คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2485 ม. 62

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งพัก/ออกจากราชการของข้าราชการระหว่างการพิจารณา/สอบสวน การสั่งพัก/ออกจากราชการตามมาตรา 63 ไม่ต้องรอผลสอบสวน
ตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2485 มาตรา 63นั้นผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่ถูกฟ้องคดีอาญาซึ่งไม่ใช่ความผิดลหุโทษหรือประมาท ให้ออกจากราชการได้ในขณะที่ข้าราชการผู้นั้นกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีอาญา หรือระหว่างการสอบสวนเรื่องทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการได้โดยไม่ต้องตั้งกรรมการดำเนินการสอบสวนเสียก่อน
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา63(ก) นั้น ผู้บังคับบัญชาไม่ต้องสั่งใหม่ในเมื่อการพิจารณาคดีหรือการสอบสวนได้ความว่าข้าราชการผู้นั้นไม่มีความผิด แต่ถ้าศาลพิพากษาว่าข้าราชการผู้นั้นมีความผิดหรือการสอบสวนได้ความเป็นสัจที่จะต้องไล่ออกหรือปลดออก ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นไล่ออกหรือปลดออกให้ตรงตามบทบัญญัติแห่งวินัยข้าราชการพลเรือนอีกครั้งหนึ่ง การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 63(ก)นั้น เป็นการสั่งให้พ้นจากราชการไปเลย และคำสั่งนี้คงมีผลตลอดไป เว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ไล่ออกหรือปลดออกตามความในมาตรา 63(ก) ตอนท้ายเท่านั้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16-17/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพักราชการ/ออกจากราชการตาม ม.63 และการพิจารณาหลังศาลตัดสินคดีอาญา ไม่ถือเป็นการละเมิด
ตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2485 มาตรา 63 นั้น ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่ถูกฟ้องคดีอาญาซึ่งไม่ใช่ความผิดลหุโทษหรือประมาท ให้ออกจากราชการได้ในขณะที่ข้าราชการผู้นั้นกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีอาญาหรือระหว่างการสอบสวนเรื่องทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการได้โดยไม่ต้องตั้งกรรมการดำเนินการสอบสวนเสียก่อน
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 63(ก) นั้น ผู้บังคับบัญชาไม่ต้องสั่งใหม่ในเมื่อการพิจารณาคดีหรือการสอบสวนได้ความว่าข้าราชการผู้นั้นไม่มีความผิด แต่ถ้าศาลพิพากษาว่าข้าราชการผู้นั้นมีความผิดหรือการสอบสวนได้ความเป็น+ที่จะต้องไล่ออกหรือปลดออก ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นไล่ออกหรือปลดออกให้ตรงตามบทบัญญัติแห่งวินัยข้าราชการพลเรือนอีกครั้งหนึ่ง การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 63(ก) นั้น เป็นการสั่งให้พ้นจากราชการไปเลย และคำสั่งนี้คงมีผลตลอดไป เว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ไล่ออกหรือปลดออกตามความในมาตรา 63(ก) ตอนท้ายเท่านั้น.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16 -17/2507).