คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัยยุทธ กลับอำไพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยขยายเวลาอุทธรณ์: การติดต่อทนายความและการเปิดทำการศาลเป็นปัจจัยที่สามารถดำเนินการได้
ผู้ร้องทั้งสองทราบกำหนดนัดและผลคดีรวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับทนายของผู้ร้องทั้งสองได้โดยตลอด แม้ผู้ร้องทั้งสองอยู่ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่ผู้ร้องทั้งสองมีทนายความในประเทศไทยที่มีอำนาจดำเนินคดีแทน และผู้ร้องทั้งสองสามารถติดต่อกับทนายความได้ ประกอบกับศาลชั้นต้นก็ยังคงเปิดทำการอยู่ เช่นนี้ ทนายความของผู้ร้องทั้งสองย่อมสามารถดำเนินการขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ การที่ผู้ร้องทั้งสองมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายในกำหนดจึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองขาดตอนเมื่อผู้เยาว์ออกจากบ้านนาน ผู้กระทำไม่ผิดฐานพรากผู้เยาว์
การที่ ป.พ.พ. มาตรา 1566 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดานั้น เป็นบทบัญญัติในหมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร อันเป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้บิดามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ ที่จะมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของผู้เยาว์ รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สินของผู้เยาว์ เนื่องจากผู้เยาว์เป็นผู้ที่ยังอ่อนในด้านสติปัญญา ความคิด และร่างกาย ขาดความรู้ ความชำนาญ จึงต้องมีผู้ใช้อำนาจปกครองคอยปกครองดูแลจนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ แต่ความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วยตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก นั้น แม้กฎหมายบัญญัติโดยมุ่งที่จะคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลของผู้เยาว์ เพื่อปกป้องมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการล่วงละเมิดต่ออำนาจปกครองก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวนอกจากคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาแล้ว ยังคุ้มครองอำนาจปกครองดูแลของผู้ปกครองและผู้ดูแลผู้เยาว์ด้วย เห็นได้ว่าการล่วงละเมิดอำนาจปกครองที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก มีความหมายแตกต่างจากอำนาจปกครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 ประกอบกับการพรากผู้เยาว์เป็นความผิดทางอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความไม่ได้ ดังนี้ การพรากผู้เยาว์ที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 319 วรรคแรกได้นั้น ผู้เยาว์ต้องอยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตามสภาพความเป็นจริงว่าผู้เยาว์อยู่ในความดูแลหรือไม่ หากผู้เยาว์ไปจากการดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเสียแล้ว อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลย่อมขาดตอนหรือสิ้นสุดลง แต่หากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลยังดูแลเอาใจใส่ผู้เยาว์อยู่ ผู้เยาว์ย่อมอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตลอดเวลาโดยไม่ขาดตอนหรือสิ้นสุดลง
คดีนี้ ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์หนีออกจากบ้านพักที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาไปก่อนเกิดเหตุเกือบ 1 ปี และพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักรับฟังว่า ผู้เสียหายที่ 1 ยังใส่ใจดูแลผู้เสียหายที่ 2 อยู่ ดังนี้ อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 จึงขาดตอนและสิ้นสุดลง ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ไม่อยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 เป็นธุระจัดหาให้ผู้เสียหายที่ 2 ไปค้าประเวณีให้แก่สายลับ จึงไม่เป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากมารดาเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย
of 2