พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2632/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับก่อนหลังของกฎหมาย: ผลของการใช้กฎหมายใหม่ก่อนวันเกิดเหตุ และความผิดตามกฎหมายเดิมที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าว
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2520 เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุที่ออกฤทธิ์ ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ลงวันที่ 18 มกราคม 2520 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่14 มิถุนายน 2520 เป็นต้นไป เมื่อเหตุคดีนี้เกิดในวันที่ 19 เมษายน 2520 ซึ่งเป็นวันก่อนประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 แต่ในระหว่างที่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2520 ยังไม่มีผลใช้บังคับ การกระทำของจำเลยก็ยังคงเป็นความผิดอยู่ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2465 ที่แก้ไขแล้ว มาตรา 20ทวิ แต่ความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษดังกล่าวโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์และฎีกาจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดธุรกิจคนต่างด้าว: ต้องระบุปริมาณการผลิต/จำหน่ายในรอบปีบัญชี 2515 เพื่อเปรียบเทียบกับปริมาณที่ได้รับอนุญาตเพิ่ม
องค์ประกอบความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ข้อ 26,30 จะต้องมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปริมาณการผลิตหรือการจำหน่ายตามหลักฐานทางบัญชีในรอบปีบัญชี พ.ศ.2515 เป็นสารสำคัญโจทก์ต้องบรรยายในฟ้องให้ปรากฏว่าในรอบปีบัญชี พ.ศ.2515 จำเลยมีปริมาณการผลิตหรือการจำหน่ายของธุรกิจตามหลักฐานทางบัญชีเป็นจำนวนเท่าใดและในการที่จำเลยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมทะเบียนการค้าให้เพิ่มปริมาณการผลิตหรือการจำหน่ายของธุรกิจในรอบปีบัญชี พ.ศ.2518 เป็นจำนวนเงิน255,000,000 บาท นั้น เป็นการเกินกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิตหรือการจำหน่ายตามหลักฐานทางบัญชีในรอบปีบัญชี พ.ศ.2515 ซึ่งเป็นการแสดงว่าจำเลยได้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนเงื่อนไขตามกฎหมาย เมื่อในฟ้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว ฟ้องของโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดประกาศ คปค.ฉบับที่ 281: จำเป็นต้องระบุปริมาณการผลิต/จำหน่ายปี 2515 ในฟ้อง
องค์ประกอบความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 26,30 จะต้องมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปริมาณการผลิตหรือการจำหน่ายตามหลักฐานทางบัญชีในรอบปีบัญชี พ.ศ. 2515 เป็นสาระสำคัญ โดยโจทก์ต้องบรรยายในฟ้องให้ปรากฏว่าในรอบปีบัญชี พ.ศ. 2515 จำเลยมีปริมาณการผลิตหรือการจำหน่ายของธุรกิจตามหลักฐานทางบัญชีเป็นจำนวนเท่าใด และในการที่จำเลยได้รับอนุญาตจากอธิดีกรมทะเบียนการค้าให้เพิ่มปริมาณการผลิตหรือการจำหน่ายของธุรกิจในรอบปีบัญชี พ.ศ. 2518 เป็นจำนวนเงิน 255,000,000 บาท นั้น เป็นการเกินกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิตหรือการจำหน่ายตามหลักฐานทางบัญชีในรอบปีบัญชี พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นการแสดงว่าจำเลยได้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนเงื่อนไขตามกฎหมาย เมื่อในฟ้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวฟ้องของโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งเงินบำนาญที่เป็นสินสมรสในคดีล้มละลาย: เจ้าของร่วมมีสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งได้ แม้มี พ.ร.บ.ล้มละลาย
ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาและเป็นเจ้าของร่วมในเงินบำนาญอันเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย มีสิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกได้ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 121 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิรับเงินบำนาญของลูกหนี้จากเจ้าหน้าที่ เพื่อรวบรวมแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ แต่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพลูกหนี้และครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูป มิใช่ห้ามคู่สมรสของลูกหนี้ร้องขอกันส่วนเงินบำนาญอันเป็นสินสมรส ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา1466 ซึ่งใช้อยู่ในเวลานั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความร่วมมือในการปลอมเอกสารราชการ แม้ไม่ได้ลงมือเองก็มีผิดฐานร่วมกันปลอมแปลง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อและรับเงินจากผู้ต้องการได้ประกาศนียบัตรปลอม กับจดชื่อวันเดือนปีเกิดของผู้นั้นให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไปติดต่อกับคนที่ปลอมเอกสาร เมื่อได้เงินมาก็แบ่งปันกัน ดังนี้ แม้จำเลยทั้งสองมิได้ลงมือกระทำการปลอมเองก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าได้ร่วมกันกับคนที่ทำปลอมขึ้นโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารราชการด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารราชการ แม้ไม่ได้ลงมือปลอมเอง แต่มีส่วนร่วมในการแบ่งหน้าที่และรับเงิน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อและรับเงินจากผู้ต้องการได้ประกาศนียบัตรปลอมกับจดชื่อวันดือนปีเกิดของผู้นั้นให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไปติดต่อกับคนที่ปลอมเอกสาร เมื่อได้เงินมาก็แบ่งปันกัน ดังนี้ แม้จำเลยทั้งสองมิได้ลงมือกระทำการปลอมเองก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าได้ร่วมกันกับคนที่ทำปลอมขึ้นโดยแล่งหน้าที่ทำกันทำ จำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารราชการด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเท็จเพื่อขอบัตรประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนไทย ทั้งที่มิได้มีสัญชาติไทย เป็นความผิดตามกฎหมาย
จำเลยเป็นคนต่างด้าวสัญชาติญวน แต่ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าจำเลยชื่อนางตัน ศิริดำรง เป็นคนไทยเพื่อขอรับบัตรประจำตัวประชาชน เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานดังกล่าวหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทย จึงได้บันทึกเสนอนายทะเบียน ออกบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งเท็จเพื่อขอบัตรประจำตัวประชาชนโดยมิได้มีสัญชาติไทย
จำเลยเป็นคนต่างด้าวสัญชาติญวน แต่ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าจำเลยชื่อนางตัน ศิริดำรงค์ เป็นคนไทยเพื่อขอรับบัตรประจำตัวประชาชน เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานดังกล่าวหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทยจึงได้บันทึกเสนอนายทะเบียนออกบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการให้แก่จำเลยการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2505 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษในคดียาเสพติด: การใช้บทเฉพาะย่อมกว่าบททั่วไป และการกำหนดค่าปลงศพ
เมื่อปรับบทลงโทษตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มาตรา 6 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่ต้องปรับบทลงโทษตาม มาตรา 7 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างและเงินบำเหน็จรางวัล: จำเลยผูกพันตามระเบียบที่วางไว้จนกว่าจะแก้ไข
บริษัทจำเลยวางระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ การจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลแก่พนักงานบริษัทไว้ เพื่อใช้บังคับในกรณีที่การทำงานของพนักงานบริษัทครบเกษียณอายุหรือต้องสิ้นสุดลงอันถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งแห่งสัญญาจ้างเมื่อพนักงานได้กระทำตามเงื่อนไขต่าง ๆดังกำหนดไว้นั้นแล้ว จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานผู้นั้นตามกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้แม้จำเลยจะมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือยกเลิกระเบียบดังกล่าวได้ไม่ว่าจะเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดทั้งนี้ สุดแต่บริษัทจำเลยจะเห็นสมควรก็ตามแต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้แก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ดังกล่าวจำเลยก็ต้องผูกพันตามนั้นอยู่ขณะที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์หากโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยตามกฎเกณฑ์อยู่อย่างไร จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จนั้นแก่โจทก์