พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,184 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการต่อหนี้ที่เกิดจากการปฏิบัติงานของส่วนราชการในสังกัด
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกำหนดหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารงานส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลให้การดำเนินการต่าง ๆ ตามโครงการของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคามที่จำเลยอนุมัติเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติราชการเท่านั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามอนุมัติและมอบอำนาจให้หัวหน้าสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคามทำสัญญาซื้อน้ำมันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ เป็นการทำหน้าที่แทนจำเลยตามกฎหมาย จำเลยซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต้องรับผิดชอบในการกระทำของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคามเป็นหนี้โจทก์จำเลยจึงต้องมีหน้าที่ชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อหนี้ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกำหนดหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารส่วนจังหวัด การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามอนุมัติและมอบอำนาจให้หัวหน้าสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคามสั่งซื้อน้ำมัน และผู้ว่าราชการจังหวัดทำสัญญาซื้อน้ำมัน เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพัสดุ เป็นการทำหน้าที่แทนจำเลยตามกฎหมาย จำเลยซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต้องรับผิดชอบในการกระทำของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคามเป็นหนี้โจทก์จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการร้านไม่ใช่คู่สัญญาซื้อขาย: ไม่ต้องรับผิดในสัญญาที่จำเลยที่ 1 ผิด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการร้านจำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นเพียงผู้กระทำกิจการร้านค้าแทนจำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญาซื้อขายกับโจทก์การที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขาย จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ปัญหานี้แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ให้การต่อสู้และไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ: สัญญาทำในฐานะตัวแทนบริษัท ไม่ผูกพันส่วนตัว
สัญญาพิพาททำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1ในฐานะกรรมการผู้จัดการ จำเลยที่ 1 ลงชื่อในฐานะตัวแทนนิติบุคคลและไม่มีข้อความใดในสัญญาระบุว่าจำเลยที่ 1 กระทำในฐานะส่วนตัวสัญญาพิพาทจึงมีผลบังคับระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เท่านั้นหาผูกพันจำเลยที่ 1 ไม่ สัญญาพิพาทเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ อันเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การฟังพยานหลักฐานในกรณีเช่นนี้ต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 เมื่อสัญญาพิพาท ระบุว่าจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 2 โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่าจำเลยที่ 1 กระทำในฐานะส่วนตัว อันเป็นการนำสืบให้เห็นข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาพิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการ ตัวแทน และความรับผิดร่วมกันของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในสัญญาซื้อขาย
จำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้ ส. เป็นตัวแทนในการก่อสร้างและสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในฐานะเป็นตัวการ และจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด แม้โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการและ ส. เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1ในการซื้อสินค้าจากโจทก์ โจทก์ก็นำสืบในข้อนี้ได้ เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อเท็จจริงในรายละเอียดเนื่องจากในการติดต่อทำสัญญาซื้อขายกันอาจกระทำโดยตนเองหรือโดยมีตัวแทนไปติดต่อทำสัญญาซื้อขายแทนก็ได้ และศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของตัวแทนและหุ้นส่วนผู้จัดการในการซื้อขายไม้: ศาลฎีกาวินิจฉัยอำนาจฟ้องและขอบเขตความรับผิด
จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1มอบหมายให้จำเลยที่ 4 ซื้อไม้จากโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระราคาไม้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อไม้จากโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมาย จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 มิได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย และพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการและตัวแทนในการซื้อขาย
จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1มอบหมายให้จำเลยที่ 4 ซื้อไม้จากโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดชำระราคาไม้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1ได้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อไม้จากโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมาย จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อ-กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 มิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย และพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4177/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารและการผูกพันตามฐานตัวแทนเมื่อมีการชำระหนี้ผ่านตัวแทน
จำเลยที่ 1 ยื่นบัญชีระบุเอกสารหมาย ล.1 เป็นพยานไว้แล้วตามบัญชีระบุพยานฉบับลงวันที่ 15 สิงหาคม 2528 ส่วนที่จำเลยที่ 1ยื่นคำร้องขอระบุเอกสารหมาย ล.1 เป็นพยานเพิ่มเติมตามคำร้องและบัญชีพยานฉบับลงวันที่ 20 ธันวาคม 2528 ซึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตนั้น เป็นการยื่นบัญชีระบุพยานมาซ้ำซ้อน ทั้งตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ขอส่งต้นฉบับเอกสารหมาย ล.1 ต่อศาลเพราะจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำจำเลยที่ 2 มาสืบประกอบกับพยานเอกสารนั้นได้ กรณีเช่นนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลว่าจะรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวหรือไม่ มิใช่ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ได้ยื่นต่อศาลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงรับฟังไม่ได้ สัญญาที่โจทก์ตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนจำหน่ายรถแทรกเตอร์ให้โจทก์ มีข้อความในข้อ 9 ค. ระบุว่า "เมื่อผู้จำหน่ายได้เงินค่าเช่าซื้อจากลูกค้าแล้วจะต้องรีบส่งเงินจำนวนนั้นทั้งหมดให้แก่บริษัท พร้อมรายละเอียดโดยครบถ้วนภายใน 5 วัน นับแต่วันที่ผู้จำหน่ายได้รับจากลูกค้า" ย่อมถือได้ว่า นอกจากโจทก์จะตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จำหน่ายแล้ว ยังให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนรับเงินจากลูกค้าของโจทก์ได้ด้วย การรับเงินค่ารถแทรกเตอร์ของจำเลยที่ 2ไว้จากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการปฏิบัติการไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน โจทก์ซึ่งเป็นตัวการต้องผูกพันต่อการชำระหนี้ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจำกัดการเรียกหลักประกันจากนายประกัน และความรับผิดของตัวแทนในการประกันตัว
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 5 (2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2515 เป็นบทบัญญัติจำกัดอำนาจของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการซึ่งมีอยู่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 112 ในอันที่จะกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควรให้นายประกันชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน ในคดีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โดยให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการกำหนดจำนวนเงินที่นายประกันจะต้องชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกันเพียงไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนในคดีนี้สั่งปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดให้นายประกันใช้เงิน 600,000 บาท เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน ซึ่งเกินกว่าจำนวนเงินตามเช็คซึ่งมีเพียง 500,000 บาท เป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวนจึงใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้ คือเท่าจำนวนเงินในเช็ค มิใช่ตกเป็นโมฆะเสียทั้งหมด เพราะสัญญาประกันดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายแต่อย่างใด
ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า มอบให้จำเลยที่ 1เป็นผู้มีอำนาจจัดการประกันตัวผู้ต้องหา โดยนำโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันและให้จำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่แทนด้วย แม้จำเลยที่ 1จะเข้าทำสัญญาประกันในนามตนเอง มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 132 เดิม แสดงว่าจำเลยที่ 1มีเจตนาขอประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ได้รับมอบอำนาจมา หาได้กระทำการเป็นส่วนตัวแต่อย่างใดไม่ ประกอบกับการมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันผู้ต้องหารายนี้จะต้องมีหลักประกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญาประกันโดยมอบหลักประกันของจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะขอประกันเป็นการส่วนตัวหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกันย่อมถือได้ว่าสัญญาประกันรายนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนหาต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1จะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า มอบให้จำเลยที่ 1เป็นผู้มีอำนาจจัดการประกันตัวผู้ต้องหา โดยนำโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันและให้จำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่แทนด้วย แม้จำเลยที่ 1จะเข้าทำสัญญาประกันในนามตนเอง มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 132 เดิม แสดงว่าจำเลยที่ 1มีเจตนาขอประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ได้รับมอบอำนาจมา หาได้กระทำการเป็นส่วนตัวแต่อย่างใดไม่ ประกอบกับการมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันผู้ต้องหารายนี้จะต้องมีหลักประกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญาประกันโดยมอบหลักประกันของจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะขอประกันเป็นการส่วนตัวหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกันย่อมถือได้ว่าสัญญาประกันรายนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนหาต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1จะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดนายประกันตามกฎหมายเช็ค, เจตนาแท้จริงของตัวแทน, และขอบเขตความรับผิดของตัวแทน
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 5(2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับที่ 196 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2515 เป็นบทบัญญัติ จำกัดอำนาจของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการซึ่งมีอยู่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 ในอันที่ จะกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควรให้นายประกันชดใช้เมื่อ มีการผิดสัญญาประกัน ในคดีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โดยให้พนักงานสอบสวนหรือ พนักงานอัยการกำหนดจำนวนเงินที่นายประกันจะต้องชดใช้เมื่อมี การผิดสัญญาประกันเพียงไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค ดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนในคดีนี้สั่งปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดให้นายประกันใช้เงิน 600,000 บาท เมื่อมีการผิดสัญญาประกันซึ่งเกินกว่าจำนวนเงินตามเช็คซึ่งมีเพียง 500,000 บาท เป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวนจึงใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้ คือเท่าจำนวนเงินในเช็ค มิใช่ตกเป็นโมฆะเสียทั้งหมด เพราะสัญญาประกันดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายแต่อย่างใด ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า มอบให้จำเลยที่ 1เป็นผู้มีอำนาจจัดการประกันตัวผู้ต้องหา โดยนำโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันและให้จำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำต่าง ๆแก่เจ้าหน้าที่แทนด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะเข้าทำสัญญาประกันในนามตนเอง มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 132 เดิม แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาขอประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 2ตามที่ได้รับมอบอำนาจมา หาได้กระทำการเป็นส่วนตัวแต่อย่างใดไม่ ประกอบกับการมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันผู้ต้องหารายนี้จะต้องมีหลักประกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญาประกันโดยมอบหลักประกันของจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะขอประกันเป็นการส่วนตัวหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกันย่อมถือได้ว่าสัญญาประกันรายนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้น จำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนหาต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)