พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1417/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิครอบครองและการมีอำนาจฟ้องคดีบุกรุก เมื่อผู้เช่าคืนพื้นที่ก่อนจำเลยเข้าทำการค้า
จำเลยเข้าทำการค้าในแผงลอยที่โจทก์เช่ามาแต่เป็นเวลาหลังจากที่โจทก์คืนแผงลอยที่เช่าแก่ผู้ให้เช่าแล้วโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงพยานคนกลางมีผลผูกพัน หากพยานเบิกความสมฝ่ายใด ฝ่ายนั้นชนะคดี การอ้างเหตุอื่นนอกคำตกลงถือเป็นการนอกคำท้า
คู่ความท้ากันให้ อ. เป็นพยานคนกลางสาบานตนเบิกความต่อศาลว่า ที่พิพาททั้งสามแปลงเป็นของโจทก์หรือของจำเลยหาก อ. เบิกความสมฝ่ายใด ให้ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี ดังนี้ เมื่อ อ. พยานคนกลางเบิกความว่า จำเลยได้ร่วมทำกินในที่พิพาททั้งสามแปลงกับมารดาและพี่น้องของจำเลย จำเลยเป็นผู้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ไม่เคยเข้าเกี่ยวข้อง จึงเป็นคำเบิกความที่เจือสมฝ่ายจำเลย โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี โจทก์จะอ้างว่าคำเบิกความของพยานคนกลางไม่ตรงกับข้อกฎหมายเรื่องการครอบครองจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นผู้ครอบครอง จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทและเอกสาร ส.ค.1 ที่จำเลยอ้างส่งเป็นพยานไม่ถูกต้องเลอะเลือน นั้น ไม่ได้ เพราะเป็นการนอกคำท้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมผู้ถือหุ้นชอบด้วยกฎหมายเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนและมีองค์ประชุมครบตามกฎหมาย
จำเลยกับพวกผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ขึ้น โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการของบริษัท ได้ทำหนังสือเรียกประชุมผู้ถือหุ้น กำหนดวันประชุม แล้วจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และเมื่อถึงวันนัดประชุม ได้มีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุม 24 คน ซึ่งรวมจำนวนหุ้นแล้วมีจำนวน 64 หุ้น อันมีจำนวนหุ้นเกินกว่าหนึ่งในสี่แห่งทุนของบริษัท ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 100 หุ้น ดังนี้ การประชุมใหญ่ที่จำเลยกับพวกจัดขึ้นเป็นไปตามขั้นตอนถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1172,1175 และ 1178 แล้ว การประชุมใหญ่ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติอย่างไรไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทแล้ว มตินั้นย่อมเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมผู้ถือหุ้นชอบด้วยกฎหมายเมื่อเป็นไปตามขั้นตอนที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนด
จำเลยกับพวกผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ขึ้น โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการของบริษัทได้ทำหนังสือเรียกประชุมผู้ถือหุ้นกำหนดวันประชุมแล้วจัดส่งทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และเมื่อถึงวันนัดประชุม ได้มีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุม 24 คน ซึ่งรวมจำนวนหุ้นแล้วมีจำนวน 64 หุ้น อันมีจำนวนหุ้นเกินกว่าหนึ่งในสี่แห่งทุนของบริษัท ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 100 หุ้น ดังนี้ การประชุมใหญ่ที่จำเลยกับพวกจัดขึ้นเป็นไปตามขั้นตอนถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1172, 1175 และ 1178 แล้ว การประชุมใหญ่ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติอย่างไรไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทแล้ว มตินั้นย่อมเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทำความสะอาดและเก็บเงินในร้านตัดผม มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา แม้ทำงานเกี่ยวกับกิจการร้านค้า ไม่ถือเป็นงานบ้าน
งานทำความสะอาดร้านตัดผมและเก็บเงินจากลูกค้าที่ ล.ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างนั้น เป็นงานเกี่ยวกับร้านตัดผมที่จำเลยประกอบกิจการอยู่ โดยเฉพาะหน้าที่เก็บเงินจากลูกค้าที่มาตัดผม ย่อมเห็นได้ว่าไม่เกี่ยวกับงานบ้าน กรณีถือไม่ได้ว่า ล. เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ล. จึงมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าปรับจากสัญญาซื้อขาย: ไม่ใช่การฟ้องเรื่องการส่งมอบทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญาในกรณีที่จำเลยผิดสัญญา ไม่ส่งมอบเครื่องรับส่งวิทยุตามที่ตกลงซื้อขายกัน เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าในสัญญา หาใช่เป็นการฟ้องให้รับผิดในการส่งมอบทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าปรับตามสัญญาซื้อขาย: ไม่ใช่การฟ้องเรื่องการส่งมอบทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญาในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบเครื่องรับส่งวิทยุตามที่ตกลงซื้อขายกัน เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าในสัญญา หาใช่เป็นการฟ้องให้รับผิดในการส่งมอบทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องความชำรุดบกพร่องของสินค้า: ข้อตกลงรับคืนกระป๋องชำรุดไม่ยกเว้นอายุความ 1 ปี
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยติดต่อค้าขายกันหลายปีโดยโจทก์รับซื้อกระป๋องบรรจุน้ำมันหล่อลื่น จากจำเลยมีข้อตกลงว่าถ้ากระป๋องชำรุดรั่วใช้การไม่ได้ จำเลยยอมรับคืนและยอมใช้ค่ากระป๋องในราคาที่จำเลยขายให้โจทก์ โจทก์ได้ส่งกระป๋องที่ชำรุดจำนวนหนึ่งคืนจำเลย แต่จำเลยไม่ใช้ราคา โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ ดังนี้เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จำเลยขายให้โจทก์ชำรุดบกพร่องโดยตรง ตกอยู่ภายใต้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474 ไม่ใช่เรื่องโจทก์ฟ้องเรียกราคาค่าขายกระป๋อง ชำรุดอันจะ ใช้อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังข้อเรียกร้องค่าจ้าง และผลของข้อตกลงสภาพการจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับผู้แทนฝ่ายลูกจ้างได้ทำความตกลงกันทำขึ้นมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ จึงมีผลใช้บังคับหนึ่งปีนับแต่ที่ตกลงกัน
การที่นายจ้างเลิกกิจการไม่ทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุดลง เมื่อข้อตกลงระบุว่าในกรณีนายจ้างจำเป็นต้องยุบหรือเลิกกิจการแผนกใด นายจ้างรับจะพิจารณาหาตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมให้ลูกจ้างแล้วนายจ้างยุบเลิกแผนกโดยไม่หาตำแหน่งใหม่ให้ลูกจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ และเมื่อมีพฤติการณ์ฟังได้ว่า นายจ้างยุบเลิกแผนกส่งของเพื่อเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างในแผนกนี้หลายคนเป็นผู้นำในการยื่นข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่นายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 121(1)อีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องของลูกจ้างและสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 40,41 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์
การที่นายจ้างเลิกกิจการไม่ทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุดลง เมื่อข้อตกลงระบุว่าในกรณีนายจ้างจำเป็นต้องยุบหรือเลิกกิจการแผนกใด นายจ้างรับจะพิจารณาหาตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมให้ลูกจ้างแล้วนายจ้างยุบเลิกแผนกโดยไม่หาตำแหน่งใหม่ให้ลูกจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ และเมื่อมีพฤติการณ์ฟังได้ว่า นายจ้างยุบเลิกแผนกส่งของเพื่อเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างในแผนกนี้หลายคนเป็นผู้นำในการยื่นข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่นายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 121(1)อีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องของลูกจ้างและสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 40,41 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังการยื่นข้อเรียกร้อง - การบังคับใช้ข้อตกลงสภาพการจ้างและการคุ้มครองลูกจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยกับสภาพการจ้างที่ผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับผู้แทนฝ่ายลูกจ้างได้ทำความตกลงกันทำขึ้น มิได้กำหนดระยะเวลาไว้ จึงมีผลใช้บังคับหนึ่งปีนับแต่ที่ตกลงกัน
การที่นายจ้างเลิกกิจการไม่ทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุดลง เมื่อข้อตกลงระบุว่าในกรณีนายจ้างจำเป็นต้องยุบหรือเลิกกิจการแผนกใด นายจ้างรับจะพิจารณาหาตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมให้ลูกจ้าง แล้วนายจ้างยุบเลิกแผนกโดยไม่หาตำแหน่งใหม่ให้ลูกจ้างจึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ และเมื่อมีพฤติการณืฟังได้ว่านายจ้างยุบเลิกแผนกส่งของเพื่อเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างในแผนกนี้หลายคนเป็นผู้นำในการยื่นข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่นายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 121 (1) อีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องของลูกจ้างและสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 40, 41 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์
การที่นายจ้างเลิกกิจการไม่ทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุดลง เมื่อข้อตกลงระบุว่าในกรณีนายจ้างจำเป็นต้องยุบหรือเลิกกิจการแผนกใด นายจ้างรับจะพิจารณาหาตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมให้ลูกจ้าง แล้วนายจ้างยุบเลิกแผนกโดยไม่หาตำแหน่งใหม่ให้ลูกจ้างจึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ และเมื่อมีพฤติการณืฟังได้ว่านายจ้างยุบเลิกแผนกส่งของเพื่อเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างในแผนกนี้หลายคนเป็นผู้นำในการยื่นข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่นายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 121 (1) อีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องของลูกจ้างและสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 40, 41 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์