คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 391

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 655 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายห้องชุด: การแสดงเจตนาและข้อตกลงที่แท้จริงมีผลเหนือกว่าโฆษณาชวนเชื่อ
แม้จำเลยจะได้แสดงสวนหย่อมไว้ในใบโฆษณาและอาคารจำลองก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าอาคารทุกหลังในโครงการที่จำเลยเสนอขายนี้ได้ตอกเสาเข็มไว้แล้วก่อนเปิดขาย มีเสาเข็มหลังละประมาณ 200 ต้น แต่ละต้นเหลือส่วนบนโผล่ พ้นดินประมาณ 2 เมตร และโจทก์รู้เห็นว่าจะมีการก่อสร้างอาคาร ตรงที่ระบุว่าเป็นสวนหย่อม ทั้งโจทก์รับมอบห้องชุดจากจำเลย หลังทำสัญญาจะซื้อจะขาย 2 ปีเศษอาคารชุดที่พิพาทก่อสร้าง ไปได้ 3 ชั้นแล้ว การที่โจทก์รู้เห็นการก่อสร้างอาคารชุด ที่พิพาทมาโดยตลอด แต่โจทก์ก็ยังคงเข้าทำสัญญาและติดต่อ ปฏิบัติตามสัญญาตลอดมาแสดงว่าโจทก์หาได้ถือว่า การจะมี สวนหย่อมหน้าอาคารชุดหลังที่โจทก์จะซื้อห้องชุดหรือไม่ ย่อมไม่เป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญา โจทก์ย่อม ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยหลังสัญญา และเบี้ยปรับ: ศาลฎีกาชี้ขาดขอบเขตการบังคับใช้
เบี้ยปรับนั้นเป็นข้อกำหนดในสัญญาที่ลูกหนี้ตกลงไว้ล่วงหน้ายอมชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทกำหนดว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนดังนี้ ปีแรกอัตราดอกเบี้ยร้อยละ12.95 ต่อปี ปีที่ 2 เป็นต้นไป แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว(FLOATINGRATE) ในอัตราร้อยละ HLR-0.5 ต่อปี(ซึ่ง ณ วันทำสัญญาอัตราดอกเบี้ย HLR-14.0 ต่อปี) แต่หากธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่ากฎหมายอนุญาตให้คิดได้ ผู้กู้ตกลงให้ธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ โดยให้ถือว่า ผู้กู้ได้ทราบและให้ความยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ล่วงหน้าแล้วโดยไม่โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น และตามสัญญาจำนองที่ดินฉบับพิพาทก็กำหนดให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ในทำนองเดียวกันนั้น อันเป็นกรณีที่จำเลยให้สิทธิแก่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ในวันทำสัญญาให้สูงขึ้นอีกได้ ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ศาลจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ให้โจทก์ทุกเดือนตามสัญญาเรื่อยมาโดยชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 แล้วก็ผิดนัดจนโจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยดำเนินการชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายในวันที่5 ตุลาคม 2540 และหนังสือดังกล่าวไปถึงจำเลยแล้วเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2540 สัญญากู้จึงเป็นอันสิ้นสุดแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยคงมีอยู่ก่อนวันที่สัญญากู้สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนวันดังกล่าวโจทก์มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไม่เกินอัตราร้อยละ19 ต่อปี ตามประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อมิใช่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2540ตามอัตราที่โจทก์คิดคำนวณเอาโดยอาศัยตามประกาศ เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นประกาศของของโจทก์หลังจากที่สัญญากู้ได้สิ้นสุดไปแล้ว ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยตามสัญญา และการบังคับจำนอง: ศาลไม่อาจลดเบี้ยปรับ
เบี้ยปรับนั้นเป็นข้อกำหนดในสัญญาที่ลูกหนี้ตกลงไว้ล่วงหน้ายอมชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา
ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทกำหนดว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนดังนี้ ปีแรกอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12.95 ต่อปี ปีที่ 2 เป็นต้นไป แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FLOATING RATE) ในอัตราร้อยละ HLR - 0.5 ต่อปี (ซึ่งณ วันทำสัญญาอัตราดอกเบี้ย HLR = 14.0 ต่อปี) แต่หากธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่ากฎหมายอนุญาตให้คิดได้ ผู้กู้ตกลงให้ธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ โดยให้ถือว่า ผู้กู้ได้ทราบและให้ความยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยไม่โต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น และตามสัญญาจำนองที่ดินฉบับพิพาทก็กำหนดให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ในทำนองเดียวกันนั้น อันเป็นกรณีที่จำเลยให้สิทธิแก่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ในวันทำสัญญาให้สูงขึ้นอีกได้ ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ศาลจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ให้โจทก์ทุกเดือนตามสัญญาเรื่อยมาโดยชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 แล้วก็ผิดนัด จนโจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยดำเนินการชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2540 และหนังสือดังกล่าวไปถึงจำเลยแล้วเมื่อวันที่ 18กันยายน 2540 สัญญากู้จึงเป็นอันสิ้นสุดแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยคงมีอยู่ก่อนวันที่สัญญากู้สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนวันดังกล่าวโจทก์มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ มิใช่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2540 ตามอัตราที่โจทก์คิดคำนวณเอาโดยอาศัยตามประกาศ เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นประกาศของโจทก์หลังจากที่สัญญากู้ได้สิ้นสุดไปแล้ว ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5890/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การกำหนดเวลาโอนที่ดินและความผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่ง จ.ตาของจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเป็นที่ดินเนื้อที่ 55 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา ในราคาไร่ละ30,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำจำนวน 300,000 บาท ให้จำเลยในวันทำสัญญาแล้ว ส่วนเงินที่เหลือจำนวน 1,365,000 บาท จะชำระให้ภายใน 6 เดือน หรือต่อเมื่อโจทก์ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวซึ่งออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เรียบร้อยแล้ว ต่อมาหลังทำสัญญา 3 เดือน เจ้าพนักงานที่ดินออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 3595แต่ขณะที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ การขอออก น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินดังกล่าวอาจจะมีระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือนก็ได้ จึงมิใช่กรณีกำหนดชำระหนี้กันไว้แน่นอนแล้ว เมื่อครบกำหนด 6 เดือนแล้ว จำเลยได้ติดต่อจ่าสิบตำรวจ ภ.ให้โจทก์มารับโอนที่ดิน แต่โจทก์แจ้งว่าให้จำเลยถมทางเข้าที่ดินก่อนเพื่อที่จะให้ทางธนาคารมาดู จำเลยจึงได้ดำเนินการถมที่ดินเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นเงิน 10,000 บาท แสดงว่าจำเลยก็มิได้ถือกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ ทั้งหลังจากถมที่ดินเสร็จแล้วจ่าสิบตำรวจ ภ.ได้มาดูที่ดินและแจ้งกับจำเลยว่าประมาณเดือนมีนาคม 2536 จะมารับโอนที่ดินพร้อมกับจ่ายเงินให้ ครั้นถึงกำหนดโจทก์ก็ไม่ได้มารับโอนที่ดิน เมื่อจำเลยไปที่บ้านโจทก์ โจทก์แจ้งว่ายังไม่พร้อม แต่จะนัดหมายใหม่ประมาณปลายเดือนมีนาคม2536 โดยไม่ได้ระบุวันที่แน่นอนไว้ ครั้นครบกำหนดแล้วโจทก์ก็ไม่ได้ติดต่อมา แสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้กำหนดวันโอนที่ดินดังกล่าวกันไว้ให้แน่นอน เมื่อโจทก์ยังไม่มารับโอนจึงจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ ดังนี้ เมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาแต่จำเลยไม่ได้ไปตามกำหนดนัด จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ หากโอนไม่ได้ก็ต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์ และตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการโอนกรรมสิทธิ์ไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ จำเลยต้องผูกพันตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดจากจำเลย 2 ห้อง ในราคาห้องละ 350,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลยแล้วห้องละ105,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระในวันทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และโจทก์ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่จำเลยทราบว่าโจทก์ต้องเดินทางไปต่างประเทศ หากจะติดต่อกับโจทก์ให้ติดต่อผ่าน จ. พี่สาวโจทก์ การที่จำเลยได้ส่งโทรสารแผนที่ตั้งโครงการไปให้ จ. พี่สาวโจทก์ เพื่อให้ จ. นำไปขอติดตั้งโทรศัพท์ในห้องอาคารชุดแทนโจทก์ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ ได้แจ้งให้จำเลยติดต่อเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดผ่าน จ. ตั้งแต่ก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ จึงต้องถือว่าที่อยู่ของ จ.เป็นภูมิลำเนาที่โจทก์ได้เลือกไว้เป็นการเฉพาะการนี้ดังนั้น แม้จำเลยจะมีหนังสือแจ้งกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ทั้งสองฉบับไปยังภูมิลำเนาเดิมของโจทก์ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ ในสัญญาก็ตาม แต่จำเลยไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยัง ภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบ คำบอกกล่าว จำเลยยังคงต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย อยู่ เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ ห้องชุดแก่โจทก์แล้วจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงเป็น ฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาและบังคับให้จำเลย คืนเงินมัดจำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำบอกกล่าวตามสัญญาซื้อขาย การกำหนดภูมิลำเนาเฉพาะการ และผลของการไม่แจ้งให้ถูกต้อง
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดจากจำเลย 2 ห้อง ในราคาห้องละ 350,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลยแล้วห้องละ 105,000 บาทส่วนที่เหลือจะชำระในวันทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และโจทก์ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่จำเลยทราบว่าโจทก์ต้องเดินทางไปต่างประเทศ หากจะติดต่อกับโจทก์ให้ติดต่อผ่าน จ.พี่สาวโจทก์ การที่จำเลยได้ส่งโทรสารแผนที่ตั้งโครงการไปให้ จ.พี่สาวโจทก์ เพื่อให้ จ.นำไปขอติดตั้งโทรศัพท์ในห้องอาคารชุดแทนโจทก์ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยติดต่อเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดผ่าน จ.ตั้งแต่ก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ จึงต้องถือว่าที่อยู่ของ จ.เป็นภูมิลำเนาที่โจทก์ได้เลือกไว้เป็นการเฉพาะการนี้ ดังนั้น แม้จำเลยจะมีหนังสือแจ้งกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งสองฉบับไปยังภูมิลำเนาเดิมของโจทก์ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม แต่จำเลยไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบคำบอกกล่าว จำเลยยังคงต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายอยู่ เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่โจทก์แล้วจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาและบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักประกันสัญญาซื้อขาย: การบังคับชำระหนี้จากหลักประกันต้องพิจารณาหนี้สินของลูกหนี้ก่อน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดกับโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ต้องซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่าย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน2535 เป็นต้นไป แต่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญา ทำให้โจทก์เสียหาย ขาดผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำดื่มดังกล่าว แต่ที่โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าว คิดตามระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2535 ถึงวันเลิกสัญญาวันที่ 15 มกราคม 2536 รวม260 วัน ปรากฏว่าในเดือนเมษายน 2535 จำเลยที่ 1 ก็เริ่มผิดสัญญา โดยรับน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกันไว้และหลังจากนั้นก็ผิดสัญญาตลอดมาโจทก์ก็มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ก็ยังคงไม่ปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้เวลาผ่านไปนานเท่าไรโจทก์ก็ยิ่งขาดประโยชน์มากขึ้น หากโจทก์รีบบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 และจัดหาวิธีการจำหน่ายทางอื่นแล้วก็น่าจะมีโอกาสแก้ไขปัญหาความเสียหายดังกล่าวได้ แต่โจทก์กลับปล่อยเวลาล่วงเลยต่อไป และต่อมาจำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 18 กันยายน 2535 ถึงโจทก์ แจ้งถึงปัญหาต่าง ๆที่ทำให้จำเลยที่ 1 ขาดทุนและไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ขอให้ลดค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ยังปล่อยเวลาเนิ่นนานออกไปอีกระยะหนึ่ง จึงมีการปิดประกาศแจ้งหนังสือบอกเลิกสัญญาเพื่อให้จำเลยที่ 1 ทราบ พฤติการณ์ที่โจทก์ปล่อยให้ความเสียหายพอกพูนเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลายาวนานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ไม่พยายามบรรเทาความเสียหายตามที่สมควรจะกระทำได้ จึงไม่สมควรได้รับค่าเสียหายดังกล่าวเป็นระยะเวลายาวนานถึง 260 วัน ตามที่โจทก์เรียกร้อง ตามสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดที่พิพาทระบุว่า จำเลยที่ 1 ได้นำหลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2จำนวน 2 ฉบับ จำนวนเงินรวม 658,500 บาท มอบไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา และในกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันสัญญาหรือเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควร ส่วนหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์มีข้อความระบุว่า หากจำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าวซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้แล้วจำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนหลักประกันตามข้อสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดดังกล่าวไม่ใช่กรณีที่คู่สัญญามีความมุ่งหมายให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำที่อาจริบได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 และ 378 และการที่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องวางหลักประกันซึ่งกำหนดได้เป็นจำนวนเงินที่แน่นอนเนื่องจากจำเลยที่ 1 มีหนี้ที่ต้องซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยต้องชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดแก่โจทก์ และหากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก็ต้องชำระค่าเสียหายซึ่งมีการกำหนดอัตราค่าปรับไว้ในสัญญาด้วยเช่นนี้ย่อมเข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้มีหลักประกันเพื่อความมั่นใจในการบังคับชำระหนี้เงินจากจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1ไม่ชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดหรือค่าเสียหายตามสัญญาได้โดยง่าย โดยสามารถบังคับจากหลักประกันนั้นได้ การจะพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากหลักประกันตามสัญญาได้เพียงใด จำเป็นต้องพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียงใดหรือไม่เป็นข้อสำคัญเสียก่อน หากปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์แล้ว จึงพิจารณาต่อไปถึงการบังคับชำระหนี้จากหลักประกัน กรณีที่สัญญา การเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดและหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2ระบุให้โจทก์สามารถเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันได้โดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน เป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ความสะดวกในวิธีการบังคับชำระหนี้จากหลักประกันเท่านั้น หาใช่ข้อตกลงที่ให้สิทธิโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 โดยไม่คำนึงว่าจำเลยที่ 1จะมีหนี้ที่ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์หรือไม่เพียงใดอันทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์เกินไปกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ เมื่อศาลได้วินิจฉัยมาแล้วว่าหนี้ตามฟ้องของโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียง220,735 บาท กับดอกเบี้ยจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามความรับผิดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย การชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ฉบับพิพาท ข้อ 11 วรรคหนึ่ง ระบุว่า"ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน เจ้าของจะบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายใน 30 วัน หากผู้เช่าไม่ชำระหรือชำระไม่เต็มจำนวนให้ทันงวด ณ วันที่ชำระให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลงทันที" การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้แจ้งให้จำเลยชำระค่างวดที่ค้างเดิม 2 งวด ภายใน 30 วันมิฉะนั้นให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลง จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว จึงนำเงินมาชำระจนครบ 22 งวด การบอกกล่าวจึงไม่มีผลให้สัญญาสิ้นสุดลง คู่สัญญายังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป
เอกสารใบรับรถยนต์มีข้อความเพียงว่า จำเลยได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.เป็นตัวแทนในการมอบรถยนต์ให้แก่จำเลย ไม่มีข้อความใดแสดงว่าห้างดังกล่าวเป็นตัวแทนโจทก์ในการรับรถยนต์คืนทั้งห้างดังกล่าวไม่ใช่เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นศูนย์ขายรถยนต์ทั่วไป และตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ข้อ 12 การคืนรถในกรณีใด ๆ ก็ต้องคืน ณ ภูมิลำเนาของโจทก์กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าซื้อยังไม่สิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ยึดรถยนต์คืนมาโดยไม่ได้มีการบอกกล่าวตามข้อ 11 วรรคหนึ่งอีกย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คืน สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงในวันนั้น คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ให้ถูกต้องนับแต่งวดที่ 23 จนถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้รถยนต์ในระยะเวลานั้น จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ให้โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม
ส่วนค่าขาดราคานั้น เมื่อคู่สัญญาต่างก็สมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว หนี้ตามสัญญาที่กำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าขาดราคาย่อมระงับไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดราคาดังกล่าวจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อรถยนต์ การบอกเลิกสัญญา การชดใช้ค่าขาดประโยชน์ และผลของการเลิกสัญญโดยปริยาย
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ฉบับพิพาท ข้อ 11 วรรคหนึ่งระบุว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน เจ้าของจะบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายใน 30 วัน หากผู้เช่าไม่ชำระหรือชำระไม่เต็มจำนวนให้ทันงวด ณ วันที่ชำระให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลงทันที" การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้แจ้งให้จำเลยชำระค่างวดที่ค้างเดิม 2 งวด ภายใน 30 วัน มิฉะนั้นให้ถือว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลง จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว จึงนำเงินมาชำระจนครบ 22 งวด การบอกกล่าวจึงไม่มีผลให้สัญญาสิ้นสุดลง คู่สัญญายังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป เอกสารใบรับรถยนต์มีข้อความเพียงว่า จำเลยได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.เป็นตัวแทนในการมอบรถยนต์ให้แก่จำเลย ไม่มีข้อความใดแสดงว่าห้างดังกล่าวเป็นตัวแทนโจทก์ในการรับรถยนต์คืนทั้งห้างดังกล่าวไม่ใช่เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นศูนย์ขายรถยนต์ทั่วไป และตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ข้อ 12 การคืนรถในกรณีใด ๆ ก็ต้องคืน ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าซื้อยังไม่สิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ยึดรถยนต์คืนมาโดยไม่ได้มีการบอกกล่าวตามข้อ 11 วรรคหนึ่งอีกย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คืนสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงในวันนั้น คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ให้ถูกต้องนับแต่งวดที่ 23 จนถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้รถยนต์ในระยะเวลานั้น จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม ส่วนค่าขาดราคานั้น เมื่อคู่สัญญาต่างก็สมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว หนี้ตามสัญญาที่กำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าขาดราคาย่อมระงับไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดราคาดังกล่าวจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อสร้างบ้าน: การกำหนดเวลาส่งมอบเป็นสาระสำคัญ การบอกเลิกสัญญาและการคืนเงิน
สัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่จำเลยผู้ให้เช่าซื้อตกลงให้โจทก์เช่าซื้อที่ดินและบ้านพักอาศัยจำเลยผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อจะต้อง สร้างบ้านให้เสร็จและโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว ฉะนั้น กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์จึงเป็นสาระสำคัญที่โจทก์และจำเลยต้องตกลงกัน การที่โจทก์กับจำเลยตกลงเวลากันไว้แล้วว่าจำเลยต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเมื่อใดเพียงแต่ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อให้ชัดแจ้งฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธินำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงการส่งมอบที่ดินและบ้านดังกล่าวได้ว่าจำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายในเวลาเท่าใด ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ ไม่สามารถสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โจทก์ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องชำระค่างวดต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตามมาตรา 388 โดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดพอสมควรตามมาตรา 387 ก่อน และเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องค้นเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามมาตรา 391
of 66