พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขับรถโดยสารประจำทาง ไม่ใช่ผู้ประกอบการขนส่ง การกระทำผิดจึงอยู่ที่เจ้าของรถและองค์การขนส่งมวลชน
รถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ประกอบการขนส่งประจำทางร่วมกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพดังนั้น เจ้าของรถยนต์ร่วมกับองค์การฯเป็นผู้รับผิดชอบในการใช้รถคันนี้ในการขนส่งประจำทาง จำเลยเป็นเพียงผู้ใช้รถยนต์ ในนามของเจ้าของรถร่วมกับองค์การฯ เท่านั้น จำเลยไม่ได้เป็น ผู้ประกอบการขนส่งประจำทางแต่อย่างใด แม้จำเลยจะนำรถยนต์ แล่นรับส่งคนโดยสารนอกเส้นทางที่ได้รับอนุญาตไว้ ก็ไม่เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ มาตรา 23,126
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขับรถโดยสารประจำทาง ไม่ใช่ผู้ประกอบการขนส่ง หากเจ้าของรถร่วมกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเป็นผู้รับผิดชอบ
รถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ประกอบการขนส่งประจำทางร่วมกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ดังนั้น เจ้าของรถยนต์ร่วมกับองค์การ ฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการใช้รถคันนี้ในการขนส่งประจำทาง จำเลยเป็นเพียงผู้ใช้รถยนต์ ในนามของเจ้าของรถร่วมกับองค์การ ฯ เท่านั้น จำเลยไม่ได้เป็น ผู้ประกอบการขนส่งประจำทางแต่อย่างใด แม้จำเลยจะนำรถยนต์ แล่นรับส่งคนโดยสารนอกเส้นทางที่ได้รับอนุญาตไว้ ก็ไม่เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก ฯ มาตรา 23, 126
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายทำให้สิทธินำคดีอาญาของโจทก์ระงับ แม้ใช้ถ้อยคำผิดพลาด
แม้ว่าในคำร้องของผู้เสียหายจะบรรยายว่าขอถอนฟ้องก็ตามแต่ในคำร้องก็ระบุข้อความชัดเจนว่าเนื่องจากผู้เสียหายและจำเลยตกลงกันได้แล้วผู้เสียหายจึงไม่มีความประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไปแสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยและประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์นั่นเองแต่ใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์และการระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา แม้ใช้คำผิดพลาด
แม้ว่าในคำร้องของผู้เสียหายจะบรรยายว่าขอถอนฟ้องก็ตาม แต่ในคำร้องก็ระบุข้อความชัดเจนว่า เนื่องจากผู้เสียหายและจำเลยตกลงกันได้แล้ว ผู้เสียหายจึงไม่มีความประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไป แสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยและประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์นั่นเอง แต่ใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง แม้ลูกจ้างใช้รถในธุระส่วนตัว แต่ยังอยู่ในความยินยอมของนายจ้าง
จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกหกล้อ และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 3 โดยจ้างจำเลยที่ 3 เป็นคนขับรถไปรับจ้างบรรทุกสินค้าพืชไร่ต่าง ๆ ตามปกติจำเลยที่ 3 เอารถไปเก็บไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 เสมอโดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 วันเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์บรรทุกมันสำปะหลังไปส่ง แล้วนำรถไปเก็บที่บ้านของจำเลยที่ 3 ต่อมาตอนกลางคืนจำเลยที่ 3 ขับรถดังกล่าวไปส่งผู้ป่วยที่โรงพยาบาลจังหวัดนครราชสีมา ขากลับจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 3 จึงขับไปชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย ดังนี้ ถึงแม้เหตุจะเกิดขึ้นในระหว่างที่จำเลยที่ 3 ขับรถไปธุระส่วนตัวโดยจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่ทราบก็ตาม แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถคันเกิดเหตุไปเก็บไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถออกไปใช้ได้ตลอดเวลา ตราบใดที่รถยังไม่กลับไปอยู่กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างก็ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ขับรถไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง แม้ใช้รถส่วนตัว ยินยอมให้ลูกจ้างใช้รถตลอดเวลาถือเป็นการใช้งานในทางการจ้าง
จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกหกล้อ และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 3 โดยจ้างจำเลยที่ 3 เป็นคนขับรถไปรับจ้างบรรทุกสินค้าพืชไร่ต่างๆ ตามปกติจำเลยที่ 3 เอารถไปเก็บไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 เสมอโดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2. วันเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์บรรทุกมันสำปะหลังไปส่ง แล้วนำรถไปเก็บที่บ้านของจำเลยที่ 3 ต่อมาตอนกลางคืนจำเลยที่ 3ขับรถดังกล่าวไปส่งผู้ป่วยที่โรงพยาบาลจังหวัดนครราชสีมาขากลับจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 3 จึงขับไปชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย ดังนี้ ถึงแม้เหตุจะเกิดขึ้นในระหว่างที่จำเลยที่ 3 ขับรถไปธุระส่วนตัวโดยจำเลยที่ 1 และ จำเลยที่ 2 ไม่ทราบก็ตาม แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถคันเกิดเหตุไปเก็บไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถออกไปใช้ได้ตลอดเวลา ตราบใดที่รถยังไม่กลับไปอยู่กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างก็ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ขับรถไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ศาลแพ่งได้ หากคดีเชื่อมโยงกับจำเลยที่ 2 ผู้มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งอ้างว่าเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์ ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกกันได้ โจทก์จึงเสนอคำฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 5 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ฟ้องจำเลยร่วมในคดีประกันภัยรถยนต์ แม้มีภูมิลำเนาต่างเขต ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาได้หากมูลความแห่งคดีไม่แยกจากกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่ง อ้างว่าเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์ ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกกันได้ โจทก์จึงเสนอคำฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 5 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเองโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีทำร้ายร่างกายถึงแก่ความตาย
ตรงที่เกิดเหตุเป็นที่เปลี่ยวและมืด จำเลยถูกผู้ตายใช้ปืนยิง 1 นัดในระยะกระชั้นชิดถูกที่ท้องจำเลยจำเลยจึงมีสิทธิที่จะกระทำการเพื่อป้องกันตนเองได้ การที่จำเลยใช้มีดทำครัวแทงสวนผู้ตายไปเพียงครั้งเดียวผู้ตายถึงแก่ความตาย ก็แสดงว่ากระทำเพื่อยับยั้งมิให้ผู้ตายยิงจำเลยซ้ำอีก เป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุจำเลยย่อมไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเอง: การใช้กำลังเพื่อตอบโต้การประทุษร้ายด้วยอาวุธปืนในสถานการณ์คับขัน
ตรงที่เกิดเหตุเป็นที่เปลี่ยวและมืด จำเลยถูกผู้ตายใช้ปืนยิง 1 นัด ในระยะกระชั้นชิดถูกที่ท้องจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิที่จะกระทำการเพื่อป้องกันตนเองได้ การที่จำเลยใช้มีดทำครัวแทงสวนผู้ตายไปเพียงครั้งเดียวผู้ตายถึงแก่ความตาย ก็แสดงว่ากระทำเพื่อยับยั้งมิให้ผู้ตายยิงจำเลยซ้ำอีก เป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุ จำเลยย่อมไม่มีความผิด