พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,275 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7265/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีขับไล่และเรียกค่าเสียหายซ้ำกับคดีเดิมที่ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา ถือเป็นฟ้องซ้อน ห้ามตามกฎหมาย
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่า จำเลยตกลงเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ มีการทำสัญญาเช่าและต่อสัญญาเช่าหลายครั้งต่อมาเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปจึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ส่งคืนตึกแถวที่เช่ากับมีคำขอให้จำเลยออกไปจากตึกแถวที่เช่าและที่เช่าและใช้ค่าเสียหาย คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จะให้จำเลยเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้ทรงสิทธิใดในตึกแถวที่ให้เช่าและสิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำนืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งผู้ให้เช่าก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า ประกอบกับจำเลยได้ยื่นำให้การต่อสู้คดีในลักษณะเข้าใจข้อหาได้ดีและยอมรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวตามฟ้องของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย แม้จะอาศัยเช่าต่างฉบับกับสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน แต่สัญญาเช่าที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องคดีนี้ได้มีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนซึ่งโจทก์สามารถอ้างเหตุที่เป็นมูลฟ้องได้ในคดีก่อนแต่โจทก์ก็มิได้กระทำคำฟ้องคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้ง จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง
ในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวตามฟ้องของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย แม้จะอาศัยเช่าต่างฉบับกับสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน แต่สัญญาเช่าที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องคดีนี้ได้มีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนซึ่งโจทก์สามารถอ้างเหตุที่เป็นมูลฟ้องได้ในคดีก่อนแต่โจทก์ก็มิได้กระทำคำฟ้องคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้ง จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7159/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจำนองและการบังคับจำนอง, ดอกเบี้ย, ค่าทนายความ, การบอกกล่าวบังคับจำนอง
จำเลยที่ 1 เพียงแต่กล่าวอ้างในทำนองว่า ตามหลักฐานที่โจทก์จดทะเบียนไว้ต่อกรมทะเบียนการค้าตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนเอกสารท้ายฟ้อง ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีสาขาหรือตัวแทนอยู่ต่างประเทศเท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดอื่นเชื่อมโยงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องดังที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างมาในอุทธรณ์แต่อย่างใด จึงไม่เพียงพอที่จะถือว่าเป็นคำให้การปฏิเสธอำนาจฟ้องของโจทก์โดยชัดแจ้งไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทขึ้น
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองสำหรับทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 เท่านั้น และศาลชั้นต้นก็มิได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3ต้องร่วมรับผิดตามสัญญาจำนองดังกล่าว จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับเรื่องการบังคับจำนองร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้
ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ต่อสู้ฟ้องโจทก์ในเรื่องการบังคับจำนองมาเพียงว่าก่อนฟ้องคดีโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวบังคับจำนองโจทก์จึงไม่อาจฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลบังคับจำนองโดยนำที่ดินตามฟ้องออกขายทอดตลาดได้ ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1ไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองดังที่โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องดังนี้ จึงเห็นได้ว่าเหตุที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้างมาในอุทธรณ์ข้อนี้ทำนองว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วน จึงถือว่าโจทก์ยอมสละเรื่องเวลาที่ได้กำหนดในเรื่องการบังคับจำนอง และหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองสิ้นผลนั้นเป็นข้อเท็จจริงใหม่ที่จำเลยที่ 1 เพิ่งยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในข้อกฎหมายดังกล่าว ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองสำหรับทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 เท่านั้น และศาลชั้นต้นก็มิได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3ต้องร่วมรับผิดตามสัญญาจำนองดังกล่าว จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับเรื่องการบังคับจำนองร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้
ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ต่อสู้ฟ้องโจทก์ในเรื่องการบังคับจำนองมาเพียงว่าก่อนฟ้องคดีโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวบังคับจำนองโจทก์จึงไม่อาจฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลบังคับจำนองโดยนำที่ดินตามฟ้องออกขายทอดตลาดได้ ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1ไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองดังที่โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องดังนี้ จึงเห็นได้ว่าเหตุที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้างมาในอุทธรณ์ข้อนี้ทำนองว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วน จึงถือว่าโจทก์ยอมสละเรื่องเวลาที่ได้กำหนดในเรื่องการบังคับจำนอง และหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองสิ้นผลนั้นเป็นข้อเท็จจริงใหม่ที่จำเลยที่ 1 เพิ่งยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในข้อกฎหมายดังกล่าว ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249: การยกประเด็นใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยว่ากันมาก่อนในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
++ เรื่อง ละเมิด ประกันภัยค้ำจุน ++
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยที่ 1ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเพียงว่า ความรับผิดของจำเลยที่ 2ในอันที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกแทนจำเลยที่ 1 ในเหตุละเมิดคดีนี้เหลือไม่เกิน 360,000 บาท และคดีขาดอายุความ และคดีในส่วนของจำเลยที่ 2ไม่มีประเด็นดังกล่าวมาแต่ต้น แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ได้ฎีกา ประเด็นดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างมาในฎีกาด้วยว่าพยานเอกสารบางฉบับที่ศาลรับฟังว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อจะเข้าสู่สำนวนโดยมิชอบอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็ถือว่าเป็นปัญหาในเรื่องนอกประเด็นตามคำให้การ ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยที่ 1ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเพียงว่า ความรับผิดของจำเลยที่ 2ในอันที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกแทนจำเลยที่ 1 ในเหตุละเมิดคดีนี้เหลือไม่เกิน 360,000 บาท และคดีขาดอายุความ และคดีในส่วนของจำเลยที่ 2ไม่มีประเด็นดังกล่าวมาแต่ต้น แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ได้ฎีกา ประเด็นดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างมาในฎีกาด้วยว่าพยานเอกสารบางฉบับที่ศาลรับฟังว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อจะเข้าสู่สำนวนโดยมิชอบอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็ถือว่าเป็นปัญหาในเรื่องนอกประเด็นตามคำให้การ ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7082/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อพิพาทหลังสละข้อต่อสู้: ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยตามประเด็นเดิม
แม้คำให้การของจำเลยในตอนหลังที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า โจทก์ถูกแย่งการครอบครองและไม่ได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนภายใน 1 ปี จะขัดกับคำให้การในตอนแรกว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยซื้อมาจากผู้มีชื่อ ก็ต้องถือว่าคำให้การดังกล่าวมีอยู่ แต่ต่อมาในชั้นชี้สองสถานจำเลยขอสละข้อต่อสู้ที่ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่เสียแล้ว จึงต้องถือว่าคำให้การในเรื่องดังกล่าวมิได้มีอยู่อีกต่อไป ดังนี้ประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยเป็นอันยุติ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ทำให้คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์ถูกแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทและไม่ได้ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งอีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ และพิจารณาพิพากษาคดีไปตามประเด็นดังกล่าว โดยไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย จึงถูกต้องแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว กลับไปวินิจฉัยประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยซึ่งยุติไปแล้ว จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5957/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งกันเองทำให้ไม่มีประเด็นครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยปลูกโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยมิได้ปลูกโรงเรือนรุกล้ำ หากจำเลยปลูกโรงเรือนรุกล้ำไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 และหากที่ดินเป็นของโจทก์ จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว ดังนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินและขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5815/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับข้อเท็จจริงตามฟ้องและการไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานหากจำเลยไม่ต่อสู้
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าบัญชีเงินกู้ที่พิพาทเป็นเอกสารปลอมและเป็นสำเนาไม่ถูกต้องนั้น เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระคิดเป็นดอกเบี้ยจำนวนที่แน่นอนแล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้หรือปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวแต่ประการใด จึงถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในส่วนนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ข้อเท็จจริงต้องฟังตามคำฟ้องว่าจำเลยค้างชำระดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวโดยไม่ต้องสืบพยาน เมื่อบัญชีเงินกู้ที่พิพาทเป็นพยานหลักฐานเกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าบัญชีเงินกู้เป็นเอกสารที่รับฟังไม่ได้เพราะเป็นเอกสารปลอมและเป็นสำเนาไม่ถูกต้องหรือไม่ แม้ศาลล่างทั้งสองจะได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4504/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการต่อสู้คดี การให้การที่ไม่ชัดเจน และสิทธิในการคิดดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน
คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่และ อ. จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่จำเลยไม่รับรอง เพราะหนังสือรับรองออกมาก่อนฟ้องถึง 7 เดือนนั้นจำเลยไม่ได้ให้เหตุแห่งการปฏิเสธ โดยชัดแจ้งว่าหนังสือรับรองออกมาก่อนฟ้อง 7 เดือน เหตุใดจึงทำให้โจทก์ไม่เป็นนิติบุคคลและ อ. ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยในประเด็นนี้มาก็ตาม ก็เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากข้อต่อสู้ของจำเลย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องนั้นชอบแล้ว
เดิมจำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี มีสิทธิเพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่กลับฎีกาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพราะเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แม้ปัญหานี้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่จำเลยก็มิได้อ้างเหตุผลว่าดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ขัดต่อกฎหมายดังกล่าวอย่างไร ทั้งโจทก์เป็นสถาบันการเงิน การกำหนดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติดอกเบี้ยให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ ไม่ใช่ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แต่จำเลยก็มิได้แสดงเหตุผลเช่นกันว่าโจทก์ปฏิบัติผิดต่อกฎหมายดังกล่าวนี้อย่างไร ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
เดิมจำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี มีสิทธิเพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่กลับฎีกาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพราะเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แม้ปัญหานี้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่จำเลยก็มิได้อ้างเหตุผลว่าดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ขัดต่อกฎหมายดังกล่าวอย่างไร ทั้งโจทก์เป็นสถาบันการเงิน การกำหนดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติดอกเบี้ยให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ ไม่ใช่ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แต่จำเลยก็มิได้แสดงเหตุผลเช่นกันว่าโจทก์ปฏิบัติผิดต่อกฎหมายดังกล่าวนี้อย่างไร ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ที่ไม่สอดคล้องกับคำให้การเดิม ทำให้ไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์โจทก์ขอรังวัดตรวจสอบแนวเขต จำเลยทั้งสองคัดค้านขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยทั้งสองคัดค้านการรังวัดสอบเขตจำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 โดยซื้อมาจาก น. แต่จำเลยทั้งสองกลับให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่า กรณีจะเป็นประการใดก็ตามหากฟังได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 1ก็ได้ครอบครองทำประโยชน์โดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของนานกว่า 10 ปีแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ จึงขัดแย้งกับคำให้การและฟ้องแย้งตอนแรก ซึ่งอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 เพราะซื้อมา จึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำให้การเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทำให้ไม่มีประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ โจทก์ขอรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดิน จำเลยคัดค้าน ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยคัดค้านการรังวัดสอบเขตและห้ามเกี่ยวข้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลยโดยซื้อมาจากผู้มีชื่อ จากนั้นได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา เท่ากับจำเลยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ จากเจ้าของเดิม แต่จำเลยกลับให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่า หากฟังได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ จำเลยก็ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของนานกว่า 10 แล้ว จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงขัดแย้งกับคำให้การและฟ้องแย้งตอนแรกซึ่งอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นเจ้าของจำเลยเพราะซื้อมา รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครองครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามในคดีรับช่วงสิทธิ กรณีจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องความประมาท
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกไว้กับ ร.ต่อมารถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวซึ่งมีส. เป็นผู้ขับชนกับรถยนต์บรรทุกซึ่งมี ว. เป็นผู้ขับ เพราะความประมาทของ ว.เป็นเหตุให้ส. ถึงแก่ความตายและรถยนต์บรรทุกเสียหาย โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นนายจ้าง หรือตัวการ หรือผู้ใช้ หรือผู้จ้างวานของ ว. ร่วมกันชดใช้เงินแก่โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิ ส่วนจำเลยให้การว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นนายจ้าง ตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้จ้างวานของ ว. ประเด็นข้อพิพาทมีเพียงว่า จำเลยทั้งสามเป็นนายจ้าง ตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้จ้างวานว.หรือไม่ส่วนประเด็นที่ว่าความประมาทเกิดจากว. หรือไม่นั้นเมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้ ต้องฟังว่า ว. เป็นฝ่ายประมาทและเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ประกอบมาตรา 84(1) การที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัยอีกเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตามมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246