลยใช้รถยนต์ของกลางลักลอบนำของซ่อนเร้นเข้ามาในราชอาณาจักร อันเป็นความผิดแล้ว แม้ของจะมากน้อยเท่าใด ก็ได้ชื่อว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางกระทำผิดด้วยแล้ว
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ที่บัญญัติให้ริมทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นของบุคคลใดและเจ้าของจะได้รู้เห็นในการกระทำผิดด้วยหรือไม่นั้น ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นโมฆะ