พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ และการซื้อโดยไม่สุจริต
โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ได้ทำสัญญาเป็นบันทึกข้อตกลงในเรื่องบุตรและทรัพย์สินมีใจความว่า บุตรอยู่ในความอุปการะทั้งสองฝ่าย โจทก์ที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ 3 แปลงยอมยกให้แก่บุตรทั้ง 7 คน จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ 2 แปลง ที่ดินแปลงที่ 1 เป็นสวนยกให้แก่บุตรที่ชื่อ ร. ที่ดินที่เป็นที่นาพร้อมบ้าน 1 หลัง ยกให้แก่บุตรทั้ง 7 คน ห้ามมิให้จำหน่ายจ่ายโอน ทั้งสองฝ่ายจะไปโอนกรรมสิทธิ์ให้บุตรในวันที่ 22มกราคม 2517 ดังนี้ เห็นได้ว่าบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 นั้น ทั้งสองฝ่ายประสงค์จะระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะเกิดมีขึ้นภายหน้าให้เสร็จสิ้นไป ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา และได้โอนขายที่ดิน (ที่นา) ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ไป ทำให้โจทก์ที่ 1 เสียเปรียบ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เพื่อให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 2 ทราบข้อตกลง ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ในการแบ่งทรัพย์สิน รวมทั้งการยกที่พิพาทให้บุตรตามบันทึกข้อตกลงแล้ว ยังรับซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 อันเป็นการทำให้โจทก์ที่ 1 เสียเปรียบและเป็นการรับซื้อไว้โดยไม่สุจริต โจทก์ที่ 1 ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวเสียได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา และได้โอนขายที่ดิน (ที่นา) ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ไป ทำให้โจทก์ที่ 1 เสียเปรียบ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เพื่อให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 2 ทราบข้อตกลง ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ในการแบ่งทรัพย์สิน รวมทั้งการยกที่พิพาทให้บุตรตามบันทึกข้อตกลงแล้ว ยังรับซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 อันเป็นการทำให้โจทก์ที่ 1 เสียเปรียบและเป็นการรับซื้อไว้โดยไม่สุจริต โจทก์ที่ 1 ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวเสียได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กำลังป้องกันตัวที่เกินสมควรแก่เหตุ แม้ถูกทำร้ายก่อน
พ.ล. มือเปล่าชกต่อยจำเลยจำเลยใช้มีดแทง พ. ล. เป็นอันตรายสาหัสประกอบอาชีพตามปกติไม่ได้เกิน 20 วัน เป็นป้องกันเกินแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไม้: เงินมัดจำ, L/C, และความผิดของผู้ซื้อ
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายไม้มีกำหนดการซื้อขายเป็นเวลา1 ปี และมีข้อสัญญาเกี่ยวกับจำนวนไม้อย่างต่ำที่จะต้องซื้อขายกันต่อเดือน เมื่อจำเลยผู้ขายได้รับเงินมัดจำค่าซื้อไม้จากโจทก์ 200,000 บาทเงินจำนวนนี้ย่อมเป็นเงินมัดจำตามสัญญาซื้อขายที่มีกำหนดเวลาซื้อขายกัน 1 ปี ไม่ใช่เงินมัดจำสำหรับการซื้อขายไม้จำนวนใดจำนวนหนึ่งหรือของเดือนใดเดือนหนึ่ง ดังนั้น แม้จะได้ความว่า ไม้จำนวน 5 หีบที่ ตัวแทนโจทก์ได้คัดเลือกให้จำเลยเพื่อส่งไปให้โจทก์ยังต่างประเทศจะมีราคาประมาณ 200,000 บาท โจทก์ก็จะนำเงินมัดจำดังกล่าวมาหักเอาชำระราคาไม้ที่จะส่งออกไม่ได้ เพราะการซื้อขายยังไม่เสร็จสิ้น ยังจะต้องมีการซื้อขายตามสัญญาอีกจนกว่าจะครบ 1 ปี หากนำเงินมัดจำดังกล่าวมาหักชำระราคาไม้รายพิพาทแล้ว ก็จะไม่มีเงินมัดจำเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายต่อไปอีก
เมื่อได้ความว่าตามประเพณีการค้าการส่งสินค้าไปต่างประเทศผู้ซื้อจะต้องเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้ผู้ขายเท่าราคาสินค้าที่ส่งออกอันเป็นวิธีการเกี่ยวกับการชำระเงินค่าสินค้า และปรากฏว่าเป็นความผิดของโจทก์เองที่เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้จำเลยไม่พอกับราคาไม้ที่ส่งออก จึงส่งไม้ออกไปให้โจทก์ไม่ได้ เช่นนี้จะว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืน
เมื่อได้ความว่าตามประเพณีการค้าการส่งสินค้าไปต่างประเทศผู้ซื้อจะต้องเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้ผู้ขายเท่าราคาสินค้าที่ส่งออกอันเป็นวิธีการเกี่ยวกับการชำระเงินค่าสินค้า และปรากฏว่าเป็นความผิดของโจทก์เองที่เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมาให้จำเลยไม่พอกับราคาไม้ที่ส่งออก จึงส่งไม้ออกไปให้โจทก์ไม่ได้ เช่นนี้จะว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คชำระหนี้จากการกู้ยืม แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลบังคับใช้ได้
กู้เงินเกิน 50 บาท แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ไม่เป็นโมฆะเพียงแต่ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้เท่านั้น ผู้กู้สลักหลังเช็คชำระหนี้แก่ผู้กู้ จึงมีมูลหนี้ บังคับตามเช็คได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: สัญญาซื้อขายระหว่างไทย-สหรัฐฯ และข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ
แม้คำให้การจำเลยตอนแรกจะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์ตามฟ้อง แต่ในตอนต่อมาเมื่อได้อ่านโดยตลอดแล้ว สรุปได้ว่าจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาตามสำเนาท้ายฟ้องจริง เพียงแต่ต่อสู้ว่าสัญญาดังกล่าวจะต้องบังคับตามกฎหมายไทย ศาลจึงรับฟังความมีอยู่และความถูกต้องของสัญญาได้
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำเลยอยู่ในประเทศไทย โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายโดยตกลงกันว่า เมื่อมีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญา ให้ทำการชำระความโดยอนุญาโตตุลาการในนิวยอร์ค ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณี ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด จึงใช้บังคับกันได้ ดังนั้นเมื่อได้มีการนำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยถูกต้องตามขั้นตอน และไม่ปรากฏว่าอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐนิวยอร์ค คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจึงฟ้องร้องให้บังคับกันได้ในศาลไทย
ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ มาตรา 168
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำเลยอยู่ในประเทศไทย โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายโดยตกลงกันว่า เมื่อมีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญา ให้ทำการชำระความโดยอนุญาโตตุลาการในนิวยอร์ค ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณี ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด จึงใช้บังคับกันได้ ดังนั้นเมื่อได้มีการนำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยถูกต้องตามขั้นตอน และไม่ปรากฏว่าอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐนิวยอร์ค คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจึงฟ้องร้องให้บังคับกันได้ในศาลไทย
ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ มาตรา 168
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายต่างประเทศและข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: ศาลไทยรับรองคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้
แม้คำให้การจำเลยตอนแรกจะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์ตามฟ้องแต่ในตอนต่อมาเมื่อได้อ่านโดยตลอดแล้วสรุปได้ว่าจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาตามสำเนาท้ายฟ้องจริงเพียงแต่ต่อสู้ว่าสัญญาดังกล่าวจะต้องบังคับตามกฎหมายไทยศาลจึงรับฟังความมีอยู่และความถูกต้องของสัญญาได้
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำเลยอยู่ในประเทศไทยโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายโดยตกลงกันว่า เมื่อมีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญา ให้ทำการชำระความโดยอนุญาโตตุลาการในนิวยอร์ค ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณี ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด จึงใช้บังคับกันได้ ดังนั้นเมื่อได้มีการนำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยถูกต้องตามขั้นตอน และไม่ปรากฏว่าอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐนิวยอร์คคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจึงฟ้องร้องให้บังคับกันได้ในศาลไทย
ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำเลยอยู่ในประเทศไทยโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายโดยตกลงกันว่า เมื่อมีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญา ให้ทำการชำระความโดยอนุญาโตตุลาการในนิวยอร์ค ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณี ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด จึงใช้บังคับกันได้ ดังนั้นเมื่อได้มีการนำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยถูกต้องตามขั้นตอน และไม่ปรากฏว่าอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐนิวยอร์คคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจึงฟ้องร้องให้บังคับกันได้ในศาลไทย
ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการซื้อขายและการรับสภาพหนี้: การสะดุดหยุดและเริ่มนับอายุความใหม่
โจทก์จำเลยติดต่อซื้อขายเศษยางกัน โดยจำเลยรับเงินล่วงหน้าไปจากโจทก์จำนวนหนึ่ง เมื่อจำเลยนำยางและเศษยางมาขายให้โจทก์ก็คิดราคายางหักจากเงินที่จำเลยรับไปแล้ว ต่อมามีการคิดบัญชีกันแล้วจำเลยได้ทำหนังสือรับว่ายังมีเงินค่าเศษยางที่จำเลยรับไปล่วงหน้าเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่เหลือนั้นคือ ดังนี้ หาใช่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปตามมาตรา 165 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ จะนำอายุความ 2 ปี มาใช้บังคับไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1326/2511)
จำเลยทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้โจทก์ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้ที่จำเลยรับสภาพต่อโจทก์ตั้งแต่เวลาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172, 181 ตามหนังสือรับสภาพหนี้นี้จำเลยรับว่าจะผ่อนชำระหนี้โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2508 ฉะนั้น เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงสุดสิ้นลงเมื่อครบกำหนด 2 ปี ในวันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ 2510 และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันนั้นซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
จำเลยทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้โจทก์ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้ที่จำเลยรับสภาพต่อโจทก์ตั้งแต่เวลาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172, 181 ตามหนังสือรับสภาพหนี้นี้จำเลยรับว่าจะผ่อนชำระหนี้โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2508 ฉะนั้น เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงสุดสิ้นลงเมื่อครบกำหนด 2 ปี ในวันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ 2510 และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันนั้นซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการซื้อขายและการรับสภาพหนี้: การสะดุดหยุดและเริ่มต้นนับอายุความใหม่
โจทก์จำเลยติดต่อซื้อขายเศษยางกัน โดยจำเลยรับเงินล่วงหน้าไปจากโจทก์จำนวนหนึ่งเมื่อจำเลยนำยางและเศษยางมาขายให้โจทก์ก็คิดราคายางหักจากเงินที่จำเลยรับไปแล้ว ต่อมามีการคิดบัญชีกันแล้วจำเลยได้ทำหนังสือรับว่ายังมีเงินค่าเศษยางที่จำเลยรับไปล่วงหน้าเหลืออยู่จำนวนหนึ่งโจทก์ฟ้องเรียกเงินที่เหลือนั้นคืน ดังนี้ หาใช่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปตามมาตรา 165(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ จะนำอายุความ 2 ปี มาใช้บังคับไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1326/2511)
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้ที่จำเลยรับสภาพต่อโจทก์ตั้งแต่เวลาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172,181 ตามหนังสือรับสภาพหนี้นี้จำเลยรับว่าจะผ่อนชำระหนี้โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2508 ฉะนั้น เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงสุดสิ้นลงเมื่อครบกำหนด 2 ปี ในวันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ 2510 และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันนั้นซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้ที่จำเลยรับสภาพต่อโจทก์ตั้งแต่เวลาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172,181 ตามหนังสือรับสภาพหนี้นี้จำเลยรับว่าจะผ่อนชำระหนี้โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2508 ฉะนั้น เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงสุดสิ้นลงเมื่อครบกำหนด 2 ปี ในวันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ 2510 และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันนั้นซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ที่ดินต่างโฉนด แม้มีที่มาจากการแบ่งแยกเดิม ศาลรับฟังได้หากประเด็นกรรมสิทธิ์ยังไม่เคยถูกวินิจฉัย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยกับพวกจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินบางส่วนในโฉนดเลขที่ 453 ซึ่งโจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามคำสั่งศาลครั้นช่างแผนที่ไปทำแผนที่พิพาทในคดีดังกล่าว กลับปรากฏว่าโจทก์นำชี้ที่พิพาทเป็นที่ดินอยู่ในเขตโฉนดเลขที่ 1908 มิใช่อยู่ในเขตโฉนดเลขที่ 453 ดังโจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นจึงสั่งงดสืบพยานทั้ง สองฝ่ายแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 453 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้อ้างว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินโฉนดเลขที่1908 ซึ่งจำเลยแบ่งแยกออกจากโฉนดเลขที่ 453 เดิม ดังนี้ ที่พิพาทในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นที่ดินคนละโฉนดกันและประเด็นคดีนี้ที่ว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทในโฉนดเลขที่ 1908 โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ คดีก่อนยังไม่ได้วินิจฉัย จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายโควต้าสลากกินแบ่ง และความรับผิดของผู้โอนสิทธิและผู้รับโอน
จำเลยทำสัญญาขายโควต้าสลากกินแบ่งแก่โจทก์แล้วกลับไปโอนโควต้าแก่สามีจำเลย โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยขายโควต้าแก่โจทก์จำเลยต้องรับผิดโอนโควต้าแก่โจทก์ ถ้าโอนไม่ได้ต้องใช้ค่าเสียหาย