คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวรรณพ กองวารี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทแก้ไขจำนวนเงิน ผู้ทรงโดยชอบมีสิทธิเรียกร้องเฉพาะจำนวนเดิม การรับเงินเกินถือเป็นรับโดยปราศจากมูล
เช็คพิพาทถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญเกี่ยวกับจำนวนเงินให้เพิ่มมากขึ้นโดยไม่ประจักษ์ และผู้สั่งจ่ายไม่รู้เห็นยินยอมด้วยจำเลยที่ 1 ผู้ทรงโดยชอบย่อมมีสิทธิบังคับการใช้เงินจากผู้สั่งจ่ายได้เพียงจำนวนเงินเดิมอันเป็นคำสั่งของผู้สั่งจ่ายเท่านั้น ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 987,1007 วรรคสองส่วนเงินจำนวนที่เกินไปจากนั้นเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
ขณะที่จำเลยที่ 1 นำเช็คพิพาทมาเรียกเก็บเงินจากธนาคารโจทก์ การแก้ไขจำนวนเงินไม่ประจักษ์ และธนาคารโจทก์เชื่อว่าผู้สั่งจ่ายออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีตามจำนวนที่มีการแก้ไข ธนาคารโจทก์มิได้จ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 รับไปตามอำเภอใจ จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนเงินส่วนที่รับเกินมาให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากเหตุสามีภรรยาทำร้ายร่างกายและหึงหวง ศาลพิจารณาเหตุผลประกอบการวินิจฉัยสิทธิในการหย่า
โจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภริยาทะเลาะและทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันดังนี้ หาใช่เป็นเรื่องจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์อันเป็นการร้ายแรงไม่
จำเลย(ภริยา) มีเหตุอันควรที่จะเชื่อได้ว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่น จึงทำให้เกิดอารมณ์หึงหวงซึ่งโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดขึ้นโดยไปไหนมาไหนกับหญิงอื่นจนเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและโจทก์ไม่ได้ร่วมหลับนอนกับจำเลยมานานแล้วการที่จำเลยระงับอารมณ์ไม่อยู่และเกิดทะเลาะวิวาทกับโจทก์ บางครั้งถึงกับทุบตีและทำร้ายร่างกายกัน แม้จะทะเลาะวิวาทในสถานที่ทำงานของโจทก์ต่อหน้าผู้ที่มาติดต่อก็เป็นพฤติการณ์ที่ยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดตัวแทนรับชำระหนี้: การชำระหนี้ผ่านตัวแทนที่โจทก์ยินยอม ถือเป็นการชำระหนี้ให้โจทก์
จำเลยได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ผ่าน ช. ตลอดมา โจทก์เองก็รู้เรื่องนี้และยินยอมให้ ช. รับชำระหนี้ดอกเบี้ยแทนโจทก์ จึงเป็นเรื่องโจทก์เชิด ช. ให้เป็นตัวแทนรับชำระหนี้ดอกเบี้ย
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยชำระดอกเบี้ยบางส่วนให้โจทก์ โดยชำระผ่านทางคนของโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยชำระดอกเบี้ยให้ ช. ผู้ซึ่งโจทก์เชิดให้เป็นตัวแทนมีอำนาจรับชำระหนี้เท่ากับชำระหนี้ดอกเบี้ยนั้นให้โจทก์ เป็นการวินิจฉัยตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่า จำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์บางส่วนแล้วหรือไม่ หาใช่นอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการปิดกั้นทางเข้าออก แม้สะพานมิได้สร้างบนที่ดินโจทก์แต่ปิดกั้นทางเข้าออกได้
คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดแต่เพียงประเด็นเดียวศาลย่อมพิจารณาพิพากษาคดีให้ตามที่ตกลงกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ที่ดินบุตรเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่ใช่การให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา มารดาสามารถถอนคืนได้
มารดายกที่ดินให้บุตร เพื่อเอาไปทำมาหาเลี้ยงชีพ ไม่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ซึ่งมารดาไม่มีหน้าที่ธรรมจรรยาที่จะต้องทำเช่นนั้น จึงถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ผู้จัดการมรดกฟ้องคดีซ้ำกับคดีเดิมที่ศาลจำหน่ายคดีเนื่องจากไม่ยื่นคำร้องขอรับมรดกภายในกำหนด
เดิม จ.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จ.อุทธรณ์และถึงแก่กรรมในระหว่างอุทธรณ์โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ.โดยคำสั่งศาลยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่เกินกำหนดหนึ่งปีศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตและจำหน่ายคดีจากสารบบความคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมถึงที่สุดนับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสองเมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ฉบับเดียวกันนั้นอีก เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นคู่ความรายเดียวกับเจ้ามรดก และคดีทั้งสองมีประเด็นอย่างเดียวกันซึ่งจะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องชำระหนี้สัญญาเดิมหลังคดีถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
เดิม จ.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จ.อุทธรณ์และถึงแก่กรรมในระหว่างอุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ.โดยคำสั่งศาลยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่เกินกำหนดหนึ่งปีศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตและจำหน่ายคดีจากสารบบความคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมถึงที่สุดนับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง เมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ฉบับเดียวกันนั้นอีก เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นคู่ความรายเดียวกับเจ้ามรดก และคดีทั้งสองมีประเด็นอย่างเดียวกันซึ่งจะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้: สัญญาจ้างแรงงาน, เหตุสุดวิสัยจากภัยธรรมชาติ, ความรับผิดของผู้รับจ้าง
สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้มีข้อความว่า ผู้รับจ้างยอมรับเฝ้ารักษาไม้ของกลางโดยคิดค่าจ้างเฝ้ารักษาเป็นรายเดือนตามจำนวนปริมาตรของไม้ถ้าไม้ที่รับจ้างเฝ้ารักษาขาดหายหรือเป็นอันตรายยอมให้ผู้จ้างปรับไหมตามชนิดและปริมาตรของไม้ที่สูญหายหรือเป็นอันตรายไป ในระหว่างที่ผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ตามสัญญา ผู้จ้างอาจขนไม้ของกลางทั้งหมดหรือบางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใดก็ได้ ไม้ที่นำไปแล้วเป็นอันพ้นจากความรับผิดของผู้รับจ้างสัญญาเช่นนี้ต้องถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน เพราะอำนาจการครอบครองไม้อยู่แก่ผู้จ้างผู้รับจ้างเพียงแต่เฝ้ารักษามิให้ไม้สูญหายหรือเป็นอันตรายไป
การที่เกิดฝนตกผิดปกติติดต่อกันหลายวันทำให้น้ำในคลองไหลเชี่ยวจนสามารถพัดพาไม้ที่ผูกรวมเป็นแพอยู่ในคลองออกไปสู่แม่น้ำตามหาไม่พบนั้น เป็นกรณีที่ไม้หลุดลอยหายไปเนื่องจากภัยธรรมชาติเหลือวิสัยที่จะป้องกันได้นับเป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับค่าชดเชยของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างหลังประกาศคุ้มครองแรงงานมีผลบังคับใช้ แม้เข้าทำงานก่อนประกาศ
ลูกจ้างเข้าทำงานก่อนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 2 ใช้บังคับ ได้ทำงานมา 3 ปี 1 เดือน นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเมื่อประกาศฉบับนั้นใช้บังคับแล้ว นายจ้างจ่ายเงินชดเชยไม่ครบตามหนังสือที่พนักงานแรงงานสัมพันธ์แจ้งให้จ่าย นายจ้างมีความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 2, 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าพนักงาน: ลูกจ้างชั่วคราวสุขาภิบาลไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา
พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ให้พนักงานสุขาภิบาลเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา และให้กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบพนักงานสุขาภิบาลขึ้นไว้ โจทก์ไม่นำสืบว่าระเบียบนี้มีไว้อย่างไร ลูกจ้างชั่วคราวไม่อยู่ในฐานะพนักงานสุขาภิบาล การยักยอกเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 ไม่ใช่ มาตรา 147
of 40