คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 820

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี, การผ่อนเวลาชำระหนี้, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน/ทายาท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา174เดิมซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้บัญญัติว่า"การฟ้องคดีท่านไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงหากว่าคดีนั้นได้ถอนเสีย"ดังนั้นการที่โจทก์ถอนฟ้องเรื่องเดียวกันในคดีก่อนแล้วได้ฟ้องใหม่เป็นคดีนี้จึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด ตามคำให้การของจำเลยที่15ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้โดยชัดแจ้งว่าโจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่1โดยจำเลยที่15ไม่ได้รู้เห็นและไม่ได้ตกลงให้ความยินยอมในการผ่อนเวลาดังกล่าวดังนั้นจำเลยที่15จึงมีสิทธินำสืบต่อสู้ในเรื่องโจทก์ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้โดยจำเลยที่15ผู้ค้ำประกันไม่ได้รู้เห็นและยินยอมด้วยได้ ร.ทำสัญญายืมเงินและสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่1โดยมิได้ร่วมกับจำเลยที่1ทำสัญญาดังกล่าวในฐานะส่วนตัวด้วยร. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวเมื่อร.ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวจำเลยที่5ทายาทของร.จึงไม่มีหนี้ที่ตกทอดจากร. ผู้ตายให้ต้องรับผิดต่อโจทก์ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่2ถึงจำเลยที่4และจำเลยที่6ถึงจำเลยที่8ซึ่งเป็นทายาทของร. แม้จะไม่ได้ฎีกาเหมือนจำเลยที่5ด้วยก็ตามแต่การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยเหล่านี้ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่5ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยดังกล่าวทุกคนด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)และมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9948-10129/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ถือเป็นผลจากการไม่สามารถดำเนินกิจการได้ และความรับผิดของกรรมการบริษัท
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสองนอกจากจะหมายถึงการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้แล้วยังหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปอีกด้วย คดีนี้จำเลยจ้างโจทก์มาเพื่อจะให้ทำงานให้แก่จำเลยหมายความว่าจำเลยดำเนินกิจการมีงานที่จะมอบหมายให้โจทก์ทำตามที่จ้างและในขณะเดียวกันจำเลยจะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยจำเลยมีเงินที่จะจ่ายค่าจ้างได้เมื่อโจทก์ไม่ได้ทำงานตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2538ถึงวันที่20ธันวาคม2538ไม่ว่าจะเป็นเพราะจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทำหรือเพราะเหตุอื่นใดและโจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีเงินจะจ่ายให้การกระทำของจำเลยเช่นนี้ย่อมอยู่ในความหมายที่ว่าเป็นกรณีที่ลูกจ้างไม่่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ซึ่งถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่จำต้องคำนึงว่าในเวลาภายหน้าจำเลยจะมีงานให้โจทก์ทำและมีเงินจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์แต่ละคนหรือไม่ ปัญหาว่าจำเลยที่2จะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่2จะไม่ได้ให้การไว้จำเลยที่2ก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31 แม้จำเลยที่2จะเป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2ก็ตามแต่จำเลยที่1เป็นบริษัทจำกัดเป็นนิติบุคคลจำเลยที่2เป็นกรรมการและเป็นผู้แทนของจำเลยที่1ความรับผิดของจำเลยที่2ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา77ประกอบมาตรา820กล่าวคือเมื่อจำเลยที่2กระทำการในฐานะตัวแทนของจำเลยที่1จำเลยที่1ผู้เป็นตัวการต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่2ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวร่่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ คำพิพากษาศาลแรงงานในส่วนค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างค้างจ่ายของโจทก์มีการพิมพ์จำนวนเงินผิดพลาดเล็กน้อยศาลฎีกาสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9545/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเกินอำนาจ-ผลกระทบต่อบุคคลภายนอก-การรับชำระหนี้-ความรับผิดของตัวการ
แม้จำเลยที่2ตัวแทนขายรถยนต์ของจำเลยที่1จะไม่มีอำนาจรับเงินค่าซื้อรถยนต์แทนจำเลยที่1และการที่จำเลยที่2รับเงินค่าซื้อรถยนต์จากโจทก์จะเป็นการที่ตัวแทนทำการนั้นไปเกินอำนาจตัวแทนก็ตามแต่เมื่อการกระทำของจำเลยที่2และทางปฎิบัติของจำเลยที่1ผู้เป็นตัวการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการที่จำเลยที่2รับเงินค่าซื้อรถยนต์ภายในขอบอำนาจของจำเลยที่2ผู้เป็นตัวแทนจำเลยที่1จึงต้องรับผิดต่อโจทก์บุคคลภายนอกผู้สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา822ประกอบมาตรา820ดังนั้นจึงต้องถือว่าโจทก์ได้ชำระราคารถยนต์ค้นพิพาทให้แก่จำเลยที่1แล้ว ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความเกินขั้นสูงตามตาราง6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในผลแห่งคดีแต่มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้นั้นแม้ปัญหานี้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9545/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้เกินอำนาจตัวแทน: ผลกระทบต่อตัวการและบุคคลภายนอก
แม้จำเลยที่ 2 ตัวแทนขายรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จะไม่มีอำนาจรับเงินค่าซื้อรถยนต์แทนจำเลยที่ 1 และการที่จำเลยที่ 2 รับเงินค่าซื้อรถยนต์จากโจทก์จะเป็นการที่ตัวแทนทำการนั้นไปเกินอำนาจตัวแทนก็ตาม แต่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 และทางปฏิบัติของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการที่จำเลยที่ 2 รับเงินค่าซื้อรถยนต์ภายในขอบอำนาจของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์บุคคลภายนอกผู้สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 822 ประกอบมาตรา 820 ดังนั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ชำระราคารถยนต์คันพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความเกินขั้นสูงตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในผลแห่งคดีแต่มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้นั้น แม้ปัญหานี้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9545/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเกินอำนาจ-รับชำระหนี้: ตัวการต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริต
แม้จำเลยที่ 2 ตัวแทนขายรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จะไม่มีอำนาจรับเงินค่าซื้อรถยนต์แทนจำเลยที่ 1 และการที่จำเลยที่ 2รับเงินค่าซื้อรถยนต์จากโจทก์จะเป็นการที่ตัวแทนทำการนั้นไปเกินอำนาจตัวแทนก็ตาม แต่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2และทางปฎิบัติของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการที่จำเลยที่ 2รับเงินค่าซื้อรถยนต์ภายในขอบอำนาจของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์บุคคลภายนอกผู้สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822 ประกอบมาตรา 820 ดังนั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ชำระราคารถยนต์ค้นพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความเกินขั้นสูงตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในผลแห่งคดีแต่มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้นั้น แม้ปัญหานี้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากรและการรับผิดของตัวการต่อการกระทำของตัวแทนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่ตัวการจะมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่ตัวแทนกระทำไปต้องเป็นกรณีที่ตัวแทนได้กระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบในขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทน แต่จำเลยที่ 6 โดยจำเลยที่ 7 ตัวแทนกระทำการโดยทุจริตต่อหน้าที่โดยการปลอมใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีอากรขาเข้า และใช้ใบเสร็จรับเงินปลอมอันเป็นการกระทำนอกขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทน ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในการกระทำดังกล่าวของตัวแทน
โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าภาษีในกรณีที่จำเลยที่ 1 นำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร โดยจำเลยที่ 1 ยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 รับใบขนสินค้า ได้ตรวจสอบรับรองเอกสาร กับทั้งได้ตรวจสอบสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่ถูกต้องแล้ว จึงบันทึกตรวจปล่อยส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่ 1 รับไปจากอารักขาของโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันที่13 สิงหาคม 2523 กรณีจึงมิใช่จำเลยที่ 1 หลีกเลี่ยง ซ่อนเร้นการเสียภาษี หรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรียกเก็บภาษี อันจะถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา27 และ 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ส่วนความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมนั้น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ดังนั้นคดีจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 167เดิม (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่)
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1และที่ 3 ได้ให้การต่อสู้คดีโดยยกเหตุอายุความขึ้นต่อสู้และคดีฟังได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจ้าของสินค้า และจำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการจึงมีสิทธิจะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ และโดยที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3ยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ให้ถือว่าจำเลยทำแทนซึ่งกันและกัน จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนย่อมได้รับผลแห่งอายุความด้วยจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121-3461/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและสิทธิลูกจ้าง: การหยุดงานตามคำสั่งนายจ้าง ค่าชดเชย และความรับผิดของกรรมการ
ก่อนเลิกจ้างจำเลยที่1มีคำสั่งให้โจทก์ทั้งหมดไม่ต้องมาทำงานโดยจะจ่ายค่าจ้างให้โจทก์กึ่งหนึ่งแต่โจทก์ไม่พอใจจึงไปร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงานฯต่อมาจำเลยที่1มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์การที่โจทก์ทั้งหมดหยุดงานจึงเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่1ไม่ใช่เป็นการนัดหยุดงานเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่เป็นการละทิ้งหน้าที่หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2นิยามคำว่านายจ้างว่ากรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลจำเลยที่2และที่3เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่1จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งหมดแต่กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1167เมื่อจำเลยที่2และที่3เลิกจ้างโจทก์โดยกระทำในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799-1800/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างและตัวแทนตามกฎหมายแรงงาน: การกระทำของตัวแทนผูกพันตัวการ
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา5ให้คำนิยามของคำว่านายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2ว่านายจ้างหมายความว่าผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายจ้างให้ทำการแทนในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลหมายความว่าผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลนั้นและหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนเมื่อจำเลยที่2เป็นผู้อำนวยการสำนักงานและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสองด้วยตามบทกฎหมายดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ได้แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากจำเลยที่1ซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์ทั้งสองมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่2เป็นผู้ทำการแทนตามกฎหมายประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา77บัญญัติว่า"ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของนิติบุคคลและระหว่างนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคลภายนอกโดยอนุโลม"และบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนมาตรา820บัญญัติว่า"ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน"ซึ่งมีความหมายว่ากิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำแทนตัวการจำเลยที่1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่2ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ทั้งสองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนโดยปริยาย-ข้อผูกพันตามสัญญาซื้อขาย: การรับรองการคืนสินค้าและเช็คโดยพนักงานขายผูกพันตัวการ
การที่พนักงานขายเสนอขายสินค้าของโจทก์แก่จำเลยย่อมถือได้ว่าเป็นตัวแทนของโจทก์โดยปริยายและการที่พนักงานขายสินค้าของโจทก์รับรองกับจำเลยว่าถ้าสินค้าที่จำเลยซื้อจากโจทก์ไม่สามารถใช้ผลิตสินค้าได้ยอมให้คืนสินค้าและยอมคืนเช็คพิพาทให้จำเลยจึงย่อมผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นตัวการให้ต้องยอมรับผลในข้อตกลงที่ได้ทำไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา820โจทก์ไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด สัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทน ความรับผิดของตัวการ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แม้ในสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนมิได้ระบุว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์ก็นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะเป็นการสืบถึงความจริงว่าเป็นตัวการและตัวแทนมิใช่สืบถึงการที่จะบังคับตามสัญญาแต่ประการใด และในคำฟ้องบรรยายแต่ว่าเป็นตัวแทน ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นตัวแทนเชิดได้ เพราะตัวแทนกับตัวแทนเชิดก็มีความรับผิดในลักษณะอย่างเดียวกัน ฉะนั้น ถึงแม้สัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนจะมิได้กล่าวเรื่องตัวแทนตัวการเลย ศาลก็มีอำนาจที่จะรับฟังพยานบุคคลและพฤติการณ์ในคดีประกอบการวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ในวันที่ 11 กันยายน 2532 ในสัญญาได้กล่าวถึงที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 50266และ 50267 ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจำนองอยู่แก่ธนาคาร อ. โจทก์ได้มอบเงินให้จำเลยที่ 3 ไป 1,300,000 บาท และได้ชำระหนี้จำนองรายนี้เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3เป็นผู้จัดการไถ่ถอนจำนองและได้มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่50266 และ 50267 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2532 การไถ่ถอนจำนองรายนี้เป็นเงินที่จำเลยที่ 3 รับมาจากโจทก์ มิใช่เป็นเงินของจำเลยที่ 1 และที่ 2เอง เมื่อได้เงินมาไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบให้จำเลยที่ 3เป็นผู้ดำเนินการ เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับเอาประโยชน์จากเงินที่ได้มาจากการทำสัญญา ฉะนั้น กิจการที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับเอาประโยชน์นั้น เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ชัดว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 3 ไปทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ สัญญาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2
ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เป็นตัวการตัวแทน เมื่อตัวแทนทำกิจการในหน้าที่ ความรับผิดชอบต่าง ๆ ต้องอยู่ที่ตัวการ ตัวแทนไม่ต้องรับผิด จึงมิใช่เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย และคำให้การต่อสู้คดีเป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยแต่ละคนเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ย่อมไม่มีประเด็นสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 การที่จำเลยที่ 3 ต่อสู้คดีเรื่องการบอกเลิกสัญญาในคดีที่มิได้เป็นหนี้ร่วม ย่อมเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 3ยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยที่ 1จึงชอบแล้ว
of 119