คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 391

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 655 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7117/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน การคืนเงินมัดจำ ดอกเบี้ยผิดนัด และค่าเสียหายจากความผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีข้อความว่า ผู้จะซื้อได้ชำระเงินค่าที่ดินแล้ว 432,000 บาท คงค้างชำระอีกเพียง 4,200 บาทซึ่งจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์... หากสัญญาจะซื้อจะขายนี้ไม่ได้กระทำภายในกำหนดเวลาเพราะความผิดของผู้จะขาย ผู้จะขายต้องคืนเงินมัดจำให้แก่ผู้จะซื้อพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีดังนี้ เมื่อตามสัญญาไม่ปรากฏว่ามีการวางมัดจำกันไว้ก็ต้องถือว่าเงิน432,000 บาท ที่จำเลยรับไปจากโจทก์แล้วนั้นเป็นมัดจำซึ่งตรงตามคำฟ้องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงิน 432,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ในฐานที่เป็นมัดจำ อันเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(3) และเป็นคนละกรณีกับการใช้เงินคืนเมื่อมีการใช้สิทธิเลิกสัญญาตามมาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งกำหนดให้คิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลาที่รับไว้เมื่อการเรียกคืนเงินมัดจำไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คิดดอกเบี้ยไว้โดยเฉพาะจึงต้องเป็นไปตามหลักทั่วไปตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด เมื่อหนังสือทวงถามให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์ยังมิได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืน จึงต้องถือว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืนโดยการฟ้องคดี จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยของเงินมัดจำนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 3,240,000 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยฎีกายอมรับผิดชำระเงิน 432,000 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ดังนั้น ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาคือผลต่างของจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดชำระแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 กับที่จำเลยฎีกามา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6152/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากสัญญาจะซื้อจะขาย และการพิพากษาข้ามขั้นตอน
โจทก์มอบที่ดินให้จำเลยทำประโยชน์นับแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายการที่จำเลยขุดดินในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ ย่อมมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เพราะเป็นการตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยถูกต้อง จึงไม่เป็นเรื่องลาภมิควรได้และโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย เนื่องจากจำเลยผิดสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อจำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าเมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมและวรรคท้ายบัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้น หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ โดยไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรก่อนจึงจะเรียกร้องค่าเสียหายได้ การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยขุดดินไปขายเป็นหลุมขนาดใหญ่เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการถมดินให้กลับสู่สภาพเดิม แม้โจทก์จะมีสิทธิบังคับให้จำเลยถมดินให้กลับมีสภาพเดิมก่อน แต่เมื่อโจทก์เลือกที่จะบังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เลยก็ย่อมทำได้เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้ การที่ศาลพิพากษาไปตามคำขอของโจทก์จึงไม่เป็นการพิพากษาข้ามขั้นตอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6152/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญา โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงจะซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ วางเงินมัดจำไว้แล้ว แต่เมื่อถึงวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ จำเลยไม่ไปรับโอนและชำระราคาส่วนที่เหลือ ฟ้องโจทก์ชัดเจนอยู่แล้ว และที่โจทก์บรรยายว่า โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำประโยชน์นับแต่วันทำสัญญา หลังจากนั้นจำเลยขุดดินไปขายได้กำไรมากกว่าเงินมัดจำที่วางไว้เป็นสิบเท่านั้นเป็นการเชื่อมโยงให้เห็นว่าเมื่อมีการเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพราะเหตุที่จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วเกิดมีความเสียหายอย่างไรบ้าง ที่จำเลยจะต้องรับผิดใช้ ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ไม่ระบุว่าจำเลยขุดดินไปตั้งแต่วันเดือนปีใด แต่ในคำฟ้องก็พอจะทราบได้ว่า การขุดดินไปขายจะต้องเกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่วันทำสัญญาจนถึงวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวมีวันที่เดือนปีปรากฎชัดเจนอยู่ในคำฟ้องแล้วจำเลยย่อมสามารถเข้าใจได้ดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขอเรียกร้องค่าเสียหายที่จำเลยทำให้ที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นหลุมขนาดใหญ่เพื่อโจทก์จะได้นำไปซื้อที่ดินมาถมให้คงสภาพเดิมอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายในการถมดินนั่นเอง
โจกท์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยผิดสัญญาและที่บรรยายฟ้องเรื่องจำเลยขุดดินไปขาย เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอะไรในการผิดสัญญา ไม่เป็นการบรรยายฟ้องขัดแย้งกัน ฟ้องโจทก์แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
กรณีตามฟ้องที่โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำประโยชน์นับแต่วันทำสัญญา การขุดดินในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยย่อมมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เพราะเป็นการตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกันโดยถูกต้องมิใช่เป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะต้องอ้างกฎหมายได้ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นเรื่องลาภมิควรได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเนื่องจากจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะจึงตกอยู่ในบังคับอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีก ฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ โดยไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรก่อนจึงจะเรียกค่าเสียหายได้
โจทก์ฟ้องจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการถมดินให้ที่ดินกลับคืนสู่สภาพดังที่เป็นอยู่เดิม แม้โจทก์จะมีสิทธิบังคับให้จำเลยถมดินให้ที่ดินของโจทก์กลับมีสภาพเดิมก่อนก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เลือกที่จะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เลยก็ย่อมทำได้เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้ การที่ศาลล่างทั้งสองได้พิพากษาไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นการพิพากษาข้ามขั้นตอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5339/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาเช่าซื้อกำหนดชำระค่าเช่าค้างชำระก่อนเลิกสัญญาเป็นเบี้ยปรับ ศาลลดค่าเสียหายได้
ข้อสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดว่า แม้ในที่สุดต่อไปภายหน้าสัญญาต้องเลิกกันผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของได้รับรถยนต์คืนหรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้น เป็นข้อสัญญากำหนดการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อระหว่างที่ยังมิได้มีการบอกเลิกสัญญา ซึ่งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับได้ และพอแปลได้ว่าผู้เช่าซื้อยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตามจำนวนดังกล่าวอันเป็นการกำหนดความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้เป็นการล่วงหน้า มิใช่ข้อสัญญาที่กำหนดค่าเช่าตามปกติหรือค่าใช้ทรัพย์โดยแท้ไว้ แต่หากเป็นราคาขายรถยนต์ที่กำหนดไว้ส่วนหนึ่งรวมอยู่ด้วยข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ใช่ข้อตกลงเป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้ากรณีเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม แต่เป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหรือหากศาลเห็นว่าค่าเสียหายนี้สูงเกินส่วน ศาลชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหายจากการไม่คืนทรัพย์, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหลายงวดติดต่อกัน โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบแล้ว จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่าได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ทุกงวดไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาก่อน สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน ฎีกาของจำเลยที่ 1 เรื่องนี้ไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่จะรับวินิจฉัย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ย่อมมีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 , 392 และ 369 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม โจทก์รับว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับตามสัญญาซื้อขายและผลของการบอกเลิกสัญญา โดยศาลลดเบี้ยปรับให้เหมาะสม
การที่ธนาคารโจทก์บอกเลิกสัญญาทรัสต์รีซีท เพื่อให้จำเลยนำเงินค่าสินค้า ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไปแล้วคืนโจทก์ทันทีพร้อมดอกเบี้ย เป็นผลเพียงให้สัญญาทรัสต์รีซีทสิ้นสุดลง ส่วนความผูกพันในเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญาที่ล่วงมาแล้วก่อนบอกเลิกสัญญายังคงมีเหมือนเดิม กรณีไม่อาจนำเรื่องการกลับคืนสู่ฐานะเดิมมาใช้บังคับได้
สัญญาทรัสต์รีซีทที่ให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยผิดนัดจากจำเลยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์เรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารโจทก์ มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนความเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับตามสัญญาซื้อขาย, สัญญาทรัสต์รีซีท, ศาลลดเบี้ยปรับ, อัตราดอกเบี้ยสูงเกินสมควร
การที่ธนาคารโจทก์บอกเลิกสัญญาทรัสต์รีซีท เพื่อให้จำเลยนำเงินค่าสินค้า ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไปแล้วคืนโจทก์ทันทีพร้อมดอกเบี้ย เป็นผลเพียงให้สัญญาทรัสต์รีซีทสิ้นสุดลง ส่วนความผูกพันในเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญาที่ล่วงมาแล้วก่อนบอกเลิกสัญญายังคงมีเหมือนเดิมกรณีไม่อาจนำเรื่องการกลับคืนสู่ฐานะเดิมมาใช้บังคับ
สัญญาทรัสต์รีซีทที่ให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยผิดนัดจากจำเลยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์เรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารโจทก์ มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนความเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับตามสัญญา ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งให้อำนาจศาลที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาเช่าซื้อ-คืนรถ: ศาลยืนตามเดิม จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อเคยผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาแล้วครั้งหนึ่งแต่เมื่อนำค่าเช่าซื้อที่ค้างไปชำระ จำเลยก็รับชำระโดยคิดค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ย ต่อมาโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้ออีก จำเลยไปยึดรถคืนโจทก์นำเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างกับค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยไปชำระจำเลยก็รับชำระเช่นเดิม แสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือเอาข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อเรื่องการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญสัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่สิ้นสุด เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างแล้วจำเลยต้องคืนรถที่เช่าซื้อแก่โจทก์ จำเลยไม่ยอมคืนจึงเป็นผู้ผิดสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งซึ่งในส่วนของการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามให้ทำได้ด้วยการใช้เงิน เมื่อค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์เป็นเงินน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ต้องคืน ศาลจึงสามารถนำเงินค่าใช้ทรัพย์สินมาหักออกจากค่าเช่าซื้อที่ต้องคืนได้โดยจำเลยไม่จำต้องฟ้องแย้งไว้
เมื่อโจทก์ไม่มีรถพอใช้งาน โจทก์สามารถหารถอื่นมาทดแทนได้หากต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ต้องเสียค่าเช่า ค่าเช่าที่โจทก์ต้องเสียไปถือเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา โจทก์เรียกให้จำเลยชดใช้ได้ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการดังกล่าวจนงานล่าช้าและถูกปรับค่าปรับไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดจากจำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อ, การเลิกสัญญาโดยปริยาย, การแก้ไขข้อผิดพลาดในคำพิพากษา
ตามสัญญาเช่าซื้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกค่าขาดราคาเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 แต่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยาย ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายตามสัญญาได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์เรียกร้องว่าเป็นเบี้ยปรับที่โจทก์พึงได้รับตามข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่าซื้อแต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดลงโดยวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเป็นเงิน 60,000 บาท แต่ในคำพิพากษาตอนต่อมาเมื่อนำไปรวมกับค่าขาดราคากลับระบุค่าขาดประโยชน์คือ 45,000 บาท เห็นได้ชัดว่า จำนวนเงินที่ระบุในตอนหลังนี้พิมพ์ผิดพลาดไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เมื่อข้อผิดพลาดเล็กน้อยดังกล่าวปรากฏแก่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขโดยถูกต้องได้ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์และเพิ่งหยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยาย สิทธิเรียกร้องค่าขาดราคา/ค่าขาดประโยชน์เป็นเบี้ยปรับ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาด
ตามสัญญาเช่าซื้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกค่าขาดราคาเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379แต่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยาย ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายตามสัญญาได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์เรียกร้องว่าเป็นเบี้ยปรับที่โจทก์พึงได้รับตามข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่าซื้อ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดลงโดยวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเป็นเงิน 60,000 บาทแต่ในคำพิพากษาตอนต่อมาเมื่อนำไปรวมกับค่าขาดราคากลับระบุค่าขาดประโยชน์คือ45,000 บาท เห็นได้ชัดว่า จำนวนเงินที่ระบุในตอนหลังนี้พิมพ์ผิดพลาดไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 143 เมื่อข้อผิดพลาดเล็กน้อยดังกล่าวปรากฏแก่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขโดยถูกต้องได้ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์และเพิ่งหยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาก็ตาม
of 66