พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,275 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10335/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง: จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้จะจ่ายเงินให้ผู้โอนสิทธิเดิม หากไม่ต่อสู้เรื่องความไม่สมบูรณ์ของสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างก่อสร้างถนนตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับห้างดังกล่าวให้แก่โจทก์และมีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว โดยโจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและสำนวนหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าสำเนาหนังสือดังกล่าวไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องอย่างไร ดังนี้ ถือว่าจำเลยยอมรับตามที่โจทก์กล่าวอ้างและยอมรับความถูกต้องของเอกสารท้ายฟ้องแล้ว ข้อเท็จจริงในส่วนนี้จึงรับฟังได้ตามคำฟ้องโดยที่โจทก์ไม่จำต้องนำสืบจำเลยจะมานำสืบภายหลังว่าหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องฉบับที่อยู่ที่จำเลยมีข้อความบางอย่างไม่ครบถ้วนจึงไม่สมบูรณ์และไม่มีผลบังคับหาได้ไม่
คำให้การของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ทราบและไม่แน่ใจว่าจะมีการโอนสิทธิเรียกร้องกันจริงหรือไม่เพราะห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ได้นำหนังสือยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องมายื่นต่อจำเลยก็ดี จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับโจทก์ก็ดี ไม่เป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งอันจะก่อให้เกิดประเด็นในเรื่องความไม่สมบูรณ์ของการโอนสิทธิเรียกร้อง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยให้แก่โจทก์โดยทำหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลย อันเป็นการปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 แล้ว สิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ในการรับเงินจากจำเลยตามสัญญาจ้างจึงตกเป็นของโจทก์นับแต่นั้น ลำพังแต่ความจริงของจำเลยที่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เพราะได้รับแจ้งยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องจากห้างดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ได้
คำให้การของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ทราบและไม่แน่ใจว่าจะมีการโอนสิทธิเรียกร้องกันจริงหรือไม่เพราะห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ได้นำหนังสือยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องมายื่นต่อจำเลยก็ดี จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับโจทก์ก็ดี ไม่เป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งอันจะก่อให้เกิดประเด็นในเรื่องความไม่สมบูรณ์ของการโอนสิทธิเรียกร้อง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยให้แก่โจทก์โดยทำหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลย อันเป็นการปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 แล้ว สิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ในการรับเงินจากจำเลยตามสัญญาจ้างจึงตกเป็นของโจทก์นับแต่นั้น ลำพังแต่ความจริงของจำเลยที่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เพราะได้รับแจ้งยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องจากห้างดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8917/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์, การรับข้อเท็จจริง, และขอบเขตการต่อสู้คดี: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่นอกเหนือจากที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
สัญญากู้เงินมีข้อความว่า จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ทั้งสอง 476,720 บาท และได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยให้การรับว่าทำสัญญากู้จริงแต่ไม่ได้รับเงินกู้ มูลหนี้ตามฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ตามข้อต่อสู้
ศาลชั้นต้นมิได้ชี้สองสถานและกำหนดภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์และจำเลยได้สืบพยานไปจนสิ้นกระแสแล้ว ศาลล่างทั้งสอง ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทจากพยานหลักฐานที่โจทก์ จำเลยนำสืบ และศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้วินิจฉัยครบถ้วนชัดแจ้งโดยมิได้ยกภาระการพิสูจน์เป็นเหตุพิพากษาให้แพ้หรือชนะคดีดังนั้นแม้จำเลยจะมีภาระการพิสูจน์ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลงไป การที่โจทก์ทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่าภาระการพิสูจน์ตกแก่ฝ่ายใดจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนี่ง
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ทั้งสอง 476,720 บาท โดยจำเลยให้การยอมรับว่ากู้เงินโจทก์ที่ 2 จำนวน 104,600 บาท จึงเป็นการรับข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยนำสืบ ว่าความจริงจำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ทั้งสองเพียง 50,000 บาท จึงนอกเหนือจากคำให้การของจำเลย แม้ศาลล่างทั้งสองจะได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นมิได้ชี้สองสถานและกำหนดภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์และจำเลยได้สืบพยานไปจนสิ้นกระแสแล้ว ศาลล่างทั้งสอง ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทจากพยานหลักฐานที่โจทก์ จำเลยนำสืบ และศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้วินิจฉัยครบถ้วนชัดแจ้งโดยมิได้ยกภาระการพิสูจน์เป็นเหตุพิพากษาให้แพ้หรือชนะคดีดังนั้นแม้จำเลยจะมีภาระการพิสูจน์ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลงไป การที่โจทก์ทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่าภาระการพิสูจน์ตกแก่ฝ่ายใดจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนี่ง
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ทั้งสอง 476,720 บาท โดยจำเลยให้การยอมรับว่ากู้เงินโจทก์ที่ 2 จำนวน 104,600 บาท จึงเป็นการรับข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยนำสืบ ว่าความจริงจำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ทั้งสองเพียง 50,000 บาท จึงนอกเหนือจากคำให้การของจำเลย แม้ศาลล่างทั้งสองจะได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8804/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์การประเมินภาษี, สิทธิขอคืนภาษี, ดอกเบี้ยคืนภาษี, และผลของการไม่ยื่นรายการภาษีตามกำหนด
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์มิได้ใช้ที่ดินและโกดังสินค้าในการประกอบกิจการใด การขายที่ดินและโกดังสินค้าดังกล่าวจึงไม่ใช่การขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ ซึ่งจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ การที่ศาลภาษีอากรกลางหยิบยกข้อความตามสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. และข้อที่โจทก์ยอมรับการประเมินค่ารายปีและเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเป็นพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนมาประกอบดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์มีอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไว้ในการประกอบกิจการจึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็น แม้เหตุผลตามคำพิพากษาจะแตกต่างจากเหตุผลของเจ้าพนักงานประเมินหรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ตาม
โจทก์อ้างว่าอสังหาริมทรัพย์จำนวน 4 แปลง โจทก์ได้มาตั้งแต่ปี 2525 และขายไปในปี 2535 โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จำเลยให้การว่า โจทก์ซื้อที่ดิน 4 แปลงมาในราคา 4,000,000 บาท แล้วขายไปในราคา 30,254,882 บาท และตามหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่าขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นโกดังก่ออิฐถือปูน ซื้อเพื่อใช้เป็นที่สร้างคลังเก็บสินค้า แสดงว่าโจทก์ผู้ซื้อมีเจตนาใช้ประกอบกิจการเป็นโกดังเก็บสินค้ามิได้มีเจตนาใช้เป็นที่อยู่อาศัย ทั้งยังยื่นแบบแสดงรายการกำหนดค่ารายปีและชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (5) คือ อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ โจทก์มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะและต้องนำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นๆ ของโจทก์ เห็นได้ว่าคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องว่าโจทก์ได้ที่ดินทั้ง 4 แปลงมาโดยมิได้มุ่งในทางค้าหรือหากำไรให้เห็นโดยชัดแจ้ง คำให้การของจำเลยมุ่งแสดงข้อเท็จจริงให้เห็นว่าโจทก์ขายที่ดินไปในทางค้าหรือหากำไรซึ่งจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอันเป็นภาษีคนละประเภทกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำให้การของจำเลยจึงมิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ดังนั้น ปัญหาที่ว่าโจทก์ได้ที่ดินมาโดยมุ่งในทางค้าหรือหากำไรนั้น ถือว่าจำเลยได้รับแล้ว และข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำฟ้องว่าโจทก์ได้ที่ดินมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2535 สำหรับเงินได้จากการขายที่ดินตามวิธีการที่กำหนดในมาตรา 48 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 บัญญัติว่า "การใดที่กฎหมายกำหนดให้อุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น..." ซึ่ง ป.รัษฎากร มาตรา 32 ได้กำหนดขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แล้วโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยจึงมีอำนาจดำเนินการไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่อาจนำระยะเวลาที่กำหนดให้วินิจฉัยอุทธรณ์ และแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ดังกล่าวมาใช้ได้
มาตรา 27 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ผู้มีสิทธิขอคืนภาษีอากรที่ยื่นรายการเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนด ขอคืนได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันยื่นรายการก็สืบเนื่องมาจากแม้ผู้ยื่นจะยื่นเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่เมื่อผู้ยื่นไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรจึงต้องคืนให้ ส่วนเรื่องดอกเบี้ย มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ข้อ 2 กำหนดไว้ว่า การคิดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ได้รับคืนภาษีอากรนั้น จะคิดให้ต่อเมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการหรือคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือภายในเวลาที่ได้รับการขยายหรือเลื่อนให้ เมื่อโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิได้รับภาษีอากรที่ชำระไปแล้วคืนตามมาตรา 27 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ย
โจทก์อ้างว่าอสังหาริมทรัพย์จำนวน 4 แปลง โจทก์ได้มาตั้งแต่ปี 2525 และขายไปในปี 2535 โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จำเลยให้การว่า โจทก์ซื้อที่ดิน 4 แปลงมาในราคา 4,000,000 บาท แล้วขายไปในราคา 30,254,882 บาท และตามหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่าขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นโกดังก่ออิฐถือปูน ซื้อเพื่อใช้เป็นที่สร้างคลังเก็บสินค้า แสดงว่าโจทก์ผู้ซื้อมีเจตนาใช้ประกอบกิจการเป็นโกดังเก็บสินค้ามิได้มีเจตนาใช้เป็นที่อยู่อาศัย ทั้งยังยื่นแบบแสดงรายการกำหนดค่ารายปีและชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (5) คือ อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ โจทก์มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะและต้องนำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นๆ ของโจทก์ เห็นได้ว่าคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องว่าโจทก์ได้ที่ดินทั้ง 4 แปลงมาโดยมิได้มุ่งในทางค้าหรือหากำไรให้เห็นโดยชัดแจ้ง คำให้การของจำเลยมุ่งแสดงข้อเท็จจริงให้เห็นว่าโจทก์ขายที่ดินไปในทางค้าหรือหากำไรซึ่งจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอันเป็นภาษีคนละประเภทกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำให้การของจำเลยจึงมิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ดังนั้น ปัญหาที่ว่าโจทก์ได้ที่ดินมาโดยมุ่งในทางค้าหรือหากำไรนั้น ถือว่าจำเลยได้รับแล้ว และข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำฟ้องว่าโจทก์ได้ที่ดินมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2535 สำหรับเงินได้จากการขายที่ดินตามวิธีการที่กำหนดในมาตรา 48 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 บัญญัติว่า "การใดที่กฎหมายกำหนดให้อุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น..." ซึ่ง ป.รัษฎากร มาตรา 32 ได้กำหนดขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แล้วโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยจึงมีอำนาจดำเนินการไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่อาจนำระยะเวลาที่กำหนดให้วินิจฉัยอุทธรณ์ และแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ดังกล่าวมาใช้ได้
มาตรา 27 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ผู้มีสิทธิขอคืนภาษีอากรที่ยื่นรายการเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนด ขอคืนได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันยื่นรายการก็สืบเนื่องมาจากแม้ผู้ยื่นจะยื่นเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่เมื่อผู้ยื่นไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรจึงต้องคืนให้ ส่วนเรื่องดอกเบี้ย มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ข้อ 2 กำหนดไว้ว่า การคิดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ได้รับคืนภาษีอากรนั้น จะคิดให้ต่อเมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการหรือคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือภายในเวลาที่ได้รับการขยายหรือเลื่อนให้ เมื่อโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิได้รับภาษีอากรที่ชำระไปแล้วคืนตามมาตรา 27 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8719/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ & อายุความฟ้องร้องเอาคืน
โจทก์บรรยายฟ้องยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตอนต้นว่า โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยได้มาตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ตอนหลังโจทก์บรรยายฟ้องอีกว่า หลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทในคดีที่นาง ท. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์บังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมเมื่อปี 2535 คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายกคำร้อง นั้น คำให้การของจำเลยในตอนแรกที่ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยอ้างว่าได้รับยกให้จาก น. ซึ่งได้ซื้อมาจากโจทก์ในทำนองเดียวกับที่จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างในคดีร้องขัดทรัพย์ จึงเป็นการยกข้อต่อสู้คำฟ้องของโจทก์ตอนต้นที่กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ส่วนคำให้การตอนหลังของจำเลยที่ต่อสู้ว่า เมื่อโจทก์ได้รับคำร้องขัดทรัพย์ของจำเลยในคดีที่ ท. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์บังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว โจทก์มิได้คัดค้านหรือโต้แย้งการครอบครองของจำเลย โจทก์จึงขาดสิทธิฟ้องเอาคืนการครอบครองเพราะเกินกว่า 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง จึงเป็นการยกข้อต่อสู้คำฟ้องของโจทก์ตอนหลังที่กล่าวอ้างถึงสิทธิของโจทก์ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีร้องขัดทรัพย์ดังกล่าว เมื่อคำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาหลายข้อและแต่ละข้ออาจแยกกันได้เช่นนี้ จำเลยก็ชอบที่จะให้การโดยชัดแจ้งปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ชัดแจ้ง หาใช่เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันจนถึงกับไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7334/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้เรื่องสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ จำเลยต้องแสดงเหตุแห่งการปฏิเสธชัดเจน มิฉะนั้นจะไม่มีประเด็นนำสืบ
จำเลยให้การรับว่า จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องจริง แต่ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้รับเงินกู้ เนื่องจากจำเลยและ ท. มารดาโจทก์ ไม่มีเจตนาที่จะให้มีผลผูกพันกันเป็นการต่อสู้ว่าสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ แต่จำเลยไม่ได้อ้างเหตุตั้งประเด็นไว้ว่าที่จำเลยและ ท. ไม่มีเจตนาให้มีผลผูกพันกันเป็นเพราะเหตุใด แม้จำเลยจะกล่าวอ้างมาในคำให้การว่า จำเลยมีฐานะทางการเงินดีกว่า ท. ก็ไม่อาจทำให้เข้าใจได้ว่าเหตุใดจำเลยและ ท. จึงทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโดยจำเลยไม่ได้รับเงินกู้ จึงเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ แม้จำเลยจะนำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการสืบนอกคำให้การ ต้องห้ามมิให้รับฟังตามมาตรา 87 ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยกู้ยืมเงิน ท. และรับเงินกู้แล้วตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6962/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการถอนคืนการให้เนื่องจากประพฤติเนรคุณ ฟ้องขาดอายุความหากเกิน 6 เดือนนับจากวันที่ทราบเหตุ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ยกที่ดินเฉพาะส่วนทั้งห้าแปลงให้จำเลยโดยเสน่หา ต่อมาประมาณปลายปี 2538 ถึงต้นปี 2539 จำเลยประพฤติเนรคุณด้วยการด่าว่าและหมิ่นประมาทโจทก์ในฐานะบุพการีอย่างร้ายแรง ขอเรียกถอนคืนการให้ที่ดินทั้งห้าแปลงจากจำเลย จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้กระทำการดังกล่าว มูลเหตุของการฟ้องคดีนี้ หากเหตุการณ์ดังกล่าวตามฟ้องของโจทก์เกิดขึ้นจริง ฟ้องของโจทก์ก็ขาดอายุความแล้ว แม้คำให้การของจำเลยจะไม่ระบุระยะเวลาที่เป็นอายุความตามข้อต่อสู้ไว้ แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณเพียงเรื่องเดียว ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเรื่องอายุความการถอนคืนการให้ไว้ในลักษณะให้ มาตรา 533 เพียงมาตราเดียวดังนี้ นอกจากจำเลยได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องโจทก์แล้ว จำเลยยังได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธและการขาดอายุความให้ปรากฏว่าเหตุใดฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความคำให้การของจำเลยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงมีประเด็นเรื่องอายุความ
จำเลยประพฤติเนรคุณด่าและหมิ่นประมาทโจทก์เมื่อประมาณปลายปี 2538 ถึงต้นปี 2539 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2544 เกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์ได้ทราบถึงเหตุเหล่านั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 533 วรรคหนึ่ง
จำเลยประพฤติเนรคุณด่าและหมิ่นประมาทโจทก์เมื่อประมาณปลายปี 2538 ถึงต้นปี 2539 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2544 เกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์ได้ทราบถึงเหตุเหล่านั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 533 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6439/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่ดินพิพาทไม่ถูกต้อง และประเด็นอายุความการครอบครองที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสร้างกำแพงรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ยาว 10 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร จำเลยให้การว่า จำเลยสร้างกำแพงบนแนวเขตที่ดินติดต่อ ไม่ได้รุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครอง ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ตามคำให้การดังกล่าวจำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาแต่ต้น มิได้เป็นการแย่งการครอบครองไปจากโจทก์ เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น คดีไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง ศาลชั้นต้นจึงยก ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง ขึ้นวินิจฉัยเองหาได้ไม่ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและขัดแย้งกับที่จำเลยต่อสู้ในคำให้การ
คำให้การของจำเลยได้กล่าวแก้ต่อสู้เป็นข้อพิพาทว่าเฉพาะตรงที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยสร้างกำแพงรุกล้ำเป็นของจำเลย อันถือว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งจะต้องให้คู่ความตีราคาทรัพย์พิพาทว่ามีราคาเท่าใด แต่ศาลล่างทั้งสองกลับดำเนินกระบวนพิจารณามาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำให้การของจำเลยได้กล่าวแก้ต่อสู้เป็นข้อพิพาทว่าเฉพาะตรงที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยสร้างกำแพงรุกล้ำเป็นของจำเลย อันถือว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งจะต้องให้คู่ความตีราคาทรัพย์พิพาทว่ามีราคาเท่าใด แต่ศาลล่างทั้งสองกลับดำเนินกระบวนพิจารณามาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5522/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์และการชำระหนี้โดยการส่งมอบสินค้า
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยทำกันก่อนมีการแก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 456 ฉบับใหม่ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 เดิม ก่อนมีการแก้ไข เมื่อสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นไป ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าอะไหล่รถยนต์ให้แก่จำเลยได้ส่งมอบสินค้าอะไหล่รถยนต์แก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายจึงเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขายได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ประกอบวรรคสาม (เดิม)
จำเลยให้การว่า ตามคำฟ้องของโจทก์แสดงว่าโจทก์ได้ส่งมอบอะไหล่รถยนต์ตามฟ้องแก่จำเลยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันฟ้อง โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าอะไหล่รถยนต์ฟ้องเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยเป็นเวลาเกิน 3 ปี นับแต่วันส่งมอบคดีโจทก์จึงขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) และหรือขาดอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5) แล้ว แม้ไม่ได้ระบุว่ารายการซื้อขายใดขาดอายุความ 2 ปี รายการใดขาดอายุความ 5 ปี แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว ซึ่งอะไหล่ระยนต์รายการใดจะขาดอายุความ 2 ปี หรือ 5 ปี ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป คำให้การของจำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ประกอบธุรกิจค้าขายอะไหล่รถยนต์ฟ้องเรียกเอาค่าสินค้าอะไหล่รถยนต์ที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย โดยจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปซ่อมรถยนต์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยกับจำเลยรวมทั้งผู้มีกรณีพิพาทกับผู้เอาประกันภัยในกรณีผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเป็นฝ่ายผิด อันเป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งเป็นกิจการการประกันวินาศภัยภายในวัตถุประสงค์ของจำเลย ดังนั้น การที่จำเลยซื้อสินค้าอะไหล่รถยนต์จากโจทก์ จึงเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยเอง จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)
จำเลยให้การว่า ตามคำฟ้องของโจทก์แสดงว่าโจทก์ได้ส่งมอบอะไหล่รถยนต์ตามฟ้องแก่จำเลยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันฟ้อง โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าอะไหล่รถยนต์ฟ้องเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยเป็นเวลาเกิน 3 ปี นับแต่วันส่งมอบคดีโจทก์จึงขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) และหรือขาดอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5) แล้ว แม้ไม่ได้ระบุว่ารายการซื้อขายใดขาดอายุความ 2 ปี รายการใดขาดอายุความ 5 ปี แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว ซึ่งอะไหล่ระยนต์รายการใดจะขาดอายุความ 2 ปี หรือ 5 ปี ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป คำให้การของจำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ประกอบธุรกิจค้าขายอะไหล่รถยนต์ฟ้องเรียกเอาค่าสินค้าอะไหล่รถยนต์ที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย โดยจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปซ่อมรถยนต์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยกับจำเลยรวมทั้งผู้มีกรณีพิพาทกับผู้เอาประกันภัยในกรณีผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเป็นฝ่ายผิด อันเป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งเป็นกิจการการประกันวินาศภัยภายในวัตถุประสงค์ของจำเลย ดังนั้น การที่จำเลยซื้อสินค้าอะไหล่รถยนต์จากโจทก์ จึงเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยเอง จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4832/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การไม่ชัดเจน ศาลต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์เนื้อที่เช่า, ที่ตั้ง และผลผูกพันสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยถมดินและปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ 80 ตารางวา ต่อมาจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยจำเลยขอเช่าที่ดินส่วนที่รุกล้ำโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการเช่า และจะยอมรื้อถอนออกไปเมื่อโจทก์ต้องใช้ประโยชน์ แต่จำเลยไม่ยอมรื้อถอนโรงเรือนออกไปภายในระยะเวลาที่โจทก์กำหนด ขอให้ศาลบังคับจำเลยรื้อถอนโรงเรือนออกจากที่ดินของโจทก์และห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยเคยเช่าที่ดินของโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่เป็นการเช่าที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและปลูกบ้าน ที่ดินที่จำเลยครอบครองและปลูกบ้านมีเนื้อที่ประมาณ 150 ตารางเมตร อยู่นอกเขตที่ดินที่เช่าและนอกเขตที่ดินของโจทก์ ที่ดินที่จำเลยครอบครองจึงไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกับเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ก็ไม่มีผลให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
จำเลยให้การตอนแรกว่า จำเลยเคยเช่าที่ดินของโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่เป็นการเช่าที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและปลูกบ้านและเป็นการเช่าที่ดินเนื้อที่เพียง 5 ตารางวา มิใช่ประมาณ 80 ตารางวา ต่อมาทางราชการได้ขยายเขตถนนสาธารณะครอบที่ดินที่เช่าทั้งหมด สัญญาประนีประนอมยอมความจึงสิ้นผลบังคับไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ดินที่จำเลยครอบครองและปลูกบ้านมีเนื้อที่ประมาณ 150 ตารางวา อยู่นอกเขตที่ดินที่เช่าและนอกเขตที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยให้การในตอนหลังว่า ถึงอย่างไรจำเลยก็ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี หากศาลจะฟังว่าที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่ในโฉนดที่ดินของโจทก์ จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว คำให้การของจำเลยในประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ขัดแย็งกันไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยจึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติได้ ศาลจำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยเสียก่อน
จำเลยให้การตอนแรกว่า จำเลยเคยเช่าที่ดินของโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่เป็นการเช่าที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและปลูกบ้านและเป็นการเช่าที่ดินเนื้อที่เพียง 5 ตารางวา มิใช่ประมาณ 80 ตารางวา ต่อมาทางราชการได้ขยายเขตถนนสาธารณะครอบที่ดินที่เช่าทั้งหมด สัญญาประนีประนอมยอมความจึงสิ้นผลบังคับไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ดินที่จำเลยครอบครองและปลูกบ้านมีเนื้อที่ประมาณ 150 ตารางวา อยู่นอกเขตที่ดินที่เช่าและนอกเขตที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยให้การในตอนหลังว่า ถึงอย่างไรจำเลยก็ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี หากศาลจะฟังว่าที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่ในโฉนดที่ดินของโจทก์ จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว คำให้การของจำเลยในประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ขัดแย็งกันไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยจึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติได้ ศาลจำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดนายจ้างจากเหตุลูกจ้างกระทำละเมิด: ใช้อายุความ 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิด
การเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งให้นับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง นั้นหมายความเฉพาะการเรียกร้องจากตัวผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมในการกระทำผิดโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงผู้อื่นที่ไม่ได้ร่วมในการกระทำความผิดด้วย การเรียกร้องค่าเสียหายเอาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง จึงต้องใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า เหตุคดีนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2542 แต่โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีละเมิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545 หลังเกิดเหตุเป็นเวลา 3 ปีเศษ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ย่อมเป็นการแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้เป็นที่เข้าใจแล้วว่า นับแต่วันเกิดเหตุละเมิดถึงวันฟ้องคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ไปแล้ว คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงมีประเด็นเรื่องอายุความ