พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกัน - การผิดสัญญาต้องมีเจตนา การเจ็บป่วยเป็นเหตุจำเป็นที่สมควร
แม้สัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาลจะระบุไว้ว่านายประกันหรือจำเลยจะปฏิบัติตามนัดของศาลหากผิดสัญญาศาลมีอำนาจบังคับให้นายประกันใช้เบี้ยปรับเต็มตามจำนวนในสัญญาก็ตามแต่การที่จะถือว่านายประกันหรือจำเลยผิดสัญญานั้น จะต้องได้ความว่านายประกันหรือจำเลยจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามนัดหาใช่ว่าเมื่อจำเลยไม่มาศาลตามที่ศาลนัดไม่ว่าเพราะมีความจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงหรือมีอุปสรรคขัดข้องสักเท่าใดก็ต้องถือว่านายประกันผิดสัญญาไปทั้งนั้น
การเจ็บป่วยเป็นเหตุจำเป็นที่มิอาจก้าวล่วงได้ประการหนึ่งที่มีเหตุผลเพียงพอที่จำเลยจะขอเลื่อนคดีเพราะไม่สามารถมาศาลได้
การเจ็บป่วยเป็นเหตุจำเป็นที่มิอาจก้าวล่วงได้ประการหนึ่งที่มีเหตุผลเพียงพอที่จำเลยจะขอเลื่อนคดีเพราะไม่สามารถมาศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวฟ้องซ้ำ: ศาลมีอำนาจยกฟ้องแม้จำเลยไม่ฎีกา หากการกระทำเป็นกรรมเดียวกับคดีก่อน
การกระทำที่จำเลยถูกฟ้องในคดีนี้เป็นกรรมเดียวกับความผิดในอีกคดีหนึ่งจำเลยได้ถูกฟ้องไว้ก่อนแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้ศาลลงโทษจำเลยซ้ำอีกได้ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ฎีกาขึ้นมา เมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษ ศาลก็มีอำนาจยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษในความผิดหลายกระทง ต้องพิจารณาโทษแต่ละกระทง ไม่รวมโทษทั้งหมด
ในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน โจทก์ย่อมมีอำนาจแยกฟ้องจำเลยแต่ละคดีเป็นรายกระทงความผิด การวินิจฉัยอัตราโทษว่าจะรอการลงโทษได้หรือไม่ จำต้องวินิจฉัยอัตราโทษที่ศาลลงในแต่ละกระทงความผิด จะรวมโทษทุกกระทงความผิดในคดีนั้นมาเป็นเกณฑ์วินิจฉัยได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษในคดีหลายกระทง ต้องพิจารณาโทษแต่ละกระทง ไม่รวมโทษทั้งหมด
ในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน โจทก์ย่อม มีอำนาจแยกฟ้องจำเลยแต่ละคดีเป็นรายกระทงความผิด การวินิจฉัย อัตราโทษว่าจะรอการลงโทษได้หรือไม่ จำต้องวินิจฉัยอัตราโทษที่ศาลลงในแต่ละกระทงความผิด จะรวมโทษทุกกระทงความผิดในคดีนั้น มาเป็นเกณฑ์วินิจฉัยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกกรณีสมรสซ้อน: สุจริตของผู้สมรสย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 5 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ" ดังนั้น ปัญหาว่าการสมรสของโจทก์หรือของจำเลยฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของสามีที่ตายจึงต้องวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมจะนำบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ซึ่งออกมาใช้บังคับขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาขึ้นมาปรับแก่คดีหาได้ไม่
คำว่า สิทธิ ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสนั้น มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า โจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคล ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำว่า สิทธิ ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสนั้น มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า โจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคล ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ครอบครองทรัพย์อันตราย (ไฟฟ้า) และขอบเขตความรับผิดของผู้ดูแลบ้าน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสามีภริยากันเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุ ซึ่งจำเลยขึงสายทองแดงเปลือยปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้รอบบ้าน แล้วไม่ดูแลให้สายไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ในสภาพเรียบร้อยเป็นเหตุให้สายไฟฟ้าตกลงมาพาดรั้ว ผู้ตายไปยืนปัสสาวะริมรั้วจึงถูกกระแสไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตายดังนี้ จำเลยได้ชื่อว่า เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ไฟฟ้านั้น ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นแต่เพียงผู้ดูแลบ้านเท่านั้น แม้จะเป็นผู้ว่าจ้างให้ช่างไฟฟ้ามาเดินสายไฟดังกล่าวก็ไม่ใช่ผู้ครอบครองไฟฟ้านั้น จึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ครอบครองทรัพย์อันตราย (ไฟฟ้า) และขอบเขตความรับผิดของผู้ดูแลทรัพย์
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสามีภริยากันเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุซึ่งจำเลยขึงสายทองแดงเปลือยปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้รอบบ้าน แล้วไม่ดูแลให้สายไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ในสภาพเรียบร้อยเป็นเหตุให้สายไฟฟ้าตกลงมาพาดรั้ว ผู้ตายไปยืนปัสสาวะริมรั้วจึงถูกกระแสไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตายดังนี้ จำเลยได้ชื่อว่าเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ไฟฟ้านั้น ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นแต่เพียงผู้ดูแลบ้านเท่านั้น แม้จะเป็นผู้ว่าจ้างให้ช่างไฟฟ้ามาเดินสายไฟดังกล่าวก็ไม่ใช่ผู้ครอบครองไฟฟ้านั้น จึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ให้เช่าที่ดินติดตั้งป้าย ไม่ใช่ผู้เสียภาษีป้าย หากไม่ได้เป็นผู้ครอบครองป้าย แม้จะถูกเปรียบเทียบปรับ
การอุทธรณ์การประเมินตามพระราชบัญญัติ ภาษีป้าย ฯมาตรา 30 นั้นใช้บังคับเฉพาะผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายที่เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องเมื่อจำเลยให้เช่าที่ดินที่ป้ายโฆษณาติดตั้งอยู่เสียแล้วจำเลยก็ไม่ใช่ผู้ครอบครองป้ายไม่มีหน้าที่เสียภาษีป้ายก็ไม่มีเหตุที่จำเลยจะอุทธรณ์การประเมินแม้จำเลยจะรับสารภาพให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับในข้อหาจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก็ไม่เป็นเหตุให้ฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างในการปฏิบัติงานตามอาชีพ แม้ไม่ได้ระบุในฟ้องโดยชัดแจ้ง
ฟ้องของโจทก์ซึ่งบรรยายว่า จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกน้ำและเป็นผู้มีอาชีพบรรทุกน้ำไปขาย จำเลยเป็นนายจ้างของ ป. ป. ขับรถยนต์นั้นบรรทุกน้ำไปเพื่อขาย ได้ขับรถยนต์โดยประมาท ชน ว. ตาย เป็นการกระทำละเมิดให้โจทก์เสียหาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วม กับ ป. เป็นฟ้องที่มีข้อหาว่า ป. ลูกจ้างของจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลย ถูกต้องสมบูรณ์แล้ว แม้จะไม่ได้กล่าวระบุข้อความว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยลงไปด้วย ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยให้การตั้งประเด็นต่อสู้คดีไว้ว่าจำเลยไม่ต้องร่วมรับผิดชอบในผลแห่งการกระทำละเมิดของ ป. ในขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกน้ำของจำเลยอยู่ในความครอบครองรับผิดชอบของผู้อื่นเช่าซื้อไป จำเลยมิได้เป็นนายจ้างของ ป. และมีได้มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน หาได้ตั้งประเด็นต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบในผลแห่งการกระทำละเมิดของ ป. เพราะ ป. มิได้ทำการในทางการที่จ้างของจำเลยไม่ การนำสืบของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น รับฟังไม่ได้
จำเลยให้การตั้งประเด็นต่อสู้คดีไว้ว่าจำเลยไม่ต้องร่วมรับผิดชอบในผลแห่งการกระทำละเมิดของ ป. ในขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกน้ำของจำเลยอยู่ในความครอบครองรับผิดชอบของผู้อื่นเช่าซื้อไป จำเลยมิได้เป็นนายจ้างของ ป. และมีได้มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน หาได้ตั้งประเด็นต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบในผลแห่งการกระทำละเมิดของ ป. เพราะ ป. มิได้ทำการในทางการที่จ้างของจำเลยไม่ การนำสืบของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น รับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างในการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง
ฟ้องของโจทก์ซึ่งบรรยายว่า จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกน้ำและเป็นผู้มีอาชีพบรรทุกน้ำไปขาย จำเลยเป็นนายจ้างของ ป. ป. ขับรถยนต์นั้นบรรทุกน้ำไปเพื่อขาย ได้ขับรถยนต์โดยประมาทชน ว. ตาย เป็นการทำละเมิดให้โจทก์เสียหาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับ ป. เป็นฟ้องที่มีข้อหาว่า ป. ลูกจ้างของจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลย ถูกต้องสมบูรณ์แล้ว แม้จะไม่ได้กล่าวระบุข้อความว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยลงไปด้วย ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยให้การตั้งประเด็นต่อสู้คดีไว้ว่าจำเลยไม่ต้องร่วมรับผิดชอบในผลแห่งการกระทำละเมิดของ ป. ในขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกน้ำของจำเลยอยู่ในความครอบครองรับผิดชอบของผู้อื่นซึ่งเช่าซื้อไป จำเลยมิได้เป็นนายจ้างของ ป. และมิได้มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน หาได้ตั้งประเด็นต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบในผลแห่งการทำละเมิดของ ป. เพราะ ป. มิได้ทำการในทางการที่จ้างของจำเลยไม่ การนำสืบของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น รับฟังไม่ได้
จำเลยให้การตั้งประเด็นต่อสู้คดีไว้ว่าจำเลยไม่ต้องร่วมรับผิดชอบในผลแห่งการกระทำละเมิดของ ป. ในขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกน้ำของจำเลยอยู่ในความครอบครองรับผิดชอบของผู้อื่นซึ่งเช่าซื้อไป จำเลยมิได้เป็นนายจ้างของ ป. และมิได้มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน หาได้ตั้งประเด็นต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบในผลแห่งการทำละเมิดของ ป. เพราะ ป. มิได้ทำการในทางการที่จ้างของจำเลยไม่ การนำสืบของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น รับฟังไม่ได้