คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัญ สำเร็จประสงค์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้จากการโอนเพื่อระงับข้อพิพาท ถือเป็นสินส่วนตัว ไม่ใช่สินสมรส
ในระหว่างสมรสของโจทก์จำเลย จำเลยได้ที่ดินโฉนดที่ 4084และ 4198 โดย ผ. ยกให้โดยเสน่หาระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัวกับได้ที่ดินโฉนดที่ 5191 โดย ผ. ทำพินัยกรรมยกให้และระบุให้เป็นสินส่วนตัวเช่นเดียวกัน ต่อมา ล. อ้างว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ของ ผ. แต่เป็นของภรรยาซึ่งเป็นบุตรของ น. และฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งกับแจ้งความกล่าวหาจำเลยทางอาญาหลายคดี ในที่สุด ล. กับจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีหนึ่งซึ่งศาลพิพากษาตามยอมมีใจความสำคัญว่า ให้จำเลยได้ที่ดินโฉนดที่ 1176 และให้ ล. ได้ที่ดินโฉนดที่ 5191 ส่วนที่ดินโฉนดที่ 4198 และ 4084 นั้น จำเลยตกลงโอนให้ ล. โดย ล. ต้องจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนให้ 3,100,000 บาท ดังนี้ต้องถือว่าที่ดินโฉนดที่ 4084 และ 4198 กับโฉนดที่ 5191 เดิมเป็นที่ดินที่จำเลยได้รับมาเป็นสินส่วนตัว แม้จำเลยจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ล. ดังกล่าว ก็เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับ ล. ในคดีนั้นซึ่งมีประเด็นเพียงว่าที่พิพาทเป็นของ ผ. และ ย. มีอำนาจยกให้จำเลยหรือไม่เท่านั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะของทรัพย์ยังต้องถือว่าที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของจำเลยอยู่นั่นเอง และเมื่อจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสินส่วนตัวทั้งสามแปลงนั้นให้แก่ ล. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเหตุให้จำเลยได้มาซึ่งที่ดินโฉนดที่ 1176 กับมีสิทธิได้เงินค่าตอบแทน 3,100,000 บาท ก็ต้องถือว่าที่ดินและเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเข้ามาแทนที่ที่ดินทั้งสามแปลง อันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการขายหรือแลกเปลี่ยนตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465(1) ดังนั้น ที่ดินโฉนดที่ 1176 กับเงินค่าตอบแทน 3,100,000 บาท ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลย หาใช่สินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานขายยาเสื่อมคุณภาพ เจตนาทั่วไปก็เพียงพอ ฟ้องระบุ 'มีไว้เพื่อขาย' ถือเป็นการขายตามกฎหมาย
ฟ้องโจทก์มีใจความว่า "จำเลยบังอาจมียา ....ซึ่งเป็นยาสิ้นอายุตามที่แสดงไว้ในสลากแล้ว (คือยาเสื่อมคุณภาพ) ไว้ในความครอบครองของจำเลยเพื่อขายและตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยา คำว่า "มีไว้เพื่อขาย" มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "ขาย" ฟ้องของโจทก์จึงได้ความตรงตามมาตรา 121 วรรคแรกแล้ว และความผิดตามมาตรานี้ (มาตรา 121) ต้องการเพียงเจตนาธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 เท่านั้นเมื่อโจทก์ใช้คำว่า"จำเลยบังอาจ" ก็เป็นการแสดงความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยเจตนากระทำผิดกฎหมายโจทก์หาจำต้องกล่าวในฟ้องว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นยาเสื่อมคุณภาพไว้ด้วยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างติดกัน: สิทธิของเจ้าของที่ดินและหน้าที่ในการป้องกันความเสียหาย
ตึกของโจทก์และจำเลยอยู่ห่างกัน 2 เมตร 50 เซนติเมตรช่องว่างระหว่างตึกเป็นที่ดินของจำเลย จำเลยจึงชอบที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยได้ การที่ฝาผนังตึกของโจทก์ชิดกับเขตที่ดินของจำเลยนี้ โจทก์ย่อมคาดหมายได้ว่าฝาผนังตึกของโจทก์ต้องมีสภาพเป็นกำแพงรั้วกั้นเขตที่ดินโจทก์และจำเลย เป็นธรรมดาที่การวางสิ่งของของจำเลยในที่ดินของจำเลยอาจจะไปติดกับฝาผนังตึกของโจทก์ได้ การที่จำเลยใช้ประโยชน์จากฝาผนังตึกนี้โดยไม่ปรากฏว่าทำให้โจทก์เสียหายประการใด จึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
เมื่อฝาผนังตึกของโจทก์สูงกว่าอาคารของจำเลย จึงเป็นธรรมดาที่น้ำฝนจากหลังคาและฝาผนังตึกของโจทก์ย่อมจะไหลลงไปสู่ทรัพย์สินของจำเลย ทำให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายโจทก์จะต้องจัดการป้องกันหรือแก้ไข แต่โจทก์มิได้จัดการฉะนั้น การที่จำเลยพอกปูนซีเมนต์เชื่อมหลังคาของจำเลยกับผนังตึกของโจทก์จึงเป็นการป้องกันความเสียหายอันจะเกิดขึ้นแก่จำเลย หาใช่จำเลยใช้สิทธิไม่สุจริตมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานร่วมกันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 และ 340 ตรี โดยต้องลงโทษทั้งสองบท
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี เป็นเหตุให้รับโทษหนักขึ้นมิใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากศาลลงโทษจำเลยตาม มาตรา 340 ตรีซึ่งเป็นบทหนักเท่านั้นไม่ได้ต้องลงโทษตาม มาตรา 340,340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1830/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าร้าง: การยินยอมให้แยกอยู่เพื่อหลบหนี้สิน ไม่ถือเป็นการละทิ้งร้าง
การที่จำเลย (ภริยา) หลบหนี้สินไปอยู่ที่อื่นโดยโจทก์ (สามี) ยินยอมทั้งจำเลยเป็นฝ่ายเลี้ยงดูบุตรตลอดมา และระหว่างนั้นจำเลยไปหาโจทก์ก็ถูกภริยาใหม่ของโจทก์ไล่กลับนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1796/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงร่วมออกค่าใช้จ่าย-การคืนเงิน: ไม่เป็นความผิดอาญา แต่เป็นเรื่องแพ่ง
โจทก์ทั้งสามกับพวกและจำเลยมีสัญญาตกลงกันให้จำเลยไปติดต่อกับการไฟฟ้าฯให้ต่อไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน โดยโจทก์ทั้งสามกับพวกและจำเลยรวม 9 คน ได้ช่วยกันออกค่าใช้จ่ายคนละเท่า ๆ กัน และเมื่อต่อไฟฟ้าเข้ามาใช้ในหมู่บ้านได้สำเร็จ หากมีชาวบ้านมาขอต่อใช้ไฟฟ้าภายหลังก็จะเรียกเก็บเงินเอามาคืนให้โจทก์ทั้งสามกับพวกและจำเลยรวมทั้ง 9 คน ดังนี้ เงินที่จำเลยเรียกเก็บจากชาวบ้านที่ขอต่อไฟฟ้าในภายหลัง เป็นเงินที่ชาวบ้านมอบให้จำเลยซึ่งเป็นคนละส่วนกันแล้วแต่ชาวบ้านจะมาติดต่อโจทก์ทั้งสามจะมีสิทธิได้เงินดังกล่าวหรือไม่นั้นก็โดยอาศัยสัญญาที่มีอยู่ต่อกันเท่านั้น หากจำเลยไม่นำเงินมาเฉลี่ยให้โจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะเรียกร้องเอาแก่จำเลยในทางแพ่ง หามีมูลความผิดทางอาญาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาทำสัญญาซื้อขายที่ดิน: การกระทำของคู่สัญญาหลังหมดกำหนด มิถือเป็นการผิดสัญญา
กำหนดเวลาทำสัญญาซื้อขายใน 7 วัน นับแต่วันในสัญญาจองที่ดิน แต่หลังจากนั้นผู้ขายยังขอย้ายผู้ซื้อเข้าอยู่บ้านอื่นและให้ผู้ซื้อทำใบมอบอำนาจรับโอนและจำนองที่ดินอีก ไม่เป็นการถือวันที่กำหนดตามสัญญาจองเป็นสำคัญ ผู้ขายถือเป็นเหตุเลิกสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิเรียกร้องทรัพย์มรดกแม้พ้นอายุความ หากทายาทครอบครองแทนกัน
ระหว่างจัดการมรดก ทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน ย่อมถือได้ว่าครอบครองแทนทายาทอื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1368,1745,1748 ทายาทอื่นหรือผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นตัวแทนของทายาททั้งปวงย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเพื่อจัดการแบ่งปันต่อไปได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดช่วยเหลือผู้กระทำผิด: เจ้าพนักงานไม่ต้องแจ้งรายละเอียดความผิด เพียงแจ้งว่าเป็นผู้กระทำผิด
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 นั้น เจ้าพนักงานผู้ติดตามจับกุมผู้กระทำผิดหาจำต้องแก่ผู้ให้ที่พำนักซ่อนเร้นทราบว่าผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องหาว่า กระทำความผิดได้กระทำความผิดฐานใด เพียงแต่แจ้งให้ทราบว่าบุคคลที่ตนให้ที่พำนักซ่อนเร้นเป็นผู้กระทำผิดก็พอแล้ว ส่วนจะเป็นความผิดฐานใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องกล่าวในฟ้องและนำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การช่วยเหลือผู้ต้องหา – ความผิดตาม ม.189 เจ้าพนักงานไม่จำเป็นต้องแจ้งข้อหา
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 นั้น เจ้าพนักงานผู้ติดตามจับกุมผู้กระทำผิดหาจำต้องแจ้งแก่ผู้ให้ที่พำนักซ่อนเร้นทราบว่าผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดได้กระทำความผิดฐานใด เพียงแต่แจ้งให้ทราบว่าบุคคลที่ตนให้ที่พำนักซ่อนเร้นเป็นผู้กระทำผิดก็พอแล้ว ส่วนจะเป็นความผิดฐานใดนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องกล่าวในฟ้องและนำสืบ
of 32