พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, ความรับผิดของเจ้าสำนัก, และข้อยกเว้นความรับผิดที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
โรงแรมจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจฟ้องหรือถูกฟ้องคดีได้
หุ้นส่วนทุกคนมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนเป็นผู้จัดการโรงแรมจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจควบคุมและจัดการโรงแรมได้ชื่อว่าเป็นเจ้าสำนัก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
ป้ายประกาศยกเว้นความรับผิดระบุว่าทางโรงแรมจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินใดๆ ทั้งสิ้นนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียว ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา677
รถยนต์เป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่วๆไปเท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ตาม แต่ก็ไม่มีลักษณะเป็นของมีค่าตามความหมายของม.675 วรรคสอง โจทก์ไม่จำต้องฝากและบอกราคาชัดแจ้งกรณีไม่อยู่ในขอบข่ายที่จำเลยจะต้องรับผิดเพียง 500 บาท
หุ้นส่วนทุกคนมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนเป็นผู้จัดการโรงแรมจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจควบคุมและจัดการโรงแรมได้ชื่อว่าเป็นเจ้าสำนัก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
ป้ายประกาศยกเว้นความรับผิดระบุว่าทางโรงแรมจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินใดๆ ทั้งสิ้นนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียว ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา677
รถยนต์เป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่วๆไปเท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ตาม แต่ก็ไม่มีลักษณะเป็นของมีค่าตามความหมายของม.675 วรรคสอง โจทก์ไม่จำต้องฝากและบอกราคาชัดแจ้งกรณีไม่อยู่ในขอบข่ายที่จำเลยจะต้องรับผิดเพียง 500 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (มาตรา 157) ต้องมีเจตนาพิเศษคือเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
การที่จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จะต้องประกอบด้วยเจตนาพิเศษ คือต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด จำเลยเป็นเพียงพลตำรวจ เมื่อปรากฏว่ามีการเล่นการพนันกันที่สถานีตำรวจที่จำเลยประจำอยู่ ย่อมเป็นการยากแก่จำเลยในการตัดสินใจว่าจะสมควรเข้าทำการจับกุมโดยตนเองหรือไม่ ยิ่งกว่าจะมีเจตนาให้เกิดความเสียหายต่อกรมตำรวจ เมื่อไม่ได้ความว่าที่จำเลยไม่จับเพราะคิดร้ายต่อใคร จึงไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษให้กรมตำรวจได้รับความเสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่: ต้องมีเจตนาพิเศษทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น จึงจะมีความผิดตามมาตรา 157
การที่จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จะต้องประกอบด้วยเจตนาพิเศษคือต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดจำเลยเป็นเพียงพลตำรวจ เมื่อปรากฏว่ามีการเล่นการพนันกันที่สถานีตำรวจที่จำเลยประจำอยู่ ย่อมเป็นการยากแก่จำเลยในการตัดสินใจว่าจะสมควรเข้าทำการจับกุมโดยตนเองหรือไม่ยิ่งกว่าจะมีเจตนาให้เกิดความเสียหายต่อกรมตำรวจเมื่อไม่ได้ความว่าที่จำเลยไม่จับเพราะคิดร้ายต่อใครจึงไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษให้กรมตำรวจได้รับความเสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันครอบคลุมความเสียหายจากเจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่ง การวินิจฉัยนอกประเด็นและแปลงหนี้
ประเด็นแห่งคดีมีว่า สหกรณ์โจทก์รู้เห็นเป็นใจให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ากรรมการของโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ได้ โดยจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์เป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. ม.575 โจทก์และจำเลยที่ 1ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่อกันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างคำสั่งเลื่อนตำแหน่งหน้าที่จำเลยที่ 1 ของโจทก์ จึงมิใช่เรื่องแปลงหนี้ใหม่ สัญญาจ้างเดิมมิได้ระงับไป
สัญญาค้ำประกันมีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชอบในความเสียหายหรือหนี้สินที่จำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์ก่อขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุใดๆมิได้ระบุว่าจะรับผิดชอบขณะที่จำเลยเป็นเสมียนเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้จัดการ ก็ต้องถือว่ายังเป็นเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์โจทก์อยู่
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์เป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. ม.575 โจทก์และจำเลยที่ 1ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่อกันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างคำสั่งเลื่อนตำแหน่งหน้าที่จำเลยที่ 1 ของโจทก์ จึงมิใช่เรื่องแปลงหนี้ใหม่ สัญญาจ้างเดิมมิได้ระงับไป
สัญญาค้ำประกันมีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชอบในความเสียหายหรือหนี้สินที่จำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์ก่อขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุใดๆมิได้ระบุว่าจะรับผิดชอบขณะที่จำเลยเป็นเสมียนเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้จัดการ ก็ต้องถือว่ายังเป็นเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์โจทก์อยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญามัดจำโดยปริยายและการคืนเงินมัดจำ กรณีคู่สัญญามีพฤติการณ์ไม่นำพาต่อการปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญามัดจำไว้ว่า โจทก์ตกลงซื้อที่ดินตามฟ้องจากจำเลยในราคาที่กำหนด โจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้แก่จำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่ง กำหนดโอนกันให้เสร็จภายใน 3 เดือนนับแต่วันทำสัญญามัดจำ แต่จะกำหนดวันเดือนใดคู่ความต้องบอกกล่าวความตกลงเห็นพร้อมกัน ในระหว่างกำหนดเวลาดังกล่าวนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้กำหนดวันเดือนใดที่จะปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันโดยบอกกล่าวความตกลงเห็นพร้อมกัน กล่าวคือโจทก์ไม่ได้ขอชำระหนี้เงินที่ค้างและให้จำเลยโอนที่ดินให้ จำเลยก็ไม่ได้บอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ แสดงว่าคู่สัญญาไม่นำพาที่จะปฏิบัติตามสัญญา จนกำหนดเวลาตามสัญญานั้นสิ้นสุดลง ฝ่ายใดจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหาได้ไม่ การที่คู่กรณีปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาโดยมิได้จัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อมาทางอำเภอเปรียบเทียบแต่ก็ตกลงกันไม่ได้ จากนั้นก็ไม่มีฝ่ายใด เรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญา พฤติการณ์ของคู่กรณีแสดงให้เห็นว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว โจทก์จำเลยต่างต้องคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ได้รับไว้และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายและค่าปรับจากจำเลย
โจทก์จำเลยต่างตกลงทำสัญญามัดจำกันใหม่ โดยมีข้อความตามสัญญาเดิม และยกเงินมัดจำจำนวนตามสัญญาเดิมมาลงไว้ในสัญญาใหม่แล้วต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินมัดจำแล้วตามสัญญาใหม่ และปรากฏตามคำให้การของจำเลยโดยชัดแจ้งว่าจำเลยได้รับเงินมัดจำจำนวนดังกล่าวไว้แล้วด้วย จำเลยจะนำสืบเป็นอย่างอื่นหาได้ไม่
โจทก์จำเลยต่างตกลงทำสัญญามัดจำกันใหม่ โดยมีข้อความตามสัญญาเดิม และยกเงินมัดจำจำนวนตามสัญญาเดิมมาลงไว้ในสัญญาใหม่แล้วต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินมัดจำแล้วตามสัญญาใหม่ และปรากฏตามคำให้การของจำเลยโดยชัดแจ้งว่าจำเลยได้รับเงินมัดจำจำนวนดังกล่าวไว้แล้วด้วย จำเลยจะนำสืบเป็นอย่างอื่นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญามัดจำโดยปริยาย การคืนเงินมัดจำและสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์จำเลยทำสัญญามัดจำไว้ว่า โจทก์ตกลงซื้อที่ดินตามฟ้องจากจำเลยในราคาที่กำหนด โจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้แก่จำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่ง กำหนดโอนกันให้เสร็จภายใน 3 เดือน นับแต่วันทำสัญญามัดจำ แต่จะกำหนดวันเดือนใดคู่ความต้องบอกกล่าวความตกลงเห็นพร้อมกัน ในระหว่างกำหนดเวลาดังกล่าวนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้กำหนดวันเดือนใดที่จะปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันโดยบอกกล่าวความตกลงเห็นพร้อมกัน กล่าวคือโจทก์ไม่ได้ขอชำระหนี้เงินที่ค้างและให้จำเลยโอนที่ดิน ให้จำเลยก็ไม่ได้บอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ แสดงว่าคู่สัญญาไม่นำพา ที่จะปฏิบัติตามสัญญาจนกำหนดเวลาตามสัญญานั้นสิ้นสุดลง ฝ่ายใดจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหาได้ไม่ การที่คู่กรณีปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาโดยมิได้จัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อมาทางอำเภอเปรียบเทียบแต่ก็ตกลงกันไม่ได้ จากนั้นก็ไม่มีฝ่ายใด เรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญา พฤติการณ์ของคู่กรณีแสดงให้เห็นว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว โจทก์จำเลยต่างต้องคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ได้รับไว้และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายและค่าปรับจากจำเลย
โจทก์จำเลยต่างตกลงทำสัญญามัดจำกันใหม่ โดยมีข้อความ ตามสัญญาเดิม และยกเงินมัดจำจำนวนตามสัญญาเดิมมาลงไว้ในสัญญาใหม่แล้ว ต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินมัดจำแล้วตามสัญญาใหม่และปรากฏตามคำให้การของจำเลยโดยชัดแจ้งว่าจำเลยได้รับเงินมัดจำจำนวนดังกล่าวไว้แล้วด้วย จำเลยจะนำสืบเป็นอย่างอื่นหาได้ไม่
โจทก์จำเลยต่างตกลงทำสัญญามัดจำกันใหม่ โดยมีข้อความ ตามสัญญาเดิม และยกเงินมัดจำจำนวนตามสัญญาเดิมมาลงไว้ในสัญญาใหม่แล้ว ต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินมัดจำแล้วตามสัญญาใหม่และปรากฏตามคำให้การของจำเลยโดยชัดแจ้งว่าจำเลยได้รับเงินมัดจำจำนวนดังกล่าวไว้แล้วด้วย จำเลยจะนำสืบเป็นอย่างอื่นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลไทยคดีข้ามแดนและองค์ประกอบความผิดทางศุลกากร
สถานีรถไฟปาดังเบซาร์อยู่ในประเทศมาเลเซียห่างเขตแดนประเทศไทย 500 เมตร ภายในสถานีมีที่ทำการด่านศุลกากรของไทยและมาเลเซียเมื่อนายตรวจศุลกากรประจำด่านของไทย ยึดเห็ดหอมซึ่งเป็นสินค้าต่างประเทศไม่ปรากฏเจ้าของมาเพื่อเก็บในด่านศุลกากร ขณะรอคนเปิดประตูห้องอยู่นั้น จำเลยเข้ามาแสดงตัวเป็นเจ้าของขอคืน แต่ไม่ได้คืนจึงเกิดการทำร้ายกันขึ้น เช่นนี้ เมื่อเป็นความผิดตามกฎหมายภาษีศุลกากรกับความผิดซึ่งเกี่ยวเนื่องกันคือต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และเอาของกลางไป ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
การที่จำเลยนำเห็ดหอมไปวางไว้ในที่พักพนักงานตรวจรถไป ซึ่งอยู่ติดกับสถานีรถไฟปาดังเบธาร์ และห่างเขตแดนไทยถึงห้าร้อยเมตร ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร ฯลฯ แม้เพียงชั้นพยายามกระทำผิด การที่จำเลยไปนำเห็ดหอมกลับคืนจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 142
การที่จำเลยนำเห็ดหอมไปวางไว้ในที่พักพนักงานตรวจรถไป ซึ่งอยู่ติดกับสถานีรถไฟปาดังเบธาร์ และห่างเขตแดนไทยถึงห้าร้อยเมตร ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร ฯลฯ แม้เพียงชั้นพยายามกระทำผิด การที่จำเลยไปนำเห็ดหอมกลับคืนจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลไทยพิจารณาคดีที่เกิดในสถานีร่วมต่างประเทศ, การลักลอบนำเข้า, และการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
สถานีรถไฟปาดังเบซาร์อยู่ในประเทศมาเลเซียห่างเขตแดนประเทศไทย 500 เมตร ภายในสถานีมีด่านศุลกากรของไทยและมาเลเซียเมื่อเวลา 8 นาฬิกานายตรวจศุลกากรประจำด่านของไทยยึดเห็ดหอม ไม่ปรากฏเจ้าของมาจากที่ทำการพนักงานตรวจรถไฟซึ่งอยู่ติดสถานีเพื่อเก็บในด่านศุลกากร ขณะรอคนเปิด ประตูห้องจำเลยเข้ามาแสดงตัวเป็นเจ้าของขอคืน แล้วเกิดทำร้ายกันขึ้น เมื่อเป็นความผิดตามกฎหมายภาษีศุลกากรกับความผิดซึ่งเกี่ยวเนื่องกันคือต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและเอาของกลางไปดังนี้ ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
จำเลยนำเห็ดหอมไปวาง ณ ที่ทำการพนักงานตรวจรถไฟ ยังไม่เป็นความผิดฐานนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรตาม พระราชบัญญัติศุลกากร ฯ ม.27 แม้เพียงขั้นพยายามกระทำผิด และเมื่อไปนำกลับคืนมาจึงไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมาย มาตรา142
จำเลยนำเห็ดหอมไปวาง ณ ที่ทำการพนักงานตรวจรถไฟ ยังไม่เป็นความผิดฐานนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรตาม พระราชบัญญัติศุลกากร ฯ ม.27 แม้เพียงขั้นพยายามกระทำผิด และเมื่อไปนำกลับคืนมาจึงไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมาย มาตรา142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแท้จริงสัญญาเช่าสำคัญกว่าถ้อยคำ หากขัดกับเจตนาเดิม ศาลยกเลิกสัญญาได้
คำฟ้องฎีกาของโจทก์มี ช. ทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาแต่ในใบแต่งทนายความของโจทก์ไม่ได้ระบุให้ ช. มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ช. จึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกาได้ตามมาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น คำฟ้องฎีกาดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3381/2525)
จำเลยได้เช่าตึกแถวห้องพิพาทจาก ส. มีกำหนด 13 ปี 6 เดือนโดยต้องเสียทั้งเงินกินเปล่าและค่าเช่า ได้จดทะเบียนการเช่ากันไว้แสดงถึงเจตนาอันแท้จริงว่าทั้งสองฝ่ายตกลงให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันกันเป็นระยะเวลาตามที่จดทะเบียน เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะประพฤติผิดสัญญาเช่าอันจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้โจทก์ผู้รับโอนตึกแถวห้องพิพาทมาภายหลังต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 569 การที่สัญญาเช่าข้อ 13 กำหนดว่า เมื่อผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินที่เช่าผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่านั้น ขัดกับเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดเวลาและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 828/2525)
จำเลยได้เช่าตึกแถวห้องพิพาทจาก ส. มีกำหนด 13 ปี 6 เดือนโดยต้องเสียทั้งเงินกินเปล่าและค่าเช่า ได้จดทะเบียนการเช่ากันไว้แสดงถึงเจตนาอันแท้จริงว่าทั้งสองฝ่ายตกลงให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันกันเป็นระยะเวลาตามที่จดทะเบียน เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะประพฤติผิดสัญญาเช่าอันจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้โจทก์ผู้รับโอนตึกแถวห้องพิพาทมาภายหลังต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 569 การที่สัญญาเช่าข้อ 13 กำหนดว่า เมื่อผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินที่เช่าผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่านั้น ขัดกับเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดเวลาและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 828/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแท้จริงสัญญาเช่า-การโอนสิทธิ: สัญญาเช่ามีผลผูกพันตามระยะเวลาที่จดทะเบียน แม้มีข้อตกลงให้สิ้นสุดเมื่อมีการขาย
คำฟ้องฎีกาของโจทก์มี ช. ทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาแต่ในใบแต่งทนายความของโจทก์ไม่ได้ระบุให้ ช. มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ช. จึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกาได้ตามมาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น คำฟ้องฎีกาดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3381/2525)
จำเลยได้เช่าตึกแถวห้องพิพาทจาก. ส. มีกำหนด 13 ปี 6 เดือน โดยต้องเสียทั้งเงินกินเปล่าและค่าเช่า ได้จดทะเบียนการเช่ากันไว้ แสดงถึงเจตนาอันแท้จริงว่าทั้งสองฝ่ายตกลงให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันกันเป็นระยะเวลาตามที่จดทะเบียน เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะประพฤติผิดสัญญาเช่าอันจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้ โจทก์ผู้รับโอนตึกแถวห้องพิพาทมาภายหลังต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 การที่สัญญาเช่าข้อ13 กำหนดว่า เมื่อผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินที่เช่าผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่านั้น ขัดกับเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดเวลาและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 828/2525)
จำเลยได้เช่าตึกแถวห้องพิพาทจาก. ส. มีกำหนด 13 ปี 6 เดือน โดยต้องเสียทั้งเงินกินเปล่าและค่าเช่า ได้จดทะเบียนการเช่ากันไว้ แสดงถึงเจตนาอันแท้จริงว่าทั้งสองฝ่ายตกลงให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันกันเป็นระยะเวลาตามที่จดทะเบียน เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะประพฤติผิดสัญญาเช่าอันจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้ โจทก์ผู้รับโอนตึกแถวห้องพิพาทมาภายหลังต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 การที่สัญญาเช่าข้อ13 กำหนดว่า เมื่อผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินที่เช่าผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่านั้น ขัดกับเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดเวลาและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 828/2525)