พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2862/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและการใช้บทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในคดีที่สิทธิเกิดก่อน
การเป็นบิดากับบุตรระหว่างนาย บ. กับผู้ร้องมีอยู่แล้วในวันที่ 16 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับ จึงนำบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจใหม่มาใช้บังคับหาได้ไม่
ปัญหาว่าการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรจะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่บุตรบรรลุนิติภาวะนั้น ศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ก็ต่อเมื่อผู้คัดค้านได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ มิฉะนั้นคดีไม่มีประเด็นข้อนี้
ปัญหาว่าการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรจะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่บุตรบรรลุนิติภาวะนั้น ศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ก็ต่อเมื่อผู้คัดค้านได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ มิฉะนั้นคดีไม่มีประเด็นข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พระบรมราชโองการเป็นพินัยกรรมได้ แม้เจ้ามรดกมิได้ลงนามเอง สิทธิในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นกฎหมาย
เจ้ามรดกร่างพินัยกรรมไว้แล้ว แต่ยังมิได้ลงพระนามเพราะสิ้นพระชนม์เสียก่อน ต่อมาภายหลังได้มีพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ร่างพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมตามกฎหมายได้ร่างพินัยกรรมดังกล่าวย่อมมีผลเป็นพินัยกรรมใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
เจ้ามรดกร่างพินัยกรรมไว้แล้ว แต่ยังมิได้ลงพระนามเพราะสิ้นพระชนม์เสียก่อน ต่อมาภายหลังได้มีพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ร่างพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมตามกฎหมายได้ร่างพินัยกรรมดังกล่าวย่อมมีผลเป็นพินัยกรรมใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมโดยพระบรมราชโองการมีผลผูกพัน แม้เจ้ามรดกมิได้ลงนาม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นกฎหมาย
เจ้ามรดกร่างพินัยกรรมไว้แล้ว แต่ยังมิได้ลงพระนาม เพราะสิ้นพระชนม์เสียก่อน ต่อมาภายหลังได้มีพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 6 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ร่างพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมตามกฎหมายได้ร่างพินัยกรรมดังกล่าวย่อมมีผลเป็นพินัยกรรมใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
เจ้ามรดกร่างพินัยกรรมไว้แล้ว แต่ยังมิได้ลงพระนาม เพราะสิ้นพระชนม์เสียก่อน ต่อมาภายหลังได้มีพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 6 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ร่างพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมตามกฎหมายได้ร่างพินัยกรรมดังกล่าวย่อมมีผลเป็นพินัยกรรมใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้หักเงินชำระหนี้ ไม่เป็นการบังคับคดี ยึดหรืออายัดทรัพย์
โจทก์ได้ตกลงยินยอมให้จำเลยหักเงินเดือนเดือนสุดท้ายเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ย และเงินบำเหน็จของโจทก์เพื่อชดใช้หนี้เงินยืมที่โจทก์ยืมจากจำเลย ตามระเบียบขององค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปว่าด้วยเงินสะสมของผู้อำนวยการและพนักงานอสร. พ.ศ.2516 การหักเงินดังกล่าวหาใช่เป็นการบังคับคดียึดหรืออายัดเงินดังกล่าวของลูกหนี้แต่ประการใดไม่ กรณีจึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286 มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้หักเงินชดใช้หนี้ ไม่ถือเป็นการบังคับคดียึดหรืออายัด
โจทก์ได้ตกลงยินยอมให้จำเลยหักเงินเดือนเดือนสุดท้าย เงินสะสมพร้อมดอกเบี้ย และเงินบำเหน็จของโจทก์เพื่อชดใช้หนี้เงินยืมที่โจทก์ยืมจากจำเลย ตามระเบียบขององค์การผลิดอาหารสำเร็จรูปว่าด้วยเงินสะสมของผู้อำนวยการและพนักงาน อสร. พ.ศ. 2516 การหักเงินดังกล่าวหาใช่เป็นการบังคับคดียึดหรืออายัดเงินดังกล่าวของลูกหนี้แต่ประการใดไม่ กรณีจึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการเวนคืนที่ดิน: หนังสือตอบรับไม่ใช่การรับสภาพหนี้
โจทก์มีหนังสือทวงถามเงินทดแทนค่าที่ดินที่ถูกเวนคืนกรมชลประทานจำเลยตอบหนังสือมีความสำคัญว่าเรื่องที่โจทก์ร้องขอให้พิจารณาค่าที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้น คณะกรรมการได้บันทึกไว้แล้วเมื่อจะนัดประชุมไกล่เกลี่ยราษฎรเมื่อใด จะได้แจ้งให้โจทก์ทราบ เพื่อมาตกลงกับคณะกรรมการต่อไปไม่มีข้อความตอนใดที่รับว่าเป็นหนี้โจทก์ จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้โจทก์ทราบหนังสือฉบับนี้เมื่อ พ.ศ.2510 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อ พ.ศ.2522 เป็นเวลาเกินกว่าสิบปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2798-2799/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินชลประทานสาธารณสมบัติ: การขยายเขต, อำนาจฟ้อง, และผลกระทบต่อโฉนด
เมื่อมีประกาศกระแสพระบรมราชโองการ เรื่อง ขยายการหวงห้าม และจัดซื้อที่ดินสำหรับการชลประทาน แต่เขตที่ดิน ตามที่ประกาศหวงห้ามไม่เพียงพอเนื่องจากสภาพเป็นดินเหลว ต้องใช้ที่ดินจำนวนมาก กรมชลประทานจึงกันเขตเกินที่กำหนด ไว้ในประกาศกระแสพระบรมราชโองการในการกันเขตนั้นตอนใดที่มี เจ้าของครอบครองอยู่ก็จ่ายเงินซื้อ ถ้าไม่มีเจ้าของก็ ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อ การที่กรมชลประทานได้รังวัดปัก เขตที่ดินดังกล่าวเช่นนี้แล้ว ที่ดินนั้นก็ต้องถือว่า เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) แล้ว ไม่ต้องมีกฎหมายพิเศษให้อำนาจ กรมชลประทานหวงห้ามอย่างใดอีก
ที่ดินที่ใช้สำหรับการชลประทาน กรมชลประทานมีหน้าที่ดูแล รักษาที่ดินดังกล่าวจึงมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้
การที่อธิบดีกรมชลประทานไม่ขัดข้องในการที่มีผู้ขอออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ทำให้ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับที่ดินสาธารณะนั้นหมดไป กรมชลประทานยังมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยกล่าวอ้างเหตุนอกเหนือจากที่ได้ให้การไว้นั้น เป็นการ กล่าวอ้าง ข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น
สืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้วศาลมีอำนาจที่จะเรียกสำนวนคดีอื่นที่เกี่ยวกับคดีมาประกอบการพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสาม ที่บัญญัติให้อำนาจศาลไว้ว่า เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมก็ย่อมทำได้
ที่ดินที่ใช้สำหรับการชลประทาน กรมชลประทานมีหน้าที่ดูแล รักษาที่ดินดังกล่าวจึงมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้
การที่อธิบดีกรมชลประทานไม่ขัดข้องในการที่มีผู้ขอออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ทำให้ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับที่ดินสาธารณะนั้นหมดไป กรมชลประทานยังมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยกล่าวอ้างเหตุนอกเหนือจากที่ได้ให้การไว้นั้น เป็นการ กล่าวอ้าง ข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น
สืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้วศาลมีอำนาจที่จะเรียกสำนวนคดีอื่นที่เกี่ยวกับคดีมาประกอบการพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสาม ที่บัญญัติให้อำนาจศาลไว้ว่า เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมก็ย่อมทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2798-2799/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือที่ดินชลประทาน: การขยายเขต, สาธารณสมบัติ, อำนาจฟ้อง, และการรังวัด
เมื่อมีประกาศกระแสพระบรมราชโองการเรื่องขยายการหวงห้ามและจัดซื้อที่ดินสำหรับการชลประทาน แต่เขตที่ดินตามที่ประกาศหวงห้ามไม่เพียงพอเนื่องจากสภาพเป็นดินเหลวต้องใช้ที่ดินจำนวนมาก กรมชลประทานจึงกันเขตเกินที่กำหนดไว้ในประกาศกระแสพระบรมราชโองการในการกันเขตนั้น ตอนใดที่มีเจ้าของครอบครองอยู่ก็จ่ายเงินซื้อ ถ้าไม่มีเจ้าของก็ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อ การที่กรมชลประทานได้รังวัดปักเขตที่ดินดังกล่าวเช่นนี้แล้ว ที่ดินนั้นก็ต้องถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (3) แล้ว ไม่ต้องมีกฎหมายพิเศษให้อำนาจกรมชลประทานหวงห้ามอย่างใดอีก
ที่ดินที่ใช้สำหรับการชลประทาน กรมชลประทานมีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินดังกล่าวจึงมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้
การที่อธิบดีกรมชลประทานไม่ขัดข้องในการที่มีผู้ขอออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ไม่ทำให้ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับที่ดินสาธารณะนั้นหมดไป กรมชลประทานยังมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยกล่าวอ้างเหตุนอกเหนือจากที่ได้ให้การไว้นั้น เป็นการกล่าวอ้างข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น
สืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้วศาลมีอำนาจที่จะเรียกสำนวนคดีอื่นที่เกี่ยวกับคดีมาประกอบการพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรค 3 ที่บัญญัติให้อำนาจศาลไว้ว่า เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมก็ย่อมทำได้
ที่ดินที่ใช้สำหรับการชลประทาน กรมชลประทานมีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินดังกล่าวจึงมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้
การที่อธิบดีกรมชลประทานไม่ขัดข้องในการที่มีผู้ขอออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ไม่ทำให้ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับที่ดินสาธารณะนั้นหมดไป กรมชลประทานยังมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยกล่าวอ้างเหตุนอกเหนือจากที่ได้ให้การไว้นั้น เป็นการกล่าวอ้างข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น
สืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้วศาลมีอำนาจที่จะเรียกสำนวนคดีอื่นที่เกี่ยวกับคดีมาประกอบการพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรค 3 ที่บัญญัติให้อำนาจศาลไว้ว่า เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมก็ย่อมทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2728/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการใช้สำนวนคดีอาญาประกอบการพิจารณาคดีแพ่ง
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ถึงแก่ความตายศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ว่าโจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเพราะไม่ใช่บิดาชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย จำเลยทั้งสองก็ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 1 เต็มจำนวนตามคำพิพากษาเพราะค่าเสียหายดังกล่าวแบ่งแยกไม่ได้และโจทก์ที่ 1 (มารดา) แต่ผู้เดียวก็มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายนั้นโดยลำพังอยู่แล้ว จำเลยทั้งสองหามีสิทธิขอให้ลดค่าเสียหายลงครึ่งหนึ่งไม่
แม้โจทก์มิได้ขอให้เรียกสำนวนคดีอาญามาประกอบการพิจารณาศาลก็รับฟังพยานหลักฐานในสำนวนดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้เพราะโจทก์ระบุอ้างสำนวนนั้นในบัญชีพยานแล้ว และได้ชำระค่าธรรมเนียมค่าอ้างเอกสารครบถ้วนเมื่อสำนวนคดีอาญาดังกล่าวอยู่ในศาลชั้นต้นเดียวกันจึงอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นจะเรียกเอามาพิจารณาได้เอง ไม่ต้องให้โจทก์ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องให้เรียกสำนวนนั้นมารวมไว้ในคดีอีก
แม้โจทก์มิได้ขอให้เรียกสำนวนคดีอาญามาประกอบการพิจารณาศาลก็รับฟังพยานหลักฐานในสำนวนดังกล่าวประกอบคดีของโจทก์ได้เพราะโจทก์ระบุอ้างสำนวนนั้นในบัญชีพยานแล้ว และได้ชำระค่าธรรมเนียมค่าอ้างเอกสารครบถ้วนเมื่อสำนวนคดีอาญาดังกล่าวอยู่ในศาลชั้นต้นเดียวกันจึงอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นจะเรียกเอามาพิจารณาได้เอง ไม่ต้องให้โจทก์ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องให้เรียกสำนวนนั้นมารวมไว้ในคดีอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คของผู้ถือ การโอนเช็คโดยสุจริต และสิทธิของผู้ทรงเช็คในการเรียกร้องจากผู้สั่งจ่าย
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยผู้สั่งจ่าย จำเลยยื่นคำร้องขอให้เรียก ส.เข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) โดยอ้างว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่ ส. และได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่ ส. ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การไม่ปรากฏว่า ส. เป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทจึงไม่มีกรณีที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากับ ส.ตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน ส.ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คพิพาทคนใดเลย ไม่มีความผูกพันร่วมกับจำเลยที่จะต้องชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้โจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จะเรียก ส.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่ออกให้แก่ผู้ถือ จำเลยผู้สั่งจ่ายมิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่าโจทก์ผู้ทรงได้รับโอนเช็คพิพาทมาด้วยการคบคิดกับฉ้อฉล ทั้งคำให้การก็มิได้บรรยายให้เข้าใจได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากผู้ใด ด้วยวิธีใด อันจะถือได้ว่าเป็นการคบคิดฉ้อฉล จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากผู้อื่นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทด้วยการคบคิดกันฉ้อฉล ดังนั้นในเบื้องต้นจึงจะต้องถือว่าโจทก์รับเช็คพิพาทมาโดยสุจริต แม้จะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยให้การว่า จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่ ส. แล้ว แต่ ส.ไม่คืนเช็คพิพาทให้ก็ตาม การที่ ส.ฝ่ายเดียวเป็นผู้ทุจริต จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้ โจทก์ผู้ทรงเช็คพิพาทด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างจำเลยกับ ส. ได้ ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นได้งดสืบพยานแล้วพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์จึงเป็นการชอบแล้ว
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่ออกให้แก่ผู้ถือ จำเลยผู้สั่งจ่ายมิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่าโจทก์ผู้ทรงได้รับโอนเช็คพิพาทมาด้วยการคบคิดกับฉ้อฉล ทั้งคำให้การก็มิได้บรรยายให้เข้าใจได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากผู้ใด ด้วยวิธีใด อันจะถือได้ว่าเป็นการคบคิดฉ้อฉล จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากผู้อื่นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทด้วยการคบคิดกันฉ้อฉล ดังนั้นในเบื้องต้นจึงจะต้องถือว่าโจทก์รับเช็คพิพาทมาโดยสุจริต แม้จะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยให้การว่า จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่ ส. แล้ว แต่ ส.ไม่คืนเช็คพิพาทให้ก็ตาม การที่ ส.ฝ่ายเดียวเป็นผู้ทุจริต จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้ โจทก์ผู้ทรงเช็คพิพาทด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างจำเลยกับ ส. ได้ ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นได้งดสืบพยานแล้วพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์จึงเป็นการชอบแล้ว