คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฟื่องขจิต รัศมิภูติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 427 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันของคู่สัญญา และการยอมรับหนี้ร่วมกันของห้างหุ้นส่วน
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งพนักงานสอบสวนทำไว้มีใจความว่า จำเลยที่ 2 โดย ช. หุ้นส่วนผู้จัดการ และ ท. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้เงินทั้งสิ้น 107,704 บาท 50 สตางค์ ให้แก่โจทก์ โดยตกลงชำระงวดแรกในเดือนที่ตกลงกันเป็นเงิน 20,000บาท ต่อไปชำระทุกเดือน เดือนละ 10,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี หากผิดสัญญายอมให้ฟ้องร้องดำเนินการทางแพ่งอย่างเดียว ส่วนการร้องทุกข์คดีอาญาโจทก์ไม่ประสงค์ให้ดำเนินคดีต่อไป ข้อความเช่นนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
แม้ ช. หุ้นส่วนผู้จัดการห้าง ฯ จำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของห้าง ฯ แต่เมื่อมีข้อความระบุไว้แจ้งชัดว่า ช. เป็นผู้ทำความตกลงในนามของห้าง ฯ ถือได้ว่าห้าง ฯ จำเลยที่ 2 ได้ตกลงชดใช้เงินให้แก่โจทก์อันมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความ จึงต้องผูกพันรับผิดตามข้อความในบันทึกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกของผู้คบหากันฉันสามีภรรยา และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามเจตนาผู้ตาย
ทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำมาหาได้ในระหว่างที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา เป็นของผู้ร้องกับผู้ตายร่วมกันผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย และมีสิทธิร้องขอให้ตั้ง อ. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วย ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องจะเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ศาลจะตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดกนั้นจะต้องคำนึงถึงประโยชน์แก่กองมรดกและเจตนาของเจ้ามรดกด้วย เมื่อผู้ตายได้ทำหนังสือตั้ง อ. เป็นผู้จัดการมรดกไว้ ส่วนผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่สาวร่วมมารดากับผู้ตาย เคยมีเรื่องทะเลาะกันกับผู้ตายจนไม่พูดจากัน จึงควรตั้ง อ. เป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนขายฝากภายในกำหนดเวลา ไม่ขาดอายุความ แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
เมื่อโจทก์ได้ไถ่ถอนการขายฝากที่ดินภายในกำหนดเวลาตามสัญญาขายฝากแล้ว คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะการจดทะเบียนไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นเพียงการทำให้การกลับคืนมาซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดินบริบูรณ์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา-นิติบุคคล และการหักค่าเสื่อมราคาจากการเช่าทรัพย์สิน
ส. และ ว. ซึ่งเป็นสามีภริยากันถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนทุนทั้งหมดของบริษัทโจทก์บริษัทโจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อย่างบุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 75
บริษัทโจทก์สร้างอาคารราคา 465,981.34 บาท แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้เจ้าของที่ดิน โดยโจทก์ได้สิทธิการเช่าอาคารและที่ดินเป็นเวลา 11 ปี อัตราค่าเช่าเดือนละ 150 บาท เป็นสัญญาต่างตอบแทนอันทำให้บริษัทโจทก์ได้รับประโยชน์จากการได้สิทธิการเช่าอาคารและที่ดินนั้น ค่าก่อสร้างอาคารจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) โจทก์มีสิทธิเพียงหักค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 100 หารด้วยปีอายุการเช่าตามมาตรา 5 (4)วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2509

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและการหักค่าเสื่อมราคาจากการเช่าทรัพย์สิน
ส.และว. ซึ่งเป็นสามีภริยากันถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนทุนทั้งหมดของบริษัทโจทก์ บริษัทโจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อย่างบุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 75
บริษัทโจทก์สร้างอาคารราคา 465,981.34 บาท แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้เจ้าของที่ดิน โดยโจทก์ได้สิทธิการเช่าอาคารและที่ดินเป็นเวลา 11 ปี อัตราค่าเช่าเดือนละ 150 บาทเป็นสัญญาต่างตอบแทนอันทำให้บริษัทโจทก์ได้รับประโยชน์จากการได้สิทธิการเช่าอาคารและที่ดินนั้น ค่าก่อสร้างอาคารจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี (5) โจทก์มีสิทธิเพียงหักค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 100 หารด้วยปีอายุการเช่าตามมาตรา 5(4)วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2509

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากสินค้าชำรุด: สัญญาซื้อขายตามตัวอย่าง/คำพรรณนา vs. สัญญาซื้อขายธรรมดา
สัญญาซื้อขายอะไหล่เครื่องยนต์ยอมให้โจทก์ผู้ซื้อตรวจสอบและทดลองคุณภาพสินค้า ถ้าปรากฏว่าสินค้าที่ส่งมอบมีคุณภาพไม่ตรงตามตัวอย่างหรือรายการละเอียดที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะไม่รับสินค้านั้นได้ ดังนี้ มิใช่การขายตามตัวอย่างหรือตามคำพรรณนา มีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าจ้าง: สิทธิเรียกร้องค่าจ้างมีอายุความ 2 ปีตามมาตรา 165(8)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยว่าจ้างโจทก์บรรทุกดินลูกรังแล้วออกเช็คพิพาทชำระค่าจ้าง โจทก์นำเช็คพิพาทไปขอรับเงินจากธนาคารไม่ได้ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามเช็ค จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทนั้น ซึ่งแท้จริงก็คือขอให้บังคับจำเลยชำระค่าจ้างนั่นเอง เป็นกรณีที่โจทก์ผู้รับจ้างเรียกเอาเงินค่าจ้างเพื่อการงานที่ทำจากจำเลย สิทธิเรียกร้องดังกล่าวนี้มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179-3180/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องพิเคราะห์เจตนาลูกหนี้ที่ให้เจ้าหนี้ได้เปรียบกว่าเจ้าหนี้รายอื่น
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ของลูกหนี้ที่จะขอให้เพิกถอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา115จะต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้มุ่งหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ก่อนแล้ว ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น เมื่อปรากฏว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ซื้อหรือผู้รับโอนไม่ได้เป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนการโอนตามมาตราดังกล่าว
จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทเอาเงินมาชำระหนี้ตามเช็คให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 เพื่อให้ถอนคำร้องทุกข์ ไม่ดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คมิใช่เป็นการกระทำที่จำเลยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้เปรียบ เจ้าหนี้อื่น ผู้ร้องไม่มีอำนาจขอให้ศาลสั่งเพิกถอนตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115
จำเลยชำระหนี้ให้ผู้คัดค้านที่ 3 เพื่อเอาโฉนดที่ถูกยึดไว้เป็นประกันหนี้คืนมาโอนขายให้ผู้คัดค้านที่ 2เป็นการชำระหนี้โดยลูกหนี้มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านที่ 3ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 เพราะจำเลยมีทางขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้ผู้คัดค้านที่ 3 ส่งโฉนดได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 74 ผู้ร้องมีอำนาจขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการที่จำเลย ชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179-3180/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย พิจารณาเจตนาให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ของลูกหนี้ที่จะขอให้เพิกถอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา115 จะต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้มุ่งหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ก่อนแล้ว ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น เมื่อปรากฏว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ซื้อหรือผู้รับโอนไม่ได้เป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อน ผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนการโอนตามมาตราดังกล่าว
จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทเอาเงินมาชำระหนี้ตามเช็คให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 เพื่อให้ถอนคำร้องทุกข์ ไม่ดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คมิใช่เป็นการกระทำที่จำเลยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้เปรียบ เจ้าหนี้อื่น ผู้ร้องไม่มีอำนาจขอให้ศาลสั่งเพิกถอนตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115
จำเลยชำระหนี้ให้ผู้คัดค้านที่ 3 เพื่อเอาโฉนดที่ถูกยึดไว้เป็นประกันหนี้คืนมาโอนขายให้ผู้คัดค้านที่ 2เป็นการชำระหนี้โดยลูกหนี้มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านที่ 3ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 115 เพราะจำเลยมีทางขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้ผู้คัดค้านที่ 3 ส่งโฉนดได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 74 ผู้ร้องมีอำนาจขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการที่จำเลย ชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้ผู้ขอจดทะเบียนก่อน
จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนในการโฆษณาสินค้าซึ่งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายรวมทั้งสินค้าสีมาก่อนโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิในการขอจดทะเบียนดีกว่าโจทก์แม้เครื่องหมายการค้านั้นเกือบเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และโจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนก่อนก็ตาม
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทำให้จำเลยเสียหายเพราะทำให้ผู้ซื้อสินค้าเข้าใจผิดว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าสีของจำเลย จึงเป็นการทำละเมิดต่อจำเลยและต้องชดใช้ค่าเสียหาย
of 43