พบผลลัพธ์ทั้งหมด 655 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5055/2567 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญache่าซื้อโดยปริยาย ค่าเสื่อมราคา รถยนต์คืนสู่สภาพเดิม
โจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนในขณะที่สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โต้แย้งคัดค้านที่โจทก์กลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อ พฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย แม้สัญญาเช่าซื้อข้อ 14 จะระบุว่า "...หรือสัญญา สิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยกรณีอื่นใดก็ตาม และเจ้าของได้กลับเข้าครอบครองรถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว..." แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย อันเป็นผลให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาต่อกันอีก โจทก์จึงไม่อาจอาศัยข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อเรียกร้องค่าขาดราคาจากจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5055/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย ค่าเสื่อมราคา รถยนต์คืนสู่สภาพเดิม
โจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนในขณะที่สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โต้แย้งคัดค้านที่โจทก์กลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อ พฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย แม้สัญญาเช่าซื้อข้อ 14 จะระบุว่า "...หรือสัญญา สิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยกรณีอื่นใดก็ตาม และเจ้าของได้กลับเข้าครอบครองรถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว..." แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย อันเป็นผลให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาต่อกันอีก โจทก์จึงไม่อาจอาศัยข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อเรียกร้องค่าขาดราคาจากจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย แต่กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงผลของการเลิกสัญญาที่จะยกมาปรับคดีได้ จึงต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเทียบเคียง ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติถึงการเลิกสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญา อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งเฉพาะการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์นั้น เนื่องจากรถยนต์เป็นทรัพย์ที่เสื่อมสภาพและเสื่อมราคาไปตามกาลเวลาและการใช้งาน การกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อของโจทก์ในกรณีเช่นนี้เห็นได้อยู่ในตัวว่าไม่อาจทำให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้เหมือนดังเช่นขณะทำสัญญา ดังนั้น เพื่อให้โจทก็ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้ใกล้เคียงกับขณะทำสัญญาเท่าที่พอจะเป็นไปได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย แต่กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงผลของการเลิกสัญญาที่จะยกมาปรับคดีได้ จึงต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเทียบเคียง ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติถึงการเลิกสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญา อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งเฉพาะการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์นั้น เนื่องจากรถยนต์เป็นทรัพย์ที่เสื่อมสภาพและเสื่อมราคาไปตามกาลเวลาและการใช้งาน การกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อของโจทก์ในกรณีเช่นนี้เห็นได้อยู่ในตัวว่าไม่อาจทำให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้เหมือนดังเช่นขณะทำสัญญา ดังนั้น เพื่อให้โจทก็ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้ใกล้เคียงกับขณะทำสัญญาเท่าที่พอจะเป็นไปได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2567 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยผู้เช่าซื้อ และสิทธิเรียกค่าขาดราคาจากผู้เช่าซื้อที่ผิดนัดชำระ
การที่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรก ต่อมาจำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อพิพาทโต้แย้งในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ที่เช่าซื้อกัน พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าเป็นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ได้ และที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ภายหลังจากที่ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ บ่งชี้ถึงเจตนาที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ต้องการที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อ เช่นนี้ แม้จำเลยที่ 1 ได้ชื่อว่าเป็นลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ และสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงให้สิทธิจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ยังบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 ที่บัญญัติว่า ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ด้วยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง อันเป็นบทบัญญัติกำหนดสิทธิและวิธีบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยผู้เช่าซื้อไว้เป็นการเฉพาะนอกจากการเลิกสัญญาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. บรรพ 2 ลักษณะ 2 สัญญา หมวด 4 ดังนั้น ที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์โดยมีเจตนาจะเลิกสัญญา และโจทก์รับมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันด้วยเหตุที่จำเลยที่ 1 ซึ่งผิดนัดเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 พฤติการณ์แห่งคดีหาใช่เป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 สมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าขาดราคาตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาเช่าซื้อรถยนต์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยผู้เช่าซื้อ และสิทธิในการเรียกร้องค่าขาดราคา
การที่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรก ต่อมาจำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อพิพาทโต้แย้งในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ที่เช่าซื้อกัน พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าเป็นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ได้ และที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ภายหลังจากที่ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ บ่งชี้ถึงเจตนาที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ต้องการที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อ เช่นนี้ แม้จำเลยที่ 1 ได้ชื่อว่าเป็นลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ และสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงให้สิทธิจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ได้ จำเลยที่ 1 ก็ยังบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 ที่บัญญัติว่า ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ด้วยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง อันเป็นบทบัญญัติกำหนดสิทธิและวิธีบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยผู้เช่าซื้อไว้เป็นการเฉพาะนอกจากการเลิกสัญญาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. บรรพ 2 ลักษณะ 2 สัญญา หมวด 4 ดังนั้น ที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์โดยมีเจตนาจะเลิกสัญญา และโจทก์รับมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันด้วยเหตุที่จำเลยที่ 1 ซึ่งผิดนัดเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 พฤติการณ์แห่งคดีหาใช่เป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 สมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าขาดราคาตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาเช่าซื้อรถยนต์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดและค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า (เบี้ยปรับ) ที่ศาลพิจารณาแล้วเป็นจำนวนพอสมควร
สัญญาเช่าข้อ 10.3 กำหนดว่า ในกรณีที่ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่าต้องรับผิดชอบชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญาเช่า สอดคล้องกับข้อ 3.2 ซึ่งกำหนดว่า หากสัญญาเช่าสิ้นสุดก่อนครบกำหนดระยะเวลาการเช่า โดยเหตุจากการกระทำผิดสัญญาของผู้เช่าหรือผู้เช่าขอเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดระยะเวลา ผู้เช่าตกลงให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิยึดเงินประกันได้ทั้งจำนวน นอกจากนี้สัญญาเช่าข้อ 11 ยังระบุว่า เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุครบกำหนดสัญญาแล้ว ไม่มีการต่อสัญญาออกไปตามข้อ 9 หรือโดยการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 10 หรือด้วยเหตุอื่นใด ผู้ให้เช่ามีสิทธิดังต่อไปนี้ ข้อ 11.1 ผู้ให้เช่ามีสิทธิกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าได้ทันที โดยมิจำเป็นต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ให้เช่ามีสิทธิครอบครองยึดหน่วง และขนย้ายทรัพย์สินทั้งปวงที่อยู่ในทรัพย์สินที่เช่าออกไป รวมทั้งมีสิทธิดำเนินการให้ผู้อื่นเช่าทรัพย์สินที่เช่าต่อไปด้วย และสัญญาจ้างบริการข้อ 8 ยังกำหนดให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการใช้บริการได้ในกรณีสัญญาจ้างบริการสิ้นสุดโดยเหตุแห่งการผิดสัญญาของจำเลย แสดงให้เห็นว่าหากการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวมิได้เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยให้จำเลยชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญา แม้ว่าจำเลยจะมิได้ครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่เช่าอีกต่อไป รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการเช่าและเงินประกันการใช้บริการดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า ถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 ดังนั้น การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าและสัญญาจ้างบริการก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์ จึงมีผลให้สัญญาเลิกกันตามสัญญาเช่าข้อ 10.3 เมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแต่อย่างใดไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์จึงเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าค้างชำระเสมือนหนึ่งเป็นการเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาที่เลิกกันไปแล้วหาได้ไม่ คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่บอกเลิกสัญญาก่อนหมดอายุสัญญาโดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจัดสวน: การชำระค่างานที่ทำเสร็จแล้ว การหักค่าเสียหาย และการปรับดอกเบี้ยตามกฎหมายใหม่
โจทก์ทำการงานตามสัญญาจัดสวนทางเข้าสถานีบริการน้ำมันให้จำเลยแล้วเสร็จและส่งมอบให้แก่จำเลย ระหว่างจำเลยยังไม่ได้ตรวจสอบและรับมอบงาน โจทก์รื้อถอนต้นไม้บางส่วนอันเป็นการงานที่ได้ทำให้แก่จำเลยนั้นไป จำเลยจึงร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่คนงานของโจทก์ในข้อหาลักทรัพย์และห้ามคนงานของโจทก์เข้าไปทำงานอีก หลังจากนั้น 2 วัน โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 30 ตุลาคม 2561 ขออนุญาตจำเลยเข้าไปดูแลต้นไม้ในระหว่างระยะเวลาประกันผลงานตามสัญญาจ้างเหมาตกแต่งภูมิทัศน์และยินดีเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกัน จำเลยมิได้อนุญาตหรือปฏิเสธ จนเวลาล่วงเลยไปถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2561 จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ขอริบเงินประกันผลงานและสงวนสิทธิเรียกค่าเสียหาย ทั้งเอาการงานที่ว่าจ้างโจทก์นั้นไปให้บุคคลภายนอกทำต่อจนแล้วเสร็จ พฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ชัดว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นยากเกินกว่าที่โจทก์และจำเลยจะตกลงกันได้ ถือว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างนับแต่วันที่จำเลยห้ามโจทก์เข้าไปทำการงานวันที่ 28 ตุลาคม 2561 แล้ว สัญญาจึงเป็นอันเลิกกันโดยปริยายตั้งแต่วันดังกล่าว มีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยนำการงานดังกล่าวซึ่งโจทก์รื้อถอนไปบางส่วนนั้นไปว่าจ้างบุคคลอื่นทำการงานนั้นต่อจนแล้วเสร็จและจำเลยได้ใช้ประโยชน์จากการงานนั้นแล้ว ทำให้ฝ่ายโจทก์ไม่อาจกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้ จำเลยจึงต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานอันโจทก์ได้กระทำให้นั้นแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม รวมทั้งค่าสัมภาระที่โจทก์ได้จัดหามาทำการงานให้แก่จำเลย และบุคคลภายนอกที่จำเลยว่าจ้างได้ใช้สัมภาระของโจทก์ทำการงานให้แก่จำเลยจนแล้วเสร็จด้วย เมื่อโจทก์รื้อถอนต้นไม้และขนสัมภาระบางส่วนคืนไป สมควรนำไปหักจากค่าการงานตามใบเสนอราคาที่โจทก์ทำให้แก่จำเลย ส่วนที่จำเลยอ้างว่าจำเลยจะต้องเสียค่าว่าจ้างผู้รับเหมาคนใหม่เพื่อให้การงานดังกล่าวแล้วเสร็จ นั้น รายการต้นไม้ส่วนใหญ่อยู่นอกเหนือจากรายการของงานที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ ถึงแม้เป็นไม้ล้มลุกแต่ก็มีจำนวนมากและราคานับว่าค่อนข้างสูง เห็นได้ชัดว่าเป็นการออกแบบจัดสวนใหม่แตกต่างจากการงานที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกำหนดค่าการงานของโจทก์ได้โดยถนัด แต่การที่คนงานของโจทก์เข้าไปรื้อถอนต้นไม้ใหญ่ ความเสียหายย่อมจะเกิดขึ้นแก่หน้าดิน ไม้คลุมดิน และพื้นหญ้า ความเสียหายส่วนนี้ถือว่าเป็นค่าแห่งการงานที่โจทก์ทำไม่แล้วเสร็จเรียบร้อยซึ่งต้องนำไปหักออกจากค่าการงานที่โจทก์ควรจะได้รับจากจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4425/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าการงานที่ยังไม่เสร็จ & ค่าเสียหายจากบอกเลิกสัญญา, ดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมายใหม่, ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคหนึ่ง, 391 วรรคหนึ่ง วรรคสาม และวรรคสี่ มิได้กำหนดว่าผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้เงินเป็นค่าการงานที่ได้กระทำไปแล้วต้องมิใช่ผู้ที่เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น แม้จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว จำเลยก็มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ใช้เงินเป็นค่าการงานที่จำเลยได้กระทำให้แก่โจทก์ไปแล้วได้ เพียงแต่หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการผิดสัญญาของจำเลย โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายที่ดิน การบอกเลิกสัญญา ลาภมิควรได้ ค่าเสียหาย และดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว คู่สัญญาจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
หลังจากที่มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแล้ว จำเลยทั้งสองยินยอมอนุญาตให้โจทก์เข้าพัฒนาที่ดินได้ทันทีและโจทก์ก็เข้าพัฒนาที่ดินโดยการปรับที่ดิน ถมดิน ก่อสร้างถนนและท่อระบายน้ำอันเป็นสาธารณูปโภคบ้างแล้ว ถนนและท่อระบายน้ำดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ตกติดไปกับที่ดินที่จะซื้อจะขายกันอันเป็นประโยชน์ในการจัดสรรต่อไป กรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้มาซึ่งทรัพย์คือถนนและท่อระบายน้ำที่โจทก์ก่อสร้างขึ้นนั้น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์นั้นเสียเปรียบ ลักษณะลาภมิควรได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนทรัพย์นั้นให้แก่โจทก์ แต่เมื่อสภาพทรัพย์ดังกล่าวเป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะตรึงตรากับที่ดินอย่างถาวร โดยสภาพย่อมไม่อาจคืนทรัพย์นั้นได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนโดยใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์
หลังจากที่มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแล้ว จำเลยทั้งสองยินยอมอนุญาตให้โจทก์เข้าพัฒนาที่ดินได้ทันทีและโจทก์ก็เข้าพัฒนาที่ดินโดยการปรับที่ดิน ถมดิน ก่อสร้างถนนและท่อระบายน้ำอันเป็นสาธารณูปโภคบ้างแล้ว ถนนและท่อระบายน้ำดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ตกติดไปกับที่ดินที่จะซื้อจะขายกันอันเป็นประโยชน์ในการจัดสรรต่อไป กรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้มาซึ่งทรัพย์คือถนนและท่อระบายน้ำที่โจทก์ก่อสร้างขึ้นนั้น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์นั้นเสียเปรียบ ลักษณะลาภมิควรได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนทรัพย์นั้นให้แก่โจทก์ แต่เมื่อสภาพทรัพย์ดังกล่าวเป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะตรึงตรากับที่ดินอย่างถาวร โดยสภาพย่อมไม่อาจคืนทรัพย์นั้นได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนโดยใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญา Brand Ambassador: การพิพากษาความผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, และการคืนเงินจากการทำงานที่ยังไม่เสร็จ
ผลิตภัณฑ์สินค้ายี่ห้อ ค. กับสินค้ายี่ห้อ ช. เป็นสินค้าประเภทนาฬิกาและเครื่องประดับเช่นเดียวกัน ในการพิจารณาว่าคู่แข่งทางการค้าของโจทก์หมายถึงบริษัทใดเป็นเรื่องที่ศาลต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 ซึ่งโดยปกติของการดำเนินธุรกิจย่อมนับว่าบริษัทที่ประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งมีสภาพดุจเดียวกัน จำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าประเภทเดียวกันสามารถใช้ทดแทนกันได้เป็นคู่แข่งทางการค้าไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งวัตถุประสงค์ของสัญญาว่าจ้างซึ่งโจทก์ตกลงจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่ 2 เป็นจำนวนเงินสูง ก็เพื่อให้จำเลยที่ 2 มีส่วนในการส่งเสริมการขายและยกภาพลักษณ์ยี่ห้อ ช. ให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นเป็นยี่ห้อชั้นนำในท้องตลาด ดังนั้น การที่จะนับว่ายี่ห้อ ค. ซึ่งมีผลิตภัณฑ์สินค้าประเภทเดียวกับสินค้ายี่ห้อ ช. เป็นคู่แข่งทางการค้ากันจึงเป็นเจตนาที่คาดหมายได้ในทางสุจริต และเกณฑ์การพิจารณาในเรื่องนี้ต้องถือเอาความเข้าใจของวิญญูชนดังที่ได้วินิจฉัยข้างต้นเป็นเกณฑ์กำหนดความประสงค์ในทางสุจริต ไม่อาจรับฟังเฉพาะความรู้สึกหรือความเข้าใจของจำเลยที่ 2 เพียงฝ่ายเดียวหรือยึดข้อมูลการจัดอันดับสินค้าดังกล่าวมาเป็นข้อพิจารณา จึงฟังได้ว่า สินค้ายี่ห้อ ค. เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่เป็นคู่แข่งของโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 ลงภาพที่ตนสวมใส่เครื่องประดับยี่ห้อ ค. ในอินสตาแกรมส่วนตัวจึงเป็นการประพฤติผิดสัญญาข้อ 6.6 ต่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมจำเลยที่ 2 ให้ปฏิบัติตามสัญญาว่าจ้างจึงตกเป็นผู้ผิดสัญญาต่อโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ เมื่อจำเลยทั้งสองประพฤติผิดสัญญา การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยข้อสัญญาในส่วนของค่าเสียหาย เป็นการกำหนดความรับผิดในการที่ไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลอาจพิจารณาปรับลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
เมื่อโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว สัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นอันเลิกกัน จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระค่าจ้างตามข้อตกลงในสัญญาได้อีก แต่อย่างไรก็ดีเมื่อสัญญาเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนที่เป็นค่าการงานอันได้กระทำให้ ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสาม จำเลยทั้งสองคงมีสิทธิได้รับการใช้เงินตามควรค่าแห่งงานที่จำเลยทั้งสองได้กระทำไปแล้วเท่านั้น
เมื่อโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว สัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นอันเลิกกัน จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระค่าจ้างตามข้อตกลงในสัญญาได้อีก แต่อย่างไรก็ดีเมื่อสัญญาเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนที่เป็นค่าการงานอันได้กระทำให้ ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสาม จำเลยทั้งสองคงมีสิทธิได้รับการใช้เงินตามควรค่าแห่งงานที่จำเลยทั้งสองได้กระทำไปแล้วเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง: การชำระค่าจ้าง, การตรวจรับงาน, การแก้ไขข้อบกพร่อง, และการเลิกสัญญาโดยปริยาย
การสั่งแก้ไขข้อบกพร่องของงานย่อมต้องระบุรายการของงานและข้อที่อ้างว่าเป็นความบกพร่องเพื่อที่คู่สัญญาจะได้นําไปพิจารณาแก้ไข และที่สัญญากำหนดให้การสั่งแก้ไขข้อบกพร่องของงานให้กระทำโดยจําเลยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรก็ด้วยเจตนาให้เป็นหลักฐานชัดเจนเพื่อป้องกันการโต้แย้งกันที่อาจจะเกิดขึ้นได้ภายหลัง การทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงโจทก์ตามสัญญาจึงย่อมหมายถึงการส่งคำสั่งเป็นหนังสือให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างคู่สัญญา ส่วนการส่งข้อความสนทนากันทางแอปพลิเคชันไลน์ หากจะให้ถือเป็นการออกคำสั่งในการแก้ไขงาน ก็ต้องปรากฏทางปฏิบัติที่ชัดแจ้งว่า คู่สัญญาประสงค์ให้ใช้คำสั่งเช่นนั้นได้
โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดตามสัญญา แต่เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว พนักงานของจําเลยก็จัดทำใบขอให้จ่ายเงินเพื่อเสนอจําเลยให้อนุมัติจ่ายเงินแก่โจทก์ แต่จําเลยอ้างเพียงว่าโจทก์ทำงานบกพร่องจึงยังไม่ชําระเงินโดยไม่โต้แย้งเรื่องการทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา พฤติการณ์ตามที่ปฏิบัติต่อกันดังกล่าวแสดงว่า โจทก์และจําเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น การที่โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว แต่จําเลยไม่ตรวจรับมอบงานตามสัญญา หรือจําเลยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์แก้ไขงานที่ตรวจรับแล้วพบว่ามีความบกพร่องและจําเลยไม่ชําระค่างานแก่โจทก์ตามสัญญา โดยที่สัญญาว่าจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ย่อมมีสิทธิบรรเทาความเสียหายด้วยการไม่ทำงานในงวดต่อไปได้ หากไม่ได้รับค่าจ้างตามผลงานที่เกิดขึ้นจริง ส่วนการที่จําเลยต้องว่าจ้างบริษัท อ. เข้าดำเนินการแทนก็เป็นเหตุอันเนื่องมาจากจําเลยเป็นฝ่ายไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ตามผลงานที่เกิดขึ้นจริงก่อน โจทก์จึงมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ในส่วนการริบเงินประกันนั้น ตามสัญญากำหนดว่าหากเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่ระบุไว้ จําเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแก่โจทก์ และเมื่อบอกเลิกสัญญาแล้วจําเลยจึงจะมีสิทธิริบเงินประกันหรือหลักประกันที่โจทก์มอบให้ไว้แก่จําเลยได้ตามสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจําเลยบอกเลิกสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว จําเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันผลงานของโจทก์ตามสัญญา แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่เข้าทำงานในงวดต่อ ๆ ไปให้แล้วเสร็จตามสัญญา ส่วนจําเลยก็ไม่ชําระค่าจ้างและได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกเข้าทำงานแทนเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจําเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์และจําเลยต่างต้องคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดตามสัญญา แต่เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว พนักงานของจําเลยก็จัดทำใบขอให้จ่ายเงินเพื่อเสนอจําเลยให้อนุมัติจ่ายเงินแก่โจทก์ แต่จําเลยอ้างเพียงว่าโจทก์ทำงานบกพร่องจึงยังไม่ชําระเงินโดยไม่โต้แย้งเรื่องการทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา พฤติการณ์ตามที่ปฏิบัติต่อกันดังกล่าวแสดงว่า โจทก์และจําเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น การที่โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว แต่จําเลยไม่ตรวจรับมอบงานตามสัญญา หรือจําเลยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์แก้ไขงานที่ตรวจรับแล้วพบว่ามีความบกพร่องและจําเลยไม่ชําระค่างานแก่โจทก์ตามสัญญา โดยที่สัญญาว่าจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ย่อมมีสิทธิบรรเทาความเสียหายด้วยการไม่ทำงานในงวดต่อไปได้ หากไม่ได้รับค่าจ้างตามผลงานที่เกิดขึ้นจริง ส่วนการที่จําเลยต้องว่าจ้างบริษัท อ. เข้าดำเนินการแทนก็เป็นเหตุอันเนื่องมาจากจําเลยเป็นฝ่ายไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ตามผลงานที่เกิดขึ้นจริงก่อน โจทก์จึงมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ในส่วนการริบเงินประกันนั้น ตามสัญญากำหนดว่าหากเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่ระบุไว้ จําเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแก่โจทก์ และเมื่อบอกเลิกสัญญาแล้วจําเลยจึงจะมีสิทธิริบเงินประกันหรือหลักประกันที่โจทก์มอบให้ไว้แก่จําเลยได้ตามสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจําเลยบอกเลิกสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว จําเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันผลงานของโจทก์ตามสัญญา แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่เข้าทำงานในงวดต่อ ๆ ไปให้แล้วเสร็จตามสัญญา ส่วนจําเลยก็ไม่ชําระค่าจ้างและได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกเข้าทำงานแทนเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจําเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์และจําเลยต่างต้องคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง