คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 177

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,275 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การโอนเช็ค, การฉ้อฉล, การสืบพยาน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้สืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์การฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ออกเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ต้องคืนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากไม่มีหนี้สินต่อกัน ซึ่งโจทก์ก็ทราบดีอยู่แล้ว จำเลยที่ 3 นำเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ไปฝากไว้กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 กับโจทก์มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้ง โจทก์ครอบครองเช็คพิพาทแทนจำเลยที่ 3 จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 3 เคยทำหนังสือยอมรับว่าเช็คพิพาท 3 ฉบับ ไม่มี
หนี้สินต่อกันตามสำเนาเอกสารท้ายคำให้การ ตามคำให้การดังกล่าวเห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ทำให้มีประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถนำสืบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันโอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ โดยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 19 มิถุนายน 2541 ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
ประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวเป็นการยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นในเรื่องที่โต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยกขึ้นต่อสู้ตลอดมาทั้งในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและจำเลยไม่อาจยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นที่ได้ให้การต่อสู้ไว้เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความ และพิพากษาให้ตรงตามประเด็นข้อพิพาทได้ ทั้งนี้อาศัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีแรงงาน: จำเลยต้องยกข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้นเท่านั้น จึงจะอุทธรณ์ได้
จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับค่าจ้างตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง และมิได้ต่อสู้ว่าค่ารับรอง ค่าน้ำมันรถ ค่าอาหาร เงินสะสม ค่าภาษีและเงินสมทบที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แต่ละเดือนมิใช่ค่าจ้าง อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าจำนวนเงินตามฟ้องมิใช่ค่าจ้าง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9682/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการครอบครองปรปักษ์ที่ศาลไม่รับวินิจฉัย เนื่องจากมิได้ยกขึ้นว่ากันในชั้นศาล
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุกเข้ามาปลูกกระท่อมอ้างว่าเป็นที่ดินของจำเลย ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนกระท่อมออกจากที่ดินพิพาทห้ามจำเลยและบริวารไม่ให้เข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไป จำเลยให้การ ในตอนแรกว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1989 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย แต่จำเลยกลับให้การ ในตอนหลังว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยเต็มทั้งแปลงด้วยความสุจริต โดยเจตนายึดถือเพื่อตนด้วยความสงบและเปิดเผยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี หากที่ดินพิพาทอยู่ในโฉนดที่ดินของโจทก์จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จึงขัดแย้งคำให้การในตอนแรก รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ถือ ไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9594/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีขัดทรัพย์: คำร้องขอของผู้ร้องมีลักษณะคล้ายฟ้อง ต้องชัดเจนในรายละเอียดทรัพย์สินและอำนาจฟ้อง
ในการพิจารณาคดีร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 วรรคสอง กำหนดว่าศาลต้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นเหมือนอย่างคดีธรรมดา ผู้ร้องขัดทรัพย์จึงมีฐานะเสมือนเป็นโจทก์ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา(โจทก์เดิม) มีฐานะเสมือนจำเลย ดังนั้น คำร้องขอของผู้ร้องขัดทรัพย์จึงเปรียบเสมือนคำฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าคำร้องขอของผู้ร้องมิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้รายการใดเป็นของผู้ร้อง จึงเป็นคำฟ้องของผู้ร้องขัดทรัพย์ที่ไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นฟ้องเคลือบคลุม แต่ฟ้องเคลือบคลุมในคดีแพ่งก็ไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจะยกขึ้นพิจารณาเองไม่ได้ โจทก์ซึ่งเป็นเสมือนจำเลยจะต้องต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ ทั้งจะต้องให้การโดยชัดแจ้งด้วยว่าฟ้องเคลือบคลุมอย่างไร มิฉะนั้น ไม่เป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยถึง และในคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นเสมือนจำเลยก็ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีว่าคำร้องขอของผู้ร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมแต่อย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าคำร้องขอของผู้ร้องเป็นคำร้องขอที่ขาดสาระสำคัญในเรื่องอำนาจฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่ถูกต้องศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9248/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นและทางภาระจำยอมเมื่อที่ดินถูกล้อม - การบังคับใช้สิทธิทางกฎหมาย
โจทก์ตั้งรูปคดีโดยบรรยายฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่และขอผ่านที่ดินของจำเลยที่ล้อมที่ดินของโจทก์เพื่อเป็นทางจำเป็นออกสู่ทางสาธารณะ มิได้บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของจำเลยตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอม ซึ่งจำเลยต้องยอมรับภาระบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ ตามคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยก็ต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีสิทธิใช้ทางจำเป็น แต่ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิใช้ได้ ก็ขอให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านให้แก่จำเลยแม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ที่ดินของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์และต่อสู้คดีว่าจำเลยควรได้รับค่าทดแทนเพื่อความเสียหายในการใช้ทางเพียงครั้งเดียวไม่เกิน 20,000 บาท ก็ตาม แต่โจทก์มิได้ขอแก้ไขคำฟ้องเพื่อเพิ่มเติมให้มีประเด็นในเรื่องทางภาระจำยอม คำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จึงมีประเด็นข้อพิพาทแต่เฉพาะเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นเท่านั้น ปํญหาที่ว่าที่ดินของจำเลยตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี
ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งมีแนวเขตติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3481 และสามารถใช้ถนนคอนกรีตในที่ดินโฉนดดังกล่าวเป็นทางจำเป็นผ่านออกสู่ทางสาธารณะได้ ต่อมามีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแปลงใหญ่ออกเป็นแปลงย่อยจึงทำให้ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นที่แบ่งแยกล้อมอยู่จนไม่มีทางออก กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1350 โจทก์ก็ชอบที่จะใช้ที่ดินซึ่งแบ่งแยกออกมาและกันไว้เป็นทางไปยังถนนคอนกรีตบนที่ดินโฉนดเลขที่ 3481 เพื่อออกสู่ทางสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนได้อยู่แล้ว โจทก์จะเลือกใช้ทางผ่านที่ดินแปลงอื่นของจำเลยไม่ได้
โจทก์มีสิทธิใช้ถนนบนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นด้วยอำนาจแห่งกฎหมาย แม้มีการโอนที่ดินแปลงดังกล่าวของจำเลยไปเป็นของผู้อื่น โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นตาม ป.พ.พ มาตรา 1349 ศาลจึงไม่จำต้องกำหนดให้จำเลย
จดทะเบียนสิทธิทางจำเป็นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9194/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยการเสียสิทธิการครอบครองเดิม
ตามคำขอให้การของจำเลยระบุไว้ชัดว่าจำเลยไม่เคยรู้จักโจทก์มาก่อนและไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเข้าครอบครองยึดถือเพื่อตนด้วยความสงบเปิดเผย และได้ทำประโยชน์ตลอดมาจำเลยไม่เคยขออาศัยที่ดินของโจทก์ แม้จะไม่ระบุตรง ๆ ว่าจำเลยเข้าแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่เมื่ออ่านโดยรวมแล้วย่อมเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยต่อสู้ว่าได้เข้าแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์แล้ว จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่าโจทก์เสียสิทธิที่จะเอาคืนซึ่งการครอบครองแล้วได้หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้องนอกคำให้การไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8887/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ศาลไม่รับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้เงินกู้อื่นโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและจำนอง จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยให้แก่บุคคลภายนอกแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ยังมิได้เบิกเงินเกินวงเงินที่ตกลงไว้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ผิดสัญญา แต่โจทก์ไม่ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เงินเพื่อชำระค่าเช่าที่ดินและขุดบ่อเลี้ยงปลาให้แก่บุคคลภายนอก จึงให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่บุคคลภายนอกแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องโจทก์ ดังนั้น ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8543/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายและนายหน้า ค่าคอมมิชชั่นเกิดขึ้นเมื่อยอมให้ผู้อื่นเสนอซื้อแทน แม้จะไม่ได้ชี้ช่อง
จำเลยที่ 1 มิได้ยกเหตุที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงให้โจทก์ถอนซองประกวดราคาของโจทก์ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ จำเลยที่ 1 ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างในฎีกาจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 ยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยประกาศประกวดราคาให้ผู้สนใจเสนอขายที่ดินเพื่อใช้ก่อสร้างที่ทำการเขตโทรศัพท์ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์เป็นนายหน้าตกลงค่านายหน้าร้อยละ 3 ของราคาที่ตั้งไว้ หากขายได้เกินราคา ดังกล่าวเงินที่ขายเกินยอมยกให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างยื่นซองประกวดราคาเสนอขายที่ดินของจำเลยที่ 1 แปลงเดียวกันแก่องค์การโทรศัพท์ โดยโจทก์เสนอขายในราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยที่ 2 เสนอ คณะกรรมการ รับและเปิดซองประกวดราคาเรียกจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของที่ดินกับโจทก์และจำเลยที่ 2 ให้ตกลงกันว่าจะให้ใครเป็นตัวแทนเสนอขายที่ดินเพียงผู้เดียว โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงกันให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เสนอขายที่ดินของ จำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว แล้วมีการทำหนังสือสัญญานายหน้าระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตามเอกสารหมาย จ. 7 และหนังสือสัญญานายหน้าระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ตามเอกสารหมาย จ. 8 ต่อมาองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ตกลงซื้อที่ดินของจำเลยที่ 1 ตามคำเสนอขายของจำเลยที่ 2 และได้ชำระค่าที่ดินและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ กันเสร็จสิ้นแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้ค่าตอบแทนหรือที่เรียกว่าค่านายหน้าแก่โจทก์ตามเอกสารหมาย จ. 7 เนื่องจากโจทก์ยอมตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เสนอขายที่ดินของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว ซึ่งไม่เกี่ยวกับหนังสือ สัญญานายหน้าระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ที่ได้ทำกันไว้ในตอนแรกโจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามข้อตกลง ดังกล่าว โดยไม่ต้องคำนึงว่าการที่จำเลยที่ 1 กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ได้ชี้ช่องหรือจัดการหรือไม่ และเมื่อโจทก์ได้ถอนซองประกวดราคาของโจทก์โดยปริยาย ตามเงื่อนไขที่ตกลงกับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามเอกสารหมาย จ. 8 จากจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำให้การขัดแย้งเดิม ไม่สร้างประเด็นใหม่ ศาลไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยซื้อมาจากจำเลยจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จำเลยไม่เคยขายให้โจทก์แต่ตอนหลังจำเลยกลับให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คำให้การจำเลยในตอนหลังจึงขัดกับคำให้การตอนแรกเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดเป็นประเด็นไว้ก็ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812-7813/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: การยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลต้องทำในชั้นศาลแรงงานก่อน หากไม่ทำในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
การที่จำเลยจะยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานหรือไม่ จำเลยจะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้เพื่อศาลแรงงานกลางจะได้ส่งปัญหา ดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาคดี ซึ่งคำวินิจฉัยของ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้นเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 จำเลยมิได้ยกปัญหาเรื่องศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับค่าคอมมิชชั่นขึ้นต่อสู้ไว้ใน คำให้การ แสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานที่จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวได้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีแล้ว จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ กรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว
of 228