คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทิน เลิศวิรุฬห์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 769 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1994/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การชำระหนี้แทนลูกหนี้โดยเจ้าหนี้ และการรับช่วงสิทธิ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องศาลฎีกาพิพากษากลับ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดใน กรณีเช่นนี้เจ้าหนี้ย่อมยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดของศาลฎีกาได้ จำเลย(ลูกหนี้) จำนองทรัพย์สินไว้แก่เจ้าหนี้ ในสัญญา ต่อท้ายสัญญาจำนองได้กำหนดให้จำเลยประกันภัยทรัพย์สิน ที่จำนองโดยให้เจ้าหนี้เป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยนั้นแต่จำเลยไม่จัดการประกันภัยเจ้าหนี้ จึงทำสัญญาประกันภัยและได้ชำระเบี้ยประกันภัยไป ดังนี้เจ้าหนี้จะมาขอรับชำระหนี้ในหนี้จำนวนดังกล่าวโดยอ้างว่า ชำระแทนจำเลยไปไม่ได้เพราะต้องถือว่าเจ้าหนี้เป็นทั้ง ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862ผู้เอาประกันภัยหมายความว่าคู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยการที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นคู่สัญญา กับผู้รับประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัย ไปจึงต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้ของตนเอง ไม่ใช่เป็นการ ชำระหนี้แทนจำเลยหาก่อให้เกิดอำนาจแห่งการรับช่วงสิทธิ แก่เจ้าหนี้ตามมาตรา 226 และมาตรา 229 แต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1994/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนลูกหนี้และการรับช่วงสิทธิในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ทำประกันภัยเองมิอาจเรียกชำระหนี้แทนได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องศาลฎีกาพิพากษากลับ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดใน กรณีเช่นนี้เจ้าหนี้ย่อมยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนด 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดของศาลฎีกาได้
จำเลย(ลูกหนี้) จำนองทรัพย์สินไว้แก่เจ้าหนี้ ในสัญญา ต่อท้ายสัญญาจำนองได้กำหนดให้จำเลยประกันภัยทรัพย์สิน ที่จำนองโดยให้เจ้าหนี้เป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยนั้น แต่จำเลยไม่จัดการประกันภัยเจ้าหนี้จึงทำสัญญาประกันภัยและได้ชำระเบี้ยประกันภัยไป ดังนี้เจ้าหนี้จะมาขอรับชำระหนี้ในหนี้จำนวนดังกล่าวโดยอ้างว่า ชำระแทนจำเลยไปไม่ได้ เพราะต้องถือว่าเจ้าหนี้เป็นทั้งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862ผู้เอาประกันภัยหมายความว่าคู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย การที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นคู่สัญญา กับผู้รับประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัย ไปจึงต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้ของตนเอง ไม่ใช่เป็นการ ชำระหนี้แทนจำเลยหาก่อให้เกิดอำนาจแห่งการรับช่วงสิทธิ แก่เจ้าหนี้ตามมาตรา 226 และมาตรา 229 แต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำบังคับและการออกหมายบังคับคดี ศาลต้องมีคำบังคับก่อนออกหมายบังคับคดีได้
ศาลพิพากษาตามยอมและมีคำสั่งท้ายคำพิพากษาเพียงว่าบังคับคดีตามยอม เท่านั้นยังถือไม่ได้ว่าศาลได้มี คำบังคับแล้วและที่ศาลมีคำสั่งว่าบังคับคดีใน 30 วัน นั้นหมายความว่าให้มีคำบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความภายใน 30 วัน ตามที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 272 และมาตรา273 เสียก่อนมิใช่เป็นคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 วรรคแรกศาลจะออกหมายบังคับคดีให้ทันทีได้ต่อเมื่อเห็นว่าคำบังคับ ได้ส่งให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญแล้วและระยะเวลาที่ศาล ได้กำหนดไว้เพื่อปฏิบัติตามคำบังคับนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว ด้วยเมื่อปรากฏว่าการออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ดังกล่าวคู่ความฝ่ายซึ่งถูกบังคับคดีย่อมขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยกหมายบังคับคดีเสียได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการมีทนาย - การสอบถามและจัดหาทนายก่อนเริ่มพิจารณาคดี
ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึง 10 ปี ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยในเรื่องทนายเสียก่อนเริ่มพิจารณาแต่ดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยจำเลยไม่มีทนาย และศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาลงโทษจำเลยอีกโดยมิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการสอบถามจำเลยเรื่องทนายเสียให้ถูกต้อง ดังนี้ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุล้มละลายที่เกิดขึ้นก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ไม่อาจยกขึ้นเป็นเหตุขอยกเลิกการล้มละลายได้
เหตุต่าง ๆ ที่เจ้าหนี้ยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของบริษัทลูกหนี้นั้น ล้วนแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นข้อที่ศาลชั้นต้นจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย คือถ้ามีเหตุดังกล่าวที่ไม่ควรให้ ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็จะพิพากษายกฟ้องโจทก์หรือยกคำร้องขอ ให้ล้มละลายของผู้ชำระบัญชีเสียได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและถึงที่สุดแล้ว เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุต่างๆ ดังกล่าวมาขอให้ ศาลชั้นต้นสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(2) ได้อีก
คำร้องของเจ้าหนี้ที่อ้างเหตุว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ ไม่ควรขอให้ศาลพิพากษาให้บริษัทลูกหนี้ล้มละลายมิได้ นอกเหนือไปจากบทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย.และไม่ขัดต่อกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ ทำลายมติดังกล่าวและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าหนี้ไม่มี สิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลชั้นต้นสั่ง ยกเลิกการล้มละลายได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุล้มละลายก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ไม่อำนาจยกเหตุขอเพิกถอนภายหลัง
เหตุต่าง ๆ ที่เจ้าหนี้ยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลมี คำสั่งยกเลิกการล้มละลายของบริษัทลูกหนี้นั้น ล้วนแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อน วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นข้อที่ ศาลชั้นต้นจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 14 แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลาย คือถ้ามีเหตุดังกล่าวที่ไม่ควรให้ ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็จะพิพากษายกฟ้องโจทก์หรือยกคำร้องขอ ให้ล้มละลายของผู้ชำระบัญชีเสียได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและถึงที่สุดแล้ว เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุต่างๆ ดังกล่าวมาขอให้ ศาลชั้นต้นสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(2) ได้อีก
คำร้องของเจ้าหนี้ที่อ้างเหตุว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ ไม่ควรขอให้ศาลพิพากษาให้บริษัทลูกหนี้ล้มละลายมิได้ นอกเหนือไปจากบทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย.และไม่ขัดต่อกฎหมายนั้นเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ ทำลายมติดังกล่าวและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าหนี้ไม่มี สิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลชั้นต้นสั่ง ยกเลิกการล้มละลายได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของจำเลยไม่เข้าข่ายความผิดฐานข่มขืนใจ (มาตรา 309) และหน่วงเหนี่ยวกักขัง (มาตรา 310) การริบรถยนต์ไม่ชอบ
ในวันเกิดเหตุโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างขับรถมาจอดติดการจราจรอยู่ด้วยกัน โดยรถจำเลยที่ 1 จอดอยู่ข้างหน้ารถโจทก์ ปรากฏว่ามีเสียงแตรดังมาทางด้านหลัง จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าโจทก์เป็นคนบีบแตรไล่ เมื่อการจราจรบางลงจำเลยที่ 1 และโจทก์ได้ขับรถต่อไปและไปติดสัญญาณไฟแดงด้วยกัน จำเลยที่ 1 ได้ลงจากรถมาถามโจทก์ว่าบีบแตรไล่ทำไม โจทก์ตอบว่าไม่ได้บีบ เกิดโต้เถียงกัน โจทก์ได้พูดขึ้นว่า จะเป็นทหารเกเรหรืออย่างไร จำเลยโกรธจึงจับแขนโจทก์ซึ่งวางพาดประตูรถพร้อมกับพูดว่าลงมาลงมา ขอตะบันหน้าหน่อย โจทก์สะบัดแขนหลุดและไม่ยอมลงจากรถเช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 จับแขนโจทก์ชักชวนให้โจทก์ลงมาจากรถก็เพื่อให้โจทก์ลงมาวิวาทกับจำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยมิใช่การข่มขืนใจให้กระทำหรือไม่กระทำการดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้
ต่อมาหลังจากที่โจทก์และจำเลยที่ 1 เกิดโต้เถียงกันดังกล่าวแล้วในระหว่างที่โจทก์ขับรถไปตามถนน จำเลย ที่ 1 ได้ขับรถไล่ตามกลั่นแกล้งโจทก์ โดยขับรถปาดหน้ารถโจทก์ ทำให้โจทก์ต้องหยุดรถอย่างกระทันหัน ดังนี้ แม้ขณะโจทก์ขับรถอยู่โจทก์ย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการขับรถไปตามถนนสาธารณะตามสิทธิที่กฎหมายรับรองได้กรณีจำเลยที่ 1 ขับรถเข้ามาปาดหน้ารถโจทก์และปิดกั้นรถโจทก์ไม่ ให้โจทก์ขับรถไปโดยสะดวก เมื่อจำเลยปาดหน้ารถโจทก์ โจทก์กลัวว่ารถโจทก์จะชนรถของจำเลยโจทก์ก็ต้องหยุดรถ การที่จำเลยขับรถปาดหน้ารถโจทก์ให้โจทก์หยุดรถขับรถไปไม่ได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยหน่วงเหนี่ยว กักขังกระทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้(ผิดมาตรา 309)
รถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับปาดหน้ารถโจทก์ มิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงริบไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานข่มขืนใจ, ทำร้ายร่างกาย, และการไล่ติดตามด้วยรถยนต์ ไม่เข้าข่ายหน่วงเหนี่ยวหรือข่มขืนใจ
ในวันเกิดเหตุโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างขับรถมาจอดติดการจราจรอยู่ด้วยกัน โดยรถจำเลยที่ 1 จอดอยู่ข้างหน้ารถโจทก์ ปรากฏว่ามีเสียงแตรดังมาทางด้านหลัง จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าโจทก์เป็นคนบีบแตรไล่ เมื่อการจราจรบางลงจำเลยที่ 1 และโจทก์ได้ขับรถต่อไปและไปติดสัญญาณไฟแดงด้วยกัน จำเลยที่ 1 ได้ลงจากรถมาถาม โจทก์ว่าบีบแตรไล่ทำไม โจทก์ตอบว่าไม่ได้บีบ เกิดโต้เถียงกัน โจทก์ได้พูดขึ้นว่า จะเป็นทหารเกเรหรืออย่างไร จำเลยโกรธจึงจับแขนโจทก์ซึ่งวางพาดประตูรถพร้อมกับพูดว่าลงมาลงมาขอตะบันหน้าหน่อย โจทก์สะบัดแขนหลุดและไม่ยอมลงจากรถ เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 จับแขนโจทก์ชักชวนให้โจทก์ลงมาจากรถก็เพื่อให้โจทก์ลงมาวิวาทกับจำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยมิใช่การข่มขืนใจให้กระทำหรือไม่กระทำการดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ ต่อมาหลังจากที่โจทก์และจำเลยที่ 1 เกิดโต้เถียงกันดังกล่าวแล้ว ในระหว่างที่โจทก์ขับรถไปตามถนน จำเลย ที่ 1 ได้ขับรถไล่ตามกลั่นแกล้งโจทก์ โดยขับรถปาดหน้า รถโจทก์ ทำให้โจทก์ต้องหยุดรถอย่างกระทันหัน ดังนี้ แม้ขณะโจทก์ขับรถอยู่โจทก์ย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการขับรถไปตามถนนสาธารณะตามสิทธิที่กฎหมายรับรองได้ กรณีจำเลยที่ 1 ขับรถเข้ามาปาดหน้ารถโจทก์และปิดกั้นรถโจทก์ไม่ ให้โจทก์ขับรถไปโดยสะดวก เมื่อจำเลยปาดหน้ารถโจทก์โจทก์กลัวว่ารถโจทก์จะชนรถของจำเลยโจทก์ก็ต้องหยุดรถการที่จำเลยขับรถปาดหน้ารถโจทก์ให้โจทก์หยุดรถขับรถไปไม่ได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังกระทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้(ผิดมาตรา 309) รถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับปาดหน้ารถโจทก์ มิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงริบไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และขอบเขตความรับผิดของบิดาต่อการกระทำของบุตร
โจทก์เป็นผู้เสียหายในคดีที่อัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 7 เป็นโจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 1 ในคดีอาญา โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษา ในคดีอาญานั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 รับของโจร สายไฟฟ้าจำนวน 168 เมตร จะต้องรับผิดชำระเงินให้แก่โจทก์ 2,360 บาท ดังนั้นเมื่อ จำเลยที่ 2 ในฐานะบิดาของ จำเลยที่ 1 (ผู้เยาว์) ถูกฟ้องให้รับผิด ในทางแพ่ง จำเลยที่ 2 คงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 แม้จำเลยที่ 2 จะเคยทำหนังสือรับชดใช้ค่าเสียหาย ให้แก่โจทก์ไว้เป็น จำนวนเงิน 14,463 บาท 75 สตางค์ ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิด ตามจำนวนเงินใน หนังสือดังกล่าวไม่ เพราะเกินจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งของผู้เยาว์และบิดาในฐานะผู้รับผิดชอบ ฎีกาชี้ว่าต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีอาญา
โจทก์เป็นผู้เสียหายในคดีที่อัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 7 เป็นโจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 1 ในคดีอาญา โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษา ในคดีอาญานั้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ข้อเท็จจริงในคดีอาญาฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 รับของโจร สายไฟฟ้าจำนวน 168 เมตร จะต้องรับผิดชำระเงินให้แก่โจทก์ 2,360 บาท ดังนั้นเมื่อ จำเลยที่ 2 ในฐานะบิดาของ จำเลยที่ 1(ผู้เยาว์) ถูกฟ้องให้รับผิด ในทางแพ่ง จำเลยที่ 2 คงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 แม้จำเลยที่ 2 จะเคยทำหนังสือรับชดใช้ค่าเสียหาย ให้แก่โจทก์ไว้เป็น จำนวนเงิน 14,463 บาท 75 สตางค์ ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิด ตามจำนวนเงินใน หนังสือดังกล่าวไม่ เพราะเกินจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามกฎหมาย
of 77