พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,275 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธข้ออ้างโจทก์และการนำสืบพยานเพื่อสนับสนุนข้อปฏิเสธ ย่อมไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
จำเลยให้การปฏิเสธเรื่องการซื้อขายกับโจทก์โดยอ้างเหตุว่าไม่เคยมีการสั่งซื้อหรือรับวัสดุก่อสร้างจากโจทก์เลย ทั้งยังให้การต่อไปอีกว่าจำเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์มาก่อน โจทก์นำความเท็จมาฟ้อง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง คำให้การของจำเลยดังกล่าวได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงนำสืบได้ว่า จำเลยได้ว่าจ้าง ล.รับเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์ซึ่งรวมทั้งค่าแรงและค่าวัสดุก่อสร้างด้วย ที่ ล.ติดต่อซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย อันเป็นการนำสืบในรายละเอียดเพื่อสนับสนุนข้อปฏิเสธของตน ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธหนี้และการนำสืบเพื่อสนับสนุนข้อปฏิเสธ: ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบนอกประเด็น
จำเลยให้การปฏิเสธเรื่องการซื้อขายกับโจทก์โดยอ้างเหตุว่าไม่เคยมีการสั่งซื้อหรือรับวัสดุก่อสร้างจากโจทก์เลย ทั้งยังให้การต่อไปอีกว่าจำเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์มาก่อนโจทก์นำความเท็จมาฟ้อง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องคำให้การของจำเลยดังกล่าวได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงนำสืบได้ว่า จำเลยได้ว่าจ้าง ล. รับเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์ซึ่งรวมทั้งค่าแรงและค่าวัสดุก่อสร้างด้วยที่ ล ติดต่อซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย อันเป็นการนำสืบในรายละเอียดเพื่อสนับสนุนข้อปฏิเสธของตน ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน, ค่าปรับ, การพิสูจน์ราคาที่ดิน, และอำนาจฟ้องร้อง
++ เรื่อง ซื้อขาย ค้ำประกัน ภาษีอากร ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า
++ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 88 ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ให้แก่โจทก์เป็นเนื้อที่ 13 ไร่ 2 งาน ราคาไร่ละ 400,000 บาท เป็นเงิน 5,400,000บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำ จำนวน 1,620,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2533 อันเป็นวันจดทะเบียนโอนที่ดินตามสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและวางเงินมัดจำเอกสารหมาย จ.11 (ล.25)
ต่อมาวันที่ 29 มกราคม 2533 โจทก์ทราบว่า ที่ดินที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้น อยู่ห่างจากถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ประมาณ 100 เมตร
หลังจากนั้นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงชลบุรีในข้อหาฉ้อโกงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2หลอกลวงโจทก์ว่าที่ดินที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวมีแนวเขตติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) แต่จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา
ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานฉ้อโกงตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537
++
++ ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกปัญหาตามฎีกาข้อแรกของโจทก์ขึ้นวินิจฉัยก่อน
++ ปัญหาตามฎีกาข้อแรกของโจทก์มีว่า การที่โจทก์อ้างหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ตามเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 เป็นพยานหลักฐานโดยไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานและให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันนั้นได้หรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การในประเด็นนี้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เพราะโจทก์มิได้ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3ถึงที่ 5 ต่อโจทก์ โจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารที่จำเลยที่ 3 ลงชื่อไว้โดยไม่ได้รับความยินยอม หนังสือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การปฏิเสธว่า ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์และหนังสือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์ฟ้องเป็นเอกสารปลอม
++ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5ได้ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวกับโจทก์
++
++ ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 17 กำหนดให้สัญญาค้ำประกันต้องเสียค่าอากรแสตมป์ และมาตรา 118 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับหรือคู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว..."
++ ดังนั้น การจะใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้จะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าวด้วย
++ เมื่อหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 ที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ การปิดอากรแสตมป์ของโจทก์จึงไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ดังกล่าว เป็นผลให้คดีของโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1และที่ 2 ต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 ได้
++ ดังนี้คดีของโจทก์จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญมาแสดง โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้
++ แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์จะยื่นคำแถลงขออนุญาตขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 โดยอ้างว่าไม่ได้เจตนาจะหลีกเลี่ยงการชำระค่าภาษีอากรตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการรับฟังพยานเอกสารดังกล่าว โดยปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือสัญญาค้ำประกันทั้งสามฉบับดังกล่าวแล้ว กรณีจึงล่วงเลยที่จะดำเนินการขอขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่อาจอนุญาตตามคำขอของโจทก์
++
++ เมื่อฎีกาข้อแรกของโจทก์อันเป็นฎีกาให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยฟังไม่ขึ้น และคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ฎีกาของจำเลยทั้งห้าในส่วนของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี เนื่องจากไม่ว่า ฎีกาดังกล่าวจะฟังขึ้นหรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีต้องเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
++
++ ฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ต้องวินิจฉัยคงมีเฉพาะฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น
++ ซึ่งจะปัญหาที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อแรกตามฎีกาของจำเลยที่ 1และที่ 2 มีว่า ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ซึ่งวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 กับพวกทุจริตหลอกลวงนายธวัช ถาวรธวัช กรรมการบริษัทโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์มีแนวเขตติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ในคดีนี้หรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การจะนำข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 นั้นนอกจากคำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องถึงที่สุด ผู้ที่จะถูกนำเอาข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพันต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและคำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องวินิจฉัยประเด็นนั้นไว้โดยชัดแจ้งแล้ว สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งต้องได้อาศัยมูลความผิดในทางอาญาด้วย
++ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งนั้นต้องเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดทางอาญาด้วย
++ คดีนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์คือจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในข้อที่จำเลยที่ 2 รับรองว่า ที่ดินที่จะขายให้โจทก์ติดถนน แต่จำเลยที่ 2 ผิดคำรับรองดังกล่าว ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ผิดสัญญา โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยที่ 2 คืนเงินมัดจำและชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับตามสัญญา โจทก์หาได้อ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 หลอกลวงโจทก์โดยทุจริตด้วยข้อความอันเป็นเท็จว่าที่ดินที่จะขายให้โจทก์อยู่ติดถนน แต่ความจริงที่ดินดังกล่าวไม่ติดถนน อันเป็นการจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดต่อกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ซึ่งเป็นการตั้งข้อหาว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์แต่อย่างใดไม่
++ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้อาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องที่ได้อาศัยมูลความผิดในทางอาญาฐานฉ้อโกงที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้จึงหาใช่สิทธิเรียกร้องที่เกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงอันจะถือได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ให้ศาลในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งจำต้องถือตาม
++ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ดังกล่าวมาผูกพันจำเลยที่ 2 โดยไม่นำข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบในคดีนี้มาวินิจฉัยจึงไม่ชอบ
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีว่า ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้คำรับรองแก่โจทก์ว่า ที่ดินดังกล่าวอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) หรือไม่
++ เห็นว่า ในสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.11 ข้อ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2ขอรับรองว่า ที่ดินที่ขายอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ที่กรมทางหลวงได้กำหนดขึ้นและได้ประมูลการก่อสร้างเรียบร้อยแล้วตามผังแนบท้ายสัญญาและในแผนผัง
++ ประกอบสัญญาเอกสารหมาย จ.12 มีความปรากฏชัดเจนว่า ที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2จะขายให้โจทก์อยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2 พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12
++ กรณีจึงมีเหตุผลให้เชื่อว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบดีว่า ข้อความที่ระบุในสัญญาว่าที่ดินติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) เป็นสาระสำคัญของสัญญา หากการไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้อาจถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาได้ หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นว่าสัญญาข้อนี้ไม่ถูกต้อง ก็สมควรให้นายศักดิ์ชัย รุ่งโรจน์รัตนชัย เจ้าหน้าที่ของโจทก์ผู้ไปทำสัญญาแทนโจทก์ขีดฆ่าข้อความดังกล่าวออกเสียก่อนที่จะให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12 ได้ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่
++ นอกจากนี้ยังปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2 ได้พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.12 ลายพิมพ์นิ้วมือในเอกสารหมาย จ.12 เลือนไปเห็นไม่ชัด แต่ในสำเนาท้ายคำฟ้องเห็นได้ชัดเจนกว่าทั้งมีพยาน 2 คน คือนางนิภา เจริญไชย และจำเลยที่ 5 ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออีกด้วย
++ จึงเชื่อว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญากับโจทก์โดยรับรองว่า ที่ดินที่จะขายให้โจทก์อยู่ติดกับถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่)
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อต่อไปของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีว่า การที่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและวางเงินมัดจำเอกสารหมาย จ.11 ไม่ปิดอากรแสตมป์ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานหรือไม่
++ เห็นว่า ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจะต้องปิดอากรแสตมป์ แม้ในบัญชีดังกล่าวข้อ 28 (ข) กำหนดว่า ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมายต้องปิดอากรแสตมป์ แต่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 มิได้บัญญัติให้เป็นนิติกรรมที่ต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย และโจทก์อ้างสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขายให้โจทก์เป็นพยานหลักฐานเพื่อแสดงข้อเท็จจริงต่อศาลว่าได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามข้อความในสัญญา ไม่ได้อ้างเพื่อแสดงข้อเท็จจริงว่าเป็นใบรับ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และไม่ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อต่อไปของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมายจ.11 จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือไม่
++ เห็นว่า หลังจากโจทก์ทราบว่า ที่ดินที่จะซื้อไม่ได้อยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตามคำรับรองของจำเลยที่ 1 และที่ 2โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาตามเอกสารหมาย จ.25 ในเอกสารหมายจ.25 มีใจความว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาให้จำเลยทั้งห้าคืนเงินมัดจำจำนวน1,620,000 บาท และชำระค่าปรับเป็นเงิน 5,400,000 บาท แก่โจทก์ ดังนี้ความหมายตามเอกสารหมาย จ.25 คือโจทก์บอกกล่าวเลิกการซื้อที่ดินดังกล่าวกับให้จำเลยทั้งห้าคืนเงินมัดจำและชำระค่าปรับแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายข้อ 12
++ การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงมิใช่การบอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 121 (เดิม) แต่เป็นการบอกกล่าวเรียกร้องตามสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเป็นข้อสุดท้ายตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.11 แก่โจทก์เพียงใด
++ ที่โจทก์อ้างว่า ที่ดินบริเวณซึ่งถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตัดผ่านมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิม และนางสาวอภิญญาเลาหวิริยะกมล กรรมการบริษัทโจทก์เบิกความว่า หากที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายมีเขตติดถนนจะมีราคาไม่ต่ำกว่า 13,500,000 บาท โจทก์จะมีกำไรเป็นเงินไม่ต่ำกว่า8,100,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้รับรองแก่โจทก์ว่า มีถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตัดผ่าน ดังนั้นราคาที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงซื้อขายกันจึงเป็นราคาที่ดินที่มีถนนดังกล่าวตัดผ่านอยู่แล้ว ไม่ใช่ราคาที่ดินซึ่งไม่มีถนนตัดผ่าน ราคาที่ดินดังกล่าวเป็นราคาที่ทั้งโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นพ้องต้องกันว่า หากมีถนนตัดผ่านที่ดิน ที่ดินนั้นจะมีราคาตามที่ตกลงซื้อขายกัน ราคาที่ดินตามที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันจึงเป็นราคาที่สมเหตุสมผลยิ่งกว่าราคาที่นางสาวอภิญญาเบิกความซึ่งเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ เพียงฝ่ายเดียว และแม้การที่มีถนนตัดผ่านจะทำให้ราคาที่ดินดังกล่าวสูงขึ้น แต่ก็ไม่น่าจะสูงกว่าราคาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันมากนัก
++ และที่โจทก์อ้างว่า นายณรงค์หรือสุระ บุญกระจ่าง พยานจำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านและมีที่ดินอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) เบิกความว่า ที่ดินของพยานหากจะขายก็จะขายในราคาไร่ละ 2,500,000 บาท ถึง 3,000,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า โจทก์เองก็ต้องการซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) แต่โจทก์ก็ไม่ได้ซื้อที่ดินของนายณรงค์ ทั้งนี้เห็นได้ว่า ราคาที่ดินของนายณรงค์นั้นเป็นราคาที่นายณรงค์ตั้งขึ้นตามอำเภอใจ ไม่ใช่ราคาที่ดินที่ซื้อขายกันโดยทั่วไปหรือราคาที่ดินที่ทางราชการประเมินไว้ไม่อาจถือเป็นราคามาตรฐานได้
++ และที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ต้องขอสินเชื่อจากธนาคารมาชำระเงินค่ามัดจำให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยธนาคารคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นเงินสูงกว่าค่าปรับตามฟ้องนั้น
++ เห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักพอให้เชื่อได้
++ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเบี้ยปรับให้โจทก์เป็นเงิน 1,620,000 บาทจากราคาที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงซื้อขายกันเป็นเงิน5,400,000 บาท เป็นจำนวนที่สมควรแล้ว ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า
++ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 88 ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ให้แก่โจทก์เป็นเนื้อที่ 13 ไร่ 2 งาน ราคาไร่ละ 400,000 บาท เป็นเงิน 5,400,000บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำ จำนวน 1,620,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2533 อันเป็นวันจดทะเบียนโอนที่ดินตามสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและวางเงินมัดจำเอกสารหมาย จ.11 (ล.25)
ต่อมาวันที่ 29 มกราคม 2533 โจทก์ทราบว่า ที่ดินที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้น อยู่ห่างจากถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ประมาณ 100 เมตร
หลังจากนั้นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงชลบุรีในข้อหาฉ้อโกงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2หลอกลวงโจทก์ว่าที่ดินที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวมีแนวเขตติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) แต่จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา
ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานฉ้อโกงตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537
++
++ ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกปัญหาตามฎีกาข้อแรกของโจทก์ขึ้นวินิจฉัยก่อน
++ ปัญหาตามฎีกาข้อแรกของโจทก์มีว่า การที่โจทก์อ้างหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ตามเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 เป็นพยานหลักฐานโดยไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานและให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันนั้นได้หรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การในประเด็นนี้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เพราะโจทก์มิได้ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3ถึงที่ 5 ต่อโจทก์ โจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารที่จำเลยที่ 3 ลงชื่อไว้โดยไม่ได้รับความยินยอม หนังสือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การปฏิเสธว่า ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์และหนังสือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์ฟ้องเป็นเอกสารปลอม
++ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5ได้ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวกับโจทก์
++
++ ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 17 กำหนดให้สัญญาค้ำประกันต้องเสียค่าอากรแสตมป์ และมาตรา 118 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับหรือคู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว..."
++ ดังนั้น การจะใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้จะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าวด้วย
++ เมื่อหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 ที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ การปิดอากรแสตมป์ของโจทก์จึงไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ดังกล่าว เป็นผลให้คดีของโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1และที่ 2 ต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 ได้
++ ดังนี้คดีของโจทก์จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญมาแสดง โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้
++ แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์จะยื่นคำแถลงขออนุญาตขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 โดยอ้างว่าไม่ได้เจตนาจะหลีกเลี่ยงการชำระค่าภาษีอากรตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการรับฟังพยานเอกสารดังกล่าว โดยปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือสัญญาค้ำประกันทั้งสามฉบับดังกล่าวแล้ว กรณีจึงล่วงเลยที่จะดำเนินการขอขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่อาจอนุญาตตามคำขอของโจทก์
++
++ เมื่อฎีกาข้อแรกของโจทก์อันเป็นฎีกาให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยฟังไม่ขึ้น และคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ฎีกาของจำเลยทั้งห้าในส่วนของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี เนื่องจากไม่ว่า ฎีกาดังกล่าวจะฟังขึ้นหรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีต้องเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
++
++ ฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ต้องวินิจฉัยคงมีเฉพาะฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น
++ ซึ่งจะปัญหาที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อแรกตามฎีกาของจำเลยที่ 1และที่ 2 มีว่า ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ซึ่งวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 กับพวกทุจริตหลอกลวงนายธวัช ถาวรธวัช กรรมการบริษัทโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์มีแนวเขตติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ในคดีนี้หรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การจะนำข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 นั้นนอกจากคำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องถึงที่สุด ผู้ที่จะถูกนำเอาข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพันต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและคำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องวินิจฉัยประเด็นนั้นไว้โดยชัดแจ้งแล้ว สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งต้องได้อาศัยมูลความผิดในทางอาญาด้วย
++ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งนั้นต้องเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดทางอาญาด้วย
++ คดีนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์คือจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในข้อที่จำเลยที่ 2 รับรองว่า ที่ดินที่จะขายให้โจทก์ติดถนน แต่จำเลยที่ 2 ผิดคำรับรองดังกล่าว ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ผิดสัญญา โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยที่ 2 คืนเงินมัดจำและชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับตามสัญญา โจทก์หาได้อ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 หลอกลวงโจทก์โดยทุจริตด้วยข้อความอันเป็นเท็จว่าที่ดินที่จะขายให้โจทก์อยู่ติดถนน แต่ความจริงที่ดินดังกล่าวไม่ติดถนน อันเป็นการจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดต่อกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ซึ่งเป็นการตั้งข้อหาว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์แต่อย่างใดไม่
++ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้อาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องที่ได้อาศัยมูลความผิดในทางอาญาฐานฉ้อโกงที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้จึงหาใช่สิทธิเรียกร้องที่เกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงอันจะถือได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ให้ศาลในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งจำต้องถือตาม
++ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ดังกล่าวมาผูกพันจำเลยที่ 2 โดยไม่นำข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบในคดีนี้มาวินิจฉัยจึงไม่ชอบ
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีว่า ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้คำรับรองแก่โจทก์ว่า ที่ดินดังกล่าวอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) หรือไม่
++ เห็นว่า ในสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.11 ข้อ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2ขอรับรองว่า ที่ดินที่ขายอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ที่กรมทางหลวงได้กำหนดขึ้นและได้ประมูลการก่อสร้างเรียบร้อยแล้วตามผังแนบท้ายสัญญาและในแผนผัง
++ ประกอบสัญญาเอกสารหมาย จ.12 มีความปรากฏชัดเจนว่า ที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2จะขายให้โจทก์อยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2 พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12
++ กรณีจึงมีเหตุผลให้เชื่อว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบดีว่า ข้อความที่ระบุในสัญญาว่าที่ดินติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) เป็นสาระสำคัญของสัญญา หากการไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้อาจถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาได้ หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นว่าสัญญาข้อนี้ไม่ถูกต้อง ก็สมควรให้นายศักดิ์ชัย รุ่งโรจน์รัตนชัย เจ้าหน้าที่ของโจทก์ผู้ไปทำสัญญาแทนโจทก์ขีดฆ่าข้อความดังกล่าวออกเสียก่อนที่จะให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12 ได้ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่
++ นอกจากนี้ยังปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2 ได้พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.12 ลายพิมพ์นิ้วมือในเอกสารหมาย จ.12 เลือนไปเห็นไม่ชัด แต่ในสำเนาท้ายคำฟ้องเห็นได้ชัดเจนกว่าทั้งมีพยาน 2 คน คือนางนิภา เจริญไชย และจำเลยที่ 5 ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออีกด้วย
++ จึงเชื่อว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญากับโจทก์โดยรับรองว่า ที่ดินที่จะขายให้โจทก์อยู่ติดกับถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่)
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อต่อไปของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีว่า การที่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและวางเงินมัดจำเอกสารหมาย จ.11 ไม่ปิดอากรแสตมป์ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานหรือไม่
++ เห็นว่า ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจะต้องปิดอากรแสตมป์ แม้ในบัญชีดังกล่าวข้อ 28 (ข) กำหนดว่า ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมายต้องปิดอากรแสตมป์ แต่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 มิได้บัญญัติให้เป็นนิติกรรมที่ต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย และโจทก์อ้างสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขายให้โจทก์เป็นพยานหลักฐานเพื่อแสดงข้อเท็จจริงต่อศาลว่าได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามข้อความในสัญญา ไม่ได้อ้างเพื่อแสดงข้อเท็จจริงว่าเป็นใบรับ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และไม่ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อต่อไปของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมายจ.11 จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือไม่
++ เห็นว่า หลังจากโจทก์ทราบว่า ที่ดินที่จะซื้อไม่ได้อยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตามคำรับรองของจำเลยที่ 1 และที่ 2โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาตามเอกสารหมาย จ.25 ในเอกสารหมายจ.25 มีใจความว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาให้จำเลยทั้งห้าคืนเงินมัดจำจำนวน1,620,000 บาท และชำระค่าปรับเป็นเงิน 5,400,000 บาท แก่โจทก์ ดังนี้ความหมายตามเอกสารหมาย จ.25 คือโจทก์บอกกล่าวเลิกการซื้อที่ดินดังกล่าวกับให้จำเลยทั้งห้าคืนเงินมัดจำและชำระค่าปรับแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายข้อ 12
++ การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงมิใช่การบอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 121 (เดิม) แต่เป็นการบอกกล่าวเรียกร้องตามสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเป็นข้อสุดท้ายตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.11 แก่โจทก์เพียงใด
++ ที่โจทก์อ้างว่า ที่ดินบริเวณซึ่งถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตัดผ่านมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิม และนางสาวอภิญญาเลาหวิริยะกมล กรรมการบริษัทโจทก์เบิกความว่า หากที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายมีเขตติดถนนจะมีราคาไม่ต่ำกว่า 13,500,000 บาท โจทก์จะมีกำไรเป็นเงินไม่ต่ำกว่า8,100,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้รับรองแก่โจทก์ว่า มีถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตัดผ่าน ดังนั้นราคาที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงซื้อขายกันจึงเป็นราคาที่ดินที่มีถนนดังกล่าวตัดผ่านอยู่แล้ว ไม่ใช่ราคาที่ดินซึ่งไม่มีถนนตัดผ่าน ราคาที่ดินดังกล่าวเป็นราคาที่ทั้งโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นพ้องต้องกันว่า หากมีถนนตัดผ่านที่ดิน ที่ดินนั้นจะมีราคาตามที่ตกลงซื้อขายกัน ราคาที่ดินตามที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันจึงเป็นราคาที่สมเหตุสมผลยิ่งกว่าราคาที่นางสาวอภิญญาเบิกความซึ่งเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ เพียงฝ่ายเดียว และแม้การที่มีถนนตัดผ่านจะทำให้ราคาที่ดินดังกล่าวสูงขึ้น แต่ก็ไม่น่าจะสูงกว่าราคาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันมากนัก
++ และที่โจทก์อ้างว่า นายณรงค์หรือสุระ บุญกระจ่าง พยานจำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านและมีที่ดินอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) เบิกความว่า ที่ดินของพยานหากจะขายก็จะขายในราคาไร่ละ 2,500,000 บาท ถึง 3,000,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า โจทก์เองก็ต้องการซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) แต่โจทก์ก็ไม่ได้ซื้อที่ดินของนายณรงค์ ทั้งนี้เห็นได้ว่า ราคาที่ดินของนายณรงค์นั้นเป็นราคาที่นายณรงค์ตั้งขึ้นตามอำเภอใจ ไม่ใช่ราคาที่ดินที่ซื้อขายกันโดยทั่วไปหรือราคาที่ดินที่ทางราชการประเมินไว้ไม่อาจถือเป็นราคามาตรฐานได้
++ และที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ต้องขอสินเชื่อจากธนาคารมาชำระเงินค่ามัดจำให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยธนาคารคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นเงินสูงกว่าค่าปรับตามฟ้องนั้น
++ เห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักพอให้เชื่อได้
++ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเบี้ยปรับให้โจทก์เป็นเงิน 1,620,000 บาทจากราคาที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงซื้อขายกันเป็นเงิน5,400,000 บาท เป็นจำนวนที่สมควรแล้ว ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับโอนไว้แทนโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้ให้การปฏิเสธว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3ในปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ไม่ขึ้นในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับโอนไว้แทนโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้ให้การปฏิเสธว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญารับฝากขายและการหักกลบลบหนี้ค่าเสียหายจากการไม่คืนพื้นที่
โจทก์และจำเลยทำสัญญารับฝากขายสินค้ากันโดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 120,000 บาท แก่จำเลย และโจทก์วางเงินไว้เป็นประกันแก่จำเลย 575,100 บาท โดยพื้นที่รับฝากสินค้าจำเลยเช่ามาจากบริษัท ซ. ต่อมาบริษัท ซ. บอกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กับจำเลย จำเลยจึงไม่สามารถให้โจทก์ใช้พื้นที่ได้ ทำให้สัญญารับฝากขายสินค้าพิพาทต้องเลิกกันโดยโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแก่การเลิกสัญญานั้น มาตรา 392 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ โจทก์ต้องออกจากพื้นที่พิพาทเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ออกจากพื้นที่พิพาท จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาเงินประกันคืนจากจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 แต่เมื่อจำเลยได้ ฟ้องแย้งและฎีกาขอให้เอาเงินค่าเสียหายที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยหักออกจากเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยขอหักหนี้โดยไม่ต้องการประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาต่อไป ซึ่งย่อมกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคสอง จึงต้องนำเอาค่าเสียหายที่โจทก์ก่อขึ้นอันเนื่องมาจากการไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทให้แก่จำเลยตลอดเวลา ที่ยังไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน หักกับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยดังกล่าวจนกว่าจะส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน
การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหายให้จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาท นั้น เป็นฎีกาที่เกินกว่าคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้ เพราะฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใดๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหายให้จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาท นั้น เป็นฎีกาที่เกินกว่าคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้ เพราะฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใดๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514-3515/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้ง ศาลไม่ตั้งประเด็นอำนาจฟ้อง ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคาร ตกลงชำระค่าจ้างเป็นงวดรวม 9 งวด การชำระเงินจำเลยจะหักเงินประกันผลงานไว้เป็นจำนวนร้อยละ 5 ของจำนวนเงินที่โจทก์เบิกแต่ละงวดเมื่อโจทก์ก่อสร้างเสร็จและส่งมอบอาคารให้จำเลยแล้ว จำเลยไม่ยอมคืนเงินประกันผลงานให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลย จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้ทำการก่อสร้างอาคารให้เสร็จสมบูรณ์ตามสัญญา และโจทก์ได้ละทิ้งงานทำให้จำเลยเสียหายจึงขอนำค่าเสียหายมาหักกลบลบหนี้กับหนี้เงินประกันผลงานที่โจทก์ฟ้อง โดยจำเลยได้ให้การอีกว่า จำเลยไม่ได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามคำให้การของจำเลยเป็นที่เข้าใจว่าจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารจริง ดังนั้นประเด็นที่ว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารหรือไม่ จึงขัดกับคำให้การโดยรวมของจำเลยทั้งหมด คำให้การส่วนนี้จึงไม่ชัดแจ้งถือว่าไม่มีประเด็นข้อพิพาท ที่ศาลชั้นต้นไม่ตั้งประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องและศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การออกเช็ค การลงวันที่ การระบุชื่อผู้รับ และการสลักหลัง
เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ต้องการความเชื่อถือในระหว่างผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงทั้งหลายว่า เมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วจะมีการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ อันเป็นการห้ามหรือจำกัดการจ่ายเงินจะพึงมีได้จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย
การที่จำเลยออกเช็คพิพาทโดยขีดเส้นสีดำไว้ในช่องวันที่ไว้เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่ากระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เช็คนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 899 กรณีถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ เมื่อโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาและนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารย่อมลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อ บ.เป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า"หรือผู้ถือ" ออก แม้จำเลยอ้างว่าประสงค์จะออกเช็คระบุชื่อ แต่ด้วยความไม่สันทัดของจำเลยจึงมิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกก็ตาม ก็ต้องถือว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ
โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ มีผลเป็นการประกันหรืออาวัลผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 ซึ่งเป็นการอาวัลตามผลของกฎหมาย มิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึงไม่ต้องมีการเขียนข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัลอีก
การที่จำเลยออกเช็คพิพาทโดยขีดเส้นสีดำไว้ในช่องวันที่ไว้เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่ากระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เช็คนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 899 กรณีถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ เมื่อโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาและนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารย่อมลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อ บ.เป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า"หรือผู้ถือ" ออก แม้จำเลยอ้างว่าประสงค์จะออกเช็คระบุชื่อ แต่ด้วยความไม่สันทัดของจำเลยจึงมิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกก็ตาม ก็ต้องถือว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ
โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ มีผลเป็นการประกันหรืออาวัลผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 ซึ่งเป็นการอาวัลตามผลของกฎหมาย มิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึงไม่ต้องมีการเขียนข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัลอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผู้ถือ การลงวันออกเช็ค และผลของการสลักหลังในฐานะอาวัล
เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ต้องการความเชื่อถือในระหว่างผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงทั้งหลายว่า เมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วจะมีการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ อันเป็นการห้ามหรือจำกัดการจ่ายเงินจะพึงมีได้ จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่จำเลยออกเช็คพิพาทโดยขีดเส้นสีดำในช่องวันที่ไว้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่ากระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 899 กรณีถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ เมื่อโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาและนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารย่อมลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้ายประกอบ มาตรา 989 จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อ บ. เป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกแม้จำเลยอ้างว่าประสงค์จะออกเช็คระบุชื่อ แต่ด้วยความไม่สันทัดของจำเลยจึงมิได้ ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกก็ตาม ก็ต้องถือว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ มีผลเป็นการประกัน หรืออาวัลผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989ซึ่งเป็นการอาวัลตามผลของกฎหมาย มิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึงไม่ต้องมีการเขียน ข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัลอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะฟ้องแย้ง: ต้องมีประเด็นข้อพิพาทใหม่, สอดคล้องกับคำฟ้องเดิม, และแสดงถึงเหตุที่จำเลยจะขาดความคุ้มครองหากไม่ฟ้องแย้ง
ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้อง จำเลยจะต้องบรรยายฟ้องให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 1 อย่างไร ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ทั้งคำฟ้องจะต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาใหม่ และคำขอคำบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่เสนอข้อหาโดยคำฟ้องแย้งแล้ว จำเลยที่ 1 จะไม่ได้รับความคุ้มครองให้เป็นไปตามสิทธิตามมาตรา 172 วรรคสอง และต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคสุดท้าย
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 กับพวกรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดและสัญญาตั๋วเงิน แต่ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ที่อ้างว่าเป็นฟ้องแย้งมีข้อความแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญาเพราะจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์แล้ว ส่วนการขายลดเช็ค จำเลยที่ 1ให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยได้รับเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้อง โจทก์หลอกลวงให้จำเลยที่ 1 โอนส่งมอบเช็คให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ซึ่งเป็นแต่เพียงคำให้การปฏิเสธความรับผิดเท่านั้น หากเป็นจริงตามที่จำเลยที่ 1 อ้าง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องบังคับแก่จำเลยที่ 1 อยู่แล้วจำเลยที่ 1 มิได้เสนอข้อกล่าวหาเป็นประเด็นขึ้นมาใหม่ คำให้การดังกล่าวจึงไม่ต้องด้วยลักษณะฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 กับพวกรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดและสัญญาตั๋วเงิน แต่ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ที่อ้างว่าเป็นฟ้องแย้งมีข้อความแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญาเพราะจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์แล้ว ส่วนการขายลดเช็ค จำเลยที่ 1ให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยได้รับเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้อง โจทก์หลอกลวงให้จำเลยที่ 1 โอนส่งมอบเช็คให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ซึ่งเป็นแต่เพียงคำให้การปฏิเสธความรับผิดเท่านั้น หากเป็นจริงตามที่จำเลยที่ 1 อ้าง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องบังคับแก่จำเลยที่ 1 อยู่แล้วจำเลยที่ 1 มิได้เสนอข้อกล่าวหาเป็นประเด็นขึ้นมาใหม่ คำให้การดังกล่าวจึงไม่ต้องด้วยลักษณะฟ้องแย้ง