คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 177

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,275 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นเรื่องการแก้ไขข้อความในสัญญาโดยไม่ได้รับความยินยอม ทำให้สัญญานั้นเป็นเอกสารปลอม และการนำสืบหลักฐานนอกประเด็น
จำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์จำเลย 40,000 บาท แต่โจทก์กลับนำแบบพิมพ์หนังสือสัญญากูยืมเงินที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้กู้ไปกรอกข้อความเป็นว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 50,000 บาท โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย จึงเป็นเอกสารปลอม คดีจึงมีประเด็นเพียงว่า จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 50,000 บาท ตามฟ้องหรือไม่ไม่มีประเด็นว่า จำเลยได้ชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ ดังนั้น จำเลยจะนำสืบว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วหาได้ไม่ เป็นการนำสืบนอกประเด็น ส่วนที่จำเลยให้การไว้ตอนหนึ่งว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเป็นการให้การประกอบข้ออ้างที่ว่าจำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์ 40,000 บาท มิใช่เป็นการให้การในประเด็นที่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจำนวน 50,000 บาท ที่โจทก์ยกขึ้นเป็นข้ออ้างในคำฟ้อง การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของจำเลยแล้วเชื่อว่าจำเลยชำระหนี้จำนวนตามฟ้องให้โจทก์แล้ว จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3353/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชั่งน้ำหนักพยานในคดีแพ่ง และประเด็นการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์/ฎีกา
คดีแพ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายจะต้องนำพยานมาสืบต่อศาลเพื่อให้ศาลได้ใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานว่าพยานฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่ากัน หากพยานฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่าศาลก็จะใช้ดุลพินิจพิพากษาให้ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี แตกต่างกับคดีอาญาที่โจทก์จะต้องนำพยานเข้าสืบแสดงต่อศาลจนปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องจริง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาชั่งน้ำหนักพยานแล้วเห็นว่าพยานโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่าพยานจำเลยจึงพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี คำพิพากษาดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในคดีแพ่งจำเลยจะต้องยื่นคำให้การว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง เมื่อคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าการประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจหลักทรัพย์ของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีประเด็นพิพาทในศาลชั้นต้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคแรก และมาตรา 249 วรรคแรก
สัญญากู้ยืมเงินกำหนดเวลาชำระคืนเงินกู้ภายใน 5 ปี นับแต่วันทำสัญญา จึงเป็นการกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอน ส่วนทางปฏิบัติแม้จะมีการขยายเวลาให้ชำระกันบ้างก็ไม่มีผลทำให้สัญญาดังกล่าวกลายเป็นสัญญาที่ไม่กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: คำพิพากษาศาลฎีกายันบุคคลภายนอก & การได้มาซึ่งสิทธิโดยการครอบครอง
ศาลฎีกามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และขับไล่ ท. ระหว่างบังคับคดี จำเลยได้ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ไว้ โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) อยู่ในเขตที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและใช้ประโยชน์ และจำเลยเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินพิพาท โดยรับมอบการครอบครองมาจาก ท. โดยชอบ จนได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท กับมีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดแย้งกันไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินคนละแปลงกันหรือไม่ และจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท กรณีจึงรับฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ใช่คู่ความในคดีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาก็ตาม แต่คำพิพากษาในคดีดังกล่าวก็ใช้ยันจำเลยผู้เป็นบุคคลภายนอกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) การที่จำเลยให้การรับว่าได้รับที่ดินพิพาทมาจาก ท. ซึ่งไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลยได้ อันเป็นการรับมอบที่ดินพิพาทโดยเด็ดขาด มิใช่เพื่อประกันการชำระหนี้แล้วได้ครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 1 ปี ทำให้ได้สิทธิครอบครอง โดยไม่ได้ให้การว่าจำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ด้วยเหตุประการอื่น จำเลยจึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติข้างต้น โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ไว้ แม้ว่า ท. ยังไม่ได้ชำระเงินยืมและดอกเบี้ยให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การขัดแย้งในคำให้การ การรับมอบที่ดินโดยเด็ดขาด และผลของคำพิพากษาเดิมที่มีผลผูกพันบุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ฟ้องขับไล่ ท.และศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5379/2544 คำให้การและคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยระบุว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 อยู่ในเขตที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและใช้ประโยชน์ และยังได้ระบุว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 โดยรับมอบการครอบครองมาจาก ท. โดยชอบ จนได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกับมีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 เนื่องจากจำเลยยังไม่ได้รับชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ยจาก ท. คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดแย้งกันไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินคนละแปลงหรือไม่ และจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 หรือไม่ กรณีจึงรับฟังได้ตามคำฟ้องโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน และโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5379/2544 แม้จำเลยไม่ใช่คู่ความในคดีที่ศาลฎีกาพิพากษาก็ตาม แต่คำพิพากษาในคดีดังกล่าวก็ใช้ยันจำเลยผู้เป็นบุคคลภายนอกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การรับว่า ได้รับที่ดินพิพาทมาจาก ท. ซึ่งไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลยได้ อันเป็นการรับมอบที่ดินโดยเด็ดขาด มิใช่เพื่อประกันการชำระหนี้ดังที่กล่าวไว้ในคำให้การครั้งแรก แล้วได้ครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 1 ปี ทำให้ได้สิทธิครอบครอง โดยไม่ได้ให้การว่า จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ด้วยเหตุประการอื่น จำเลยจึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติข้างต้น โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 ไว้แม้ว่า ท.ยังไม่ได้ชำระเงินยืมและดอกเบี้ยแก่จำเลยก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296-297/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมาค่าก่อสร้าง, ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ค้ำประกัน, ค่าเสียหาย, การแก้ไขคำพิพากษา
ว. กรรมการผู้มีอำนาจอีกคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 เคยมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ระงับการชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันไว้ก่อนโดยระบุว่าคดีได้ขึ้นสู่ศาลแล้วซึ่งเป็นหนังสือลงวันที่ 2 เมษายน 2546 ดังนั้น ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ว่าเพิ่งทราบเรื่องที่ถูกโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2546 จึงรับฟังไม่ได้ น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่าถูกโจทก์ฟ้อง อย่างช้าที่สุดก็ในวันที่ 2 เมษายน 2546 ซึ่งเป็นวันที่ ว. ทำหนังสือไปถึงจำเลยที่ 2 และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยังมีเวลาอีกหลายวันพอแก่การจัดทำคำให้การเพื่อยื่นต่อศาลได้ เนื่องจากวันที่ 12 เมษายน 2546 ซึ่งครบกำหนดยื่นคำให้การเป็นวันเสาร์ ต่อจากนั้นเป็นวันหยุดตรุษสงกรานต์ซึ่งศาลหยุดทำการ แต่จำเลยที่ 1 ก็หาได้จัดทำคำให้การมายื่นต่อศาลในวันแรกที่ศาลเปิดทำการไม่ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2546 ซึ่งล่วงพ้นกำหนดยื่นคำให้การไปแล้วหลายวัน จำเลยที่ 1 จึงได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยอ้างเหตุซึ่งไม่เป็นความจริง พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยที่ 1 มิได้สนใจเกี่ยวกับการที่ถูกโจทก์ฟ้องและไม่เอาใจใส่ที่จะดำเนินการต่อสู้คดี ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่จงใจหรือมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การได้
สัญญาค้ำประกันข้อ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 2 รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวแต่โจทก์จะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เหตุการณ์นั้น ๆ ได้เกิดขึ้น ข้อความดังกล่าวเป็นการค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยไม่มีเงื่อนไข แม้ข้อความตอนท้ายระบุให้โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนด 15 วัน ก็เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันแต่อย่างใดไม่เพราะข้อความในสัญญาข้อ 2 ดังกล่าวมิได้ระบุไว้เช่นนั้นโดยชัดแจ้ง การที่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญา จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การติดตั้งเสาไฟฟ้าบนที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สำรวจสิทธิและไม่ขออนุญาต ถือเป็นการละเมิด
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับการไฟฟ้านครหลวงจำเลยและบริวารระงับการกระทำละเมิดต่างๆ บนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม พร้อมทั้งให้รื้อถอนเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ซึ่งได้กระทำลงบนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม จำเลยให้การว่า จำเลยดำเนินการปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าตามคำขอของการเคหะแห่งชาติ ชาวบ้านผู้ใหญ่บ้านซอยชุมชนวัดพรพระร่วงประสิทธิ์ ซึ่งจำเลยตรวจสอบและเห็นว่าถูกต้องตามระเบียบแล้วจึงดำเนินการให้ตามขอ โดยไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทั้งได้รับคำยืนยันจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านและสำนักงานเขตบางเขนว่า ที่ดินในซอยวัดพรพระร่วงประสิทธิ์เป็นทางสาธารณะ จำเลยไม่ได้ให้การว่าที่ดินพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอม คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ แม้จำเลยจะนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอมก็เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากพยานนอกประเด็นข้อพิพาท และเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตามป.วิ.พ. มาตรา 87 (1) ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางภาระจำยอม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นทางสาธารณะ การที่การไฟฟ้านครหลวงจำเลยทำการปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าในที่ดินพิพาทโดยมิได้สำรวจตรวจสอบถึงสิทธิในที่ดินให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อน และมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินได้รับความเสียหายย่อมเป็นการละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10917/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ ไม่รับฟังพยานหลักฐานใหม่ จำเลยไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ แล้วพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นกรณีที่ศาลรับฟังคำรับของจำเลยตามที่ให้การไว้ มิใช่รับฟังจากพยานหลักฐานการรังวัดที่ดินพิพาท การรับฟังพยานหลักฐานของศาลจึงไม่ผิดระเบียบในอันที่จำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีทั้งหมดแล้วให้พิจารณาคดีใหม่ โดยกล่าวอ้างว่ามีพยานหลักฐานใหม่นั้น จึงมิใช่เป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบแต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่อาจมีการพิจารณาคดีเพื่อพิจารณาพยานหลักฐานใหม่ของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10662/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่งอกริมตลิ่งกรรมสิทธิ์เป็นของเจ้าของที่ดินเดิม แม้เกิดจากเขื่อนหิน ศาลพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
ที่งอกที่เกิดขึ้นจากการที่บุคคลอื่นสร้างเขื่อนหินยื่นลงไปในทะเลทำให้เกิดการสะสมของตะกอนทรายแล้วเกิดที่งอกจากที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนหินดังกล่าวย่อมถือได้ว่าที่งอกของที่ดินของโจทก์เป็นที่งอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โจทก์จึงเป็นเจ้าของที่งอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308
จำเลยที่ 1 ให้การในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่น้ำทะเลท่วมถึง ต่อมามีท่าเทียบเรือของเอกชนก่อสร้างยื่นลงไปในทะเล ที่ดินดังกล่าวจึงยังคงเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่ตอนหลังกลับให้การว่า หากฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว คำให้การของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือเป็นที่ดินของโจทก์ อันเป็นการขัดแย้งกันเองเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เท่ากับว่าจำเลยที่ 1 มิได้ให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้กลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในส่วนที่ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายเดือนละ 1,000 บาท แก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปด้วย แต่คำขอในส่วนนี้มิใช่เป็นคำขอให้ชำระค่าเสียหายหรือเงินอื่น ๆ บรรดาที่ให้จ่ายมีกำหนดเป็นระยะเวลาในอนาคตตามตาราง 1 (4) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะเป็นคำขอที่มีผลต่อเนื่องจากคำขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากที่ดินพิพาท อันเป็นคำขอประธานเท่านั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตในชั้นฎีกาอีกส่วนหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ไม่ขัดแย้งกันเอง & สิทธิในการสืบพยานแก้คดีอายุความ
จำเลยที่ 1 ให้การตอนแรกว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญากู้เงินหรือได้รับเงินจากบริษัท พ. ที่ขายสินทรัพย์ให้โจทก์แต่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินโดยไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ และบริษัท พ. กรอกข้อความและจำนวนเงินเองโดยจำเลยที่ 1 มิได้รู้เห็นยินยอม อันเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม แม้จำเลยที่ 1 ให้การตอนหลังว่า สัญญากู้เงินตามฟ้องไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ โจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำสัญญา จึงขาดอายุความ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ยกอายุความขึ้นตัดฟ้องโจทก์เท่านั้น มิใช่เป็นการยอมรับว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินจากบริษัท พ. อันจะถือได้ว่าเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเองและเป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง และคดีย่อมมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบให้เห็นว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เมื่อโจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 เพื่อให้เห็นว่าอายุความสะดุดหยุดลงตามเอกสารที่โจทก์นำมาแสดง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบแก้ได้ว่า เอกสารที่โจทก์นำสืบเป็นเอกสารเกี่ยวกับการชำระหนี้รายอื่น มิใช่ว่าจะต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโฆษณา, วันชำระหนี้, การผิดนัดชำระหนี้, ดอกเบี้ย, การส่งมอบเอกสาร
จำเลยให้การแต่เพียงว่า จำเลยขอให้การปฏิเสธว่าลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจของผู้มอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อของ ส. และ ว.ตราประทับก็ไม่ใช่ของบริษัทโจทก์ ซึ่งเป็นการให้การปฏิเสธลอยๆ แต่เพียงว่าตราที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ตราของบริษัทโจทก์เท่านั้น ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัย
ตามสัญญาโฆษณากำหนดวันชำระหนี้ไว้ว่า ชำระเงินหลังวันโฆษณาภายใน 30 วัน ส่วนวันโฆษณาคือวันที่ 4 และ 9 ธันวาคม 2540 ดังนั้น วันครบกำหนดชำระเงินคือภายในวันที่ 3 และ 8 มกราคม 2541 จึงถือได้ว่ามีกำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนตามปฏิทิน แต่เมื่อพนักงานของโจทก์ไปส่งใบแจ้งหนี้และใบวางบิลให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยระบุในใบรับวางบิลว่า โปรดมารับเงินวันที่ 13 มีนาคม 2541 โจทก์มิได้ทักท้วง แสดงว่าโจทก์และจำเลยมิได้ถือเอาวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญาโฆษณา เป็นสาระสำคัญอีกต่อไปจำเลยจะผิดนัดต่อเมื่อโจทก์ได้เตือนให้ชำระหนี้แล้วจำเลยไม่ชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง จึงจะคิดดอกเบี้ยตามมาตรา 224 ได้
of 228