พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615-616/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยพิจารณาจากส่วนแห่งความประมาทและฐานความรับผิดของนายจ้าง
ฎีกากล่าวเพียงว่าค่าเสียหายไม่ควรเกินกว่าจำนวนเท่านั้นเท่านี้โดยไม่มีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใด ๆ สนับสนุนเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะอ้างอิงขึ้นกล่าวไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับวิ่งคู่กันไปแล้วเกิดกระแทกกันรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับเสียหลักวิ่งข้ามเกาะกลางถนนไปชนสามีและบิดาโจทก์ถึงตายเป็นเรื่องต่างทำละเมิด ไม่ใช่ร่วมกันทำละเมิดจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2ในผลแห่งการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 ประมาทมาก ศาลให้จำเลยที่ 1,3 ใช้ค่าเสียหาย 9 ส่วน จำเลยที่ 2 ใช้ 1 ส่วน
รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับวิ่งคู่กันไปแล้วเกิดกระแทกกันรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับเสียหลักวิ่งข้ามเกาะกลางถนนไปชนสามีและบิดาโจทก์ถึงตายเป็นเรื่องต่างทำละเมิด ไม่ใช่ร่วมกันทำละเมิดจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2ในผลแห่งการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 ประมาทมาก ศาลให้จำเลยที่ 1,3 ใช้ค่าเสียหาย 9 ส่วน จำเลยที่ 2 ใช้ 1 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ
การที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 คดีนี้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นและพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ได้ชี้สองสถานไว้แล้ว. โดยมิได้ดำเนินคดีโดยมิชอบด้วยกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ก็ชอบที่จะพิพากษาแก้ หรือกลับ ไม่มีเหตุที่จะบังคับให้ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีใหม่
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วให้พิพากษาใหม่นั้นจึงมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วให้พิพากษาใหม่นั้นจึงมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่โดยศาลอุทธรณ์ ต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ
การที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 คดีนี้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จสิ้นและพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ได้ชี้สองสถานไว้แล้ว โดยมิได้ดำเนินคดีโดยมิชอบด้วยกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ก็ชอบที่จะพิพากษาแก้ หรือกลับ ไม่มีเหตุที่จะบังคับให้ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีใหม่
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วให้พิพากษาใหม่นั้นจึงมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วให้พิพากษาใหม่นั้นจึงมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การพิจารณาช่วงเวลาชำระหนี้ และการไม่ถือว่าผิดนัด
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่าจำเลยยอมชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2520 เป็นต้นไปโดยผ่อนชำระเป็นงวด ๆ คือ ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2521 เป็นต้นไปถึงวันที่ 18 ธันวาคม 2521 เงินต้นจ่ายเดือนละ 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยที่ค้าง ดังนี้ แสดงว่าจำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์เดือนละ 1 งวดทุก ๆ เดือนไป วันเริ่มต้นนับคือวันที่ 18 มกราคม 2521 วันครบกำหนด 1 เดือนในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2521 การที่จำเลยชำระหนี้งวดแรกแก่โจทก์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2521 จึงเป็นการชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้หาเป็นการผิดนัดชำระหนี้ จนระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วอันจะเป็นเหตุให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ทันทีในเมื่อโจทก์ร้องขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจในการลงชื่อเรียงฟ้องคดีอาญา ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ และฟ้องมีสมบูรณ์
เมื่อโจทก์ได้มอบหมายให้ผู้ใดเป็นตัวแทนโจทก์ในการดำเนินคดีอาญาแล้ว ผู้นั้นมีฐานะเป็นคู่ความในคดีในนามของโจทก์ย่อมมีอำนาจตามกฎหมายที่จะลงชื่อเป็นโจทก์ในฟ้อง เรียงหรือแต่งคำฟ้อง และลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงฟ้องได้ หาเป็นการขัดต่อ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 มาตรา 36 ไม่
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ลงชื่อเป็นผู้เรียงมาในฟ้องฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) จะยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุนี้หาได้ไม่
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ลงชื่อเป็นผู้เรียงมาในฟ้องฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) จะยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนหลังคู่สัญญาสิ้นชีวิต สิทธิและหน้าที่ตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมาย
สัญญามีใจความว่า เจ้าของที่ดินให้จำเลยสร้างอาคารในที่ดินแล้วเรียกค่าก่อสร้างจากผู้เช่าอาคารอาคารที่สร้างขึ้นยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้สร้าง สัญญานี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนแม้ต่อมาผู้ให้สร้างจะตายตามกฎหมายหรือโดยสภาพก็ไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาย่อมตกทอดยังทายาท ทายาทต้องผูกพันตามสัญญานั้น ผู้จัดการมรดกถูกฟ้องตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายอำเภอแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ - การทุจริตต่อหน้าที่
พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 มาตรา 24 มิได้บัญญัติให้อำนาจนายอำเภอแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่แต่อย่างใด การที่นายอำเภอมีคำสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานสำรวจสำหรับเขตหมู่บ้านและแต่งตั้งให้มีเจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในหมู่บ้านที่ตนปกครองรับผิดชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผลให้จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ แม้ต่อมาจำเลยได้จัดเก็บเงินภาษีบำรุงท้องที่จากราษฎร แล้วเบียดบังเอาเงินดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายอำเภอสั่งแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ต้องมีฐานตามกฎหมาย หากไม่มีคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 24 มิได้บัญญัติให้อำนาจนายอำเภอแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่แต่อย่างใด การที่นายอำเภอมีคำสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานสำรวจสำหรับเขตหมู่บ้าน และแต่งตั้งให้มีเจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในหมู่บ้านที่ตนปกครองรับผิดชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผลให้จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ แม้ต่อมาจำเลยได้จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่จากราษฎร แล้วเบียดบังเอาเงินดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริตจำเลยก็ไม่มีหลักฐานเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรมที่ดินต่อความเสียหายจากโฉนดปลอม และอายุความของสิทธิเรียกร้อง
เจ้าพนักงานที่ดินไม่ตรวจโฉนดตามที่มีโอกาสตรวจ จึงไม่ทราบว่า โฉนดปลอม เป็นประมาทเลินเล่อทำให้เจ้าของที่ดินเสียหาย กรมที่ดิน ต้องรับผิดในการกระทำของผู้แทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 แต่ไล่เบี้ยเอาจากเจ้าพนักงานที่ดินได้ กรณีไม่ใช่ละเมิด มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 164
โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงแสดงสภาพแห่งข้อหาชัดแจ้งและข้ออ้าง ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว การจะปรับข้อเท็จจริงด้วยบทกฎหมายใดเป็น หน้าที่ของศาล ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงแสดงสภาพแห่งข้อหาชัดแจ้งและข้ออ้าง ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว การจะปรับข้อเท็จจริงด้วยบทกฎหมายใดเป็น หน้าที่ของศาล ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดคนต่างด้าวไม่มีใบสำคัญประจำตัว: ความผิดสำเร็จรายปี ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง
จำเลยเป็นคนต่างด้าวที่มีอายุเกิน 12 ปีแล้ว อยู่ในราชอาณาจักรไทยตลอดมาโดยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 5 จำเลย ต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ถ้าไม่มีก็เป็นความผิดซึ่งมาตรา 20 กำหนดโทษปรับเป็นรายปี ปีละไม่เกิน 500 บาท ตลอดเวลาที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดสำเร็จในแต่ละปีไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง ความผิดในปีสุดท้ายจึงไม่ขาดอายุความ