พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,184 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิทธิขายอาหาร: การปรับปรุงสถานที่เช่าโดยไม่ยินยอมของผู้เช่าถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาเช่าสิทธิขายอาหารและสิ่งพิมพ์ประจำสถานีรถไฟ ไม่ใช่สัญญาที่ให้สิทธิโจทก์ขายอาหารและสิ่งพิมพ์บริเวณสถานีรถไฟเพียงอย่างเดียว หากแต่ให้สิทธิโจทก์ใช้ประโยชน์ในลักษณะเป็นผู้ครอบครองส่วนที่เป็นบริเวณร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 1 จะเข้าปรับปรุงส่วนที่เป็นสถานที่เช่าโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ไม่ได้ แต่การที่ฝ่ายจำเลยเข้าทุบร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์โดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งห้ามปราม แต่กลับขอให้จำเลยที่ 1 ลดค่าเช่าให้เนื่องจากไม่สามารถทำการค้าได้ตามปกติ พฤติการณ์มีเหตุเชื่อได้ว่าโจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการได้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญาในส่วนนี้ แต่เมื่อปรับปรุงอาคารเสร็จ เคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ถูกดัดแปลงเป็นห้องประชาสัมพันธ์ และจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ เป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจครอบครองใช้ประโยชน์สถานที่เช่าตามสัญญาได้อีก จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดเป็นการส่วนตัว
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดเป็นการส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับผลงานและการให้สัตยาบันสัญญา แม้ไม่มีหลักฐานการมอบอำนาจโดยตรง แต่พฤติการณ์บ่งชี้ถึงการผูกพันตามสัญญา
แม้ไม่ปรากฏว่า อ.เป็นกรรมการของจำเลย หรือ อ.ได้รับมอบอำนาจจากบริษัทจำเลยให้ทำสัญญาจ้างจัดทำงานระบบไฟฟ้าและสื่อเอกสารฉบับพิพาทกับโจทก์ก็ตาม แต่สถานที่ตั้งของจำเลยก็เป็นอาคารเดียวกันกับที่โจทก์ดำเนินการจัดทำและติดตั้งระบบไฟฟ้าและสื่อสาร ทั้งจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คซึ่งประทับตราของจำเลยให้ไว้แก่โจทก์ด้วย การที่จำเลยยอมรับงานที่โจทก์ดำเนินการตามสัญญาจ้างโดยสั่งจ่ายเช็คชำระเงินให้แก่โจทก์และเมื่อเช็คดังกล่าวไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้จำเลยจึงเสนอให้โจทก์รับชำระหนี้ด้วยบ้านและที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของกรรมการของจำเลยถือได้ว่าเป็นการยอมรับและให้สัตยาบันแก่การนั้น ย่อมผูกพันจำเลยในฐานะตัวการซึ่งได้ว่าจ้างโจทก์ตามสัญญาจ้างแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6168/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทเลินเล่อปล่อยให้พนักงานเบิกเงินฝากลูกค้าโดยไม่ตรวจสอบเอกสาร ทำให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาระยองชักชวนโจทก์ให้เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาชาสัตหีบ เมื่อสาขาดังกล่าวเปิดทำการ เพื่อเป็นผลงานร่วมกัน โดยนำแบบฟอร์มต่าง ๆ ของธนาคารจำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อ แล้วดำเนินการนำเงินของโจทก์ไปฝากให้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโจทก์ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ความไว้วางใจในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของธนาคาร จำเลยที่ 1 ในการบริการความสะดวกให้แก่โจทก์ตามที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ช่วยหาลูกค้าให้
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบได้รับโอนบัญชีเงินฝากของโจทก์จากธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยาโดยมิได้ทักท้วงในเรื่องตัวลูกค้ามิได้มาติดต่อด้วยตนเอง ทั้งมิได้เรียกหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนของลูกค้ามาตรวจสอบเช่นกัน นอกจากนั้นยังปรากฏว่า ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบได้ออกสมุดคู่ฝากให้แก่จำเลยที่ 2 รับไป โดยที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบยังมิได้เรียกเก็บสมุดคู่ฝากที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยาได้ออกให้แก่ลูกค้าคืนจากจำเลยที่ 2 ทันที ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบมิได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังเช่นผู้มีวิชาชีพอันควรพึงกระทำ จึงเป็นการกระทำประมาทเลินเล่อของธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบโดยตรง
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบออกสมุดคู่ฝากแทนสมุดคู่ฝากของโจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าหายให้แก่จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความ และหลักฐานดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งความด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แจ้งความได้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากที่ออกแทนสมุดที่อ้างว่าหายดังกล่าวไปขอเบิกเงินพร้อมขอปิดบัญชีของโจทก์โดยโจทก์ไม่รู้เห็น ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยไม่ใช้ความระมัดระวังด้วยฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการของธนาคารอันเป็นอาชีพของตน แมัลายมือชื่อในใบถอนจะตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อในใบตัวอย่างลายมือชื่อ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และยังถือสมุดคู่ฝากฉบับเดิมซึ่งยังไม่มีหลักฐานการถอนเงินจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิ์เรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินฝากดังกล่าวได้
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบได้รับโอนบัญชีเงินฝากของโจทก์จากธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยาโดยมิได้ทักท้วงในเรื่องตัวลูกค้ามิได้มาติดต่อด้วยตนเอง ทั้งมิได้เรียกหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนของลูกค้ามาตรวจสอบเช่นกัน นอกจากนั้นยังปรากฏว่า ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบได้ออกสมุดคู่ฝากให้แก่จำเลยที่ 2 รับไป โดยที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบยังมิได้เรียกเก็บสมุดคู่ฝากที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยาได้ออกให้แก่ลูกค้าคืนจากจำเลยที่ 2 ทันที ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบมิได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังเช่นผู้มีวิชาชีพอันควรพึงกระทำ จึงเป็นการกระทำประมาทเลินเล่อของธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบโดยตรง
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบออกสมุดคู่ฝากแทนสมุดคู่ฝากของโจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าหายให้แก่จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความ และหลักฐานดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งความด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แจ้งความได้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากที่ออกแทนสมุดที่อ้างว่าหายดังกล่าวไปขอเบิกเงินพร้อมขอปิดบัญชีของโจทก์โดยโจทก์ไม่รู้เห็น ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยไม่ใช้ความระมัดระวังด้วยฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการของธนาคารอันเป็นอาชีพของตน แมัลายมือชื่อในใบถอนจะตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อในใบตัวอย่างลายมือชื่อ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และยังถือสมุดคู่ฝากฉบับเดิมซึ่งยังไม่มีหลักฐานการถอนเงินจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิ์เรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินฝากดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในหนี้จากการสั่งซื้อวัสดุก่อสร้าง: จำเลยร่วมผู้สั่งซื้อจริงมีหน้าที่ชำระหนี้
จำเลยทั้งสองว่าจ้างจำเลยร่วมให้ทำถนนลาดยางในโครงการบ้านสวนนำโชคของจำเลยทั้งสอง โดยมีข้อตกลงให้จำเลยร่วมเป็นผู้จัดหาเครื่องจักร เครื่องใช้ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เอง เมื่อ ก. ซึ่งเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยร่วมให้มีอำนาจดำเนินการใด ๆ แทนจำเลยร่วมได้นำ ส. ไปสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์โดยแนะนำว่า ส. เป็นผู้จัดการโครงการของจำเลยทั้งสองได้รับมอบหมายจากจำเลยทั้งสองให้มาติดต่อซื้อสินค้าของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยทั้งสองมอบหมายให้ ส. มาติดต่อซื้อจริงและส่งสินค้าไปให้จำเลยทั้งสองยังสถานที่ก่อสร้างตามโครงการ โดยมี ส. ร่วมลงชื่อเป็นผู้รับมอบสินค้าด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ ส. มาซื้อสินค้าจากโจทก์ มีเพียง ก. ตัวแทนของจำเลยร่วมเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในงานทำถนนเท่านั้น แม้บางครั้งจะมีชื่อ ส. เป็นผู้สั่งซื้อ แต่ก็เนื่องมาจากการที่ ส. กับ ก. คุ้นเคยกันและ ก. เป็นผู้แนะนำว่า ส. เป็นผู้จัดการโครงการดังกล่าว โจทก์จึงไม่เคร่งครัดที่จะให้คนใดคนหนึ่งสั่งซื้อและลงชื่อในใบวางบิล/ส่งของ การที่ ส. ลงชื่อในใบวางบิล/ส่งของ หรือลงชื่อเป็นผู้รับสินค้าจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์แต่อย่างใด โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8303/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ผู้ขาย-นายหน้า: ผู้ขายต้องส่งมอบเอกสารรถยนต์ให้ผู้ซื้อ แม้ซื้อผ่านนายหน้า
โจทก์ซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 2 หลังจากโจทก์วางเงินมัดจำแล้วจำเลยที่ 2 จึงสั่งรถยนต์มาจากจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์ให้ โจทก์จึงร้องเรียนไปยังบริษัท ส.ซึ่งเป็นผู้ประกอบรถยนต์คันที่โจทก์ซื้อ บริษัทส.มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 (ดิลเลอร์) ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานกับจำเลยที่ 2 (โบรคเกอร์) เพื่อเจรจาใช้หนี้ให้โจทก์ หากโจทก์ประสงค์ซื้อรถยนต์ในครั้งต่อไปขอให้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 โดยตรงเพราะจำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จำหน่ายจากบริษัท ส.แล้ว พอแปลคำว่าดิลเลอร์ได้ว่าหมายถึงผู้จำหน่าย ประกอบกับจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของบริษัท ส. ดังนั้นจำเลยที่ 1จึงเป็นผู้จำหน่ายรถยนต์ของบริษัท ส. ส่วนคำว่าโบรคเกอร์ หมายถึงนายหน้าประกอบกับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์เป็นนายหน้า ความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสองจึงอยู่ในลักษณะจำเลยที่ 1 เป็นผู้จำหน่ายรถยนต์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าในการขายรถยนต์ให้
โจทก์ซื้อรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ผ่านทางจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายหน้าของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดส่งมอบชุดจดทะเบียนแก่โจทก์ด้วย
โจทก์ซื้อรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ผ่านทางจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายหน้าของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดส่งมอบชุดจดทะเบียนแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8303/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ผู้ขาย-นายหน้า: ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ขายส่งมอบเอกสารจากนายหน้าได้
โจทก์ซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 2 หลังจากโจทก์วางเงินมัดจำแล้วจำเลยที่ 2 จึงสั่งรถยนต์มาจากจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์ให้ โจทก์จึงร้องเรียนไปยังบริษัท ส. ซึ่งเป็นผู้ประกอบรถยนต์คันที่โจทก์ซื้อ บริษัท ส. มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าจำเลยที่ 1(ดิลเลอร์) ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานกับจำเลยที่ 2(โบรคเกอร์) เพื่อเจรจาใช้หนี้ให้โจทก์ หากโจทก์ประสงค์ซื้อรถยนต์ในครั้งต่อไปขอให้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 โดยตรงเพราะจำเลยที่ 1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จำหน่ายจากบริษัท ส. แล้ว พอแปลคำว่าดิลเลอร์ได้ว่าหมายถึงผู้จำหน่าย ประกอบกับจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของบริษัท ส. ดังนั้น จำเลยที่ 1จึงเป็นผู้จำหน่ายรถยนต์ของบริษัท ส. ส่วนคำว่าโบรคเกอร์ หมายถึงนายหน้าประกอบกับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์เป็นนายหน้า ความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสองจึงอยู่ในลักษณะจำเลยที่ 1 เป็นผู้จำหน่ายรถยนต์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าในการขายรถยนต์ให้
โจทก์ซื้อรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ผ่านทางจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายหน้าของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดส่งมอบชุดจดทะเบียนแก่โจทก์ด้วย
โจทก์ซื้อรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ผ่านทางจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายหน้าของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดส่งมอบชุดจดทะเบียนแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7559/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนรับขนสินค้า: ความรับผิดตามสัญญาเมื่อตัวการทำสัญญาเอง
จำเลยมิได้เป็นผู้ทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทกับบุคคลภายนอกแทนตัวการ แต่เป็นกรณีที่ผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการเป็นผู้ทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทกับผู้ส่งโดยเป็นผู้ออกใบตราส่งในฐานะเป็นผู้ขนส่งเองโดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับขนสินค้าพิพาทในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 824
จำเลยส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่งเป็นการทำการตามคำสั่งของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจำเลยในฐานะส่วนตัวจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่งเป็นการทำการตามคำสั่งของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจำเลยในฐานะส่วนตัวจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7559/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนรับขนสินค้าไม่ต้องรับผิดในสัญญา หากผู้ขนส่งทำสัญญาและออกใบตราส่งเอง
จำเลยมิได้เป็นผู้ทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทกับบุคคลภายนอกแทนตัวการ แต่เป็นกรณีที่ผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการเป็นผู้ทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทกับผู้ส่งโดยเป็นผู้ออกใบตราส่งในฐานะเป็นผู้ขนส่งเองโดยตรงจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับขนสินค้าพิพาทในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824
จำเลยส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่งเป็นการทำการตามคำสั่งของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจำเลยในฐานะส่วนตัวจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่งเป็นการทำการตามคำสั่งของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจำเลยในฐานะส่วนตัวจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364-5368/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างครูเป็นสัญญาจ้างแรงงาน การเลิกจ้างต้องเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน แม้มีระเบียบ รร.เอกชน
โจทก์จำเลยต่างเป็นเอกชน จำเลยตกลงรับโจทก์เข้าทำงานตำแหน่งครูผู้สอนและจ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือนให้โจทก์ตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 มิใช่สัญญาทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 3 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน
โจทก์เป็นครูตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนเพื่อเรียกร้องสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพอถือได้ว่าเป็นการฟ้อง เรียกค่าชดเชยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครอง การทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 32 และข้อ 33 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 มาตรา 17 มาตรา 44 และ มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และฟ้องเรียก สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ซึ่งมิใช่ฟ้องเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงานฯ ส่วนที่ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็มิใช่ฟ้องที่อ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯโจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยได้
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพมิใช่กฎหมายซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 และมีคณะกรรมการประนีประนอมหรือคณะกรรมการคุ้มครองเพื่อพิจารณาหรือพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วแต่กรณี เป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าวก็ตาม ก็มิใช่ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้าถูกจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ก่อน
โจทก์เป็นครูตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนเพื่อเรียกร้องสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพอถือได้ว่าเป็นการฟ้อง เรียกค่าชดเชยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครอง การทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 32 และข้อ 33 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 มาตรา 17 มาตรา 44 และ มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และฟ้องเรียก สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ซึ่งมิใช่ฟ้องเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงานฯ ส่วนที่ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็มิใช่ฟ้องที่อ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯโจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยได้
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพมิใช่กฎหมายซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 และมีคณะกรรมการประนีประนอมหรือคณะกรรมการคุ้มครองเพื่อพิจารณาหรือพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วแต่กรณี เป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าวก็ตาม ก็มิใช่ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้าถูกจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364-5368/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงานของครูโรงเรียนเอกชน และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ทั้งห้าและจำเลยต่างเป็นเอกชน ได้ตกลงกันโดยจำเลยตกลงรับโจทก์ทั้งห้าเข้าทำงานตำแหน่งครูผู้สอน และจ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือนให้โจทก์ทั้งห้าตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลย มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 มิใช่สัญญาทางปกครองตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 3 โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน
โจทก์ทั้งห้าเป็นครูตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนเพื่อเรียกร้องสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งห้าที่ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพอถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าชดเชยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 32 และข้อ 33 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 มาตรา 17 มาตรา 44 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 และฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 ซึ่งมิใช่ฟ้องเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ส่วนที่ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดยไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ก็มิใช่ฟ้องที่อ้างสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยได้
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ มิใช่กฎหมายซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 และมีคณะกรรมการประนีประนอม หรือคณะกรรมการคุ้มครองเพื่อพิจารณาหรือพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วแต่กรณี เป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าวก็ตาม ก็มิใช่ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้าถูกจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 ก่อน
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า การออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดย พ. เป็นผู้ลงนาม เป็นการทำการแทน อ.ผู้รับใบอนุญาตและจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 จำเลยในฐานะตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่ตัวแทนได้ทำไปในขอบอำนาจตามมาตรา 820 ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษครูได้ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนคือผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้รับใบอนุญาต การที่ พ. เป็นผู้ลงนามในคำสั่งเลิกจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยมิได้อ้างข้อเท็จจริงมาในอุทธรณ์ว่าจำเลยบรรจุโจทก์ทั้งห้าเข้าทำงานวันใด ห่างจากวันที่โจทก์ทั้งห้าเข้าทำงานกี่วัน และศาลแรงงานกลางคิดคำนวณค่าชดเชยผิดพลาดเท่าใด ถือได้ว่าจำเลยไม่ได้กล่าวข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
โจทก์ทั้งห้าเป็นครูตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนเพื่อเรียกร้องสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งห้าที่ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพอถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าชดเชยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 32 และข้อ 33 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 มาตรา 17 มาตรา 44 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 และฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 ซึ่งมิใช่ฟ้องเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ส่วนที่ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดยไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ก็มิใช่ฟ้องที่อ้างสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยได้
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ มิใช่กฎหมายซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 และมีคณะกรรมการประนีประนอม หรือคณะกรรมการคุ้มครองเพื่อพิจารณาหรือพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วแต่กรณี เป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าวก็ตาม ก็มิใช่ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้าถูกจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 ก่อน
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า การออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดย พ. เป็นผู้ลงนาม เป็นการทำการแทน อ.ผู้รับใบอนุญาตและจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 จำเลยในฐานะตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่ตัวแทนได้ทำไปในขอบอำนาจตามมาตรา 820 ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษครูได้ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนคือผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้รับใบอนุญาต การที่ พ. เป็นผู้ลงนามในคำสั่งเลิกจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยมิได้อ้างข้อเท็จจริงมาในอุทธรณ์ว่าจำเลยบรรจุโจทก์ทั้งห้าเข้าทำงานวันใด ห่างจากวันที่โจทก์ทั้งห้าเข้าทำงานกี่วัน และศาลแรงงานกลางคิดคำนวณค่าชดเชยผิดพลาดเท่าใด ถือได้ว่าจำเลยไม่ได้กล่าวข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31