พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,184 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9365/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการรับผิดในความเสียหายจากการเพิกถอนการขายทอดตลาด: จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทนายความปลอมรายงานกระบวนพิจารณาของศาลฉบับลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2545 ขึ้นทั้งฉบับโดยมีใจความสำคัญว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) โจทก์ในคดีดังกล่าว แล้วจำเลยที่ 2 ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 4 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 นำเอกสารปลอมไปยื่นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี จากนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินโดยมีโจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อโจทก์ได้ชำระราคาที่ดิน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นเพิกถอนการขายทอดตลาด จากข้อเท็จจริงดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แม้จำเลยที่ 1 จะกระทำละเมิดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำโดยไม่สุจริต หรือจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เมื่อ พ. หัวหน้าส่วนงานหลังคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเบิกความว่า ไม่สามารถทราบได้ว่ารายงานกระบวนพิจารณา ฉบับลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2545 ปลอมหรือไม่ จึงเห็นได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้ใช้ความระมัดระวังแล้วมิได้ประมาทเลินเล่อโจทก์จะถือเอาคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 4 และกระทำการที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 4 โดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้วสรุปว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 หาได้ไม่
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 5 (กรมบังคับคดี) และหากไม่มีการเพิกถอนการขายทอดตลาดในครั้งนี้โจทก์สามารถเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวได้ แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการปฏิบัติหน้าที่และการตัดสินใจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดครั้งนี้แล้ว โจทก์จึงต้องรับผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่และการตัดสินใจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่เกิดขึ้นในภายหลังด้วยเช่นกัน กรณียังฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์เสียหายและจะถือว่าจำเลยที่ 5 (กรมบังคับคดี) กระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 หาได้ไม่
เมื่อ พ. หัวหน้าส่วนงานหลังคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเบิกความว่า ไม่สามารถทราบได้ว่ารายงานกระบวนพิจารณา ฉบับลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2545 ปลอมหรือไม่ จึงเห็นได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้ใช้ความระมัดระวังแล้วมิได้ประมาทเลินเล่อโจทก์จะถือเอาคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 4 และกระทำการที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 4 โดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้วสรุปว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 หาได้ไม่
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 5 (กรมบังคับคดี) และหากไม่มีการเพิกถอนการขายทอดตลาดในครั้งนี้โจทก์สามารถเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวได้ แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการปฏิบัติหน้าที่และการตัดสินใจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดครั้งนี้แล้ว โจทก์จึงต้องรับผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่และการตัดสินใจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่เกิดขึ้นในภายหลังด้วยเช่นกัน กรณียังฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์เสียหายและจะถือว่าจำเลยที่ 5 (กรมบังคับคดี) กระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7200/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ประกอบการขนส่งต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และขอบเขตความรับผิดตามสัญญาประกันภัย
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถบรรทุกหมายเลขทะเบียน 85 - 3491 นครปฐม และจำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของรถบรรทุกกึ่งพ่วงหมายเลขทะเบียน 82 - 7411 นครปฐม โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบการขนส่งรถบรรทุกคันดังกล่าว แม้จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อรถบรรทุกดังกล่าวไปก็เป็นเรื่องกรรมสิทธิ์ของรถเท่านั้น จำเลยที่ 3 และที่ 4 หาได้บอกเลิกการประกอบการขนส่งที่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 และที่ 4 แก่ทางราชการไม่ กลับยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถบรรทุกคันเกิดเหตุดังกล่าวไปใช้ประกอบการขนส่งโดยให้จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็นคนขับในวันเกิดเหตุ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 กับจำเลยที่ 2 ร่วมกันประกอบการขนส่ง ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุไปกระทำละเมิดอันต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ทั้งสองภายในขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทนเช่นนี้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 กระทำไปนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427, 820
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนที่เกินเลยจากคำฟ้อง และความชอบด้วยกฎหมายในการพิพากษาของศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องโดยมีสาระสำคัญว่า จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างโจทก์ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารตึกแถวโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแทน แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างและควบคุมดูแลการปรับปรุงซ่อมแซมและเป็นผู้ออกแบบ เลือกวัสดุ เปลี่ยนแปลงแก้ไขด้วยจำเลยที่ 1 เอง นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดในฐานะตัวการตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแล้ว ยังฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ต้องรับผิดในฐานะตัวแทนด้วย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 ตัวการมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนซึ่งมีความหมายว่าหากจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ฟ้องด้วย จำเลยที่ 2 ให้การและนำสืบว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง แต่โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดฐานะตัวการ คงฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างในฐานะตัวการ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง การที่ศาลพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18406-18412/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างครูเอกชน ค่าชดเชย, ค่าตอบแทน, ค่าที่พัก และข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
การคุ้มครองแรงงานเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครูสำหรับนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนนั้น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 4 และมาตรา 6 ประกอบกฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 กำหนดไว้ว่ามิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู ดังนั้นการคุ้มครองแรงงานของครูของนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนจึงอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ซึ่งขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้คือ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ตามบทกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนดังกล่าวได้กำหนดการคุ้มครองแรงงานในส่วนที่เกี่ยวกับครูไว้ในมาตรา 86 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า กิจการของโรงเรียนในระบบเฉพาะในส่วนของผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและวรรคสองบัญญัติว่า การคุ้มครองการทำงาน การจัดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานและประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำของผู้อำนวยการครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในระบบ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดและขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้ คณะกรรมการดังกล่าวซึ่งหมายถึงคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนยังมิได้ ออกระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 จึงกำหนดรับรองไว้ในบทเฉพาะกาล มาตรา 166 ว่า ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้ให้นำกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศที่ออกตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 มาใช้บังคับโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ. นี้ ระเบียบดังกล่าวที่ว่าคือ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 จำเลยที่ 1 เป็นโรงเรียนนานาชาติตามความหมายของโรงเรียนนานาชาติที่ถือเป็นโรงเรียนในระบบประเภทหนึ่งตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง กำหนดประเภทและระดับของโรงเรียนในระบบที่ออกตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 17 และถือเป็นโรงเรียนในระบบตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 4 ดังนั้น กิจการในโรงเรียนของจำเลยที่ 1 และการคุ้มครองการทำงานของโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นครูจึงอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 มาตรา 166 ประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 การคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับค่าชดเชยจึงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 หมวด 4 การเลิกสัญญาการเป็นครูและค่าชดเชย เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง เมื่อระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 กำหนดให้การคุ้มครองการทำงานเกี่ยวกับค่าชดเชยตามข้อ 35 (2) ว่า ลูกจ้างที่เป็นครูชาวต่างประเทศที่ออกเพราะเหตุที่ครบกำหนดตามสัญญาจ้างจะไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ซึ่งแตกต่างกับการคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับค่าชดเชยสำหรับลูกจ้างทั่วไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แสดงว่าระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ให้ประโยชน์ตอบแทนน้อยกว่า พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อันเป็นการไม่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง ระเบียบดังกล่าวเกี่ยวกับค่าชดเชยในส่วนนี้จึงใช้บังคับไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงานเป็นครูสอนหนังสือ โดยทำสัญญาจ้างเป็นรายปีการศึกษาและโจทก์ทั้งเจ็ดออกจากการเป็นครูเพราะเหตุครบกำหนดตามสัญญาจ้างเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 ถือเป็นการถูกจำเลยทั้งสองเลิกสัญญาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งเจ็ดกระทำผิดใดอันจะเข้าข้อยกเว้นที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในเหตุข้ออื่นตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ข้อ 35 โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ 32 และข้อ 33 จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับใบอนุญาตและเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 24 เนื่องจาก พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเอกชนในระบบมีฐานะเป็นผู้แทนของโรงเรียนและการดำเนินกิจการของโรงเรียนให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการให้มีคณะกรรมการบริหารเพื่อบริหารกิจการโรงเรียนโดยที่ไม่ได้กำหนดเรื่องความรับผิดของผู้รับใบอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะต่างหาก ดังนั้นจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ในขอบอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เมื่อค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคสองและมาตรา 166 ประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ข้อ 4 ได้กำหนดความในคำนิยามว่า เป็นเงินที่จ่ายให้ครูเมื่อเลิกสัญญาการเป็นครู ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายให้โจทก์ทั้งเจ็ดนับแต่วันเลิกสัญญาโจทก์ทั้งเจ็ดคือ นับแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2552 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายนับแต่วันดังกล่าวถือว่าผิดนัด จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในต้นเงินค่าชดเชยของโจทก์แต่ละคนในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคสอง และมาตรา 166 ประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ข้อ 13 วรรคหนึ่ง นับแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ส่วนที่โจทก์ทั้งเจ็ดขอเงินเพิ่มนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายค่าชดเชยอ้างเหตุตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ข้อ 8 วรรคหนึ่ง และข้อ 35 (2) ไม่ถือว่าจงใจไม่จ่ายค่าชดเชยโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่ม
เมื่อกิจการในโรงเรียนของจำเลยที่ 1 และการคุ้มครองการทำงานของโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นครูของจำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการที่เป็นนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน อยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 มาตรา 166 ประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 หมวด 2 เวลาทำการของครู ซึ่งแยกต่างหากจากการคุ้มครองแรงงานของนายจ้างซึ่งประกอบกิจการทั่วไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า "วันหยุด" ในข้อ 4 ว่า หมายความว่า วันที่กำหนดให้ครูหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันปิดภาคเรียน วันที่โรงเรียนสั่งให้หยุดหรือวันที่กำหนดให้หยุด และได้กำหนด ให้ความคุ้มครองไว้ในข้อ 15 ว่า ในปีการศึกษาหนึ่ง ครูมีวันหยุดทำงานดังนี้ (1) วันหยุดประจำสัปดาห์ตามที่ได้รับอนุญาต (2) วันหยุดภาคเรียน (3) วันหยุดตามประเพณี (4) วันหยุดตามประกาศหรือคำสั่งของทางราชการ และ (5) วันที่โรงเรียนสั่งให้หยุด ซึ่งการคุ้มครองเกี่ยวกับวันหยุดของลูกจ้างที่เป็นครูสำหรับนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนจะมีสิทธิใดอันจะได้รับการคุ้มครองจึงต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 หมวด 2 เวลาทำการของครูเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าการคุ้มครองเกี่ยวกับวันหยุดตามระเบียบดังกล่าวมิได้กำหนด ให้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ครู ดังนั้นโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีหรือได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเช่นแรงงานทั่วไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่โจทก์ทั้งเจ็ดอ้างว่าเป็นการได้รับประโยชน์ตอบแทนเกี่ยวกับการหยุดที่น้อยกว่ากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้นั้น หากเปรียบเทียบถึงการคุ้มครองเกี่ยวกับสิทธิในวันหยุดของโจทก์ทั้งเจ็ดกับการคุ้มครองแรงงานทั่วไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แล้ว ต่างก็มีสิทธิหยุดประจำสัปดาห์และหยุดตามประเพณีเช่นกัน ส่วนที่แตกต่างในสิทธิคือการที่แรงงานทั่วไปได้รับสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี แม้โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิดังกล่าวซึ่งเป็นไปตามการคุ้มครองแรงงานสำหรับนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนก็ตาม แต่ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ก็กำหนด ให้ครูมีสิทธิหยุดในวันปิดภาคเรียน ซึ่งแรงงานทั่วไปไม่มีสิทธิดังกล่าว รวมทั้งให้สิทธิหยุดในวันที่โรงเรียนสั่งให้หยุดหรือในวันที่ราชการกำหนดให้หยุดอีกด้วย ดังที่ปรากฏว่าปีการศึกษา 2551 ถึง 2552 กิจการในโรงเรียนของจำเลยที่ 1 กำหนดให้โจทก์ทั้งเจ็ดทำงานในวันเปิดภาคเรียนหรือเรียกว่า Student Days จำนวนไม่เกิน 188 วัน และมีสิทธิหยุดในวันปิดภาคเรียนด้วย จึงมิได้เป็นการได้รับประโยชน์ตอบแทนเกี่ยวกับการหยุดที่น้อยกว่ากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้แต่อย่างใด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยทั้งสองระหว่างปีการศึกษา 2550 ถึง 2551 และปีการศึกษา 2551 ถึง 2552 เรื่องการเติบโตในอาชีพ กำหนดทำนองว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนการเติบโตทางอาชีพ ปีละ 20,000 บาท และสะสมต่อได้ถึง 80,000 บาท ค่าตอบแทนสะสมจากปีก่อนจะต้องใช้ก่อนเริ่มต้นปีสุดท้ายของสัญญาและค่าตอบแทนปีสุดท้ายจะต้องใช้ภายในภาคการศึกษาแรกของปีสุดท้ายที่สัญญาจ้างสิ้นสุด เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดตกลงยินยอมลงชื่อต่ออายุสัญญาจ้างครั้งสุดท้ายระหว่างปลายเดือนพฤษภาคม 2551 ถึงต้นเดือนมิถุนายน 2552 โดยให้ใช้เงื่อนไขตามสัญญาจ้างข้างต้น โจทก์ทั้งเจ็ดชอบที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงการเบิกค่าตอบแทนพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพตามสัญญาจ้าง ทั้งไม่มีเหตุแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ทำข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวเอาเปรียบโจทก์ทั้งเจ็ดเกินสมควรแต่อย่างใด ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะทำให้จำเลยทั้งสองได้เปรียบโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นลูกจ้างเกินสมควรถึงขนาดเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 5 ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้ใช้สิทธิภายในกำหนดเวลาตามข้อตกลงในสัญญาจ้างดังกล่าว จึงย่อมสิ้นสิทธิและไม่มีสิทธิมาเรียกร้องเอาในค่าตอบแทนพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพแล้ว
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 รับทราบข้อตกลงตามสัญญาจ้างที่ทำกับจำเลยทั้งสองแต่แรกว่า จำเลยทั้งสองจะจ่ายค่าที่พักให้ถึงเดือนมิถุนายนของปีที่ยกเลิกสัญญาจ้างหรือถึงวันที่สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วแต่ว่าอย่างไหนเกิดก่อน ซึ่งโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ยินยอมต่ออายุสัญญาจ้างกับจำเลยทั้งสองเรื่อยมาและไม่เคยโต้แย้งคัดค้านข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวมาก่อน ทั้งไม่มีเหตุแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ทำข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวเอาเปรียบโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 เกินสมควรแต่อย่างใด ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะทำให้จำเลยทั้งสองได้เปรียบโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างเกินสมควรถึงขนาดเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 5 ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับ เมื่อตามข้อตกลงในสัญญาจ้างดังกล่าวมีข้อตกลงให้สิทธิโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ได้รับค่าที่พักถึงเดือนมิถุนายนของปี 2552 ซึ่งเป็นปีที่ยกเลิกสัญญาจ้าง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงไม่มีสิทธิได้รับและเรียกร้องเอาค่าที่พักเดือนกรกฎาคม 2552
เมื่อกิจการในโรงเรียนของจำเลยที่ 1 และการคุ้มครองการทำงานของโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นครูของจำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการที่เป็นนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน อยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 มาตรา 166 ประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 หมวด 2 เวลาทำการของครู ซึ่งแยกต่างหากจากการคุ้มครองแรงงานของนายจ้างซึ่งประกอบกิจการทั่วไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า "วันหยุด" ในข้อ 4 ว่า หมายความว่า วันที่กำหนดให้ครูหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันปิดภาคเรียน วันที่โรงเรียนสั่งให้หยุดหรือวันที่กำหนดให้หยุด และได้กำหนด ให้ความคุ้มครองไว้ในข้อ 15 ว่า ในปีการศึกษาหนึ่ง ครูมีวันหยุดทำงานดังนี้ (1) วันหยุดประจำสัปดาห์ตามที่ได้รับอนุญาต (2) วันหยุดภาคเรียน (3) วันหยุดตามประเพณี (4) วันหยุดตามประกาศหรือคำสั่งของทางราชการ และ (5) วันที่โรงเรียนสั่งให้หยุด ซึ่งการคุ้มครองเกี่ยวกับวันหยุดของลูกจ้างที่เป็นครูสำหรับนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนจะมีสิทธิใดอันจะได้รับการคุ้มครองจึงต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 หมวด 2 เวลาทำการของครูเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าการคุ้มครองเกี่ยวกับวันหยุดตามระเบียบดังกล่าวมิได้กำหนด ให้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ครู ดังนั้นโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีหรือได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเช่นแรงงานทั่วไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่โจทก์ทั้งเจ็ดอ้างว่าเป็นการได้รับประโยชน์ตอบแทนเกี่ยวกับการหยุดที่น้อยกว่ากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้นั้น หากเปรียบเทียบถึงการคุ้มครองเกี่ยวกับสิทธิในวันหยุดของโจทก์ทั้งเจ็ดกับการคุ้มครองแรงงานทั่วไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แล้ว ต่างก็มีสิทธิหยุดประจำสัปดาห์และหยุดตามประเพณีเช่นกัน ส่วนที่แตกต่างในสิทธิคือการที่แรงงานทั่วไปได้รับสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี แม้โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิดังกล่าวซึ่งเป็นไปตามการคุ้มครองแรงงานสำหรับนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนก็ตาม แต่ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ก็กำหนด ให้ครูมีสิทธิหยุดในวันปิดภาคเรียน ซึ่งแรงงานทั่วไปไม่มีสิทธิดังกล่าว รวมทั้งให้สิทธิหยุดในวันที่โรงเรียนสั่งให้หยุดหรือในวันที่ราชการกำหนดให้หยุดอีกด้วย ดังที่ปรากฏว่าปีการศึกษา 2551 ถึง 2552 กิจการในโรงเรียนของจำเลยที่ 1 กำหนดให้โจทก์ทั้งเจ็ดทำงานในวันเปิดภาคเรียนหรือเรียกว่า Student Days จำนวนไม่เกิน 188 วัน และมีสิทธิหยุดในวันปิดภาคเรียนด้วย จึงมิได้เป็นการได้รับประโยชน์ตอบแทนเกี่ยวกับการหยุดที่น้อยกว่ากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้แต่อย่างใด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยทั้งสองระหว่างปีการศึกษา 2550 ถึง 2551 และปีการศึกษา 2551 ถึง 2552 เรื่องการเติบโตในอาชีพ กำหนดทำนองว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนการเติบโตทางอาชีพ ปีละ 20,000 บาท และสะสมต่อได้ถึง 80,000 บาท ค่าตอบแทนสะสมจากปีก่อนจะต้องใช้ก่อนเริ่มต้นปีสุดท้ายของสัญญาและค่าตอบแทนปีสุดท้ายจะต้องใช้ภายในภาคการศึกษาแรกของปีสุดท้ายที่สัญญาจ้างสิ้นสุด เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดตกลงยินยอมลงชื่อต่ออายุสัญญาจ้างครั้งสุดท้ายระหว่างปลายเดือนพฤษภาคม 2551 ถึงต้นเดือนมิถุนายน 2552 โดยให้ใช้เงื่อนไขตามสัญญาจ้างข้างต้น โจทก์ทั้งเจ็ดชอบที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงการเบิกค่าตอบแทนพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพตามสัญญาจ้าง ทั้งไม่มีเหตุแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ทำข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวเอาเปรียบโจทก์ทั้งเจ็ดเกินสมควรแต่อย่างใด ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะทำให้จำเลยทั้งสองได้เปรียบโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นลูกจ้างเกินสมควรถึงขนาดเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 5 ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้ใช้สิทธิภายในกำหนดเวลาตามข้อตกลงในสัญญาจ้างดังกล่าว จึงย่อมสิ้นสิทธิและไม่มีสิทธิมาเรียกร้องเอาในค่าตอบแทนพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพแล้ว
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 รับทราบข้อตกลงตามสัญญาจ้างที่ทำกับจำเลยทั้งสองแต่แรกว่า จำเลยทั้งสองจะจ่ายค่าที่พักให้ถึงเดือนมิถุนายนของปีที่ยกเลิกสัญญาจ้างหรือถึงวันที่สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วแต่ว่าอย่างไหนเกิดก่อน ซึ่งโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ยินยอมต่ออายุสัญญาจ้างกับจำเลยทั้งสองเรื่อยมาและไม่เคยโต้แย้งคัดค้านข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวมาก่อน ทั้งไม่มีเหตุแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ทำข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวเอาเปรียบโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 เกินสมควรแต่อย่างใด ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะทำให้จำเลยทั้งสองได้เปรียบโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างเกินสมควรถึงขนาดเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 5 ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับ เมื่อตามข้อตกลงในสัญญาจ้างดังกล่าวมีข้อตกลงให้สิทธิโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ได้รับค่าที่พักถึงเดือนมิถุนายนของปี 2552 ซึ่งเป็นปีที่ยกเลิกสัญญาจ้าง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงไม่มีสิทธิได้รับและเรียกร้องเอาค่าที่พักเดือนกรกฎาคม 2552
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15438-15440/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการตัวแทน ละเมิดจากรถชน: ทายาทต้องรับผิดในผลละเมิดของตัวแทน
ป. ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถกระบะพา ป. ไปทำธุรกิจที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดย ป. นั่งไปด้วย ย่อมถือได้ว่า ป. เป็นตัวการ จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ ป. ในกิจการนี้โดยปริยาย เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถกระบะไปชนรถแท็กซี่เป็นเหตุให้ ป. กับ ส. ถึงแก่ความตาย และโจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้รับบาดเจ็บสาหัส จำเลยที่ 1 จึงทำละเมิดภายในขอบอำนาจของตัวแทน ป. ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำไป จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของ ป. เป็นทายาทโดยธรรมต้องร่วมรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการต่อละเมิดของตัวแทน และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ผูกพันโจทก์
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุก หมายเลขทะเบียน 80 - 5273 ชุมพร รับจ้างบรรทุกสินค้าอันเป็นการประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 2 จึงต้องถือว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าว ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนของตนได้กระทำไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 และ 820
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารศาลแพ่งหมาย ป.จ.4 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นในการเปรียบเทียบปรับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานขับรถโดยประมาท อันทำให้คดีส่วนอาญาเลิกกัน แม้จะมีข้อความบันทึกไว้ตอนต้นว่าคู่กรณีทั้งสามฝ่ายตกลงเรื่องค่าเสียหายกัน ผลการตกลงฝ่ายรถยนต์บรรทุก หมายเลขทะเบียน 80 - 5273 ชุมพร ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นคนขับขณะเกิดเหตุยินยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายโดยจะซ่อมรถยนต์ หมายเลขทะเบียน 6 ฎ - 0967 กรุงเทพมหานคร และรถยนต์โดยสาร หมายเลขทะเบียน 11 - 7047 กรุงเทพมหานคร ของโจทก์ให้อยู่ในสภาพเดิม ส่วนค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจะไปดำเนินการกันเองกับบริษัทประกันภัยก็ตาม แต่ผู้ลงชื่อท้ายบันทึกฝ่ายรถบรรทุก หมายเลขทะเบียน 80 - 5273 กรุงเทพมหานคร ได้แก่ จำเลยที่ 1 ผู้ชดใช้และฝ่ายรถยนต์โดยสาร หมายเลขทะเบียน 11 - 7047 กรุงเทพมหานคร คือ ม. พนักงานขับรถยนต์โดยสารของโจทก์ผู้รับชดใช้ โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่า ม. ทำบันทึกข้อตกลงในฐานะตัวแทนของโจทก์ ทั้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 851 บังคับว่าสัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และมาตรา 798 วรรคสอง บัญญัติว่า กิจการอันใดท่านบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย ดังนี้ข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เอกสารศาลแพ่งหมาย ป.จ.4 จึงไม่ผูกพันโจทก์ กรณีฟังไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันอันจะมีผลให้มูลหนี้ละเมิดระงับไป
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 แต่มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารศาลแพ่งหมาย ป.จ.4 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นในการเปรียบเทียบปรับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานขับรถโดยประมาท อันทำให้คดีส่วนอาญาเลิกกัน แม้จะมีข้อความบันทึกไว้ตอนต้นว่าคู่กรณีทั้งสามฝ่ายตกลงเรื่องค่าเสียหายกัน ผลการตกลงฝ่ายรถยนต์บรรทุก หมายเลขทะเบียน 80 - 5273 ชุมพร ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นคนขับขณะเกิดเหตุยินยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายโดยจะซ่อมรถยนต์ หมายเลขทะเบียน 6 ฎ - 0967 กรุงเทพมหานคร และรถยนต์โดยสาร หมายเลขทะเบียน 11 - 7047 กรุงเทพมหานคร ของโจทก์ให้อยู่ในสภาพเดิม ส่วนค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจะไปดำเนินการกันเองกับบริษัทประกันภัยก็ตาม แต่ผู้ลงชื่อท้ายบันทึกฝ่ายรถบรรทุก หมายเลขทะเบียน 80 - 5273 กรุงเทพมหานคร ได้แก่ จำเลยที่ 1 ผู้ชดใช้และฝ่ายรถยนต์โดยสาร หมายเลขทะเบียน 11 - 7047 กรุงเทพมหานคร คือ ม. พนักงานขับรถยนต์โดยสารของโจทก์ผู้รับชดใช้ โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่า ม. ทำบันทึกข้อตกลงในฐานะตัวแทนของโจทก์ ทั้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 851 บังคับว่าสัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และมาตรา 798 วรรคสอง บัญญัติว่า กิจการอันใดท่านบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย ดังนี้ข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เอกสารศาลแพ่งหมาย ป.จ.4 จึงไม่ผูกพันโจทก์ กรณีฟังไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันอันจะมีผลให้มูลหนี้ละเมิดระงับไป
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 แต่มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18978/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำกัดอำนาจ, หนังสือค้ำประกัน, ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด, การมอบอำนาจ, สัญญาค้ำประกัน
ข้อตกลงเรื่องอนุญาโตตุลาการและในสัญญาระบุว่า หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับความตกลงนี้ และไม่อาจหาข้อยุติได้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการ เป็นข้อตกลงที่มีผลบังคับใช้กับคู่สัญญา ได้แก่ โจทก์กับบริษัท อ. เท่านั้น ไม่มีผลใช้บังคับกับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัท อ. ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเอกสารและประทับตราสำคัญของบริษัท อ.ทุกครั้ง ในส่วนที่เกี่ยวกับแผนการชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ก็กระทำในนามของบริษัท และบริษัทปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นโดยมีการส่งหนังสือยืนยันยอดหนี้และชำระหนี้ให้แก่โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า บริษัท อ. ให้การรับรองในการกระทำของจำเลยที่ 1 ถือเป็นการมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ติดต่อและเจรจาทำความตกลงกับโจทก์แทนบริษัท การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของบริษัทและกระทำไปภายในขอบอำนาจของตัวแทน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยทั้งสองทำไว้แก่โจทก์เพื่อค้ำประกันการชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัท อ. ภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการซื้อขาย มีเพียงลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองผู้ค้ำประกันเท่านั้น ไม่มีลายมือชื่อของโจทก์อยู่ด้วย หนังสือค้ำประกันดังกล่าว จึงเป็นเพียงหลักฐานในการค้ำประกันเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น ไม่ใช่หนังสือค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 ลักษณะ 7 ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเอกสารและประทับตราสำคัญของบริษัท อ.ทุกครั้ง ในส่วนที่เกี่ยวกับแผนการชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ก็กระทำในนามของบริษัท และบริษัทปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นโดยมีการส่งหนังสือยืนยันยอดหนี้และชำระหนี้ให้แก่โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า บริษัท อ. ให้การรับรองในการกระทำของจำเลยที่ 1 ถือเป็นการมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ติดต่อและเจรจาทำความตกลงกับโจทก์แทนบริษัท การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของบริษัทและกระทำไปภายในขอบอำนาจของตัวแทน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยทั้งสองทำไว้แก่โจทก์เพื่อค้ำประกันการชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัท อ. ภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการซื้อขาย มีเพียงลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองผู้ค้ำประกันเท่านั้น ไม่มีลายมือชื่อของโจทก์อยู่ด้วย หนังสือค้ำประกันดังกล่าว จึงเป็นเพียงหลักฐานในการค้ำประกันเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น ไม่ใช่หนังสือค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 104 ลักษณะ 7 ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4115/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนทำสัญญาจ้างงานต่างประเทศ: ความรับผิดของตัวการและตัวแทนตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัท ย. มีหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนกระทำการทุกอย่างแทนในการจัดหาคนหางานไปทำงานในประเทศไนจีเรีย จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จัดทำสัญญาจ้างงานกับโจทก์ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราของจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้าง เป็นกรณีจำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนทำสัญญาจ้างงานแทนบริษัท ย. ซึ่งเป็นตัวการอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามสัญญาจ้างงานนั้นเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
จำเลยทั้งสองทำสัญญาจ้างงานกับโจทก์แทนบริษัท ย. ไม่ใช่กรณีจำเลยทั้งสองเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครอบแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ประกอบมาตรา 820, 821 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ในขอบอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2
จำเลยทั้งสองทำสัญญาจ้างงานกับโจทก์แทนบริษัท ย. ไม่ใช่กรณีจำเลยทั้งสองเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครอบแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ประกอบมาตรา 820, 821 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ในขอบอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18623/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำกัดอำนาจ: จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกับตัวแทน (จำเลยที่ 2) ในการซื้อขายรถยนต์ แม้จะมีการกระทำโดยผิดระเบียบ
แม้จำเลยที่ 2 มิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 แต่การติดต่อซื้อขายรถระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 นั้น กระทำการในที่ทำการและเวลาทำการของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่า จำเลยที่ 1 ได้แสดงให้โจทก์หรือบุคคลทั่วไปเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในการขายรถยนต์ของจำเลยที่ 1 แล้ว การกระทำใด ๆ ของจำเลยที่ 2 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการขายรถยนต์ของจำเลยที่ 1 นั้น ย่อมเป็นการกระทำในขอบอำนาจแห่งตัวแทนเพื่อกิจการค้าขายที่จำเลยที่ 1 จะถือเอาประโยชน์จากกิจการนั้นได้ ไม่ว่าการที่จำเลยที่ 2 รับซื้อรถคันเก่าจากโจทก์โดยนำไปฝากขายที่เต็นท์รถมือสอง จะเป็นการกระทำโดยจำเลยที่ 1 จะมีวัตถุประสงค์ในการรับซื้อรถเก่าจากลูกค้าหรือไม่ก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการส่วนหนึ่งของการขายซึ่งเป็นไปตามนโยบายการขายของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำในหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันต่อโจทก์ในกิจการที่จำเลยที่ 2 กระทำไปด้วย แม้จะปรากฏว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 อาจเป็นเรื่องการกระทำโดยผิดระเบียบของจำเลยที่ 1 แต่เป็นเรื่องกิจการภายในของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 เอง ไม่อาจยกเป็นข้ออ้างต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเพื่อให้ตนพ้นผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10865/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตและหลักตัวการ-ตัวแทน ศาลยืนว่าผู้รับโอนที่สุจริตไม่ต้องรับผิด
ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด โจทก์อ้างเพียงว่าพระครู ส. จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 เป็นการทำผิดวัตถุประสงค์ของโจทก์ จึงเป็นการโอนให้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 เท่านั้น จำเลยที่ 3 จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานเบื้องต้นของกฎหมายว่า รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ซึ่งบัญญัติว่า "ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริต มิได้ล่วงรู้ถึงการที่โจทก์จดทะเบียนให้พระครู ส. ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์ เป็นกรณีเข้าลักษณะความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัวแทนคือ พระครู ส. ทำการเกินอำนาจตัวแทน แต่ทางปฏิบัติของตัวการทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการอันนั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทน ตัวการจึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริต โจทก์จึงต้องรับผิดผูกพันตามสัญญาขายที่ดินพิพาทต่อจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3