คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 820

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความเจตนาที่แท้จริงในการทำสัญญาประกันภัยแทนกัน ตัวการ-ตัวแทน
จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 นำโฉนดที่ดินไปประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์โดยทำหนังสือมอบอำนาจระบุข้อความว่า ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจจัดการประกันตัวผู้ต้องหา นำหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินพร้อมทั้งให้ถ้อยคำต่าง ๆแก่เจ้าหน้าที่ แม้จำเลยที่ 1 จะเข้าทำสัญญาในนามตนเอง มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 132 แสดงว่าจำเลยที่ 1มีเจตนาขอประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ได้รับมอบอำนาจมาหาได้กระทำการเป็นส่วนตัว ประกอบกับการมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันผู้ต้องหารายนี้จะต้องมีหลักประกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญาประกันโดยมอบหลักประกันของจำเลยที่ 2ให้โจทก์ยึดถือไว้ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะขอประกันเป็นการส่วนตัวหาได้ไม่เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกัน จึงถือได้ว่าสัญญาประกันรายนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำแทนจำเลยที่ 2เท่านั้น จำเลยที่ 2 ต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นตัวการส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนหาต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันตัว: เจตนาแท้จริงสำคัญกว่ารูปแบบสัญญา การกระทำแทนตัวการ
จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 นำโฉนดที่ดินไปประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์โดยทำหนังสือมอบอำนาจระบุข้อความว่า ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจจัดการประกันตัวผู้ต้องหานำหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินพร้อมทั้งให้ถ้อยคำต่าง ๆแก่เจ้าหน้าที่ แม้จำเลยที่ 1 จะเข้าทำสัญญาในนามตนเอง มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 132 แสดงว่าจำเลยที่ 1มีเจตนาขอประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ได้รับมอบอำนาจมาหาได้กระทำการเป็นส่วนตัว ประกอบกับการมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันผู้ต้องหารายนี้จะต้องมีหลักประกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญาประกันโดยมอบหลักประกันของจำเลยที่ 2ให้โจทก์ยึดถือไว้ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะขอประกันเป็นการส่วนตัวหาได้ไม่เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกัน จึงถือได้ว่าสัญญาประกันรายนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำแทนจำเลยที่ 2เท่านั้น จำเลยที่ 2 ต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นตัวการส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนหาต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2ด้วยไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแท้จริงในการทำสัญญาประกันภัยผ่านตัวแทน: ตัวการต้องผูกพันตามสัญญา
จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 นำโฉนดที่ดินไปประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์โดยทำหนังสือมอบอำนาจระบุข้อความว่า ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจจัดการประกันตัวผู้ต้องหา นำหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินพร้อมทั้งให้ถ้อยคำต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่ แม้จำเลยที่ 1 จะเข้าทำสัญญาในนามตนเอง มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 132 แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาขอประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ได้รับมอบอำนาจมาหาได้กระทำการเป็นส่วนตัวประกอบกับการมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันผู้ต้องหารายนี้จะต้องมีหลักประกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญาประกันโดยมอบหลักประกันของจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือไว้ซึ่งจำเลยที่ 1 จะขอประกันเป็นการส่วนตัวหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 1ไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกัน จึงถือได้ว่าสัญญาประกันรายนี้จำเลยที่ 1เป็นผู้กระทำแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 2 ต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นตัวการ ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนหาต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจประกันตัวและความรับผิดในสัญญาประกัน โดยเจตนาที่แท้จริงสำคัญกว่าถ้อยคำ
จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 นำโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 3ไปประกันตัวผู้ต้องหากับโจทก์ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหาในนามของจำเลยที่ 1 พร้อมกับแนบโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2เป็นหลักประกัน ดังนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 132 ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวการ จำเลยที่ 1เป็นตัวแทนหาต้องรับผิดด้วยไม่ ค่าปรับฐานผิดสัญญาประกันนั้นศาลมีอำนาจลดลงได้ตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4089/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิค่าทดแทนทรัพย์สิน (บ่อ, ต้นไม้) และการพิจารณาประเภททรัพย์สิน (ไม้ยืนต้น)
สับปะรดเป็นพืชถาวรจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยว ที่มีอายุหลายปี ลำต้นสับปะรดไม่มีเนื้อไม้ให้เห็นเด่นชัด สับปะรดจึงไม่ใช่ไม้ยืนต้น
นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของจำเลยที่ 1 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชาและตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2521 คณะกรรมการเวนคืนดังกล่าวย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนค่าทดแทนตามมาตรา 18, 22, 25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะพิพาท เมื่อคณะกรรมการเวนคืนได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการเวนคืนแต่งตั้งย่อมเป็นตัวแทนของคณะกรรมการเวนคืนดังนั้นการกระทำของคณะอนุกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อตกลงที่คณะอนุกรรมการได้กระทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำแทนคณะกรรมการเวนคืนและเมื่อคณะกรรมการเวนคืนก็ได้เห็นชอบตามข้อตกลงดังกล่าว จึงย่อมมีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4089/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การประเมินค่าชดเชยทรัพย์สิน (บ่อกุ้ง, บ่อปลา, ต้นไม้) และการพิจารณาประเภททรัพย์สิน (ไม้ยืนต้น)
สับปะรด เป็นพืชถาวรจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยว ที่มีอายุหลายปี ลำต้นสับปะรด ไม่มีเนื้อไม้ให้เห็นเด่นชัด สับปะรด จึงไม่ใช่ไม้ยืนต้น นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของจำเลยที่ 1ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชาและตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุงจังหวัด ชลบุรี พ.ศ. 2521 คณะกรรมการเวนคืนดังกล่าวย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนค่าทดแทนตามมาตรา 18222526แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะพิพาท เมื่อคณะกรรมการเวนคืนได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการเวนคืนแต่งตั้งย่อมเป็นตัวแทนของคณะกรรมการเวนคืนดังนั้นการกระทำของคณะอนุกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อตกลงที่คณะอนุกรรมการได้กระทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำแทนคณะกรรมการเวนคืนและเมื่อคณะกรรมการเวนคืนก็ได้เห็นชอบตามข้อตกลงดังกล่าว จึงย่อมมีผลใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าโทรศัพท์ต่อค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ แม้มีการโอนสิทธิการเช่า
แบบคำขอบริการโทรศัพท์ที่จำเลยยื่นต่อ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เพื่อขอติดตั้งเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านของจำเลยในนามจำเลย ได้ระบุเงื่อนไขที่ผู้เช่าโทรศัพท์จะพึงปฏิบัติไว้ในข้อ 1 ว่า ผู้เช่าโทรศัพท์จะรับผิดชอบในการที่จะชำระค่าเช่าและค่าใช้บริการโทรศัพท์ทุกประเภทต่อ องค์การโทรศัพท์ฯตามระเบียบและข้อบังคับของ องค์การโทรศัพท์ฯ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและที่จะประกาศใช้ต่อไปในอนาคต ข้อ 11 ว่า ค่าเช่าและค่าใช้บริการโทรศัพท์ที่ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบนั้น ให้รวมถึงค่าใช้บริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลนอกเขตโทรศัพท์นครหลวง และค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศซึ่ง องค์การโทรศัพท์ฯ จะได้เรียกเก็บตามอัตราการใช้โทรศัพท์ทางไกลทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และจะได้ออกบิลเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ดังกล่าวพร้อมกับค่าเช่าโทรศัพท์ประจำเดือน จำเลยผู้เช่าโทรศัพท์จึงต้องรับผิดชำระค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศที่มีผู้พูด จาก เครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเป็นผู้เช่าตามเงื่อนไขดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจำเลยจะเป็นผู้พูดเองหรือไม่ก็ตาม แม้ระเบียบปฏิบัติงานของ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จะได้กำหนดในเรื่องการโอนโทรศัพท์ว่า ผู้ขอรับโอนต้องชำระหนี้สินให้เสร็จสิ้นก่อนการโอน หากมีหนี้สินผูกพัน ผู้ขอรับโอนจะต้องรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยก็ตาม เมื่อจำเลยได้โอนขายโทรศัพท์ที่ขอติดตั้งในนามจำเลยให้แก่ ท. ผู้ขอรับโอนเป็นการภายในโดยโจทก์หรือ องค์การโทรศัพท์ฯ ไม่ทราบหรือได้รู้เห็นยินยอมในการโอนและไม่ได้ความว่าขณะโอน ท. ได้ยอมรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันโทรศัพท์หมายเลขดังกล่าวด้วย จำเลยจึงยังต้องรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันกับโทรศัพท์หมายเลขนั้นที่เกิดขึ้นก่อนมีการโอนอยู่หนี้สินนั้นหาได้โอนไปยัง ท. ด้วยไม่ ข้อบังคับเกี่ยวกับการเก็บเงินค่าใช้บริการของโจทก์ที่กำหนดว่าโจทก์จะส่งใบแจ้งหนี้การใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้ผู้ใช้บริการทราบเดือนละ 1 ครั้ง โดยทางไปรษณีย์ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องนำใบแจ้งหนี้ไปชำระค่าบริการให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ระบุในใบแจ้งหนี้ ไม่ใช่หมายความว่า โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้ไปให้ องค์การโทรศัพท์ฯ ช่วยเรียกเก็บเงินค่าพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากผู้ใช้บริการ โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้และหนังสือเตือนไปยังจำเลยที่บ้านตั้งแต่เดือนมกราคม 2526 โดยกำหนดให้ชำระค่าบริการภายในวันที่ 18 มีนาคม 2526 หากไม่ชำระภายในกำหนดจะระงับการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศไว้จนกว่าจะได้นำเงินมาชำระให้ครบถ้วน เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถตรวจสอบทราบตั้งแต่เดือนเมษายน2526 แล้วว่า ผู้ใช้บริการไม่ชำระหนี้ การที่โจทก์ได้ปล่อยให้มีการใช้บริการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศจนถึงเดือนกรกฎาคม 2526ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดในความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่ตน จำเลยจึงควรต้องรับผิดชำระหนี้ค่าใช้บริการดังกล่าวแก่โจทก์เฉพาะในเดือนมกราคม ถึงเมษายน 2526 เท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าโทรศัพท์ต่อค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ แม้จะโอนสิทธิการเช่าไปแล้ว และความประมาทเลินเล่อของโจทก์
แบบคำขอบริการโทรศัพท์ที่จำเลยยื่นต่อ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เพื่อขอติดตั้งเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านของจำเลยในนามจำเลย ได้ระบุเงื่อนไขที่ผู้เช่าโทรศัพท์จะพึงปฏิบัติไว้ในข้อ 1 ว่า ผู้เช่าโทรศัพท์จะรับผิดชอบในการที่จะชำระค่าเช่าและค่าใช้บริการโทรศัพท์ทุกประเภทต่อ องค์การโทรศัพท์ฯตามระเบียบและข้อบังคับของ องค์การโทรศัพท์ฯ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและที่จะประกาศใช้ต่อไปในอนาคต ข้อ 11 ว่า ค่าเช่าและค่าใช้บริการโทรศัพท์ที่ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบนั้น ให้รวมถึงค่าใช้บริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลนอกเขตโทรศัพท์นครหลวง และค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศซึ่ง องค์การโทรศัพท์ฯ จะได้เรียกเก็บตามอัตราการใช้โทรศัพท์ทางไกลทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และจะได้ออกบิลเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ดังกล่าวพร้อมกับค่าเช่าโทรศัพท์ประจำเดือน จำเลยผู้เช่าโทรศัพท์จึงต้องรับผิดชำระค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศที่มีผู้พูด จาก เครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเป็นผู้เช่าตามเงื่อนไขดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจำเลยจะเป็นผู้พูดเองหรือไม่ก็ตาม
แม้ระเบียบปฏิบัติงานของ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จะได้กำหนดในเรื่องการโอนโทรศัพท์ว่า ผู้ขอรับโอนต้องชำระหนี้สินให้เสร็จสิ้นก่อนการโอน หากมีหนี้สินผูกพัน ผู้ขอรับโอนจะต้องรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยก็ตาม เมื่อจำเลยได้โอนขายโทรศัพท์ที่ขอติดตั้งในนามจำเลยให้แก่ ท. ผู้ขอรับโอนเป็นการภายในโดยโจทก์หรือ องค์การโทรศัพท์ฯ ไม่ทราบหรือได้รู้เห็นยินยอมในการโอนและไม่ได้ความว่าขณะโอน ท. ได้ยอมรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันโทรศัพท์หมายเลขดังกล่าวด้วย จำเลยจึงยังต้องรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันกับโทรศัพท์หมายเลขนั้นที่เกิดขึ้นก่อนมีการโอนอยู่หนี้สินนั้นหาได้โอนไปยัง ท. ด้วยไม่
ข้อบังคับเกี่ยวกับการเก็บเงินค่าใช้บริการของโจทก์ที่กำหนดว่าโจทก์จะส่งใบแจ้งหนี้การใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้ผู้ใช้บริการทราบเดือนละ 1 ครั้ง โดยทางไปรษณีย์ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องนำใบแจ้งหนี้ไปชำระค่าบริการให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ระบุในใบแจ้งหนี้ ไม่ใช่หมายความว่า โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้ไปให้ องค์การโทรศัพท์ฯ ช่วยเรียกเก็บเงินค่าพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากผู้ใช้บริการ โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้และหนังสือเตือนไปยังจำเลยที่บ้านตั้งแต่เดือนมกราคม 2526 โดยกำหนดให้ชำระค่าบริการภายในวันที่ 18 มีนาคม 2526 หากไม่ชำระภายในกำหนดจะระงับการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศไว้จนกว่าจะได้นำเงินมาชำระให้ครบถ้วน เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถตรวจสอบทราบตั้งแต่เดือนเมษายน2526 แล้วว่า ผู้ใช้บริการไม่ชำระหนี้ การที่โจทก์ได้ปล่อยให้มีการใช้บริการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศจนถึงเดือนกรกฎาคม 2526ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดในความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่ตน จำเลยจึงควรต้องรับผิดชำระหนี้ค่าใช้บริการดังกล่าวแก่โจทก์เฉพาะในเดือนมกราคม ถึงเมษายน 2526 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่รับผิดต่อความเสียหายจากการที่ตัวแทนเชิดรับฝากเงินจากลูกค้า แต่พิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการรับฝากจริง
โจทก์เป็นลูกค้าของธนาคารจำเลยที่ 3 สาขาลาดพร้าวได้ติดต่อรับซื้อลดเช็คจาก พ.พนักงานฝ่ายสินเชื่อของจำเลยที่ 3ซึ่งเช็คดังกล่าว พ.อ้างว่าเป็นของลูกค้าจำเลยที่ 3 โดยโจทก์กับ พ.แบ่งผลประโยชน์ในส่วนลดกันเมื่อเช็คถึงกำหนดพ.จะนำไปเก็บเงินจากลูกค้าแล้วนำเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์เท่ากับ พ.เป็นผู้ไปรับฝากเงินจากโจทก์โดยที่โจทก์ไม่ต้องนำเงินเข้าบัญชีด้วยตนเอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและผู้จัดการของจำเลยที่ 3 สาขาลาดพร้าวก็ทราบเรื่องที่ พ.นำเงินเข้าบัญชีโจทก์ ถือว่าจำเลยทั้งสามเชิดให้ พ. เป็นตัวแทนออกไปรับฝากเงินจากลูกค้านอกสถานที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 หาก พ. ได้รับเงินจากลูกค้าผู้สั่งจ่ายเช็คเพื่อนำมาเข้าบัญชีโจทก์แล้ว ถึงแม้ พ. จะทุจริตมิได้นำเข้าบัญชีจำเลยที่ 3 ก็จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม มาตรา 820,821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของธนาคารต่อการกระทำของตัวแทนเชิดในการรับฝากเงิน และผลของการนำเช็คที่ไม่มีผู้สั่งจ่ายที่แท้จริงไปขึ้นเงิน
โจทก์เป็นลูกค้าของธนาคาร จำเลยที่ 3 สาขาลาดพร้าวได้ติดต่อรับซื้อลดเช็คจาก พ. พนักงานฝ่ายสินเชื่อของจำเลยที่ 3 ซึ่งเช็คดังกล่าว พ. อ้างว่าเป็นของลูกค้าจำเลยที่ 3 โดยโจทก์กับ พ. แบ่งผลประโยชน์ในส่วนลดกัน เมื่อเช็คถึงกำหนด พ. จะนำไปเก็บเงินจากลูกค้าแล้วนำเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ ดังนี้ เท่ากับ พ. เป็นผู้ไปรับฝากเงินจากโจทก์โดยที่โจทก์ไม่ต้องนำเงินเข้าบัญชีด้วยตนเองจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและผู้จัดการของจำเลยที่ 3 สาขาลาดพร้าว ก็ทราบเรื่องที่ พ. นำเงินเข้าบัญชีโจทก์ดังกล่าว ถือว่าจำเลยทั้งสามเชิดให้ พ. เป็นตัวแทนออกไปรับฝากเงินจากลูกค้านอกสถานที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 821 หาก พ. ได้รับเงินจากลูกค้าผู้สั่งจ่ายเช็คเพื่อนำมาเข้าบัญชีโจทก์แล้ว ถึงแม้ พ. จะทุจริตมิได้นำเข้าบัญชี จำเลยที่ 3 ก็จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา820,821.
of 119