คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 177

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,275 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่จนเกิดความเสียหายต่อนายจ้าง
จำเลยให้การว่าสาเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อ นายจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง โดยเหตุเกิดจากมีลูกค้าของจำเลยมาติดต่อขอซื้อตั๋วและได้ชำระค่าตั๋วเป็นเช็คเงินสดมอบให้โจทก์ซึ่งเป็น พนักงานขายตั๋วของจำเลย โจทก์ออกหลักฐานการรับเงินให้ลูกค้าไป ต่อมาจำเลยตรวจพบว่าเช็คดังกล่าวไม่ได้เข้า บัญชีจำเลยแต่หายไป จำเลยจึงให้ทนายความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ ถึงแม้ว่าต่อมาอัยการจะสั่งไม่ฟ้องโจทก์ แต่การที่โจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบจำหน่ายตั๋วรับเงินค่าตั๋วแล้วละเลยต่อหน้าที่ เป็นเหตุให้เช็คที่ลูกค้านำมาชำระค่าตั๋วให้จำเลยหายไป ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับ ความเสียหาย เห็นได้ว่าตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวจำเลยได้ให้การถึงข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของโจทก์ตั้งแต่ก่อนเช็คที่ลูกค้านำมาชำระค่าตั๋วให้จำเลยซึ่งอยู่ในความครอบครองดูแลของโจทก์หายไปจนถึงการดำเนินการของจำเลยหลังจากเช็คดังกล่าวหายไปโดยมิได้ยืนยันว่าโจทก์ลักเช็คไปและประมาทเลินเล่อทำให้เช็คหายด้วย ทั้งสองประการ แต่เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงที่ปรากฏเพื่อให้ศาลวินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการลักทรัพย์หรือประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงอย่างหนึ่งอย่างใดเท่าที่ทางพิจารณาได้ความ ฉะนั้นคำให้การจำเลยจึงไม่ขัดกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลประมาทเลินเล่อจนเกิดความเสียหาย นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดขอให้จ่ายเงินต่าง ๆ ตามกฎหมายแรงงานแก่โจทก์ การที่จำเลยให้การว่า มีลูกค้าจำเลยซื้อตั๋วท่องเที่ยว และได้ชำระค่าตั๋วให้จำเลยเป็นเช็คมอบให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขายตั๋ว ต่อมาจำเลยตรวจพบว่าเช็คดังกล่าวไม่ได้เข้าบัญชีจำเลยแต่เช็คหายไป จำเลยได้สอบถามสาเหตุ โจทก์ปฏิเสธ การที่โจทก์มีหน้าที่จำหน่ายตั๋วท่องเที่ยวรับเงินค่าขายตั๋วแล้วละเลยต่อหน้าที่เป็นเหตุให้เช็คหายไปจากความครอบครองดูแลของโจทก์ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยเสียหายนั้น จำเลยมิได้ยืนยันว่าโจทก์ลักเช็คไปและประมาทเลินเล่อทำให้เช็คหายด้วยทั้งสองประการ แต่เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงเพื่อให้ศาลวินิจฉัยว่าเป็นการลักทรัพย์หรือประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่าที่ทางพิจารณาได้ความ คำให้การจำเลยจึงไม่ได้ขัดกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. กับ ศ. มีสินสมรสคือ ที่ดินตาม น.ส. 3 ก. ต่อมา ป. ตาย ที่ดินจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ต่อมา ศ. โอนที่ดินให้จำเลย จำเลยได้ไปขอออกโฉนด ขอให้จำเลยแบ่งที่ดินมรดกในส่วนที่โจทก์มีสิทธิได้รับ จำเลยให้การไว้ว่า ศ. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยได้ที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำให้การของจำเลยจึงขัดแย้งกันเอง เพราะการที่ ศ. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยย่อมเห็นได้ในเบื้องต้นว่าเป็นการให้โดยเสน่หาซึ่งไม่มีค่าตอบแทน หากจำเลยเสียค่าตอบแทนอย่างไรก็ต้องกล่าวไว้ในคำให้การให้ชัดแจ้ง คำให้การเช่นนี้จึงไม่มีประเด็นในเรื่องการรับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จำเลยก็มิได้คัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ไม่ครบถ้วน การที่จำเลยยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอ้างในอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว
ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า ที่ดินพิพาทติดจำนอง จำเลยไถ่ถอนจำนองเอง ซึ่งเป็นการได้ที่ดินโดยเสียค่าตอบแทนและโจทก์ได้รับมรดกส่วนของตนไปแล้วนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ: จำเป็นต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องคดี ศาลต้องจำหน่ายคดีหากไม่ปฏิบัติตาม
โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้นำข้อโต้แย้งเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาดก่อน เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขของข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ จำเลยย่อมมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ซึ่งศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่งตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 การที่จำเลยยื่นคำให้การโต้แย้งว่าโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากไม่ได้เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อน ถือได้ว่าจำเลยประสงค์จะขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ทั้งในวันชี้สองสถานศาลก็ได้สอบถามคู่ความเกี่ยวกับเรื่องข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ อันถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้ว ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
ที่จำเลยฟ้องแย้งก็สืบเนื่องมาจากโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ทำให้เกิดความจำเป็นที่หากจำเลยจะฟ้องแย้งก็ต้องยื่นเข้ามาในคำให้การเพื่อรักษาสิทธิของจำเลยเสียก่อนเท่านั้น เพราะขณะยื่นคำให้การและฟ้องแย้งยังไม่แน่ว่าศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้สละเงื่อนไขตามข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ เมื่อโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการก่อน ศาลจึงต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดี ซึ่งมีผลให้ไม่มีคดีตามคำฟ้องของโจทก์ให้ต้องพิจารณาต่อไป ฟ้องแย้งของจำเลยจึงตกไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: พิจารณาความเหมาะสมของผู้เลี้ยงดู โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและประโยชน์สูงสุดของบุตร
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันและให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง เมื่อจำเลยเป็นผู้เหมาะสมที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ยิ่งกว่าโจทก์ แม้มิได้ฟ้องแย้ง ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์หลังการหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7619/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และสิทธิในที่ดิน: โจทก์ครอบครองต่อเนื่องแม้มีผู้เช่า สิทธิยังคงอยู่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยซื้อจาก ป. มารดาจำเลย จำเลยมิได้ปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของเอกสารและยอมรับข้อเท็จจริงว่ามารดาจำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์จริง ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย จำเลยต้องแสดงพยานหลักฐานให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยตามฟ้องมุ่งประสงค์เพื่อแย่งเอาสิทธิครอบครองของโจทก์มาเป็นของตนมิใช่กระทำในฐานะแทนผู้ใด หากพิสูจน์ไม่ได้ย่อมเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7467/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอม อายุความละเมิด การรื้อถอนสิ่งรุกล้ำ และอำนาจฟ้องร้อง
การให้การต่อสู้ว่าได้สิทธิภารจำยอมในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยการครอบครองนั้นเป็นข้ออ้างที่รอนสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นจึงต้องชัดแจ้งตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 เมื่อจำเลยให้การเพียงว่าก่อนซื้อที่ดินโจทก์ทราบดีว่าจำเลยได้ใช้สอยประโยชน์ในที่ดินของโจทก์มาโดยตลอดและเป็นที่ดินที่ตกเป็นภารจำยอมตามกฎหมาย เนื่องจากผู้ก่อสร้างตึกแถวได้กันไว้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ โดยมิได้อ้างว่าจำเลยครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีแล้วมาด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้สิทธิภารจำยอมในส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์โดยการครอบครอง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาว่าจำเลยได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของโจทก์โดยอายุความหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยให้เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยหรือนอกประเด็นข้อพิพาทต้องถือว่าปัญหาดังกล่าวตามฎีกาของจำเลยเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
แม้จำเลยติดตั้งเครื่องปรับอากาศซึ่งรุกล้ำไปในแดนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เกินกว่า 10 ปี และต่อมาได้เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเครื่องใหม่ติดตั้งแทนและโจทก์รู้ถึงการทำละเมิดมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว แต่การละเมิดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์คงมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันฟ้องและปัจจุบันโจทก์ชอบที่จะฟ้องให้จำเลยรื้อถอนเครื่องปรับอากาศที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ได้ หาอยู่ในบังคับอายุความ 1 ปีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7428/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ แม้ข้อความจะถูกกรอกภายหลัง ก็ยังเป็นหลักฐานการกู้ยืมที่ผูกพันได้
จำเลยให้การรับแล้วว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามที่โจทก์ฟ้องโดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ แม้หากข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารที่โจทก์กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ยืมตามความเป็นจริงอัตราดอกเบี้ยก็ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้ตกลงกันไว้ จึงเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7428/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้จะมีการโต้แย้งเรื่องการกรอกข้อความ แต่หากจำนวนเงินและดอกเบี้ยถูกต้อง ผู้กู้ยืมยังต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 25,000 บาททำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานตามสำเนาสัญญากู้เงินท้ายฟ้อง จำเลยให้การว่า จำเลยกู้ยืมเงินจำนวน 25,000 บาท ไปจากโจทก์จริง โดยการกู้ยืมโจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ สัญญากู้เงินตามเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์เป็นผู้กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย จึงเป็นสัญญาปลอมทั้งฉบับ ตามคำให้การของจำเลยจำเลยรับแล้วว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามที่โจทก์ฟ้อง โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้แม้หากข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารที่โจทก์กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตามแต่โจทก์ได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ยืมตามความเป็นจริง อัตราดอกเบี้ยก็ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้ตกลงกันไว้ การกู้ยืมเงินครั้งนี้จึงเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่งจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7428/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้จะมีการแก้ไขข้อความ แต่หากจำนวนเงินและดอกเบี้ยถูกต้อง ผู้กู้ยังต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 25,000 บาททำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานตามสำเนาสัญญากู้เงินท้ายฟ้อง จำเลยให้การว่า จำเลยกู้ยืมเงินจำนวน 25,000 บาทไปจากโจทก์จริง โดยการกู้ยืมโจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ สัญญากู้เงินตามเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์เป็นผู้กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยจึงเป็นสัญญาปลอมทั้งฉบับ ตามคำให้การของจำเลย จำเลยรับแล้วว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามที่โจทก์ฟ้อง โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ แม้หากข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารที่โจทก์กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตามแต่โจทก์ได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ยืมตามความเป็นจริง อัตราดอกเบี้ยก็ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้ตกลงกันไว้ การกู้ยืมเงินครั้งนี้จึงเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
of 228