คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 391

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 655 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7713/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งปันผลประโยชน์จากโรงเรียน: ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำกัดค่าเสียหาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างโจทก์และจำเลย โดยคิดจากจำนวนนักเรียนที่เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 700 คน ต่อ 1 ภาคการศึกษากรณีที่มีน้อยกว่า 700 คน ให้ถือว่าจำนวนนักเรียนเป็น 700 คน จำเลยเป็นผู้เก็บค่าเล่าเรียน คนละ 700 บาท ส่งแก่โจทก์ทุกภาคการศึกษา จำเลยจะได้ผลตอบแทนเป็นเงินร้อยละ 15 ของค่าเล่าเรียนที่เก็บได้ โดยโจทก์เป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งจัดสร้างห้องเรียนคอมพิวเตอร์ให้จำเลย 1 ห้อง เมื่อครบ 4 ปีแล้ว โจทก์จะมอบคอมพิวเตอร์ วัสดุอุปกรณ์ห้องเรียน และหลักสูตรการเรียนการสอนให้จำเลยทั้งหมด เมื่อผลของสัญญามิได้กระทบต่อสิทธิหรือประโยชน์ของคนโดยทั่วไป จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนรูปแบบหนึ่งซึ่งใช้บังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 149 และ 369 ไม่ใช่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีหรือเป็นสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายเงินผ่อน จึงเป็นธรรมและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะตามมาตรา 150
การตีความสัญญาต้องเป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องจัดหานักเรียนเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ให้ได้ภาคการศึกษาละ 700 คน และกำหนดให้จำเลยจะต้องเก็บค่าเล่าเรียนจากเด็กนักเรียนคนละ 700 บาทต่อหนึ่งภาคการศึกษา โดยจำเลยจะต้องนำเงินค่าเล่าเรียนส่งแก่โจทก์ในภาคการศึกษาที่ 1 และที่ 2 ตามที่กำหนด ย่อมหมายถึงว่าจำเลยจะต้องเก็บเงินจากนักเรียนเหล่านั้นให้ได้ หากจำเลยเก็บไม่ได้จำเลยก็ต้องรับผิดในเงินส่วนนั้น ซึ่งตามความประสงค์ของคู่สัญญาย่อมจะเข้าใจตรงกันเช่นนั้น โจทก์มิได้มาลงทุนจัดสร้างห้องคอมพิวเตอร์เองและว่าจ้างให้จำเลยเป็นผู้หานักเรียนมาเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และว่าจ้างจำเลยให้เป็นตัวแทนเก็บค่าเล่าเรียนของนักเรียนแก่โจทก์แต่อย่างใด มิฉะนั้นโจทก์คงจะไม่ตอบแทนจำเลยเมื่อเก็บเงินครบ 4 ปีแล้ว โดยยกกรรมสิทธิ์เครื่องคอมพิวเตอร์วัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้แก่จำเลย ทั้งจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนในการศึกษาภาคที่ 1 ดังนั้น เมื่อภาคการศึกษาที่ 2 จำเลยหาเงินมาชำระแก่โจทก์ไม่ครบจึงต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญา
จำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ 3 ภาคการศึกษา โจทก์จึงยึดเครื่องคอมพิวเตอร์คืนไป เท่ากับโจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาต่อกัน คู่กรณีย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนที่จำเลยค้างชำระในภาคการศึกษาที่ 2 ปี 2537ที่ขาดอยู่และในภาคการศึกษาที่ 1 ปี 2538 รวมเป็นเงิน 583,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่ากับเรียกค่าเสียหายส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม การที่ศาลกำหนดค่าเสียหายเป็นเงิน 250,000 บาทจึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การเลิกสัญญาโดยปริยายและการคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ย
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทในราคา 3,500,000 บาทโดยโจทก์วางเงินมัดจำแก่จำเลย 300,000 บาท เมื่อถึงกำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินโจทก์จำเลยต่างไปยังสำนักงานที่ดินแต่ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทได้เนื่องจากยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาตามประกาศขายที่ดินพิพาท และการประกาศดังกล่าวเป็นการประกาศตามกฎกระทรวงฉบับที่ 35(พ.ศ. 2531) ข้อ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปิดประกาศ ฉะนั้น การที่จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญา และไม่ใช่ความรับผิดชอบของโจทก์ โจทก์จึงไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญาเช่นกัน
จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเนื่องจากโจทก์ไม่ไปตามนัด หาใช่เนื่องจากโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงกันไว้ไม่ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัดตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบ
เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญา และโจทก์ไม่ติดใจที่จะนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่โดยให้ทนายความมีหนังสือเรียกค่าเสียหายและเรียกมัดจำคืนส่วนจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ขอนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ แต่โจทก์มิได้มีหนังสือตอบตกลงด้วยแสดงว่าโจทก์จำเลยต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำ 300,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้เป็นต้นไป แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันผิดนัด เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยผิดนัดไม่คืนมัดจำแก่โจทก์เมื่อใดจึงสมควรให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินล่าช้าจากข้อจำกัดทางกฎหมาย ไม่ถือเป็นผิดสัญญา และการเลิกสัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
โจทก์จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทได้ เนื่องจากยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาตามประกาศขายที่ดินพิพาท และการประกาศดังกล่าวเป็นการประกาศตามกฎกระทรวงฉบับที่ 35 (พ.ศ. 2531) ข้อ 5 ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ปิดประกาศ ฉะนั้นการที่จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญา และพฤติการณ์ก็ไม่ใช่ความรับผิดชอบของโจทก์เช่นกัน เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญา และโจทก์ไม่ติดใจที่จะนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ โดยให้ทนายความมีหนังสือเรียกค่าเสียหายและเรียกมัดจำคืน ส่วนจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ขอนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ แต่โจทก์มิได้มีหนังสือตอบตกลงด้วย จำเลยจึงมีหนังสือถึงโจทก์ขอริบมัดจำ แสดงว่าโจทก์จำเลยต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาโดยปริยายจากพฤติการณ์ของคู่สัญญาและการขาดการติดต่อ
ตามหนังสือข้อตกลงดังกล่าวข้อ 17 ระบุถึงการเลิกข้อตกลงว่า ถ้าผู้รับโครงการไม่ดำเนินการใด ๆ หรือดำเนินการไม่เป็นไปตามข้อผูกพันในข้อตกลงแม้แต่ข้อหนึ่งข้อใดภายในกำหนด 90 วัน ถือว่าข้อตกลงนี้สิ้นสุดลง โดยมิต้องบอกกล่าวให้ผู้รับโครงการทราบ คุรุสภาจะสรรหาผู้จะรับเป็นผู้รับโครงการอื่นต่อไป หลังจากจำเลยไม่ยอมโอนบ้านตัวอย่างพร้อมที่ดินให้โจทก์แล้ว ต่อมาโครงการเคหะสงเคราะห์ดังกล่าวประสบความล้มเหลว โจทก์ได้จัดให้ ผู้อื่นเข้าดำเนินโครงการ ส่วนจำเลยได้นำป้ายโครงการออกแล้วใช้ชื่อหมู่บ้านเดชาดำเนินการต่อมา และตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2530 ถึงเดือนมกราคม 2535 โจทก์และจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ติดต่อกันทางเอกสารเลย รวมเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่า ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างไม่ติดใจที่จะปฏิบัติตามหนังสือข้อตกลงต่อไป หนังสือข้อตกลงดังกล่าวย่อมยกเลิกกันโดยปริยาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามหนังสือข้อตกลงที่เลิกกันไปแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อให้เกิดสิทธิในการได้รับเงินคืนสู่สถานะเดิม แม้จะมีการอ้างเหตุผิดสัญญา
แม้จะฟังว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้มาที่สำนักงานที่ดินในตอนเช้าของวันกำหนดนัดโอน แต่เมื่อโจทก์ให้คนไปตามจำเลยทั้งสามก็มา จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยทั้งสามไม่ไปโอนที่ดินตามนัด และการที่ได้เลื่อนจะนัดโอนที่ดินใน ตอนบ่ายและจำเลยทั้งสามไม่มาตามนัดก็ได้ความว่า ต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่สำนักงานที่ดิน หาไม่พบ แม้จำเลยจะมาตอนบ่าย เจ้าพนักงานที่ดินก็ไม่สามารถจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้อยู่ดี จำเลยทั้งสาม จึงมิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์
เมื่อโจทก์ได้ฟ้องเรียกเงินมัดจำ 50,000 บาท และเงิน 240,000 บาท อันเป็นเงินที่จำเลยทั้งสามได้รับไว้แล้วเป็นค่าที่ดินคืน แม้โจทก์จะเรียกค่าเสียหายอื่นรวมมาด้วย โดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาก็ดี เมื่อปรากฏว่าเป็นเพียงกรณีเลิกสัญญากันและโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินส่วนหนึ่งในจำนวนที่เรียกร้องทั้งหมดจากจำเลยทั้งสาม ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งสามคืนเงินจำนวน 290,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมได้จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญารับฝากขายและการหักกลบลบหนี้ค่าเสียหายจากการไม่คืนพื้นที่
โจทก์และจำเลยทำสัญญารับฝากขายสินค้ากันโดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 120,000 บาท แก่จำเลย และโจทก์วางเงินไว้เป็นประกันแก่จำเลย 575,100 บาท โดยพื้นที่รับฝากสินค้าจำเลยเช่ามาจากบริษัท ซ. ต่อมาบริษัท ซ. บอกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กับจำเลย จำเลยจึงไม่สามารถให้โจทก์ใช้พื้นที่ได้ ทำให้สัญญารับฝากขายสินค้าพิพาทต้องเลิกกันโดยโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแก่การเลิกสัญญานั้น มาตรา 392 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ โจทก์ต้องออกจากพื้นที่พิพาทเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ออกจากพื้นที่พิพาท จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาเงินประกันคืนจากจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 แต่เมื่อจำเลยได้ ฟ้องแย้งและฎีกาขอให้เอาเงินค่าเสียหายที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยหักออกจากเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยขอหักหนี้โดยไม่ต้องการประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาต่อไป ซึ่งย่อมกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคสอง จึงต้องนำเอาค่าเสียหายที่โจทก์ก่อขึ้นอันเนื่องมาจากการไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทให้แก่จำเลยตลอดเวลา ที่ยังไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน หักกับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยดังกล่าวจนกว่าจะส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน
การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหายให้จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาท นั้น เป็นฎีกาที่เกินกว่าคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้ เพราะฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใดๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญารับฝากขาย การหักกลบลบหนี้ค่าเสียหาย และสิทธิในการได้รับเงินประกันคืน
โจทก์และจำเลยทำสัญญารับฝากขายสินค้ากันโดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเดือนละ 120,000 บาท แก่จำเลย และโจทก์วางเงิน ไว้เป็นประกันแก่จำเลย 575,100 บาท โดยพื้นที่รับฝากสินค้า จำเลยเช่ามาจากบริษัทซ.ต่อมาบริษัทซ.บอกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กับจำเลย จำเลยจึงไม่สามารถให้โจทก์ใช้พื้นที่ได้ ทำให้สัญญารับฝากขายสินค้าพิพาทต้องเลิกกันโดยโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 การชำระหนี้ ของคู่สัญญาอันเกิดแก่การเลิกสัญญานั้น มาตรา 392 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทน มาใช้บังคับโจทก์ต้องออกจากพื้นที่พิพาทเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมแต่โจทก์เมื่อยังไม่ได้ออกจากพื้นที่พิพาท จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาเงินประกันคืนจากจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยก ขึ้นมาวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 แต่เมื่อ จำเลยได้ฟ้องแย้งและฎีกาขอให้เอาเงินค่าเสียหายที่โจทก์ ต้องชำระแก่จำเลยหักออกจากเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับ จำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยขอหักหนี้โดยไม่ต้องการประโยชน์ แห่งเงื่อนเวลาต่อไป ซึ่งย่อมกระทำได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 วรรคสอง จึงต้องนำเอาค่าเสียหายที่โจทก์ก่อขึ้นอันเนื่องมาจากการ ไม่ส่งมอบพื้นที่พิพาทให้แก่จำเลยตลอดเวลาที่ยังไม่ส่งมอบ พื้นที่พิพาทคืนหักกับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลย ดังกล่าวจนกว่าจะส่งมอบพื้นที่พิพาทคืน การที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อหักกับเงินประกันของโจทก์ที่เหลืออยู่ จำนวน 352,361.76 บาทแล้ว โจทก์จะต้องชำระเงินค่าเสียหาย ให้แก่จำเลยอีกจำนวน 212,698.56 บาทนั้นเป็นฎีกาที่เกินกว่า คำขอตามฟ้องแย้งของจำเลย ศาลบังคับให้ไม่ได้เพราะฟ้องแย้ง เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้สิ้นสุดแล้ว ธนาคารไม่อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยได้เกินอัตราเดิมตามสัญญา
การที่ธนาคารโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระเงินกู้ทั้งหมดพร้อมไถ่ถอนจำนองและจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว แสดงว่า โจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแล้วตามหนังสือดังกล่าว เมื่อสัญญา สิ้นสุดลง โจทก์จะอาศัยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงิน ให้สินเชื่อในอัตราที่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ ที่ผิดเงื่อนไขได้ถึงร้อยละ 24 ต่อปีมาปรับคิดดอกเบี้ยกับจำเลย ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นหาได้ไม่ เพราะสัญญาที่ให้สิทธิ แก่โจทก์ในการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสิ้นผลไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บอกเลิกสัญญากู้เงินและอัตราดอกเบี้ยหลังสัญญาหมดอายุ
การที่ธนาคารโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระเงินกู้ทั้งหมดพร้อมไถ่ถอนจำนองและจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว แสดงว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแล้วตามหนังสือดังกล่าว เมื่อสัญญาสิ้นสุดลง โจทก์จะอาศัยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อในอัตราที่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขได้ถึงร้อยละ 24 ต่อปีมาปรับคิดดอกเบี้ยกับจำเลยในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นหาได้ไม่ เพราะสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์ในการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสิ้นผลไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารชุด: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ส่วนกลาง (สวนหย่อม) ไม่ถือเป็นผิดสัญญา หากผู้ซื้อทราบและยินยอมโดยปริยาย
แม้จำเลยจะได้แสดงสวนหย่อมไว้ในใบโฆษณาและอาคารจำลองก็ตาม แต่เมื่อปรากฎว่าอาคารทุกหลังในโครงการที่จำเลยเสนอขายนี้ได้ตอกเสาเข็มไว้แล้วก่อนเปิดขาย มีเสาเข็มหลังละประมาณ 200 ต้น แต่ละต้นเหลือส่วนบนโผล่พ้นดินประมาณ 2 เมตร และโจทก์รู้เห็นว่าจะมีการก่อสร้างอาคารตรงที่ระบุว่าเป็นสวนหย่อม ทั้งโจทก์รับมอบห้องชุดจากจำเลยหลังทำสัญญาจะซื้อจะขาย 2 ปีเศษอาคารชุดที่พิพาทก่อสร้างไปได้ 3 ชั้นแล้ว การที่โจทก์รู้เห็นการก่อสร้างอาคารชุดที่พิพาทมาโดยตลอด แต่โจทก์ก็ยังคงเข้าทำสัญญาและติดต่อปฏิบัติตามสัญญาตลอดมาแสดงว่าโจทก์หาได้ถือว่า การจะมีสวนหย่อมหน้าอาคารชุดหลังที่โจทก์จะซื้อห้องชุดหรือไม่ ย่อมไม่เป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
of 66