พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,275 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล, การแก้ไขคำฟ้อง, อายุความหนี้ซื้อขายสินค้าเพื่อกิจการ, และการฟ้องที่สมบูรณ์
จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โดยไม่ได้แสดงเหตุว่าฟ้องโจทก์ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นอย่างไร อันทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ คำให้การของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่มีประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ บัญชีพยานโจทก์และคำแถลงที่โจทก์ยื่นภายหลังการยื่นฟ้องต่างระบุชื่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ทั้งทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ การที่โจทก์ระบุในใบแต่งทนายความว่าศาลแขวงพระนครใต้และระบุในหนังสือมอบอำนาจให้ ธ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงพระนครใต้จึงเป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย ทั้งจำเลยให้การต่อสู้ว่า พ. ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลย ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจ ไม่ใช่ลายมือชื่อของ พ. และ ธ. ไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงเขตอำนาจศาลแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขคำฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขชื่อศาลในใบแต่งทนายความและในหนังสือมอบอำนาจได้ แม้จะเป็นการขอแก้ไขหลังวันสืบพยานโจทก์และมิได้มีการส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลย เพราะเป็นการแก้ไขตรงกับข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้และเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ประกอบการค้ากระดาษและวัตถุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ จำเลยประกอบกิจการโรงพิมพ์และค้าขายกระดาษ หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้ค่าซื้อกระดาษที่นำมาใช้ในกิจการของจำเลย การซื้อขายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ บัญชีพยานโจทก์และคำแถลงที่โจทก์ยื่นภายหลังการยื่นฟ้องต่างระบุชื่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ทั้งทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ การที่โจทก์ระบุในใบแต่งทนายความว่าศาลแขวงพระนครใต้และระบุในหนังสือมอบอำนาจให้ ธ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงพระนครใต้จึงเป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย ทั้งจำเลยให้การต่อสู้ว่า พ. ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลย ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจ ไม่ใช่ลายมือชื่อของ พ. และ ธ. ไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงเขตอำนาจศาลแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขคำฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขชื่อศาลในใบแต่งทนายความและในหนังสือมอบอำนาจได้ แม้จะเป็นการขอแก้ไขหลังวันสืบพยานโจทก์และมิได้มีการส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลย เพราะเป็นการแก้ไขตรงกับข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้และเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ประกอบการค้ากระดาษและวัตถุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ จำเลยประกอบกิจการโรงพิมพ์และค้าขายกระดาษ หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้ค่าซื้อกระดาษที่นำมาใช้ในกิจการของจำเลย การซื้อขายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อการยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และในเรื่องอายุความเมื่อไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความเป็นมูลยกฟ้องไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยในข้อนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการกู้ยืมเงิน: การให้การของจำเลยแสดงเหตุขาดอายุความชัดเจน ชอบวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์โดยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันกู้เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระต้นเงินให้แก่โจทก์แล้วเสร็จ โดยผ่อนชำระคืนเป็นรายวันการที่จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(2) เนื่องจากนำคดีมาฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับจากมีสิทธิเรียกร้อง ซึ่งตามมาตรา 193/33(2) บัญญัติอายุความการใช้สิทธิเรียกร้องไว้เพียงกรณีเดียวเฉพาะเงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ เช่นนี้ ถือได้ว่าคำให้การของจำเลยดังกล่าวได้แสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่า สิทธิเรียกร้องตามหนังสือสัญญากู้ยืมที่โจทก์นำมาฟ้องขาดอายุความเมื่อใดและเพราะเหตุใด คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าคดีขาดอายุความหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายผู้ถือ ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับผู้สั่งจ่าย หากไม่มีเจตนาฉ้อฉล
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้ใช้เงินแก่ บ. หรือผู้ถือ มีผู้นำเช็คมาแลกเงินสดไปจากโจทก์โจทก์จึงเป็นผู้ทรงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คได้ จำเลยหาอาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยให้การเพียงว่าเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่ บ. ไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพราะจำเลยได้ชำระเงินตามเช็คนั้นไปแล้ว เป็นการกล่าวถึงความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คกับผู้ทรงคนก่อนเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คโดยการคบคิดกันฉ้อฉลกับผู้ทรงคนก่อนอย่างไร จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 916
จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้อำนาจในการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตโดยมิได้บรรยายให้ชัดว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคหนึ่ง
จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้อำนาจในการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตโดยมิได้บรรยายให้ชัดว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องคดีชำระหนี้แบ่งแยกได้ และข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขนถ่ายสินค้ากระดาษของโจทก์และจำเลยที่ 3 จากเรืออริสโตเติลลงเรือฉลอมโดยประมาทเลินเล่อทำให้สินค้ากระดาษของโจทก์บางส่วนถูกสับเปลี่ยนและส่งมอบไปให้แก่จำเลยที่ 3 โดยโจทก์ได้รับสินค้ากระดาษของจำเลยที่ 3 มาแทน เมื่อหักกลบกันแล้ว จำเลยที่ 3 รับสินค้าของโจทก์เกินไป คิดเป็นเงิน 1,724,364 บาท ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะเจ้าของเรือ ผู้รับจ้างขนส่ง และนายจ้างหรือตัวการ จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้ากระดาษของโจทก์ และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับมอบสินค้ากระดาษของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ร่วมกันชำระราคาสินค้าที่จำเลยที่ 3 รับเกินไปแก่โจทก์ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิด ให้จำเลยที่ 4 รับผิดต่อโจทก์ฐานผิดสัญญาประกันภัย และให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ฐานรับมอบทรัพย์ของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย อันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของทรัพย์ในการติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 มูลความแห่งคดีจึงเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันได้ หาใช่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 4 ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ แต่จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการต่อสู้เรื่องอายุความโดยจำเลยที่ 3 ด้วย ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 (1) เมื่อคดีของจำเลยที่ 3 ไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะได้หยิบยกประโยชน์แห่งอายุความให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย ก็เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอายุความและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว สำหรับจำเลยที่ 3 แล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9326/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ครอบครองที่ดินต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ แม้ไม่ยื่นแบบแสดงรายการ และการอุทธรณ์ต้องทำตามขั้นตอน
จำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติจากกรมป่าไม้ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาเช่า และจำเลยได้ครอบครองอยู่ในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อปลูกต้นปาล์มน้ำมัน จึงเป็นกรณีครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน จำเลยจึงเป็นเจ้าของที่ดินตามความในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ และต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินดังกล่าว
โจทก์ประเมินให้จำเลยรับผิดชำระภาษีบำรุงท้องที่ แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินนั้นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ บัญญัติให้ฟ้องคดีได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาในการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่อเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการและได้มีการชี้ขาดคำคัดค้านหรืออุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว การห้ามฟ้องคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความรวมถึงการยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดี
การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 30 วรรคสอง แบบแสดงรายการดังกล่าวใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลาสี่ปี เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินแทนจำเลยในปีภาษี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดินเพื่อคำนวณภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 24 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดินในปีภาษี พ.ศ. 2542 ถึง 2544 ซึ่งเป็นปีที่สองถึงที่สี่อีก
โจทก์ประเมินให้จำเลยรับผิดชำระภาษีบำรุงท้องที่ แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินนั้นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ บัญญัติให้ฟ้องคดีได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาในการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่อเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการและได้มีการชี้ขาดคำคัดค้านหรืออุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว การห้ามฟ้องคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความรวมถึงการยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดี
การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 30 วรรคสอง แบบแสดงรายการดังกล่าวใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลาสี่ปี เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินแทนจำเลยในปีภาษี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดินเพื่อคำนวณภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 24 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดินในปีภาษี พ.ศ. 2542 ถึง 2544 ซึ่งเป็นปีที่สองถึงที่สี่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7601/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญา, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา, การไม่ชัดแจ้งในการให้การ
คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยก่อนวันสุดท้ายของเดือนหลายครั้งผิดไปจากข้อตกลงในสัญญา แล้วนำดอกเบี้ยไปทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยในเดือนต่อไป จึงทำให้ยอดเงินผิดไปจากความจริง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งสองฉบับตามฟ้อง เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยในเดือนใดผิดจากข้อตกลงในสัญญา คิดเป็นเงินดอกเบี้ยจำนวนเท่าใดที่ผิดไปจากความเป็นจริง อันจะทำให้เห็นว่าจำเลยต้องเสียหายเพราะโจทก์คิดคำนวณต้นเงินและดอกเบี้ยผิดจากข้อตกลงในสัญญาอย่างไรและเพียงใด ทั้ง ๆ ที่ฟ้องโจทก์แนบสำเนาใบแจ้งรายการบัญชี ซึ่งมีรายการคิดคำนวณดอกเบี้ยในแต่ละเดือนให้จำเลยทราบแล้ว จึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งสองฉบับจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15.25 และ 16.75 ต่อปี ตามลำดับและถ้าต่อไปโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้กู้จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคาร จำเลยยอมให้ปรับขึ้นได้ เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราตามประกาศของธนาคารโจทก์ คืออัตราร้อยละ 16.50 ต่อปีแบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จ แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โจทก์พอใจมิได้อุทธรณ์ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้แก่โจทก์นับแต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง มิใช่ว่าไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญาจึงให้ใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งสองฉบับจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15.25 และ 16.75 ต่อปี ตามลำดับและถ้าต่อไปโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้กู้จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคาร จำเลยยอมให้ปรับขึ้นได้ เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราตามประกาศของธนาคารโจทก์ คืออัตราร้อยละ 16.50 ต่อปีแบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จ แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โจทก์พอใจมิได้อุทธรณ์ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้แก่โจทก์นับแต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง มิใช่ว่าไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญาจึงให้ใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมรับผิดในหนี้ตามสัญญาค้ำประกันและจำนอง โดยศาลแก้คำพิพากษาเดิมให้จำเลยต้องรับผิดตามสัดส่วน
ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้ ระบุว่าทำที่ธนาคารโจทก์ในวันที่ 30 ธันวาคม 2541 มีเนื้อความตอนต้นว่า ตามที่บริษัท อ. และบริษัทจำเลยที่ 1 ต่างได้รับสินเชื่อไปจากธนาคารโจทก์ประเภทสกุลเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐนั้น บัดนี้บริษัททั้งสองมีความประสงค์จะขอโอนและรับโอนภาระหนี้ที่มีอยู่กับโจทก์ มีเนื้อความตอนต่อไปว่า ตามที่บริษัท อ. มีภาระหนี้กับโจทก์ สาขาฮ่องกง ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2541 รวมเป็นเงินจำนวน 1,287,046.95 ดอลลาร์สหรัฐ นั้น บริษัทจำเลยที่ 1 ขอรับโอนภาระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยดังกล่าวทั้งหมดที่บริษัท อ. มีอยู่กับโจทก์ ณ สาขาฮ่องกง มาเป็นหนี้ในนามของบริษัทจำเลยที่ 1 ณ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ และยินยอมให้โจทก์เปลี่ยนสกุลเงินจากเงินดอลลาร์สหรัฐ มาเป็นเงินบาท และในตอนท้ายระบุว่า บันทึกนี้ทำขึ้นเพื่อให้โจทก์ได้รับทราบถึงการที่จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ชำระหนี้แทนบริษัท อ. และมิให้ถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่แต่ประการใด ข้อเท็จจริงได้ความว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวทำขึ้นที่ธนาคารโจทก์จริง ในวันทำบันทึกข้อตกลง บริษัท อ. และจำเลยที่ 1 ต่างก็ได้ลงนามในฐานะผู้โอนและผู้รับโอนไว้ ส่วนโจทก์ยังไม่ได้ลงนาม เพราะต้องมีการเสนอให้ลงนามไปตามลำดับชั้น เมื่อข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับบริษัท อ. และโจทก์ โดยใจสมัครและไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งต่อมาก็ได้มีการลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ บันทึกข้อตกลงการรับโอนหนี้ดังกล่าว จึงเป็นสัญญาชนิดหนึ่งที่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้ได้ ปัญหาว่า จำเลยที่ 1 ยังไม่ต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้เพราะหนี้ตามบันทึกข้อตกลงการรับโอนหนี้ยังไม่ถึงกำหนดระยะเวลานั้น จำเลยทั้งสี่มิได้ยกขึ้นเป็นประเด็นต่อสู้ในคำให้การและไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหยิบยกประเด็นข้อนี้มาเป็นเหตุหนึ่งในการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันว่า จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 13 ฉบับ และจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 11 ฉบับ เมื่อรวมวงเงินค้ำประกันของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จากทุกสัญญาดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเกินกว่าหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทของจำเลยที่ 1 รวมกับหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เต็มจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 2 ฉบับ รวมวงเงิน 39,000,000 บาท และทำสัญญาจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 3 ฉบับ รวมวงเงินทั้ง 3 สัญญา เป็นเงินจำนวน 24,000,000 บาท โดยตามสัญญาจำนองทั้ง 3 ฉบับ ดังกล่าว จำเลยที่ 2 ตกลงด้วยว่า หากขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้ไม่พอชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 2 ยอมให้ยึดทรัพย์สินอื่นชำระหนี้จนครบถ้วน ดังนั้น นอกเหนือจากที่โจทก์มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ที่จำนองในวงเงินต้นเงินรวม 24,000,000 บาท ดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังมีบุคคลสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 ในวงเงินต้นเงินรวม 24,000,000 บาท ด้วย เมื่อรวมวงเงินต้นเงินที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นเงินทั้งสิ้น 63,000,000 บาท ซึ่งยังน้อยกว่าวงเงินต้นเงินตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทของจำเลยที่ 1 รวมกับหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้จำนวน 67,394,972.55 บาท จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เพียงในวงเงินต้นเงินจำนวน 63,000,000 บาท พร้อมอุปกรณ์แห่งหนี้
ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันว่า จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 13 ฉบับ และจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 11 ฉบับ เมื่อรวมวงเงินค้ำประกันของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จากทุกสัญญาดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเกินกว่าหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทของจำเลยที่ 1 รวมกับหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เต็มจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 2 ฉบับ รวมวงเงิน 39,000,000 บาท และทำสัญญาจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 3 ฉบับ รวมวงเงินทั้ง 3 สัญญา เป็นเงินจำนวน 24,000,000 บาท โดยตามสัญญาจำนองทั้ง 3 ฉบับ ดังกล่าว จำเลยที่ 2 ตกลงด้วยว่า หากขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้ไม่พอชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 2 ยอมให้ยึดทรัพย์สินอื่นชำระหนี้จนครบถ้วน ดังนั้น นอกเหนือจากที่โจทก์มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ที่จำนองในวงเงินต้นเงินรวม 24,000,000 บาท ดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังมีบุคคลสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 ในวงเงินต้นเงินรวม 24,000,000 บาท ด้วย เมื่อรวมวงเงินต้นเงินที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นเงินทั้งสิ้น 63,000,000 บาท ซึ่งยังน้อยกว่าวงเงินต้นเงินตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทของจำเลยที่ 1 รวมกับหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้จำนวน 67,394,972.55 บาท จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เพียงในวงเงินต้นเงินจำนวน 63,000,000 บาท พร้อมอุปกรณ์แห่งหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นคำให้การ: เหตุผลความล่าช้าของผู้ถูกฟ้องต้องมีน้ำหนัก, รูปคดีไม่ซับซ้อน, ศาลมีอำนาจสั่งโดยไม่ต้องไต่สวน
จำเลยที่ 1 เพิ่งติดต่อหาทนายในขณะที่ยังเหลือเวลายื่นคำให้การอีกเพียง 2 วันโดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องหรือความจำเป็นอย่างใดจึงมาติดต่อหาทนายล่าช้า จึงเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ที่ปล่อยปละละเลยให้ระยะเวลายื่นคำให้การล่วงเลยไปถึง 13 วันโดยไม่ขวนขวายติดต่อหาทนายแต่เนิ่นๆรูปคดีจึงไม่ยุ่งยากซับซ้อน เวลาที่เหลือ 2 วันก็เพียงพอที่จะทำคำให้การยื่นต่อศาลชั้นต้นได้ทันกำหนดเวลา ข้ออ้างตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันจะพึงขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้จำเลยที่ 1 ได้ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่อ้างมาในคำร้องเพียงพอที่จะวินิจฉัยและมีคำสั่งได้แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจทำคำสั่งไปได้โดยไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์และไต่สวนคำร้องก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องห้ามตามมาตรา 225 วรรคหนึ่ง การโต้แย้งต้องอาศัยประเด็นที่ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
ข้อที่ว่ากันมาแล้วหรือมิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากคำฟ้อง คำให้การ และประเด็นข้อพิพาทในคดีเป็นสำคัญ ไม่ใช่พิจารณาจากข้อเท็จจริงและการนำสืบพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา แม้จำเลยจะได้ถามค้านพยานโจทก์ไว้โดยชัดแจ้ง แต่เมื่อไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ก็มิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าฟ้องโจทก์ไม่แจ้งชัดและเคลือบคลุมอย่างไร แต่กลับไปอ้างการนำสืบพยานของโจทก์ว่าไม่ถูกต้องไม่ตรงกับฟ้องมาเป็นเหตุทำให้ฟ้องเคลือบคลุม เมื่อข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามอุทธรณ์ และการที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยแจ้งชัดว่าเอกสารท้ายฟ้องไม่ถูกต้องและเป็นเหตุให้ฟ้องโจทก์ไม่แจ้งชัดอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ
อุทธรณ์ของจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าฟ้องโจทก์ไม่แจ้งชัดและเคลือบคลุมอย่างไร แต่กลับไปอ้างการนำสืบพยานของโจทก์ว่าไม่ถูกต้องไม่ตรงกับฟ้องมาเป็นเหตุทำให้ฟ้องเคลือบคลุม เมื่อข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามอุทธรณ์ และการที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยแจ้งชัดว่าเอกสารท้ายฟ้องไม่ถูกต้องและเป็นเหตุให้ฟ้องโจทก์ไม่แจ้งชัดอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ