คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 177

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,275 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7391/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ศาลไม่รับรวมการพิจารณา
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้กำจัดจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มิให้รับมรดกของ ว. และให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินทรัพย์มรดกระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 สภาพแห่งข้อหาเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาว่ามีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ว. และจะต้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ตามฟ้องหรือไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 ที่ขอให้กำจัดโจทก์ที่ 2 มิให้รับมรดกของ ว. และให้โจทก์ที่ 2ชดใช้เงินแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ว. และตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกแทนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 1 จัดการมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่เหมาะที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและฟ้องแย้งขอให้ตั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งยังไม่แน่นอนว่าศาลจะเพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ฟ้องแย้งในส่วนนี้จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7294/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ค่าเสียหายในสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกและการกำหนดค่าเสียหายโดยศาล
จำเลยได้ให้การไว้แล้วว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและเรียกร้องค่าเสียหายสูงจากความจริงมาก จึงเท่ากับจำเลยให้การปฏิเสธเรื่องค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับค่าเสียหายของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีภาระการพิสูจน์
บริษัทผู้ขายสินค้าให้แก่จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ขนส่งสินค้าโดยเรือเอ ไอ นิโคลัส วัน จากเมืองกาดานส์ ประเทศโปแลนด์ มาให้แก่จำเลยในประเทศไทยตามสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุก เมื่อเรือเอ ไอ นิโคลัส วัน มาถึงปลายทางแล้ว โจทก์หรือตัวแทนเรือของโจทก์จะต้องแจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งทราบเพื่อนำเรือลำเลียงมารับสินค้า หากไม่จัดเรือลำเลียงมาจะต้องเสียค่าเรือจอดรอ
ในเรื่องค่าเสียหายซึ่งโจทก์มีภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์นำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายไม่ได้แน่ชัด ศาลจึงกำหนด ค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7197/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกประเด็นนอกฟ้องและการฎีกาประเด็นใหม่ที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลชั้นต้น
จำเลยให้การเพียงว่า พ. ขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนเนื้อที่ 1 งานในโฉนดเลขที่ 4866 ให้แก่ ย. สามีจำเลย และที่ดินดังกล่าวต่อมาทำการแบ่งแยกเป็นที่ดินพิพาทแปลงโฉนดเลขที่ 10442 จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า ย. และจำเลยร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. หรือที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ย. และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันที่จำเลยให้การว่า ย. ซื้อที่ดินพิพาทระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย ก็ได้ความว่า ย. อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยภายหลัง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส ย. กับจำเลยจึงไม่ใช่สามีภริยากันตามกฎหมาย คำให้การดังกล่าวไม่ใช่การกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส จึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยและ ย. ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาอันเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ที่จำเลยฎีกาต่อมาว่า จำเลยและ ย. ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทระหว่างอยู่กิน ฉันสามีภริยากันถือว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ย. ทำมาหาได้ร่วมกัน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกา ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7197/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องสินสมรส: การให้การไม่ชัดเจนทำให้ศาลไม่ถือว่าเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยให้การเพียงว่า พ.ขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนเนื้อที่ 1 งานในโฉนดเลขที่ 4866 ให้แก่ ย.สามีจำเลย และที่ดินดังกล่าวต่อมาทำการแบ่งแยกเป็นที่ดินพิพาทแปลงโฉนดเลขที่ 10442 จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า ย.และจำเลยร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจาก พ.หรือที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ย.และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันที่จำเลยให้การว่า ย.ซื้อที่ดินพิพาทระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย ก็ได้ความว่าย.อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยภายหลัง ป.พ.พ.บรรพ 5 ใช้บังคับ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส ย.กับจำเลยจึงไม่ใช่สามีภริยากันตามกฎหมาย คำให้การดังกล่าวไม่ใช่การกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส จึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยและ ย.ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาอันเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ที่จำเลยฎีกาต่อมาว่า จำเลยและ ย.ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากันถือว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ย.ทำมาหาได้ร่วมกัน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904-5911/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการนำสืบพยานของผู้ถูกร้องในคดีเลิกจ้างเมื่อผู้ร้องเสนอคดีฝ่ายเดียว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน อ้างว่าผู้คัดค้านกระทำความผิดที่สมควรจะเลิกจ้าง อันเป็นการเสนอคดีฝ่ายเดียว ผู้ร้องจะต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงให้ศาลเห็นว่ามีเหตุตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเกิดขึ้นจริงและเหตุนั้นเป็นเหตุที่สมควรจะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ เว้นแต่ผู้คัดค้านยอมรับในข้อเท็จจริงใด ศาลอาจรับฟังข้อเท็จจริงนั้นโดยผู้ร้องไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดง ทั้งนี้ผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาหรือไม่ก็ได้ และคำคัดค้านของผู้คัดค้านไม่ใช่คำให้การ ไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ที่ต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของผู้ร้อง รวมทั้งเหตุแห่งการยอมรับหรือปฏิเสธ คดีนี้หลังจากผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านแล้ว ศาลแรงงานได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านหรือไม่ เพียงใด โดยให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายนำพยานเข้าสืบก่อน แล้วให้ผู้คัดค้านสืบแก้ แสดงว่าศาลแรงงานเห็นว่า ผู้คัดค้านมิได้ยอมรับว่ามีเหตุตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเกิดขึ้น และกรณีสมควรที่จะฟังพยานหลักฐานของผู้คัดค้านประกอบการพิจารณาวินิจฉัยข้ออ้างของผู้ร้องด้วยซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจที่จะกระทำได้ ผู้คัดค้านจึงมีสิทธินำพยานเข้าสืบและศาลแรงงานสามารถนำพยานหลักฐานของผู้คัดค้านมาใช้ประกอบการวินิจฉัย อันเป็นกรณีที่จะต้องรับฟังจากพยานหลักฐานอื่นต่อไป ซึ่งพยานหลักฐานอื่นที่ศาลแรงงานนำมารับฟังดังกล่าวล้วนเป็นพยานหลักฐานที่เกิดจากการนำสืบของผู้ร้องทั้งสิ้น การรับฟังพยานหลักฐานและการวินิจฉัยคดีของศาลแรงงานจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904-5911/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การพิสูจน์เหตุเลิกจ้าง & ผลของการแถลงรับเฉพาะบางส่วนของผู้คัดค้าน
ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งแปด อ้างว่าผู้คัดค้านทั้งแปดกระทำความผิดที่สมควรจะเลิกจ้างเป็นการเสนอคดีฝ่ายเดียว ผู้ร้องต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่ามีเหตุตามที่กล่าวอ้างจริงและเป็นเหตุที่สมควรจะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งแปดได้ เว้นแต่ผู้คัดค้านทั้งแปดยอมรับในข้อเท็จจริงใด ศาลก็อาจรับฟังข้อเท็จจริงนั้นโดยผู้ร้องไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดง ผู้คัดค้านทั้งแปดจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาหรือไม่ก็ได้ และไม่ใช่คำให้การ ไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองที่จะต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของผู้ร้องรวมทั้งเหตุแห่งการยอมรับหรือปฏิเสธ มิฉะนั้นจะทำให้คดีไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทและผู้คัดค้านทั้งแปดไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบเพราะต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำร้อง หลังจากผู้คัดค้านทั้งแปดยื่นคำคัดค้าน ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยให้ผู้ร้องนำพยานเข้าสืบก่อน แล้วให้ผู้คัดค้านทั้งแปดสืบแก้ แสดงว่าศาลแรงงานกลางเห็นว่า ผู้คัดค้านทั้งแปดมิได้ยอมรับว่ามีเหตุตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเกิดขึ้น ผู้คัดค้านทั้งแปดมีสิทธินำพยานเข้าสืบและศาลแรงงานกลางนำพยานหลักฐานของผู้คัดค้านทั้งแปดมาใช้ประกอบการวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อจำเลยในคดีแรงงานและการรับฟังพยานนอกบัญชีรายชื่อเพื่อความยุติธรรม
ที่โจทก์แถลงขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อจำเลยก็เนื่องมาจากจำเลยยื่นคำให้การระบุชื่อจำเลยแทนชื่อบริษัทที่โจทก์ฟ้อง ทั้งจำเลยก็มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย คงต่อสู้ว่าจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยผิดตัว เพียงแต่ระบุชื่อจำเลยผิดเท่านั้น
การที่โจทก์แถลงขอแก้ไขชื่อจำเลยให้ตรงกับความเป็นจริงถือว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อย โจทก์สามารถแถลงขอให้แก้ไขได้ทันที การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้แก้ไขจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 180 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แล้ว จึงนำบทบัญญัติมาตรา 88 แห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับไม่ได้ นอกจากนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจศาลแรงงานสามารถเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร
แม้โจทก์จะอ้างตนเองและนำ ย.เข้าเบิกความต่อศาลแรงงานโดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ แต่ศาลแรงงานก็อนุญาตให้โจทก์และ ย.เข้าเบิกความเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานจึงชอบที่จะรับฟังพยานของโจทก์ดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์ลาออกจากงานเอง การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่โจทก์ลาออกเองตามที่จำเลยให้การต่อสู้ แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อจำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์กระทำผิด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 84,177 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อจำเลยในคดีแรงงานและการรับฟังพยานที่ไม่ระบุชื่อ ศาลแรงงานพิพากษายืนตามเดิม
ที่โจทก์แถลงขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อจำเลยก็เนื่องมาจากจำเลยยื่นคำให้การระบุชื่อจำเลยแทนชื่อบริษัทที่โจทก์ฟ้อง ทั้งจำเลยก็มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย คงต่อสู้ว่าจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยผิดตัว เพียงแต่ระบุชื่อจำเลยผิดเท่านั้น
การที่โจทก์แถลงขอแก้ไขชื่อจำเลยให้ตรงกับความเป็นจริงถือว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อย โจทก์สามารถแถลงขอให้แก้ไขได้ทันที การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้แก้ไขจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522แล้ว จึงนำบทบัญญัติมาตรา 88 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้ นอกจากนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจศาลแรงงานสามารถเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร
แม้โจทก์จะอ้างตนเองและนำ ย. เข้าเบิกความต่อศาลแรงงานโดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ แต่ศาลแรงงานก็อนุญาตให้โจทก์และ ย. เข้าเบิกความเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานจึงชอบที่จะรับฟังพยานของโจทก์ดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์ลาออกจากงานเอง การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่โจทก์ลาออกเองตามที่จำเลยให้การต่อสู้ แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อจำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์กระทำผิด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84,177 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้าม: โจทก์ไม่ยกเหตุไม่ได้รับเงินในคดีเดิม แล้วกลับมาฟ้องใหม่
คดีเดิมเมื่อจำเลยในคดีนี้ฟ้องเรียกให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนอง โจทก์มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเลยว่า โจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญาเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในคดีนั้นอันเป็นความบกพร่องไม่รอบคอบของโจทก์เอง เมื่อศาลพิพากษาว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงและคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องคดีใหม่อ้างเหตุว่า ความจริงแล้วโจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนองจากจำเลย ขอให้ห้ามมิให้คำพิพากษาในคดีเดิมมีผลใช้บังคับแก่โจทก์ ดังนี้ เท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ทั้ง ๆ ที่เป็นคู่ความรายเดียวกัน ซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวนั้นให้ต้องกลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงหรือไม่ จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้าม: ศาลไม่รับฟ้องคดีเดิมซ้ำ เมื่อประเด็นข้อพิพาทเคยถูกวินิจฉัยถึงที่สุดแล้ว
คดีเดิมเมื่อจำเลยในคดีนี้ฟ้องเรียกให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนอง โจทก์มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเลยว่า โจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญาเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในคดีนั้น อันเป็นความบกพร่องไม่รอบคอบของโจทก์เอง เมื่อศาลพิพากษาว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงและคดีถึงที่สุดไปแล้วโจทก์จะกลับมาฟ้องคดีใหม่อ้างเหตุว่า ความจริงแล้วโจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนองจากจำเลย ขอให้ห้ามมิให้คำพิพากษาในคดีเดิมมีผลใช้บังคับแก่โจทก์ดังนี้ เท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ทั้ง ๆ ที่เป็นคู่ความรายเดียวกัน ซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวนั้นให้ต้องกลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงหรือไม่ จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
of 228