พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าจากการชี้ช่องให้ทำสัญญา แม้เป็นการประมูลราคาสำเร็จ ก็ต้องจ่ายค่านายหน้าตามตกลง
จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อขายรถยนต์ดัมทรัค 3 คัน เมื่อขายได้แล้วจะให้ค่านายหน้า 5% โจทก์ได้ติดต่อกับผู้ซื้อซึ่งเป็นหน่วยราชการซึ่งจัดการซื้อรถยนต์ดังกล่าวโดยวิธีประกวดราคา ในการประกวดราคาโจทก์ก็ได้ช่วยเหลือจำเลย จนในที่สุดจำเลยประมูลขายรถยนต์ดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อเป็นผลสำเร็จ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ชี้ช่องให้จำเลยได้เข้าทำสัญญาหรือจัดการให้จำเลยได้ทำสัญญา จำเลยต้องจ่ายค่านายหน้าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการค้ำประกัน L/C: ค้ำเฉพาะราคาสินค้า ไม่รวมค่าธรรมเนียม
โจทก์ค้ำประกันจำเลยต่อธนาคารในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสำหรับราคาสินค้าที่จำเลยสั่งเข้ามาซึ่งตามคำรับรองของโจทก์ไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเรียกเก็บจากจำเลยในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตโจทก์รับใช้และได้ใช้ค่าธรรมเนียมแทนจำเลยไป โจทก์ไม่ได้รับช่วงสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาเงินจำนวนนี้จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจดทะเบียนภารจำยอมผิดพลาด: ศาลพิพากษายืนตามเจตนาเดิมของคู่กรณี แม้การจดทะเบียนไม่ตรงตามความจริง
โจทก์จำเลยมีเจตนาจดทะเบียนช่องทางเดินผ่านที่ดินภารยทรัพย์ด้านเหนือมาแต่แรก บันทึกและรูปจำลองของเจ้าพนักงานที่ดินผิดจากเจตนาแท้จริงของคู่กรณี เป็นสารสำคัญของนิติกรรม ศาลพิพากษาให้จดทะเบียนภารจำยอมใหม่ให้ตรงตามเจตนาที่เป็นจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีเงินได้และภาษีการค้า: การประเมินและแจ้งประเมินภายใน 10 ปี
โจทก์มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2500 ถึง 2506 แต่โจทก์ยื่นรายการเงินได้ไม่ถูกต้องต่ำกว่าความจริงและลงรายการไม่ครบถ้วนทำให้จำนวนเงินภาษีเงินได้ขาดไป เจ้าพนักงานประเมินได้ไต่สวนแล้วมีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้รวมทั้งเงินเพิ่มของปีดังกล่าวให้โจทก์ชำระ ดังนี้ หนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ขาดไปนั้นได้ถึงกำหนดชำระแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 56, 57 จัตวา คือภายในเดือนกุมภาพันธ์ทุก ๆ ปี ที่มีเงินได้พึงประเมินในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีเงินได้ถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป คือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2501
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2500 และวันที่ 1 มีนาคมในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2500, 2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2502 ถึง 2506 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2501 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร ตาม 84, 85 ดังนี้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2500 และวันที่ 1 มีนาคมในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2500, 2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2502 ถึง 2506 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2501 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร ตาม 84, 85 ดังนี้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีเงินได้และภาษีการค้า: การประเมินและแจ้งการประเมินภายใน 10 ปี
โจทก์มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษี พ.ศ.2500 ถึง 2506 แต่โจทก์ยื่นรายการเงินได้ไม่ถูกต้องต่ำกว่าความจริงและลงรายการไม่ครบถ้วนทำให้จำนวนเงินภาษีเงินได้ขาดไป เจ้าพนักงานประเมินได้ไต่สวนแล้วมีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้รวมทั้งเงินเพิ่มของปีดังกล่าวให้โจทก์ชำระ ดังนี้ หนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ขาดไปนั้นได้ถึงกำหนดชำระแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 56,57 จัตวา คือภายในเดือนกุมภาพันธ์ทุก ๆ ปี ที่มีเงินได้พึงประเมินในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา และเจ้าพนักงานประเมินมี สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีเงินได้ถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไปคือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2501
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2500 และวันที่ 1 มีนาคม ในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2500,2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2502 ถึง2506 เมื่อวันที่ 19กุมภาพันธ์ 2511 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่ เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84,85 ดังนี้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2500 และวันที่ 1 มีนาคม ในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2500,2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2502 ถึง2506 เมื่อวันที่ 19กุมภาพันธ์ 2511 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่ เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84,85 ดังนี้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะคู่สัญญาและการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินในคดีล้มละลาย: จำเลยไม่ได้ผูกพันหนี้ส่วนตัว และหนี้จากการกระทำดังกล่าวไม่อาจกำหนดจำนวนได้
จำเลยเข้าทำสัญญาในฐานะรับมอบอำนาจจากผู้อื่น จึงไม่ใช่ คู่สัญญาเป็นส่วนตัวการกระทำที่ว่าจำเลยยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของลูกหนี้หลอกว่าจะชำระหนี้แทนลูกหนี้ ก็เป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนที่จะฟ้องล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อการดำเนินคดีตามคำสั่งศาลทำให้ศาลมีอำนาจยกคำร้อง และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องใหม่
ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยไม่เคยได้รับหมายนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าว แต่จำเลยไม่นำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องดังกล่าวให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งศาล ดังนี้เป็นกรณีที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด ศาลย่อมสั่งยกคำร้องได้
เมื่อศาลสั่งยกคำร้องดังกล่าวแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งกลับยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกนั้นอีกอ้างว่าทนายของจำเลยทิ้งคดีไม่ดำเนินการตามที่ศาลสั่งและจำเลยอยู่ต่างจังหวัดดังนี้ไม่เป็นเหตุให้จำเลยยกเป็นข้ออ้างขอให้ศาลไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ศาลยกไปแล้วอีกได้ เพราะเป็นความผิดของฝ่ายจำเลยเองที่ไม่เอาใจใส่ในคดีของตนและจำเลยจะอ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ไม่ได้ เพราะต้องเป็นไปเพื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายมิใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายด้วย
เมื่อศาลสั่งยกคำร้องดังกล่าวแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งกลับยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกนั้นอีกอ้างว่าทนายของจำเลยทิ้งคดีไม่ดำเนินการตามที่ศาลสั่งและจำเลยอยู่ต่างจังหวัดดังนี้ไม่เป็นเหตุให้จำเลยยกเป็นข้ออ้างขอให้ศาลไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ศาลยกไปแล้วอีกได้ เพราะเป็นความผิดของฝ่ายจำเลยเองที่ไม่เอาใจใส่ในคดีของตนและจำเลยจะอ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ไม่ได้ เพราะต้องเป็นไปเพื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายมิใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกทรัพย์สินระหว่างคู่ไม่สมรส: ที่ดินยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัว, ห้องแถวปลูกร่วมกันเป็นทรัพย์สินร่วม
หญิงชายอยู่ร่วมกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส มารดาหญิงยกที่ดินให้หญิง ไม่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างชายหญิง ส่วนห้องแถวปลูกในที่ดินโดยชายหญิงร่วมกันปลูกด้วยแรงหรือด้วยเงินของฝ่ายใด ถือว่าเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เป็นเจ้าของร่วมกัน ชายถูกยึดทรัพย์หญิงร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้