คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทิน เลิศวิรุฬห์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การฟ้องเพิ่มเติมและการรวมการพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดภายใน 1 ปีแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 แม้โจทก์จะยื่นฟ้องเพิ่มเติมเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่วันละเมิดแต่ก่อนวันที่ศาลชี้สองสถาน ทั้งเป็นฟ้องที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ โจทก์จึงเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำฟ้องเดิมของโจทก์ได้กล่าวถึงบุตรผู้เยาว์ทั้งสองและเรียกร้องค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งอันเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์ทั้งสอง แสดงว่าโจทก์ได้ฟ้องคดีแทนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองมาตั้งแต่ต้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การฟ้องเพิ่มเติมและผลกระทบต่ออายุความเมื่อฟ้องเดิมครอบคลุมผู้เยาว์
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดภายใน 1 ปีแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 แม้โจทก์จะยื่นฟ้องเพิ่มเติมเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่วันละเมิดแต่ก่อนวันที่ศาลชี้สองสถาน ทั้งเป็นฟ้องที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ โจทก์จึงเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำฟ้องเดิมของโจทก์ได้กล่าวถึงบุตรผู้เยาว์ทั้งสองและเรียกร้องค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งอันเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์ทั้งสอง แสดงว่าโจทก์ได้ฟ้องคดีแทนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองมาตั้งแต่ต้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตลาดหลักทรัพย์: การขายหุ้นลูกค้าโดยไม่ได้รับคำสั่ง และความรับผิดของกรรมการ/ผู้บริหาร
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทธุรกิจเงินทุนและค้าหลักทรัพย์ เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการบริหาร และจำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าหน้าที่บริหาร จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้บริหารและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อขายหลักทรัพย์และจดทะเบียนหลักทรัพย์ในนามของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เอาหุ้นของโจทก์ซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ไปขายโดยไม่ได้รับคำสั่งจากโจทก์โจทก์ย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยทั้งหก โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) ฟ้องจำเลยทั้งหกในความผิดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2517 มาตรา 21, 42 วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดตลาดหลักทรัพย์: การขายหุ้นลูกค้าโดยไม่ได้รับคำสั่ง และความรับผิดของกรรมการ/ผู้บริหาร
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทธุรกิจเงินทุนและค้าหลักทรัพย์ เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการบริหาร และจำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าหน้าที่บริหาร จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้บริหารและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อขายหลักทรัพย์และจดทะเบียนหลักทรัพย์ในนามของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เอาหุ้นของโจทก์ซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ไปขายโดยไม่ได้รับคำสั่งจากโจทก์โจทก์ย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยทั้งหก โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ฟ้องจำเลยทั้งหกในความผิดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2517 มาตรา 21,42 วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: ผู้แพ้คดีต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย แม้โจทก์เป็นผู้ขออายัดทรัพย์ก่อน
ค่าธรรมเนียมการยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย เป็นค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในตาราง 5(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคแรก บัญญัติว่าความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี และวรรคสองบัญญัติว่าค่าฤชาธรรมเนียมให้รวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วย คดีนี้แม้โจทก์เป็นฝ่ายร้องขอยึดทรัพย์ของจำเลยชั่วคราวก่อนพิพากษาซึ่งเป็นการยึดทรัพย์สินที่ไม่ใช่ตัวเงินแล้ว.ไม่มีการขายหรือจำหน่าย โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการบังคับคดีในเบื้องแรกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีแล้ว โจทก์ละเลยมิได้ขอหมายบังคับคดีภายในกำหนดที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260 (2) ทำให้ผลของคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นอันยกเลิก ไม่มีผลใช้บังคับต่อไปก็ตาม แต่ต่อมาเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ชนะคดีและให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีจึงต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: ผู้แพ้คดีต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์ แม้ไม่มีการขายทอดตลาด
ค่าธรรมเนียมการยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย เป็นค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในตาราง 5(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคแรกบัญญัติว่าความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี และวรรคสอง บัญญัติว่าค่าฤชาธรรมเนียมให้รวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วย คดีนี้แม้โจทก์เป็นฝ่ายร้องขอยึดทรัพย์ของจำเลยชั่วคราวก่อนพิพากษาซึ่งเป็นการยึดทรัพย์สินที่ไม่ใช่ตัวเงินแล้ว.ไม่มีการขายหรือจำหน่าย โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการบังคับคดีในเบื้องแรกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีแล้ว โจทก์ละเลยมิได้ขอหมายบังคับคดีภายในกำหนดที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2) ทำให้ผลของคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นอันยกเลิก ไม่มีผลใช้บังคับต่อไปก็ตามแต่ต่อมาเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ชนะคดีและให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีจึงต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินค้าซื้อขาย และการเชิดตัวบุคคลแสดงเป็นตัวแทน
เมื่อจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาเป็นตัวแทนกับโจทก์ ส.ก็ไปเป็นพยานในสัญญานอกจากส. จะเป็นภริยาจำเลยที่ 2 และเป็นมารดาจำเลยที่ 3 แล้ว ยังใช้ชื่อ ส. เป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1และหัวกระดาษผัดหนี้ก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของตน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าแบตเตอรี่ที่จำเลยสั่งซื้อ จำเลยให้การว่าฟ้องขาดอายุความแล้วเพราะไม่ฟ้องภายใน 2 ปีข้อต่อสู้ของจำเลยอ้างเหตุชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแล้ว เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับว่าจะต้องระบุอ้างมาตราในกฎหมายลงไปด้วย การที่จำเลยระบุเลขของอนุมาตราในมาตราเดียวกันนั้นคลาดเคลื่อนไป ไม่ทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยในประเด็นข้อนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างใด แม้ในคำให้การจะอ้างมาตรา 165(2) แล้วต่อมาขอแก้เป็นมาตรา 165(1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยก็อ้างมาตรา 165(1)ขึ้นฎีกาได้
สัญญามีข้อความว่า โจทก์ตกลงขายแบตเตอรี่ให้แก่ผู้แทนจำหน่าย (จำเลย) เพื่อนำไปขายอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยต้องการซื้อเมื่อใด แบบใด จำนวนเท่าใดต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้า โดยมีใบสั่งซื้อหรือหนังสือสั่งซื้อเป็นหลักฐาน. ดังนี้ เป็นการซื้อขายแบตเตอรี่ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่สัญญาตัวแทนค้าต่างไม่ ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของคือแบตเตอรี่จากจำเลยจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165(1) เมื่อนับแต่วันส่งมอบของครั้งสุดท้ายก็ดี หรือนับแต่วันที่ตัวแทนจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ดีนับถึงวันฟ้องคดีก็เกิน 2 ปีแล้ว ฟ้องจึงขาดอายุความตามมาตรา 165(1) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้ซื้อขายแบตเตอรี่: สัญญาซื้อขายไม่ใช่สัญญาตัวแทน, หนังสือผัดหนี้ไม่ทำให้เกินอายุความ
เมื่อจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาเป็นตัวแทนกับโจทก์ ส. ก็ไปเป็นพยานในสัญญา นอกจาก ส.จะเป็นภริยาจำเลยที่ 2 และเป็นมารดาจำเลยที่ 3 แล้ว ยังใช้ชื่อ ส. เป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1และหัวกระดาษผัดหนี้ก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของตน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าแบตเตอรี่ที่จำเลยสั่งซื้อ จำเลยให้การว่าฟ้องขาดอายุความแล้วเพราะไม่ฟ้องภายใน 2 ปี ข้อต่อสู้ของจำเลยอ้างเหตุชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสองแล้ว เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับว่าจะต้องระบุอ้างมาตราในกฎหมายลงไปด้วย การที่จำเลยระบุเลขของอนุมาตราในมาตราเดียวกันนั้นคลาดเคลื่อนไป ไม่ทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยในประเด็นข้อนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างใด แม้ในคำให้การจะอ้างมาตรา 165 (2) แล้วต่อมาขอแก้เป็นมาตรา 165 (1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยก็อ้างมาตรา 165 (1)ขึ้นฎีกาได้
สัญญามีข้อความว่า โจทก์ตกลงขายแบตเตอรี่ให้แก่ผู้แทนจำหน่าย(จำเลย) เพื่อนำไปขายอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยต้องการซื้อเมื่อใด แบบใด จำนวนเท่าใดต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้า โดยมีใบสั่งซื้อหรือหนังสือสั่งซื้อเป็นหลักฐาน. ดังนี้ เป็นการซื้อขายแบตเตอรี่ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่สัญญาตัวแทนค้าต่างไม่ ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของคือแบตเตอรี่จากจำเลยจึงมีกำหนดอายุความ2 ปี ตามมาตรา 165 (1) เมื่อนับแต่วันส่งมอบของครั้งสุดท้ายก็ดี หรือนับแต่วันที่ตัวแทนจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ดีนับถึงวันฟ้องคดีก็เกิน 2 ปีแล้ว ฟ้องจึงขาดอายุความตามมาตรา 165 (1) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องแย้งในคดีแพ่ง: การฟ้องแย้งต้องเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม
ประเด็นตามฟ้องมีว่า โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยกระทำการเกินขอบเขตที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยเดินผ่านทางเดินรายพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของโจทก์หรือไม่ การที่จำเลยฟ้องแย้งให้ห้ามโจทก์เปิดประตูรั้วออกมาทางทางเดินรายพิพาท และแกล้งเปิดประตูรั้วกระทบจำเลยและครอบครัว กับห้ามโจทก์และบริวารปารั้วสังกะสีของโจทก์ทำให้จำเลยและบริวารตกใจ จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม จำเลยจะต้องฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจตัวแทนช่วงนอกศาล การรับชำระหนี้ และความรับผิดจากละเมิด
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 1 คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงยุติไปแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.ว.พ. ม.142 และ ม.240 ศาลฎีกาต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3
จำเลยที่ 2 ผู้จัดการธนาคารสาขา ได้รับมอบอำนาจจากธนาคารจำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นทนายความฟ้องโจทก์ให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง ตามหนังสือมอบอำนาจจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจรับเงินในคดีแทนจำเลยที่ 2นอกศาล การที่โจทก์มอบเช็คให้จำเลยที่ 1 ไปจัดการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 เพื่อมิให้ที่ดินของโจทก์ต้องถูกขายทอดตลาดจำเลยที่ 1 ยอมรับเช็คไปดำเนินการตามความประสงค์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนโดยปริยายของโจทก์แล้วตาม ป.พ.พ ม.797 วรรคสอง หากมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แล้ว ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิด เมื่อที่ดินของโจทก์ต้องถูกขายทอดตลาดไปเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์
of 77