คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 150 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งขับไล่จากที่ดินหลังซื้อขายไม่สำเร็จ และประเด็นค่าขึ้นศาลเกินจำนวน
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องขอให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดิน 84 แปลง ซึ่งไม่มีที่ดินโฉนดเลขที่ 3689 ที่มีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวรวมอยู่ด้วย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นภริยาสามีกันโดยชอบด้วยกฎหมาย อันถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมกับจำเลยที่ 2 ด้วยก็ตาม แต่เมื่อที่ดินดังกล่าวมิใช่ที่ดินที่พิพาทกันในคดีก่อน เป็นเพียงที่ดินที่จำเลยที่ 1 เสนอขายให้แก่โจทก์รวมไปกับที่ดิน 84 แปลง เพื่อระงับข้อพิพาทในคดีก่อนด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น โดยตกลงกันว่าหากโจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้จำเลยที่ 1 บังคับคดีตามฟ้อง เมื่อโจทก์ผิดนัด จำเลยที่ 1 ก็บังคับคดีได้เพียงที่ดิน 84 แปลง ตามฟ้องในคดีก่อน ไม่อาจบังคับคดีเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3689 ได้ เพราะมิใช่ส่วนหนึ่งของฟ้องในคดีก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3689 ที่ขอให้ขับไล่โจทก์จึงไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ อันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3689 ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อ้างว่าทำเพื่ออำพรางการกู้เงินโดยมีที่ดินดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าสัญญาซื้อขายสมบูรณ์ โจทก์ขายที่ดินโดยสมัครใจ และฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์ออกไปจากที่ดินดังกล่าว โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งโดยยืนยันตามฟ้องเดิม จึงเป็นการโต้แย้งกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์เหนือที่ดิน หากผลคดีเป็นไปตามข้ออ้างของฝ่ายใด ฝ่ายนั้นย่อมได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคหนึ่ง ซึ่งตามสัญญาซื้อขายที่ดินตกลงซื้อขายในราคา 145,000,000 บาท จึงถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทในที่ดินแปลงนี้เท่ากับจำนวนเงินที่ซื้อขายกัน มิใช่ราคาประเมิน 18,400,000 บาท ตามที่จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้ง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องของโจทก์และยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างอุทธรณ์ขอให้บังคับตามคำขอของแต่ละฝ่ายเช่นเดียวกันกับคำขอในศาลชั้นต้น ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นอย่างเดียวกับในศาลชั้นต้น แม้ต่อมาโจทก์จะขอถอนอุทธรณ์ และศาลมีคำสั่งอนุญาต ก็ไม่ทำให้ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 2 ต้องชำระค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (1) ก ท้าย ป.วิ.พ. เป็นเงิน 295,000 บาท
จำเลยที่ 2 ฎีกาฝ่ายเดียว โจทก์มิได้ฎีกา ปัญหากรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3689 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ คงมีปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่าฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ และจำเลยที่ 2 ขอให้บังคับโจทก์และบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินได้หรือไม่ คดีของจำเลยที่ 2 ในชั้นฎีกาจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตาม ตาราง 1 (2) ก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคสอง เป็นเงิน 200 บาท แต่จำเลยที่ 2 ชำระมา 295,000 บาท เกินมา 294,800 บาท จึงคืนให้แก่จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การบรรยายฟ้องผิดพลาด, ดอกเบี้ยจำนอง, อายุความ, เจ้าหนี้ผิดนัด
แม้ฟ้องโจทก์ระบุชื่อโจทก์ว่า ฉ. ที่ถึงแก่ความตายไปแล้วซึ่งไม่มีสภาพบุคคล ที่ถูกต้องระบุชื่อคู่ความว่า ล. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ฉ. โจทก์ก็ตาม แต่การบรรยายฟ้องเมื่ออ่านแล้วเป็นที่เห็นได้ว่า ล. ในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นผู้ฟ้องคดี ทั้งการระบุชื่อคู่ความโดยนำชื่อ ฉ. ขึ้นก่อนก็ไม่ได้ทำให้จำเลยไม่เข้าใจหรือหลงข้อต่อสู้ เพราะจำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยไม่ใช่คู่สัญญากับ ล. กรณีจึงเป็นการบรรยายฟ้องผิดพลาดเล็กน้อย ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญถึงกับมีผลให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องโจทก์ไม่มีเจตนาไถ่ถอนจำนองจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์หรือไม่ มิใช่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องโดยตรง จำเลยจึงต้องยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ การที่จำเลยยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยจึงชอบแล้ว เนื่องจากมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องโจทก์ขอไถ่ถอนจำนองเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่จำเลยโต้เถียงกรรมสิทธิ์โดยให้การต่อสู้ว่า ฉ. มิได้จดทะเบียนจำนอง แต่ได้ยกที่ดินทั้งสองแปลงตีใช้หนี้ให้แก่จำเลย ย่อมทำให้คดีไม่มีทุนทรัพย์กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับเงินไถ่ถอนจำนอง เมื่อตามสัญญาจำนองมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี แม้ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นเรื่องดอกเบี้ยแต่ในสัญญากำหนดไว้ชัดแจ้ง โจทก์จึงต้องชำระดอกเบี้ยให้จำเลยตามสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 745 บัญญัติให้ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง แม้สิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความ แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกิน 5 ปี ขึ้นไปไม่ได้ และมาตรา 193/33 บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระมีกำหนดอายุความ 5 ปี การที่โจทก์นำสืบเรื่องขอไถ่ถอนจำนองว่ามีการโทรศัพท์แจ้งจำเลย จึงเป็นกรณีโจทก์ไม่มีหลักฐานยืนยันว่ามีการแสดงเจตนาไถ่ถอนจำนองไปยังจำเลยวันใด แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้จึงต้องถือว่าเป็นวันที่โจทก์แสดงเจตนาจะชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ดินจากจำเลย โจทก์จึงต้องชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังขึ้นไปเป็นเวลา 5 ปี แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้โจทก์ยังต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย เนื่องจากจำเลยมีพฤติการณ์เป็นเจ้าหนี้ผิดนัดด้วยการบ่ายเบี่ยงไม่รับชำระหนี้จากโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ จำเลยผู้ผิดนัดจึงไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยหลังวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6627/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครอง การต่อสู้คดี และการบังคับใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
คดีนี้จำเลยร่วมทั้งสองให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของตน ประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองจึงไม่มี เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของบุคคลอื่น ไม่ใช่ที่ดินของตนเอง ฎีกาของจำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองจึงเป็นฎีกาในข้อนอกประเด็น ไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 249 (เดิม)
จำเลยร่วมทั้งสองเป็นคู่ความที่ถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดีตามคำร้องของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) ย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่และอาจได้รับหรือถูกบังคับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 58 วรรคหนึ่ง เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามใบจองของโจทก์ ก็ชอบที่จะบังคับห้ามมิให้จำเลยร่วมทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ตลอดจนรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมด้วย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 (เดิม)
จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองต่างยื่นฎีกามาแต่ละฉบับแยกต่างหากจากกัน โดยต่างเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเต็มตามทุนทรัพย์ เมื่อกรณีแห่งคดีมีลักษณะเป็นคดีที่มีมูลความแห่งคดีอันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกินแก่จำเลยและจำเลยร่วมทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7956/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีทุนทรัพย์: สิทธิเก็บกินในที่ดินมรดก ศาลฎีกาสั่งคืนค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกเท่านั้น มิได้ขอให้ที่ดินพิพาทเป็นของตน หากฟังว่าโจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทก็ยังเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกอยู่ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลทั้งสามชั้นศาลจากโจทก์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคืนค่าขึ้นศาลที่เรียกเก็บเกินมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7151/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแปลงหนี้ใหม่ หลักประกันการชำระหนี้ ไม่ใช่เงื่อนไขบังคับหลัง แม้ไม่โอนที่ดินตามสัญญา
จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน5ฉบับให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่และเพื่อเป็นหลักประกันการใช้เงินจำเลยตกลงจะโอนที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์ทั้งสองข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งในสัญญาที่ตกลงกันไว้ทั้งเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันเพื่อให้โจทก์ทั้งสองมีความมั่นใจว่าจะได้รับชำระหนี้จากจำเลยตามสัญญาที่ตกลงทำกันขึ้นใหม่เพื่อมิให้หนี้เดิมของโจทก์ทั้งสองต้องสูญไปเท่านั้นไม่ใช่เงื่อนไขบังคับหลังที่จะทำให้สัญญาที่ตกลงกันไว้ต้องยกเลิกหรือระงับสิ้นไปเพราะโจทก์ไม่ได้รับโอนที่ดินภายในกำหนดเวลาตามสัญญาการที่จำเลยมิได้โอนที่ดินตามสัญญาให้แก่โจทก์ทั้งสองหาทำให้ตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง5ฉบับที่จำเลยได้ออกชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองต้องถูกยกเลิกหรือไร้ประโยชน์แต่อย่างใดจำเลยยังต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง5ฉบับที่ออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสองอยู่ หนี้ตามคำฟ้องของโจทก์ที่1และโจทก์ที่2เป็นคนละจำนวนต่างหากจากกันมิใช่หนี้ร่วมโจทก์แต่ละคนสามารถแยกฟ้องจำเลยต่างหากจากกันได้อยู่แล้วการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันก็เพราะจำเลยเป็นคนเดียวกันและเพื่อเป็นการสะดวกในการพิจารณาพิพากษาคดีเท่านั้นศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลสำหรับคดีของโจทก์ที่1และโจทก์ที่2แยกต่างหากจากกันนั้นถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7151/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงโอนที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้ ไม่ใช่เงื่อนไขบังคับหลัง - ตั๋วสัญญาใช้เงินยังใช้บังคับได้
จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่ และเพื่อเป็นหลักประกันการใช้เงิน จำเลยตกลงจะโอนที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์ทั้งสอง ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งในสัญญาที่ตกลงกันไว้ทั้งเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันเพื่อให้โจทก์ทั้งสองมีความมั่นใจว่าจะได้รับชำระหนี้จากจำเลยตามสัญญาที่ตกลงทำกันขึ้นใหม่เพื่อมิให้หนี้เดิมของโจทก์ทั้งสองต้องสูญไปเท่านั้น ไม่ใช่เงื่อนไขบังคับหลังที่จะทำให้สัญญาที่ตกลงกันไว้ต้องยกเลิก หรือระงับสิ้นไปเพราะโจทก์ไม่ได้รับโอนที่ดินภายในกำหนดเวลาตามสัญญาการที่จำเลยมิได้โอนที่ดินตามสัญญาให้แก่โจทก์ทั้งสอง หาทำให้ตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง5 ฉบับ ที่จำเลยได้ออกชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองต้องถูกยกเลิกหรือไร้ประโยชน์แต่อย่างใด จำเลยยังต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 5 ฉบับ ที่ออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสองอยู่
หนี้ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เป็นคนละจำนวนต่างหากจากกัน มิใช่หนี้ร่วม โจทก์แต่ละคนสามารถแยกฟ้องจำเลยต่างหากจากกันได้อยู่แล้ว การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกัน ก็เพราะจำเลยเป็นคนเดียวกัน และเพื่อเป็นการสะดวกในการพิจารณาพิพากษาคดีเท่านั้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลสำหรับคดีของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 แยกต่างหากจากกันนั้นถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายหลังวันฟ้อง ไม่นำมาคำนวณทุนทรัพย์ – คดีเกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกา
คดีฟ้องขับไล่ปรากฏว่าจำเลยออกไปจากที่พิพาทหลังจากวันฟ้องแล้ว โจทก์ฎีกาในเรื่องค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกาคงมีปัญหาเฉพาะเรื่องค่าเสียหายเพียงอย่างเดียว เมื่อข้อพิพาทในชั้นฎีกาที่โจทก์เรียกร้องเป็นค่าเสียหายหลังวันฟ้อง จึงเป็นค่าเสียหายในอนาคต จะนำมาใช้คำนวณเป็นทุนทรัพย์ไม่ได้ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาทคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรคหนึ่ง