คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวรรณพ กองวารี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตามสัญญาประนีประนอม สัญญาผูกพันคู่กรณี แม้จดทะเบียนภายหลังก็ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์จำเลยต่างมีสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จะขอจดทะเบียนใช้อักษรจีนคำว่า "เล่างี่ชุน" เป็นเครื่องหมายการค้า กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้ทั้งสองฝ่ายได้ ดังนั้นแม้จำเลยจะได้ใช้สิทธิจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสิทธิตามสัญญาอยู่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้ง สิทธิโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์จำเลยต่างมีสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จะขอจดทะเบียนใช้อักษรจีนคำว่า 'เล่างี่ชุน' เป็นเครื่องหมายการค้า กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้ทั้งสองฝ่ายได้ ดังนั้นแม้จำเลยจะได้ใช้สิทธิจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสิทธิตามสัญญาอยู่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้ง สิทธิโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างในที่ดินเช่าเมื่อถูกเวนคืน: สัญญาต่างตอบแทนยังคงผูกพัน แม้มีข้อตกลงสละสิทธิค่าเสียหาย
สัญญาแบ่งเช่าที่ดินระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทยกับโจทก์ผู้เช่าข้อ 8 ระบุว่า "เมื่อครบสัญญาเช่าบรรดาวัสดุและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนทรัพย์สินที่ติดอยู่กับที่ดินตกเป็นของผู้ให้เช่า" มีความหมายอยู่ในตัวว่าตลอดระยะเวลาที่การเช่ายังมีอยู่ กรรมสิทธิ์ในบรรดาวัสดุและสิ่งปลูกสร้างฯ ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แม้จะมีสัญญาข้อ 14 ว่า โดยผู้เช่าไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแต่ประการใดก็หามีผลลบล้างข้อตกลงตามสัญญาแบ่งเช่าที่ดินไม่ และสัญญาข้อ 14 นี้ เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับการท่าเรือแห่งประเทศไทยจะผูกพันถึงจำเลยหรือไม่เพียงใดน่าจะต้องฟังพยานหลักฐานจากคู่ความเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างเช่า: สัญญาเช่าต่างตอบแทนยังคงกรรมสิทธิ์ไว้จนกว่าจะครบกำหนดสัญญา แม้มีข้อตกลงสละสิทธิ์
สัญญาแบ่งเช่าที่ดินระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทยกับโจทก์ผู้เช่าข้อ 4 ระบุว่า 'เมื่อครบสัญญาเช่าบรรดาวัสดุและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนทรัพย์สินที่ติดอยู่กับที่ดินตกเป็นของผู้ให้เช่า' มีความหมายอยู่ในตัวว่าตลอดระยะเวลาที่การเช่ายังมีอยู่ กรรมสิทธิ์ในบรรดาวัสดุและสิ่งปลูกสร้างฯยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แม้จะมีสัญญาข้อ 14ว่า 'โดยผู้เช่าไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแต่ประการใด' ก็หามีผลลบล้างข้อตกลงตามสัญญาแบ่งเช่าที่ดินไม่และสัญญาข้อ 14 นี้ เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับการท่าเรือแห่งประเทศไทยจะผูกพันถึงจำเลยหรือไม่เพียงใดน่าจะต้องฟังพยานหลักฐานจากคู่ความเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายจราจรและการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย กรณีความเร็วรถบรรทุก
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกน้ำมันด้วยอัตราความเร็ว 40-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดไว้สำหรับรถบรรทุกน้ำมันสำหรับในเขตเทศบาล (กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6 พ.ศ.2509 ข้อ10 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477)แต่ต่อมาพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 3ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 และได้มีกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6 พ.ศ.2522 ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ข้อ 1 ได้กำหนดความเร็วสำหรับรถไว้สำหรับรถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัมหรือบรรทุกคนโดยสารให้ขับในเขตกรุงเทพมหานครเขตเมืองพัทยาหรือเขตเทศบาลไม่เกินชั่วโมงละ 60 กิโลเมตร ฯลฯ และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ได้บัญญัติว่า ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีจะถึงที่สุดแล้ว ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถด้วยความเร็วเกินกว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การขับรถของจำเลยที่ 1 จึงไม่เร็วเกินกว่ากำหนดความเร็วตามกฎหมายใหม่ซึ่งบัญญัติไว้ให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทอันจะเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายจราจรและการใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลยในคดีประมาท
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกน้ำมันด้วยอัตราความเร็ว 40 - 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดไว้สำหรับรถบรรทุกน้ำมันสำหรับในเขตเทศบาล (กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2509 ข้อ 10 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477) แต่ต่อมาพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 และได้มีกฎหระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 6 พ.ศ. 2522 ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 1 ได้กำหนดความเร็วสำหรับรถไว้ สำหรับรถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัมหรือบรรทุกคนโดยสารให้ขับในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยาหรือเขตเทศบาลไม่เกินชั่วโมงละ 60 กิโลเมตร ฯลฯ และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ได้บัญญัติว่า ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีจะถึงที่สุดแล้ว ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถด้วยความเร็วเกินกว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การขับรถของจำเลยที่ 1 จึงไม่เร็วเกินกว่ากำหนดความเร็วตามกฎหมายใหม่ซึ่งบัญญัติไว้ให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทอันจะเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดจากคดีแพ่งต่อเนื่องคดีล้มละลาย การพิสูจน์หนี้ไม่ขาดอายุความ
ศาลสั่งจำหน่ายคดีแพ่งเพราะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เจ้าหนี้นำเช็คในคดีนั้นมาขอพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย ถือเป็นการตั้ง หลักฐานสิทธิเรียกร้องทางศาลต่อเนื่องเกี่ยวโยงกัน อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 844/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณ: ฟ้องไม่ถึงสามีจำเลยจำกัดสิทธิเรียกร้องเฉพาะส่วนของโจทก์
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณ โดยบรรยายว่าทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้สามีจำเลยด้วย เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องสามีจำเลยว่า ประพฤติเนรคุณขอให้เรียกถอนคืนการให้ในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของสามีจำเลย จึงต้องพิพากษาให้จำเลยโอนคืนเฉพาะส่วนที่โจทก์ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเท่านั้น เมื่อเรียกถอนคืนการให้ได้เฉพาะส่วนของจำเลย ก็ไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่าเสียหายเพิ่มให้โจทก์รวมถึงส่วนที่ยกให้สามีจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์: การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้เสียหายจากการยักยอกเงินค่าตราไปรษณียากร
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัย
จำเลยเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่หัวหน้าที่ทำการไปรษณีย์สาขา ได้รับฝากจดหมายและรับเงินค่าตราไปรษณียากรจากผู้ฝากหลายราย แล้วไม่จัดการผนึกตราไปรษณียากรบนจดหมายและจัดส่งไปตามหน้าที่.กลับยักยอกเอาเงินค่าตราไปรษณียากรซึ่งตกเป็นของการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียย่อมเกิดความเสียหายแก่การสื่อสารแห่งประเทศไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์: การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการยักยอกเงินค่าตราไปรษณียากร
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัย
จำเลยเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่หัวหน้าที่ทำการไปรษณีย์สาขา ได้รับฝากจดหมายและรับเงินค่าตราไปรษณียากรจากผู้ฝากหลายราย แล้วไม่จัดการผนึกตราไปรษณียากรบนจดหมายและจัดส่งไปตามหน้าที่.กลับยักยอกเอาเงินค่าตราไปรษณียากรซึ่งตกเป็นของการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียย่อมเกิดความเสียหายแก่การสื่อสารแห่งประเทศไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
of 40