คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฟื่องขจิต รัศมิภูติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 427 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชีเพียงพอ การพิสูจน์สถานะทางการเงิน ณ วันออกเช็คเป็นสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คมาตรา 3 ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยออกเช็คพิพาทลงวันที่ 10 มิถุนายน 2521 ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์ร่วม ต่อมาวันที่ 19 กรกฎาคม 2521 โจทก์นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่าย โดยมิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะที่ออกเช็คพิพาทคือวันที่ 10 มิถุนายน 2521 นั้น เงินในบัญชีของจำเลยมีพอจ่ายตามเช็คพิพาทหรือไม่ ดังนี้ จะฟังว่าการที่เงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายในวันที่ 19กรกฎาคม 2521 นั้น. ในวันที่ 10 มิถุนายน 2521 อันอันเป็นวันออกเช็คพิพาทจำเลยก็ไม่มีเงินในบัญชีพอจ่ายตามเช็คจึงลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสมาชิกภาพสภาเทศบาลจากคำพิพากษาจำคุกและการมีลักษณะต้องห้าม
พระราชบัญญัติเทศบาล มาตรา 19(4) บัญญัติว่าสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลย่อมสิ้นสุดลงเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล มาตรา 21(9) บัญญัติว่าผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งนั้น เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้คัดค้านถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลในขณะดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาล ผู้คัดค้านจึงขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลตามนัยกฎหมายดังกล่าว
พระราชบัญญัติเทศบาล มาตรา 71 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดนั้น เมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลถูกจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร่วมคดีละเมิด: ผลประโยชน์ร่วมกันในมูลเหตุเป็นสำคัญ แม้ค่าเสียหายต่างกัน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 บัญญัติว่า'บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ......ฯลฯ' ซึ่งหมายความว่าต้องมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้น โดยถือหนี้อันเป็นมูลของคดีนั้นเป็นสารสำคัญ ฉะนั้นในกรณีทำละเมิดต่อโจทก์หลายคนร่วมกันแม้ค่าเสียหายของโจทก์แต่ละคนจะแยกต่างหากจากกันได้ ก็อาจเป็นโจทก์ร่วมกันในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โจทก์ร่วม: การฟ้องละเมิดร่วมกัน แม้ค่าเสียหายต่างกัน ก็รวมฟ้องได้ตามมาตรา 59 ว.พ.พ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 บัญญัติว่า"บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ......ฯลฯ" ซึ่งหมายความว่าต้องมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้นโดยถือหนี้อันเป็นมูลของคดีนั้นเป็นสารสำคัญ ฉะนั้นในกรณีทำละเมิดต่อโจทก์หลายคนร่วมกันแม้ค่าเสียหายของโจทก์แต่ละคนจะแยกต่างหากจากกันได้ ก็อาจเป็นโจทก์ร่วมกันในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกโรงเรียนที่หมดอายุสัญญาเช่า แม้เจ้าของเป็นชื่อในนาม แต่ยังมีหน้าที่ครอบครองดูแลรักษา
จำเลยเอาข้าวเปลือกเข้าไปเก็บไว้ในอาคารโรงเรียนที่เกิดเหตุโดยมิได้รับอนุญาต แม้โรงเรียนจะเป็นของส่วนรวม ส. ผู้เสียหายเป็นเจ้าของแต่เพียงในนามเพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินของมารดาจำเลยและหมดอายุสัญญาเช่าแล้ว ส.ผู้เสียหายก็มีหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาโรงเรียนที่เกิดเหตุการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่เกิดจากความรู้ฐานะหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้
การที่เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน มีจำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการด้วยกัน และมีสมุหบัญชีคนเดียวกัน ผู้ขอรับชำระหนี้ย่อมต้องทราบถึงฐานะการเงินของจำเลยที่ 1 เป็นอย่างดีว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว การจ่ายเงินของผู้ขอรับชำระหนี้ไปนั้นเป็นหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการบริษัทต่อการกระทำผิดของโรงงาน แม้ไม่ได้ระบุมาตราในฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าบริษัทจำเลยที่ 1 เจ้าของโรงงาน และจำเลยที่ 2กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทได้บังอาจระบายน้ำทิ้งลงในแม่น้ำเป็นการฝ่าฝืนประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ฯลฯขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 39, 50เมื่อจำเลยรับสารภาพจึงลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติซึ่งโจทก์กล่าวมาในฟ้องแล้วได้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุมาตรา 50 ทวิมาด้วยก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการโรงงานต่อการระบายน้ำทิ้งผิดกฎหมาย แม้โจทก์มิได้ระบุมาตรา 50 ทวิ ในฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าบริษัทจำเลยที่ 1 เจ้าของโรงงาน และจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทได้บังอาจระบายน้ำทิ้งลงในแม่น้ำ เป็นการฝ่าฝืนประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ฯลฯ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 39,50 เมื่อจำเลยรับสารภาพจึงลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติซึ่งโจทก์กล่าวมาในฟ้องแล้วได้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุมาตรา 50 ทวิมาด้วยก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'บิดา' ในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337: ต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2515 มีความว่า 'ให้ถอนสัญชาติไทยของบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว ฯลฯ' คำว่า 'บิดา' ดังกล่าวน่าจะหมายถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งจะเห็นได้ว่า คำว่า 'บิดา'ที่ใช้ในพระราชบัญญัติสัญชาติฯ มาตรา 7,8,14,15,17,21 และ 24 ซึ่งมีความหมายถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็ไม่ได้ระบุใช้คำว่า 'บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย' ไว้แต่อย่างใด เว้นแต่กรณีใดประสงค์จะเน้นให้แตกต่างจากบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงจะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นในมาตรา 18 ที่ระบุว่า มารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นต้น ดังนั้นคำว่าบิดาเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวจึงหมายความถึงว่าบิดาที่เป็นคนต่างด้าวจะต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้แม้ไม่มีตราบริษัท แต่ผู้กู้ลงลายมือชื่อแล้ว ถือเป็นหลักฐานฟ้องร้องได้
จำเลยได้กู้เงินของบริษัทโจทก์ไปจริงตามสัญญากู้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินที่กู้ไปให้แก่โจทก์ จำเลยจะโต้แย้งว่าบริษัทโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ให้พนักงานกู้เงินไปซื้อบ้าน ไม่มีอำนาจฟ้องร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามที่กู้ไปนั้นไม่ได้ แม้สัญญากู้จะมีกรรมการของบริษัทโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ให้กู้แต่เพียงคนเดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัทด้วยก็ตาม แต่หนังสือสัญญากู้ฉบับนี้จำเลยก็ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ไว้เป็นหลักฐานแล้วโจทก์จึงนำมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ต้นเงินกู้พร้อมด้วยดอกเบี้ยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคแรก
of 43